แคร์สุขภาพ

โปรตีนเกษตรทำมาจากอะไร? แทนที่เนื้อได้หรือไม่? ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: June 8,2023
  
Last edited: May 10, 2024
โปรตีนเกษตร

ปัจจุบันทั้งเทคโนโลยี วิทยาการ รวมไปถึงองค์ความรู้ในการรักษาสุขภาพ ทำให้พวกเราทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ตัดสิ่งที่กินแล้วเสียสุขภาพ และแทนที่ด้วยตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า เช่นหลาย ๆ คนตัดสินใจลดละเลิกเนื้อสัตว์ และแทนที่ด้วยโปรตีนเกษตร ไม่ใช่บริโภคเพียงช่วงเทศกาลกินเจ หรือกินมังสวิรัติแล้ว ฉะนั้นวันนี้แรบบิท แคร์ จึงอยากอธิบายเพิ่มเติม โปรตีนเกษตรคืออะไร ? ทำมาจากอะไร ? และแทนที่เนื้อได้จริง หรือดีต่อสุขภาพระยะยาวจริงหรือไม่ ?

โปรตีนเกษตร คืออะไร ?

โปรตีนเกษตร หรือ Textured Vegetable Protein (TVP) คืออาหารที่สร้างจากถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์จากพืชอื่น ๆ ใช้เป็นตัวเลือกแทนเนื้อสัตว์สำหรับคนที่กินมังสวิรัติหรือรับประทานอาหารจากพืชเท่านั้น โดยกระบวนการผลิตโปรตีนเกษตร อาจมีการอัดแป้งถั่วเหลืองในอุณหภูมิและความดันสูง หรือจี่ผิวถั่วเหลืองให้มีความกรอบ เพิ่มเนื้อสัมผัสให้เหมือนเนื้อสัตว์ ปรับแต่งเพิ่มรสชาติยิ่งให้ความรู้สึกเหมือนได้กินเนื้อ

โปรตีนเกษตร

โปรตีนเกษตร ทำมาจากอะไร

โดยส่วนมากแล้วโปรตีนเกษตรทำมาจากถั่วเหลือง แต่ก็มีบ้างที่จะใช้อย่างอื่นทำ เช่น แป้งกลูตันจากข้าวสาลี หรือถั่วตระกูลอื่น ๆ เช่นถั่วลูกไก่ ถั่วลันเตา โดยหากเป็นโปรตีนเกษตรที่ทำจากกลูตันแป้งสาลีจะถูกเรียกว่า เซตัน (Seitan) ซึ่งจะได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงรับประทานอาหารเจ เพราะจะมีราคาที่ถูก แต่ประโยชน์ทางโภชนาการจะต่ำกว่าถั่วเหลือง และคนที่แพ้กลูเตน ไม่ควรรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของโปรตีนเกษตร

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โปรตีนเกษตร ได้รับความนิยมอย่างมากก็คือคุณค่าทางโภชนาการ มีไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล และเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของไฟเบอร์อาหารและกรดอะมิโนที่จำเป็น โดย ยังมีวิตามินและแร่ธาตุเช่น เหล็ก แคลเซียม และแมกนีเซียม เพียงพอต่อร่างกาย

สารอาหาร*

ปริมาณ*

โปรตีน

49.76 กรัม

คาร์โบไฮเดรต (รวม crude fiber)

40.89 กรัม

ใยอาหาร

13.6 กรัม

พลังงาน

366.38 กิโลแคลอรี

โพแทสเซียม

6.71 กรัม

ฟอสฟอรัส

773.7 มก.

แคลเซียม

138.9 มก.

เหล็ก

6.8 มก.

โซเดียม

0.95 มก.

ไนอะซีน

2.35 มก.

วิตามินบี 1

0.26 มก.

วิตามินบี 2

0.26 มก.

นอกจากนั้นโปรตีนเกษตร ยังเป็นแหล่งชั้นดีของกรดอะมิโน (Amino Acid) ซึ่งมีประโยชน์และความจำเป็นในการเติบโตของร่างกายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูร่างกาย พร้อมกับเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มมังสวิรัติ อาจขาด เป็นต้น

กรดอะมิโน*

ปริมาณ*

ลูซีน

3.98 กรัม

ไลซีน

3.11 กรัม

ฟีนิลอะลานีน

2.85 กรัม

วาลีน

2.25 กรัม

ทรีโอนีน

2.18 กรัม

ไอโซ-ลูซีน

2.13 กรัม

ไทโรซีน

1.88 กรัม

ทริปโตเฟน

0.91 กรัม

ซิสตีน

0.8 กรัม

*นี่คือตัวอย่างของโภชนาการของโปรตีนเกษตรที่ทำมาจากถั่วเหลือง (Soy-based TVP) ผลิตภัณฑ์หนึ่งเท่านั้น ไม่ได้แสดงว่าผลิตภัณฑ์ทุกตัวจะมีคุณค่าทางอาหารเหมือนกันหมด

โปรตีนเกษตร VS เนื้อ กินแทนกันได้ไหม ?

คำตอบคือทำได้ หากแต่ก็ยังจะต้องรับประทานคู่กับผัก ผลไม้ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ แต่หากพูดเพียงแค่สามารถแทนที่เนื้อได้หรือไม่ ในแง่มุมของโปรตีน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ โปรตีนเกษตรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ทานแทนที่เนื้อสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ หรือวีแกนได้เลย เช่น 

เนื้อไก่ 100 กรัม มีโปรตีน 29 กรัม

ไข่ 100 กรัม มีโปรตีน  12 กรัม

หมูบด 100 กรัม มีโปรตีน 25 กรัม

ถั่วเหลือ 100 กรัม มีโปรตีน 18 กรัม

ถั่วลูกไก่ 100 กรัม มีโปรตีน 9 กรัม

Tips : คนเราควรบริโภคโปรตีน 0.8 X น้ำหนักตัว (เป็นกิโลกรัม) เช่นหากคุณหนัก 65 กิโลกรัม ควรกินโปรตีน 65 X 0.8 = 52 กรัม เป็นต้น

ฉะนั้นจะเห็นว่าโปรตีนในโปรตีนเกษตร แม้จะน้อยกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไปเช่นไก่ หรือหมู แต่ก็เทียบกันได้กับไข่ ฉะนั้นหากทานในปริมาณที่มากหน่อย ก็สามารถทดแทนปริมาณโปรตีนขั้นต่ำที่มนุษย์ควรจะได้ในแต่ละวัน 

ซึ่งนอกจากนั้นสิ่งที่หลายคนกังวลก็คือแร่ธาตุอื่น ๆ ที่อาจมองว่าเนื้อมีมากกว่า แต่ถั่วต่าง ๆ ยังขาด เช่น ธาตุเหล็ก ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นความเข้าใจผิด หากเทียบกันแล้วธาตุเหล็กในถั่วเหลือ 100 กรัม (~15.7 มก.) มากกว่าธาตุเหล็กในเนื้อ 100 กรัม (~2.6 มก.) 

โปรตีนเกษตร

โปรตีนเกษตร มีประโยชน์จริงหรือไม่ ?

เรากล่าวถึงประโยชน์ต่าง ๆ ของโปรตีนเกษตรมาอย่างเนิ่นนาน หากแต่แน่นอนว่าเหรียญย่อมมี 2 ด้าน เราไม่อยากให้ทุกคนมองว่ามีแต่ข้อดี เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าส่วนมากโปรตีนที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชที่มีการตัดแปลงพันธุ์กรรมสูงที่สุด หรือในการปรุงโปรตีนจากถั่วที่มีรสชาติจืด หลาย ๆ จ้าวต้องการเพิ่มให้รสชาติอร่อย จัดจ้าน จึงใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ผสมลงไปทำให้มีผลเสียต่อร่างกายมากขึ้น และไม่ใช่โปรตีนเกษตรทุกชนิดจะดีต่อสุขภาพ เช่นโปรตีนจากกลูเตนแป้งสาลี ก็ไม่ได้มีประโยชน์เท่าไหร่ ฉะนั้นก็จะต้องเลือกทานให้พอเหมาะ จากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ

โปรตีนเกษตร ยั่งยืนจริงหรือไม่ ?

นอกจากนั้น อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้คนหันมาสนใจบริโภคโปรตีนเกษตรมากขึ้นก็เพราะเห็นว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนกว่าอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ หรือตอบได้ง่าย ๆ ว่ารักษ์โลกมากกว่า แต่ความจริงแล้วองค์กร World Wild Life รายงานว่าถั่วเหลือง ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของโปรตีนเกษตรเป็นหนึ่งในพืชอุตสาหกรรมที่ทำลายโลกที่สุด

โดยกว่า 80% ของถั่วเหลืองทั่วโลก ผลิตที่อเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา ในช่วง 70 ปีมีการผลิตถั่วเหลืองมากขึ้นถึง 15 เท่า เป็นพืชที่ต้องการพื้นที่ และน้ำในการปลูกมาก ๆ จนทำให้เป็นพืชที่ทำให้เกิดการถางป่ามากเป็นอันดับที่ 2 รุกล้ำทำลายป่าฝนอเมซอน แถมทำลายแหล่งน้ำด้วยยาฆ่าแมลง เพราะต้องการลดค่าใช้จ่ายในการปลูกถั่วเหลืองที่เป็นพืชอุตสาหกรรม ทำให้มีการถกเถียงมาจนถึงปัจจุบันว่าอุตสาหกรรมโปรตีนจากถั่วเหลือง หรือน้ำมันถั่วเหลือง แท้จริงไม่ได้มีผลต่อการรักษาโลกแต่อย่างใด และหากจะผลิตโปรตีนถั่วเหลืองเพื่อทดแทนอุตสาหกรรมเนื้อทั้งหมด อาจต้องอาศัยพื้นที่มหาศาล ซึ่งจะทำให้เกิดการถางป่า ซึ่งสุดท้ายแล้วไม่เป็นผลดีต่อสภาพแวดล้อมในระยะยาวอย่างแน่นอน 

โปรตีนเกษตร

แนวทางการบริโภคโปรตีนเกษตร

สุดท้ายแล้ว เราก็จะต้องมาพูดกันตรง ๆ เลยว่าโปรตีนเกษตรไม่ใช่ยาวิเศษ ทดแทนเนื้อได้ มีแต่ประโยชน์ และรักษ์โลก 100% แต่อย่างไรก็ตามหากคุณมองว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นตัวเลือก ที่คุณบริโภคเป็นครั้งคราวเพื่อลดปริมาณการรับประทานเนื้อติดมัน และทำให้กินอะไรได้หลากหลายขึ้น โปรตีนจากถั่วเหลืองหรือแป้งสาลีก็อาจยังเป็นทางเลือกที่คุณควรตระหนักถึง โดยแนวทางการรับประทานมีดังนี้

เลือกแบรนด์ให้ดี ๆ : อย่ารับประทานโปรตีนจากถั่วที่ราคาถูกอย่างเดียว ให้เน้นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ หรือไม่ทำจากถั่วเหลืองที่ได้มาจากการถางป่า ถูกรองรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก และได้รับมาตรฐานทางโภชนาการด้วย เป็น Non-GMO

ทานโปรตีนเกษตรคู่กับผักและผลไม้ : สุดท้ายตามหลักโภชนาการ ไม่ควรขาดผักผลไม้สด เพราะมีวิตามินต่าง ๆ มากมายที่โปรตีนเกษตรไม่สามารถแทนที่ผักผลไม้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ

สังเกตตัวเองให้มาก ๆ : สุดท้ายแล้วเราไม่สามารถบอกได้ว่าอาหารนี้ดี อาหารนี้ไม่ดี เพราะร่างกายคนเราตอบสนองต่ออาหารแตกต่างกัน ให้ลองทานโปรตีนเกษตรแล้วสังเกตว่าเรารู้สึกดีขึ้นหรือไม่ ? มีพลังงานเยอะขึ้นหรือง่วงนอนตลอดวัน ระบบขับถ่ายดีขึ้นหรือแย่ลง แล้วจึงปรับเปลี่ยนการกินตามร่างกายของตนเอง

โปรตีนเกษตร

สุดท้ายแล้วเราจะสังเกตได้ว่าหากเป็นเรื่องของสุขภาพ และ wellness อาจไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับทุกคน เช่นโปรตีนเกษตร โดยรวมอาจเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ฉะนั้นหากอยากเพิ่มความอุ่นใจสำหรับสายเฮลตี้ทั้งหลาย แรบบิท แคร์ อยากแนะนำ ประกันสุขภาพ ให้คุณอุ่นใจทุกเรื่องสุขภาพมากขึ้น คลิกเลย

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024