แคร์สุขภาพ

น้ำมันปลา คืออะไร เหมือนน้ำมันตับปลาหรือไม่ มีประโยชน์ในด้านไหน ช่วยในเรื่องอะไร ? ใครบ้างที่ควรกิน ?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: January 19,2024
  
Last edited: June 3, 2024
น้ำมันปลา

น้ำมันปลาสิ่งที่คนมักสับสนกับน้ำมันตับปลาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งยังมักคิดว่าน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาเป็นสิ่งเดียวกัน ความจริงแล้วนั้นน้ำมันปลาคืออะไร เหมือนหรือมีความแตกต่างกับน้ำมันตับปลาอย่างไร น้ำมันปลานั้น ช่วยอะไร มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านไหน มีวิธีในการรับประทานอย่างไร ไม่ควรกินคู่กับอะไร เหมาะสมกับผู้บริโภคที่อยู่ในช่วงอายุเท่าไหร่ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับน้ำมันปลามาให้ ลองอ่านทำความเข้าใจจะได้หายสับสนกัน!

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    น้ำมันปลา คืออะไร ?

    น้ำมันปลา (Fish Oil) เป็นสารสกัดที่ได้จากส่วนหนัง เนื้อ หัว และหางของปลาซึ่งมักทำการสกัดมาจากปลาทะเลน้ำลึก โดยน้ำมันปลานั้นเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันหลายชนิด ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของเราในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านการทำงานของสมอง สุขภาพของหัวใจ สุขภาพของดวงตา สุขภาพผิว อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า น้ำปลานั้นเป็นตัวช่วยที่ดีในการดูแลสุขภาพของเรานั่นเอง

    น้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลาเหมือนกันหรือไม่ ?

    มาถึงเรื่องที่หลายคนมักเข้าใจผิดอย่างการคิดว่าน้ำมันปลา (Fish Oil) หรือสารสกัดที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของปลาทะเลน้ำลึก เช่น หนัง เนื้อ หัว หาง และน้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) หรือสารสกัดที่ได้จากส่วนตับของปลาทะเลนั้นคือสิ่งเดียวกัน ความจริงแล้วทั้ง 2 อย่างนี้นั้นเป็นสารสกัดที่อุดมไปด้วยประโยชน์ต่างชนิดกันซึ่งจะมีความเหมือนและแตกต่างกัน ดังนี้

    ในน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลานั้นต่างก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 (OmegaEicosapentaenoic Acid (EPA)) ที่ช่วยในการคุมระดับคอเลสเตอรอลและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน อีกทั้งยังมี DHA (Docosahexaenoic Acid) ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง และช่วยเสริมสร้างระบบการเรียนรู้เป็นส่วนประกอบหลักเช่นเดียวกัน

    แต่จะมีจุดที่แตกต่างกันอยู่ดังเช่นที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาลัยมหิดลได้ให้ข้อมูลน้ำมันตับปลาไว้ว่าน้ำมันตับปลานั้นจะมีปริมาณของวิตามินเอ รวมถึงปริมาณของวิตามินดีที่ค่อนข้างสูง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ จึงมีคำเตือนให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปริมาณที่จะนำไปใช้ ในขณะที่น้ำมันปลานั้นจะมีระดับความปลอดภัยที่มากกว่าเมื่อบริโภคไม่เกิน 3 กรัมต่อวัน 

    นอกจากนี้เนื่องจากน้ำมันตับปลานั้นทำมาจากส่วนตับของปลาซึ่งมีปริมาณคลอเลสเตอรอลที่ค่อนข้างสูงจึงส่งผลให้การบริโภคน้ำมันตับปลาปริมาณมาก ๆ ก็มีผลทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้เช่นกัน

    และนี่ก็คือสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา จะเห็นได้ว่าแม้จะมีกรดไขมันหรือส่วนประกอบหลักบางชนิดที่เหมือนกัน แต่ความจริงแล้ว ตั้งแต่ส่วนประกอบตั้งต้นของปลาที่ใช้สกัดออกมา ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเลยทีเดียว

    น้ํามันปลา ช่วยอะไร

    น้ำมันปลา ช่วยอะไร ?

    สำหรับผู้ที่ต้องการรู้รายละเอียดว่าน้ำมันปลา ช่วยอะไร หรือทานน้ำมันปลา ประโยชน์ที่จะได้รับนั้นมีอะไรบ้าง แรบบิท แคร์ จะช่วยแจกแจงให้ ความจริงแล้วน้ำมันปลามีประโยชน์มากมาย ช่วยดูแลร่างกายของเราดังนี้เลย

    • ช่วยดูแลการทำงานของสมอง : เนื่องจากในน้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมัน DHA และกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งถือเป็นกรดไขมันพื้นฐานที่จะถูกพบในเซลล์สมองมากถึง 40% และมีงานวิจัยรองรับว่าหากระดับกรดไขมัน DHA ลดลงจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ได้ นอกจากนี้ก็ยังมีผลการศึกษาที่ระบุว่าระดับความสมดุลของกรดไขมันนั้นส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า โดยผู้ที่มีระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 ต่ำกว่าปกติ และมีโอเมก้า 6 สูงนั้นจะมีโอกาสในการเกิดภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงมากกว่า

      ทั้งนี้ได้มีงานวิจัยที่กล่าวถึงน้ำมันปลา ว่าน้ำมันปลานั้นมีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองให้ดีขึ้นในผู้ที่มีภาวะถดถอยทางสมอง โดยเฉพาะเมื่อรับประทานตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่การทำงานของสมองลดลงนั่นเอง

    • ช่วยในการดูแลสุขภาพของหลอดเลือดและหัวใจ : มีผลการวิจัยรองรับว่าการกินน้ำมันปลาเป็นประจำสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งน้ำมันปลานั้นจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจหลาย ๆ ด้าน คือ ลดโอกาสในการเกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง โดยน้ำมันปลานั้นสามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้มากถึง 15-30% อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับคลอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ช่วยลดความดันในเลือดในผู้ที่มีความดันเลือดสูง และช่วยในการไหลเวียนของเลือด ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน เพราะมีคุณสมบัติในการยับยั้งการจับตัวกันของเกล็ดเลือดและลดภาวะการอักเสบนั่นเอง

    • ช่วยดูแลสุขภาพของดวงตา : นอกจากจะพบได้มากในสมองแล้วกรดไขมัน DHA ยังถูกพบมากในจอประสาทตาอีกด้วย ซึ่งเราจะสามารถค้นพบกรดไขมัน DHA ในจอประสาทตามากถึง 60% เลยทีเดียว อีกทั้งยังมีผลการวิจัยที่ระบุว่าผู้ที่ได้รับโอเมก้า 3 ไม่เพียงพอ จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคทางตามากขึ้น

    • ช่วยลดภาวะอักเสบ : คุณสมบัติเด่นอีกอย่างของน้ำมันปลาคือสามารถช่วยต้านการอักเสบได้ ทั้งการอักเสบเรื้อรังที่มาจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า หรือโรคหัวใจ ทั้งยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ข้อฝืด ข้อเสื่อม และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อีกด้วย

    • ช่วยดูแลสุขภาพผิว : น้ำมันปลาประกอบไปด้วย DHA และ EPA ที่เป็นกรดไขมันจำเป็นซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบจึงช่วยลดการอักเสบของผิวหนังและเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวหนังได้เป็นอย่างดี

    • ช่วยบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงการเกิดโรค : น้ำมันปลามีคุณสมบัติในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้มากมาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัลไซเมอร์ ภาวะซึมเศร้า โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไมเกรน โรคหอบหืด และโรคผิวหนังบางชนิด

    น้ำมันปลา ไม่ควรกินคู่กับ อะไร

    วิธีการทานน้ำมันปลาที่ถูกต้อง

    สำหรับบุคคลทั่วไป ควรรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณ 1-2 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการรับสารปนเปื้อน เช่น สารปรอท ที่อาจได้รับจากปลาบางชนิด เว้นแต่ว่าจะเป็นการรับประทานน้ำมันปลาในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งควรรับประทานตามปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำนั่นเอง

    น้ำมันปลาไม่ควรกินคู่กับอะไร ?

    สิ่งที่ไม่ควรกินร่วมกับน้ำมันปลาเนื่องจากจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงก็คือยาแอสไพริน เนื่องจากทั้งน้ำมันปลาและแอสไพรินนั้นต่างก็มีคุณสมบัติที่ทำให้เลือดใส ไม่หนืด ไม่จับตัวกันเป็นก้อน ส่งผลให้เมื่อกินคู่กันแล้วแม้จะมีบาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือกรอฟันเพียงนิดหน่อย ก็อาจส่งผลให้เลือดไหลมากเหมือนกันผ่าตัดใหญ่ได้เลยทีเดียว

    น้ำมันปลา ลดการอักเสบได้จริงหรือไม่ ?

    แน่นอนว่าน้ำมันปลา ลดการอักเสบได้ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นในหัวข้อของประโยชน์ของน้ำมันปลา ซึ่งจะสามารถลดการอักเสบได้ตั้งแต่การอักเสบของกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย ไปจนถึงการอักเสบที่อาจเกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อาการปวดข้อต่าง ๆ ด้วยนั่นเอง

    น้ำมันปลา อายุเท่าไหร่กินได้ ?

    สำหรับการรับประทานน้ำมันปลาโดยทั่วไปนั้นไม่ได้มีการกำหนดอายุผู้บริโภคตายตัว แต่ก็มีระบุว่าไม่ควรให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบครึ่งรับประทาน หากต้องการให้น้อง ๆ รับประทานควรเลือกสูตรที่เหมาะสมสำหรับเด็กซึ่งเน้นไปทางการบำรุงสายตาและสมองเป็นหลักนั่นเอง 

    น้ำมันปลาควรกินเวลาไหน ?

    เวลาที่เหมาะสมในการทานน้ำมันปลาคือช่วงเวลาพร้อมกับมื้ออาหาร หรือหลังมื้ออาหารไม่เกิน 30 นาที เนื่องจากช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี ทั้งยังช่วยลดอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย เรอ คลื่นไส้ ได้ด้วยนั่นเอง

    สรุป

    และทั้งหมดนี้ก็คือสิ่งที่ทุกคนควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำมันปลา ซึ่ง แรบบิท แคร์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้หลาย ๆ คนได้ดูแลสุขภาพ นอกจากนี้สำหรับใครที่ต้องการดูแลตัวเองอย่างครบครันและครอบคลุมก็ไม่ควรพลาด ที่จะทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ รับการดูแลอย่างดีแถมมีสิทธิประโยชน์ถูกใจ มีแต่ได้กับได้ คุ้มค่าแน่นอน


    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024