
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
สารให้ความหวาน อีกหนึ่งเทรนด์ที่คนรักสุขภาพจะต้องรู้จัก ว่าแต่สารให้ความหวานดีจริงไหม คนเป็นเบาหวานสามารถทานได้รึเปล่า? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักให้มากขึ้น ว่า สารให้ความหวานในปัจจุบันมีอะไรบ้าง? ประโยชน์ของหญ้าหวานมีจริงไหม? ไปหาคำตอบกัน!
สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือ น้ำตาลเทียม คือ น้ำตาลซูโครส (sucrose) สารที่ถูกออกแบบให้รสชาติหวานคล้ายกับน้ำตาล นิยมใช้เติมในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มรสหวานได้เหมือนน้ำตาล เช่น กาแฟ, ชา, ซีเรียล, น้ำอัดลม, ขนมอบ โดยให้แคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาลปกติ
นอกจากนี้น้ำตาลเทียมแต่ละชนิดก็ให้พลังงานแตกต่างกันออกไป เพียงแต่พลังงานที่น้อยกว่าน้ำตาลทรายค่อนข้างมาก ไม่ได้หมายความว่าจะแคลอรี่เป็น 0 แต่อย่างใด แต่สารให้ความหวานก็ยังเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด เช่น โรคเบาหวาน และมีบางการศึกษาเชื่อว่าสารให้ความหวานช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ
นอกจากนี้ สารให้ความหวาน แท้จริงไม่ได้ให้รสชาติเหมือนน้ำตาลมากขนาดนั้น เพราะบางชนิดอาจจะให้รสชาติขมเฝื่อนหรืออาจไปเปลี่ยนแปลงรสชาติอาหารได้ เราจึงควรศึกษาข้อมูลและศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะเลือกซื้อ และเลือกใช้ให้เหมาะกับอาหารที่ต้องการจะปรุงเพื่อหลีกเลี่ยงรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ควบคู่ไปด้วย
สรุปแล้ว น้ำตาลเทียม มีข้อดี ดังนี้
และถึงแม้สารให้ความหวานจะให้แคลอรีต่ำและปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ถ้าบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น
จะเห็นได้ว่า จุดประสงค์หลักของสารให้ความหวาน คือการเป็นหนึ่งในทางเลือกของการดูแลสุขภาพ ช่วยควบคุมพฤติกรรมการทานเท่านั้น ไม่ได้ช่วยรักษาโรคแต่อย่างใด ฉะนั้น หากใครที่ต้องการลดความหวานให้เป็นนิสัย ควรลดบริโภคของหวาน และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาลเทียมในระยะยาวจะดีที่สุด
ในปัจจุบันมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ปลอดภัยให้เลือกใช้ในท้องตลาดอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดจะมีข้อดีแตกต่างกันไป เบื้องต้นจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ซึ่งในปัจจุบัน มีน้ำตาลเทียมที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และกระทรวงสาธารณสุขไทยรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย ดังนี้
สารให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200-300 เท่า ให้รสหวานแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ให้พลังงาน โดยแอสปาแตม จะสลายตัวในอุณหภูมิที่สูง จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรใช้ในอาหารขณะที่กำลังปรุงบนเตา เพราะอุณหภูมิสูงทำให้แอสปาแตมสลายตัว มีผลต่อรสชาติของอาหาร
หากเทียบเป็นน้ำอัดลมกระป๋องที่ผสมแอสปาแตมจะสามารถกินได้ไม่ควรเกินวันละ 14 กระป๋อง หรือหากเป็นชนิดซอง ก็ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 68 ซอง
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่จะไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรียหรือมีภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน
หรือที่เรียกว่า Ace-K (ขัณฑสกร อีกประเภท) หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า รสหวานปนเค็มและฝาดติดลิ้น นิยมผสมกับแอสปาแตมที่ให้แคลอรี่ต่ำ เพื่อเพิ่มรสหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่ม เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในขนมหรือใช้ในเชิงอุตสาหกรรมมากกว่าใช้ในครัวเรือน
หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ น้ำตาลหญ้าหวาน เป็นสารสกัดจากพืชจากธรรมชาติที่ให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 300 เท่า ปัจจุบันมีการอนุญาตให้ใช้น้ำตาลหญ้าหวานเป็นสารทดแทนน้ำตาลในประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 30 ประเทศ ทำให้พบได้ในรูปแบบใบสด ใบแห้ง ผง น้ำเชื่อมรวมไปถึงน้ำตาลหญ้าหวาน เป็นต้น
ประโยชน์ของหญ้าหวาน แม้จะเป็นสารที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการ แต่เหมาะที่จะใช้ควบคุมพฤติกรรมการทาน และเป็นสารให้ความหวานกับอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ รวมไปถึงเป็นสารให้ความหวาน คีโต นอกจากนี้ยังผลิตจากธรรมชาติ นิยมใช้ในครัวเรือน และถือเป็นน้ำตาลเทียมที่ปลอดภัยเป็นอันดับต้น ๆ
หากนำไปผสมในน้ำอัดลมสูตรไร้น้ำตาล ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 16 กระป๋อง หรือหากเป็นชนิดซอง ก็ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 30 ซอง
เป็นสารให้หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่าของน้ำตาลทราย มีรสชาติดีคล้ายน้ำตาล ไม่มีรสขม ใช้ได้หลากหลาย ทนความร้อนในการหุงต้มและอบ ไม่ทำให้ฟันผุ ใช้ได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเนื่องจากซูคราโลสมีความหวานสูงมาก จึงมีข้อแนะนำให้ใช้ในปริมาณน้อยมาก หากเทียบเป็นน้ำอัดลมกระป๋องสูตรไร้น้ำตาล ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 15 กระป๋อง หรือแบบซองได้ไม่เกินวันละ 30 ซอง
คือ สารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 7,000 เท่า มีโครงสร้างใกล้เคียงกับสารให้ความหวาน แอสปาแตม
เช่น ไซลิทอล (Xylitol), ซอร์บิทอล (Sorbitol) , น้ำตาลอิริทริทอล เป็นน้ำตาลเทียมแทนที่พบได้ในพืชผัก ผลไม้หลายชนิด เช่น สตรอเบอร์รี่, ต้นเบิร์ช, องุ่น, พีช, แตงโม ไม่ทำให้ฟันผุ แต่หากบริโภคมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสียได้
ส่วน ขัณฑสกร นั้น ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้พยายามที่จะออกกฎหมายบังคับห้ามใช้ขัณฑสกรเป็นส่วนผสมของอาหาร และในประเทศไทยนั้นไม่อนุญาตให้ใช้ขัณฑสกรในเครื่องดื่มสำหรับด้านความปลอดภัยของการบริโภค เนื่องจากทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนั้นผู้บริโภคควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ และพยายามหลีกเลี่ยงขัณฑสกรด้วย
หรือหากใครที่กังวลว่าน้ำตาลเทียมสังเคราะห์เหล่านี้จะส่งผลต่อร่างกาย อาจเปลี่ยนมาเลือกใช้สารจากธรรมชาติอื่น ๆ ที่ทดแทนกันได้ เช่น น้ำผึ้ง, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำเชื่อมเมเปิ้ล หรือน้ำเชื่อมจากเกสรดอกไม้ ก็ได้เช่นกัน
แม้น้ำตาลเทียมจะมีข้อดีมากมาย แต่หลายหลายคนก็ยังคงมีข้อสงสัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลเทียมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักแบบคีโต
ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่า น้ำตาลเทียมถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีพลังงาน หรือให้พลังงานต่ำ น้ำตาลเทียมบางชนิดไม่มีคาร์โบไฮเดรต จึงอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานโดยไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะกับการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคพร้อมกับติดตามการรักษาร่วมกับเเพทย์
หรือผู้ที่ต้องการสารให้ความหวาน คีโต สำหรับผู้ควบคุมน้ำหนัก ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี หากเคร่งครัดอาจจะเลือกน้ำตาลเทียมเเบบไม่มีคาร์โบไฮเดรตหรือมีต่ำมากที่สุด เพื่อให้ร่างกายนำไขมันออกมาเผาพลาญแทน เช่น น้ำตาลหญ้าหวาน หล่อฮังก๊วย ซูคราโลส เป็นต้น
อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การเลือกใช้สารให้ความหวานเป็นประจำและบริโภคมากจนเกินไป อาจทำให้ลิ้นของเราเสพติดรสหวาน กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากรับประทานอาหารบ่อยยิ่งขึ้น
ฉะนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกบริโภคด้วยปริมาณที่เหมาะสม และพยายามบริโภคอาหารที่เป็นรสธรรมชาติของอาหารให้มากที่สุดจะดีกว่า
เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ สำหรับใครที่อยากได้ตัวช่วยดูแลเรื่องสุขภาพที่นอกเหนือจากการเลือกใช้สารให้ความหวาน ต้องนี่เลย ที่ แรบบิท แคร์ เราเป็นโบรกเกอร์ประกันภัย ที่มีทั้ง ประกันสุขภาพ IPD – OPD ประกันสุขภาพเด็ก ประกันโรคร้ายแรง ไว้ให้คุณได้อุ่นใจไม่ว่าจะเจ็บป่วยเรื่องไหนก็หายห่วง พร้อมเบี้ยประกันที่จับต้องได้ คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?