แคร์ขับขี่ปลอดภัย

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
Published February 16, 2021

จากข้อมูลของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พบว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิต อุบัติเหตุทางถนน ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองเยียวยาเพราะรถไม่มีการทำประกันภัย พ.ร.บ. เกือบร้อยละ 50 ของผู้เสียชีวิต ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจกันว่าเพราะอะไร พ.ร.บ.ถึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามไปของผู้ใช้รถใช้ถนน

พ.ร.บ.รถยนต์

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

คำว่า “พ.ร.บ.” คงเป็นคำที่หลายๆคนเคยได้ยินหรือรู้จักกันมาบ้าง แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจว่า “พ.ร.บ.” มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตเราได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น “พ.ร.บ.” ที่เรามักจะได้ยินเมื่อทำประกันภัยรถยนต์ หมายถึง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่

ประการแรกต้องทราบว่า “ใครมีหน้าที่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.?”

ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัย คือ เจ้าของรถทุกคนหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

หากไม่ทำถือว่าเป็น “โทษของการฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยตามกฎหมาย”

เจ้าของรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อหากไม่ทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากผู้ใดนำรถที่ไม่มีประกันภัยมาใช้ ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าเป็นเจ้าของรถแล้วไม่ทำประกันภัยและนำรถที่ไม่มีประกันภัยนี้ไปใช้จะมีโทษปรับทั้ง 2 กระทงความผิด 

เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถต้อง “ทำอย่างไรเมื่อมีผู้ประสบภัยจากรถ”

อย่าลืมว่าทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถหรือเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ขอให้รีบนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล,สถานพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุดเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าผู้บาดเจ็บได้รับอุบัติเหตุจากรถ และถ้ามีเวลาให้ตรวจดูว่ารถคันที่เกิดเหตุมีประกันภัยหรือไม่ กับบริษัทอะไร เพื่อที่ จะแจ้งโรงพยาบาลและบริษัทได้ถูกต้อง และอย่าลืมแจ้งอุบัติเหตุนั้นให้ตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุด้วย หรือโทรแจ้งเหตุที่ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด Call Center 1791 ตลอด 24 ชั่วโมง

พ.ร.บ.รถยนต์

มี พ.ร.บ. อุ่นใจ เพราะมี “ความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. อุบัติเหตุจากรถ (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563)”

เมื่อจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถคันเอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย คุ้มครองเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคนสำหรับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย หรือ 500,000 บาทต่อคนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้วแต่กรณี 

ใช้สิทธิโดยทุจริต… “กฎหมายลงโทษ”

ผู้ประสบภัยหรือทายาท ผู้ใดยื่นคำขอรับค่าเสียหายโดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อขอรับค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.นี้ มีความผิดมีโทษทางอาญา คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ. รถยนต์ เคลมอะไรได้บ้างเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

1.ค่าเสียหายในเบื้องต้น

  • บาดเจ็บ กรณีที่ได้รับการบาดเจ็บจากการขับขี่รถยนต์ สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ โดยทาง พ.ร.บ. จะจ่ายตามที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และหากในระยะเวลาต่อมา เกิดการทุพพลภาพขึ้น ทางบริษัทก็จะจ่ายให้อีก แต่รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
  • ทุพพลภาพ กรณีที่เกิดการทุพพลภาพทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ ก็สามารถเคลมค่าเสียหายได้ แต่ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายในเบื้องต้นให้ไม่เกินจาก 35,000 บาทต่อคน
  • เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายเงินชดใช้ค่าปลงศพให้ โดยจะจ่ายที่ 35,000 บาทต่อคน แต่หากเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาลตามข้อ 1 ทาง พ.ร.บ. ก็จะจ่ายแบบเหมารวมไม่เกิน 65,000 บาท

2.ค่าเสียหายส่วนเกิน

  • กรณีบาดเจ็บ กรณีที่เกิดการบาดเจ็บ จะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลรวมค่าสินไหมทดแทนให้ ไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ จ่ายชดเชยให้ทั้งหมดเป็นจำนวน 300,000 บาท ซึ่งหมายรวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วยหากมี
พ.ร.บ.รถยนต์

ขั้นตอนการเคลมค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

1.การเคลมค่าเสียหายกรณีบาดเจ็บ

การเคลมค่าเสียหายจากการบาดเจ็บจะต้องนำเอกสารไปยื่นกับทางบริษัท เพื่อขอเคลม โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบเสร็จจากโรงพยาบาล
  • ใบรับรองแพทย์ (กรณีทุพพลภาพ)
  • บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน (กรณีทุพพลภาพ)

2.การเคลมค่าเสียหายจากการเสียชีวิต

การเคลมค่าเสียหายจากการเสียชีวิต จะต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้ ไปยื่นกับทางบริษัท ซึ่งได้แก่

  • สำเนาบันทึกประจำวันพนักงานสอบสวน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาใบมรณบัตร

สำหรับผู้ประสบภัยจากรถทุกคน จะได้รับสิทธิความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเกิดอุบัติเหตุจากรถ ผู้ประสบภัยต้องแจ้งเหตุทันที ที่บริษัทกลางฯ โทร 1791 ตลอด 24 ชั่วโมง

อัปเดทรถยนต์ใหม่ ราคาโดน ๆ พร้อมโปรโมชั่นที่น่าสนใจ ต้องนึกถึง one2car.com และ เปรียบเทียประกันรถยนต์ จาก Rabbit Care

สนับสนุนบทความดี ๆ โดย Autospinn และติดตามเรื่องรถใหม่ก่อนใคร


บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

พวงมาลัยสั่น อันตรายไหม เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

การเดินทางด้วยรถยนต์นั้นพวงมาลัยถือเป็นส่วนสำคัญมากในการควบคุม ถ้าเกิดเจอพวงมาลัยสั่นระหว่างเดินทาง คงทำให้หลายคนตกใจอย่างมากว่ารถยนต์ของเรา
Thirakan T
17/04/2024

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

สรุปสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย

รวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ว่าแท้จริงแล้วมันมาจากอะไรได้บ้าง และถ้าหากเปรียบเทียบข้อมูลจากหน่วยงาน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ขับรถปวดหลัง เพราะนั่งนานหลายชั่วโมง มีวิธีแก้ปวดแบบไหนให้ทำตามบ้าง

อาการขับรถปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้งานรถยนต์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไกลหรือระยะสั้นก็ตาม
Thirakan T
11/04/2024