ทำประกันรถยนต์/พ.ร.บ. ซ้อน 2 บริษัทได้ไหม? ยกเลิกได้หรือเปล่า?
การทำประกันซ้อนอาจเกิดขึ้นได้จากทั้งความตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่ทราบหรือไม่ว่าการทำประกันภัยรถยนต์ซ้อนไม่ได้ช่วยเพิ่มความคุ้มครองที่จะได้รับแต่อย่างใด รวมถึงอาจสร้างความวุ่นวายในการแจ้งเคลมระหว่างบริษัทประกันภัยอีกด้วย หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าทำประกันหรือ พ.ร.บ. ซ้ำแล้วจะเบิกสินไหมยังไง หรือจะยกเลิกประกันซ้ำได้หรือไม่ แรบบิท แคร์ รวบรวมทุกคำถามเกี่ยวกับการทำประกันรถยนต์ 2 บริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจมาให้แล้วที่นี่
1. ทำประกันภัยรถยนต์ซ้อนกัน 2 บริษัทได้ไหม?
สามารถทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ซ้อนกับประกันรถยนต์ประเภทสมัครใจได้ เพราะกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมี พ.ร.บ. แต่การทำประกันรถภาคสมัครใจซ้อนกันมากกว่า 2 บริษัท จะไม่ช่วยให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นตามจำนวนของกรมธรรม์ประกันรถที่ทำเกินแต่อย่างใด โดยบริษัทประกันภัยจะต้องร่วมกันเฉลี่ยจ่ายชดใช้สินไหม หรือจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ทำประกันภัยตามลำดับการทำประกันภัยก่อนและหลังโดยไม่เกินกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และวงเงินความคุ้มครองของกรมธรรม์ที่ทำไว้ ตามรายละเอียดดังนี้
1.1 กรณีทำประกันรถพร้อมกัน
หากทำประกันรถซ้ำซ้อนกันในวันเเละเวลาเดียวกัน ให้แต่ละกรมธรรม์ประกันภัยร่วมกันเฉลี่ยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
1.2 กรณีทำประกันรถก่อน-หลัง
หากทําประกันรถยนต์ชั้น1 ซ้ำกันในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน บริษัทประกันที่รับทำประกันก่อนต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อน หากค่าชดเชยจากบริษัทประกันรายแรกไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง บริษัทประกันในลำดับถัดไปจะเข้ามาจ่ายค่าสินไหมชดเชยในส่วนที่ยังขาดให้จนครบโดยไม่เกินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
2. ทำ พ.ร.บ. ซ้ำซ้อนกัน 2 ฉบับ จะเบิกได้ทั้ง 2 บริษัทเลยหรือไม่?
สามารถขอรับค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยประเภทบังคับ หรือ พ.ร.บ. ได้ทั้ง 2 ฉบับ กรณีที่ค่าสินไหมชดเชยจากบริษัทประกันที่แรกไม่พอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง โดยหากทำ พ.ร.บ. ซ้อนกัน 2 ฉบับ จะมีวิธีให้ความคุ้มครองแบบเดียวกับกรณีทำประกันรถยนต์ซ้ำกัน คือ
บริษัทไหนที่เริ่มให้ความคุ้มครองก่อน ต้องเริ่มเคลมกับบริษัทนั้นให้ครบวงเงินชดเชยก่อน หากวงเงินที่ได้รับยังไม่เพียงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง สามารถแจ้งเคลมค่าความเสียหายเพิ่มเติมกับบริษัทถัดไปได้ แต่หากทำ พ.ร.บ. หรือประกันรถยนต์ประเภทสมัครใจพร้อมกัน 2 บริษัท ในวันและเวลาเดียวกัน จะให้ทั้งสองบริษัทร่วมกันเฉลี่ยจ่ายชดเชยความเสียหายแทน มีรายละเอียดการเคลมสินไหมจาก พ.ร.บ. ดังนี้
2.1 เบิกสินไหมจาก พ.ร.บ. กรณีบาดเจ็บ
กรณีผู้ขับขี่ฝ่ายที่ไม่ประมาทได้รับความเสียหายบาดเจ็บทางร่างกาย จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อหนึ่งคน และหากค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงเกินวงเงินความคุ้มครองของ พ.ร.บ. จากบริษัทแรก จึงจะเบิกค่าชดเชยเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. อื่นที่ทำซ้ำไว้ได้ แต่หากเป็นฝ่ายประทาท จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น จำนวน 30,000 บาทเท่านั้น
2.2 เบิกสินไหมจาก พ.ร.บ. กรณีเสียชีวิต
กรณีผู้ขับขี่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตโดยเป็นฝ่ายถูก จะขอรับสินไหมชดเชยจากประกันภัย พ.ร.บ. กรณีเสียชีวิตได้เต็มวงเงิน จำนวน 500,000 บาทต่อหนึ่งคน จากทั้งสองกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ทำซ้ำกัน แต่หากผู้เสียชีวิตเป็นฝ่ายประมาท จะได้รับเฉพาะวงเงินชดเชยค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาทต่อคนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ต้องขอรับสินไหมทดแทนจากประกันภัย พ.ร.บ. ให้ครบตามวงเงินความเสียหายที่กำหนดไว้เป็นอันดับแรกก่อน หลังจากนั้นประกันรถยนต์ประเภทสมัครใจ เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันรถยนต์ชั้น 2 จะให้วงเงินความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนที่เกินจากวงเงินสูงสุดที่ พ.ร.บ. กำหนดไว้
3. ทำประกันรถซ้อนจะยกเลิกได้หรือไม่?
3.1 ยกเลิกได้ด้วยการแจ้งขอเวนคืนกรมธรรม์
สามารถแจ้งยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่ซื้อเกินได้โดยติดต่อกับบริษัทประกันภัยโดยตรงเพื่อแจ้งขอยกเลิกประกัน และเตรียมเอกสารประกอบการขอยกเลิก เช่น สำเนาบัตรประชาชน กรมธรรม์ตัวจริง และหน้าสมุดบัญชีธนาคาร
อย่างไรก็ตาม เมื่อแจ้งยกเลิกประกันแล้ว จะไม่ได้รับเบี้ยประกันคืนเต็มตามจำนวนเงินที่จ่ายไป เนื่องจากกรมธรรม์ได้เริ่มความคุ้มครองไปแล้ว แต่จะได้รับเงินค่าส่วนต่างตามสัดส่วนการคืนเบี้ยประกันภัยที่ คปภ. กำหนดไว้ในตารางแนบท้ายกรมธรรม์
3.2 ยกเลิกได้ด้วยการหยุดจ่ายเบี้ยประกันรถ
การหยุดจ่ายเบี้ยโดยไม่แจ้งบริษัทประกันภัย เป็นอีกหนึ่งวิธีในการบอกเลิกกรมธรรม์ความคุ้มครองที่สามารถทำได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข หรือข้อกฎหมายแต่อย่างใด หากเพิ่งทราบว่าทำประกันรถซ้อนโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องการยกเลิกความคุ้มครอง และอยู่ในระหว่างแบ่งจ่ายเบี้ยประกันกับบริษัทประกันภัยอยู่ เจ้าของกรมธรรม์สามารถเลือกหยุดจ่ายเบี้ยประกันได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งบริษัท เพียงเท่านี้เท่านี้ประกันรถที่ต้องการยกเลิกก็จะไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป
นอกจากการทำประกันซ้ำจะไม่ช่วยเพิ่มความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุเเล้ว ยังอาจสร้างภาระทางการเงินจนทำให้ไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ครบ และต้องยกเลิกทุกกรมธรรม์ความคุ้มครองไป
ทำประกันรถยนต์ซ้อน ประกันแต่ละชั้นจะคุ้มครองแตกต่างกันอย่างไร
การทำประกันรถยนต์ซ้อน คือ การที่ผู้ขับขี่ทำประกันมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์กับหลายบริษัทประกันภัยสำหรับรถคันเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ในบางกรณีตามกฎหมาย แต่การคุ้มครองจะไม่ซ้ำซ้อนกัน กล่าวคือ แม้ว่าคุณจะมีประกันภัยมากกว่าหนึ่งกรมธรรม์ แต่การชดเชยค่าเสียหายจากประกันภัยจะถูกจำกัดตามหลักการที่เรียกว่า “ร่วมรับผิดชอบ” (Contribution) ซึ่งหมายความว่าแต่ละบริษัทประกันภัยจะร่วมกันชดเชยค่าเสียหายตามสัดส่วนของความคุ้มครอง ไม่ใช่การชดเชยเต็มจำนวนจากทุกบริษัท อย่างไรก็ตาม การทำประกันซ้อนยังมีผลกระทบที่แตกต่างกันไปในแต่ละชั้นของประกัน ดังนี้
1. ประกันรถยนต์ชั้น 1
- ความคุ้มครองซ้อนกัน: หากคุณทำประกันชั้น 1 กับมากกว่าหนึ่งบริษัท ทั้งสองบริษัทจะไม่จ่ายเงินซ้ำซ้อนในการเคลมประกัน แต่จะใช้หลักการแบ่งจ่ายค่าเสียหายตามสัดส่วน เช่น หากเกิดความเสียหายที่ต้องซ่อมแซมรถของคุณ มูลค่าความเสียหายจะถูกแบ่งกันระหว่างบริษัทประกันที่คุณทำไว้
- การเคลมประกัน: คุณต้องเลือกแจ้งเคลมกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งก่อน หลังจากนั้นบริษัทประกันที่รับเคลมจะขอร่วมจ่ายกับบริษัทประกันอื่นที่คุณทำไว้ โดยคุณจะไม่ได้รับเงินซ้ำซ้อน
2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+
- ความคุ้มครองซ้อนกัน: เช่นเดียวกับประกันชั้น 1 หากทำประกันชั้น 2+ กับหลายบริษัท ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุจะถูกแบ่งชำระตามสัดส่วนระหว่างบริษัทประกัน
- การเคลมประกัน: ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี คุณสามารถแจ้งเคลมกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่คุณทำประกันไว้ หลังจากนั้นบริษัทประกันจะดำเนินการชดเชยและแบ่งความรับผิดชอบระหว่างกัน
- ไม่คุ้มครองกรณีไม่มีคู่กรณี: แม้ว่าคุณจะทำประกันซ้อน แต่ประกันชั้น 2+ จะยังคงไม่คุ้มครองในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนสิ่งของ หรือชนกำแพง
- ความคุ้มครองซ้อนกัน: ประกันชั้น 2 ครอบคลุมเฉพาะรถของคู่กรณีและกรณีรถหายหรือไฟไหม้ ดังนั้นการทำประกันซ้อนหลายกรมธรรม์จะไม่ทำให้คุณได้รับเงินซ้ำซ้อน แต่จะเป็นการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างบริษัทประกัน
- การเคลมประกัน: หากเกิดอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิด และมีความเสียหายต่อรถของคู่กรณี บริษัทประกันแต่ละแห่งจะร่วมรับผิดชอบค่าซ่อมแซมรถของคู่กรณีตามสัดส่วน
4. ประกันรถยนต์ชั้น 3+
- ความคุ้มครองซ้อนกัน: ประกัน 3+ คือ ประกันรถยนต์ที่คุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีเช่นเดียวกับชั้น 2+ ดังนั้น การทำประกันซ้อนกับหลายบริษัทจะไม่ทำให้คุณได้รับความคุ้มครองซ้ำซ้อน แต่จะใช้หลักการร่วมรับผิดชอบเช่นกัน
- การเคลมประกัน: หากเกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี เช่น ชนกับรถคันอื่น คุณสามารถแจ้งเคลมกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง และความคุ้มครองจะถูกแบ่งตามสัดส่วนระหว่างบริษัทประกันที่คุณทำไว้
- ไม่คุ้มครองกรณีไม่มีคู่กรณี: เช่นเดียวกับชั้น 2+ ประกันชั้น 3+ จะไม่ครอบคลุมความเสียหายในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนสิ่งกีดขวาง หรือชนกำแพง
5. ประกันรถยนต์ชั้น 3
- ความคุ้มครองซ้อนกัน: ประกันรถยนต์ชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะรถของคู่กรณี ดังนั้นการทำประกันซ้อนหลายกรมธรรม์จะไม่ทำให้ได้รับการชดเชยซ้ำซ้อน
- การเคลมประกัน: หากเกิดอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิด และคู่กรณีได้รับความเสียหาย บริษัทประกันแต่ละแห่งจะร่วมกันรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถคู่กรณี
- ไม่คุ้มครองรถของคุณเอง: ประกันชั้น 3 จะไม่ครอบคลุมความเสียหายของรถผู้เอาประกันเอง ไม่ว่าคุณจะทำประกันกี่กรมธรรม์ก็ตาม
ข้อควรพิจารณาสำหรับการทำประกันรถยนต์ซ้อน
- ไม่สามารถเคลมซ้ำซ้อน: ไม่ว่าคุณจะทำประกันกับกี่บริษัท บริษัทประกันจะไม่จ่ายเงินชดเชยซ้ำซ้อนในกรณีที่มีความเสียหาย บริษัทประกันจะจ่ายตามสัดส่วนของค่าเสียหาย
- ความคุ้มครองจะไม่เพิ่มขึ้น: แม้ว่าคุณจะมีประกันซ้อน ความคุ้มครองสูงสุดก็ยังคงอยู่ในกรอบของความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง คุณจะไม่สามารถเรียกร้องชดเชยเกินมูลค่าความเสียหายได้
- ค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible): หากมีการกำหนดค่าความเสียหายส่วนแรก การทำประกันซ้อนก็อาจไม่ช่วยลดภาระค่าความเสียหายส่วนแรกนั้น
- ความคุ้มครองตามประเภทของประกัน: การทำประกันซ้อนยังคงยึดตามประเภทของประกันที่คุณเลือก เช่น ชั้น 1 ครอบคลุมทุกกรณี ส่วนชั้น 2+ และ 3+ จะคุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณี
การทำประกันรถยนต์ที่คุ้มค่าที่สุด คือ การเลือกทำประกันรถให้ครบถ้วนตามความต้องการใช้งาน และความสามารถในการจ่ายเบี้ยด้วยแบบประกันรถยนต์และ พ.ร.บ. จากทุกบริษัทประกันภัยชั้นนำที่ แรบบิท แคร์ คัดมาให้แล้ว
พร้อมระบบเปรียบเทียบที่จะช่วยประหยัดเวลาในการเลือกและคำนวณค่าใช้จ่ายให้เห็นทันที รับส่วนลดสูงสุด 70% หรือผ่อน 0% นานสูงสุด 3-10 เดือนได้ทันที เฉพาะลูกค้าที่ซื้อประกันรถกับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป! เปรียบเทียบเลย!
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ทำประกันภัยรถยนต์ซ้อนคุ้มกว่าจริงหรอ?
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์
- สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต