แคร์ขับขี่ปลอดภัย

เอกสารสำคัญเมื่อคุณต้องการ เคลม พ.ร.บ.

ผู้เขียน : Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
 
Published: March 21,2021
เคลม พรบ

สำหรับผู้ขับขี่ยานยนต์นั้น การทำ พ.ร.บ.รถยนต์เอาไว้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำ รถยนต์ทุกคันต้องมีการต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์เอาไว้อย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาด เพื่อให้สามารถขับขี่ยานยต์บนท้องถนนได้อย่างถูกกฎหมาย และอุ่นใจมากขึ้นเพราะมีความคุ้มครองพื้นฐานที่ช่วยรองรับในกรณีที่รถยนต์ประสบเหตุไม่คาดฝัน

สิ่งที่ผู้ขับขี่หลายคนอาจมองข้ามไปก็คือเรื่องของการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ ว่าสามารถนำมาเคลมอะไรได้บ้าง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการเคลม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่คนขับขี่รถยนต์จะต้องทำความเข้าใจ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ก็จะได้ใช้สิทธิและเบิกค่าใช้จ่ายที่พึงได้ตามความคุ้มครอง เคลมอะไรได้บ้าง

เคลม พรบ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์

ใครบ้างที่ พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครอง ?

สำหรับผู้ที่ พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า ที่ประสบภัยจากรถ ซึ่งทางบริษัทจะชดใช้ค่าเสียหายในเบื้องต้นให้ทันที โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

ขั้นตอนการเคลมค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ และรถคันที่ประสบอุบัติเหตุ มีความคุ้มครองจากประกันภัย พ.ร.บ. ผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุครั้งนี้จะได้รับการคุ้มครอง โดยเอกสารที่ควรเตรียมเพื่อใช้เบิกประกัน พ.ร.บ. มีดังนี้

กรณีบาดเจ็บ เบิกค่ารักษาพยาบาล

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  •  ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

หมายเหตุ

บริษัทอาจให้ผู้ประสบภัยแสดงหลักฐานแสดงการเกิดอุบัติเหตุจากรถ หรือประจำวันตำรวจแล้วแต่กรณีเนื่องจาก เงื่อนไขการประกันภัยนี้จะคุ้มครองผู้ประสบภัยที่เกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถคันที่มีประกันภัยไว้กับบริษัทเท่านั้น ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ต้องแจ้งเหตุให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หรือหากมีการกระทำให้มีผู้ประสบภัยจากรถแล้วเป็นความผิดทางอาญาต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยไม่ชักช้า

เคลม พรบ

กรณีเบิกค่าชดเชย นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน)

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  • ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือใบสรุปหน้างบ หรือ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล

หมายเหตุ

กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน จะได้รับความคุ้มครอง ไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  • ใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายเพราะประสบภัยจากรถ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

กรณีเสียชีวิต

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะประสบภัยจากรถ

หมายเหตุ

การจ่ายค่าเสียหาย ของบริษัทประกันภัย จะจ่ายให้กับตัวผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้น หากผู้เสียหายนั้น ไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองได้ ก็สามารถมอบอำนาจให้กับบุคคลหนึ่ง บุคคลใดที่ท่านไว้วางใจให้มากระทำการแทนได้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ และการจ่ายค่าเสียหายนั้นทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายเป็นเช็คชื่อผู้ประสบภัยที่แท้จริง เว้นแต่กรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยธรรมตามกฎหมายเท่านั้น

 

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็อย่าปล่อยให้ พ.ร.บ. ขาดกันนะครับ เพราะนอกจากจะต้องเสียเงินเองแล้ว การฝ่าฝืนหรือไม่ยอมต่ออายุในแต่ละปี จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

และหากผู้ใดยื่นขอรับค่าเสียหายโดยทุจริต หรือยื่นหลักฐานอันเป็นเท็จ มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตาม ความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับอย่าง พ.ร.บ. รถยนต์ นั้น อาจไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานรถยนต์ในปัจจุบัน ด้วยสภาพแวดล้อม ลักษณะการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ขอแนะนำให้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่ม โดยพิจารณาแผนความคุ้มครองตามความเหมาะสมได้เลย

 


 

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์  และจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อ กับ Autospinn

เช็กราคาประกันรถยนต์ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ ที่ rabbitcare.com/car-insurance
ราคารถมือสอง ซื้อรถมือสอง ขายรถมือสอง เชิญได้เลยที่ one2car


 

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

Rabbit Care Blog Image 94050

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

บีบแตรแบบไหนมีโทษทางกฎหมาย ? รวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการบีบแตร

การบีบแตรรถยนต์นั้นนอกจากจะมีจุดประสงค์ในการใช้ส่งสัญญาณเตือนเพื่อความปลอดภัย ในปัจจุบันหลายคนมักใช้แตรรถผิดจุดประสงค์หลักกันอย่างมากมาย
Natthamon
26/08/2024
Rabbit Care Blog Image 90930

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

วิธีดูแลรถยนต์ไฟฟ้า ev ช่วงหน้าฝนให้ปลอดภัยในทุกการขับขี่

ไฟฟ้ากับน้ำไม่ใช่สิ่งที่จะอยู่ร่วมกันได้เลยในความเป็นจริง แต่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ev ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้
Thirakan T
18/07/2024