แคร์ยานยนต์

ส่องสัญญาณ “คลัตช์พัง” มีอาการอย่างไรบ้าง

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
Published November 12, 2020

อาการที่บ่งบอกได้ว่าคลัตช์หมด คลัตช์พัง หรือคลัตช์เสียนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่เช่นกัน นอกจากคลัตช์จะทำให้รถยนต์ของคุณไม่สามารถขับต่อได้แล้ว ยังอาจทำให้ระบบเกียร์นั้นพังไปอีกด้วย ซึ่งก่อนที่คลัตช์จะพังคุณสามารถตรวจดูอาการต่าง ๆ ได้ว่า มีอะไรบอกหรือส่งสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่เจ้าของรถยนต์ต้องคอยสังเกต ดังนี้

1.คลัตช์ลื่น เกิดได้จาก 2 สาเหตุ ประกอบด้วย 

  • คลัตช์หมด-ใกล้หมด สาเหตุใหญ่มาจากผ้าคลัตช์ที่เริ่มบางลงจนอาจถึงหมุดที่ย้ำตัวผ้าไว้กับจาน ส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานรอบสูงขึ้นแต่ความเร็วต่ำกว่าปกติ หรือรถไม่มีกำลังเมื่อขึ้นทางชัน 
  • เกิดจากสาเหตุเกิดน้ำมันเกียร์รั่ว หรือจารบีที่ทาแกนเพลาเกียร์ 4 มากเกินความจำเป็น เมื่อเกิดการหมุนจารบีจึงถูกเหวี่ยงไปถูกผ้าคลัตช์ อาจเกิดจากช่างที่ไม่มีความชำนาญตั้งคลัตช์ใหม่จนเกิดอากาน้ำมันเกียร์รั่วได้ และทำให้คลัตช์ลื่นได้ 

2.คลัตช์สั่น

ส่วนใหญ่เกิดจากหน้าสัมผัสระหว่าง หวีคลัตช์-ผ้าคลัตช์-ล้อช่วยแรง ไม่เรียบส่งผลให้ขณะออกตัวรถเกิดอาการสั่นหรือกระตุก วิธีแก้ไขคือ เปลี่ยนผ้าคลัตช์ใหม่ หวีคลัตช์จะเปลี่ยนหรือเจียรใหม่ก็ได้ ส่วนล้อช่วยแรงให้เจียรใหม่

3.คลัตช์พัง

เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ สปริงจานคลัตช์หลุด-หัก หมุดที่ย้ำผ้าคลัตช์แตกออก ลูกปืนคลัตช์แตก ทำให้รถเข้าเกียร์ไม่ได้ วิธีแก้ไขคือยกคลัตช์ชุดใหม่ ซึ่งถ้าดูไม่เป็นหรือสาเหตุไม่เจอทางที่ดีที่สุดควรนำรถยนต์ของเรานั้นเข้าศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจเช็คสภาพรถยนต์อยู่เป็นประจำก็ถือว่าเป็นการป้องการในเรื่องของความปลอดภัยได้ 

คลัตช์พัง

วิธีถนอมคลัตช์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

รถยนต์คู่ใจของคุณไม่ว่าจะใช้ระบบเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติ ก็ต้องใส่ใจดูแลตรวจสอบคลัตช์ว่า ยังคงสภาพดีอยู่หรือไม่ หรือต้องทำการเปลี่ยนได้แล้ว เพราะโดยปกติคลัตช์ 1 ชุด จะมีอายุการใช้งานประมาณ 100,000 – 200,000 กิโลเมตร ซึ่งหากเจ้าของรถยนต์ต้องการให้คลัตช์ใช้งานได้นาน ๆ ควรจะต้องรู้จักวิธีการใช้คลัตช์ให้ถูกต้อง ดังนี้

  • อย่าเลี้ยงคลัตช์ และควรออกตัวรถด้วยเกียร์ 1 เสมอเพื่อลดภาระของชุดคลัตช์ และเมื่อเปลี่ยนเกียร์ควรเหยียบคลัตช์ให้สุด แล้วปล่อยช้า ๆ เมื่อขับขี่รถบนทางลาดชัน อย่าเหยียบคลัตช์แช่ เพราะจะทำให้ผ้าคลัตช์สึกหรอมากกว่าปกติ 
  • อย่าเหยียบคลัตช์โดยไม่จำเป็นเช่น การเบรกแบบกะทันหัน ไม่ควรเหยียบคลัตช์ก่อนเหยียบเบรก เพราะเมื่อเหยียบคลัตช์อยู่ในระหว่างเกียร์ว่างและจะทำให้รถยนต์ของเราไม่เกาะถนน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นเกิดเสียหลัก ลื่น และอาจทำให้รถหมุนได้ง่าย
  • ไม่ควรพักเท้าที่คลัตช์ เช่นว่า ช่วงเวลาที่กำลังรอเปลี่ยนเกียร์หลายคนมักจะชอบพักเท้ารอที่คลัตช์ ซึ่งในทางเป็นจริงแล้วเราไม่ควรว่าเท้าไว้ที่คลัตซ์ เพราะอาจทำให้จานกดคลัทช์หนีห่างจากฟลายวีล และทำให้คลัตช์เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนดนั่นเอง 
  • อาการคลัตช์หมด หลายคนอาจะไม่ค่อยได้สังเกตเพราะคิดว่าขับรถยนต์ด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติแล้วจึงไม่ได้ให้ความสนใจและคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้กับรถยนต์ของตัวเอง แต่แท้ที่จริงแล้วระบบเกียร์อัตโนมัติก็มีคลัตช์ทำงานอยู่ข้างในเช่นกัน ฉะนั้นแล้วเราต้องคอยสังเกตดูอาการเตือน เพื่อเป็นการดูแลรักษาอยู่เสมอก็ย่อมยืดอายุการใช้งานได้

เทคนิคง่าย ๆ สำหรับการดูแลรักษาคลัตช์ให้มีอายุที่ยาวนานมากขึ้น หรือช่วยถนอมอายุการใช้งานให้คงสภาพดีไม่สึกหรอก่อนกำหนดนั่นเอง แต่ทางที่ดีไม่ว่าจะเป็นคลัตซ์ หรือส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นแล้วเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน เราจึงควรใส่ใจดูแลรถยนต์ของเราอย่างสม่ำเสมอ

อัปเดตรถยนต์ใหม่ ราคาดี๊ดี พร้อมโปรโมชั่นใหม่ ๆ คลิก one2car.com และ ประกันภัยรถยนต์ ข้อเสนอพิเศษ จาก Rabbit Care
สนับสนุนบทความดี ๆ โดย Autospinn และติดตามเรื่องรถใหม่ก่อนใคร


บทความแคร์ยานยนต์

แคร์ยานยนต์

กระจกรถร้าว อันตรายไหม ระหว่างซ่อมกับเปลี่ยนใหม่ แบบไหนดีกว่า

โอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ โดยเฉพาะในเรื่องกระจกรถร้าว ที่เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวอย่างมาก แต่พอถึงเวลาจริง
Thirakan T
23/04/2024

แคร์ยานยนต์

แนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ผู้หญิงให้เหมาะสม พร้อมสรุปรุ่นไหนน่าสนใจ

แม้ปัจจุบันการเป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์สักคันจะเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ผู้หญิงแล้ว ยังคงต้องใช้การตัดสินใจที่ค่อนข้างละเอียด และรอบคอย
Thirakan T
22/04/2024

แคร์ยานยนต์

แต่งเครื่องยนต์ ให้แรงขึ้นทำได้จริงไหม ต้องแจ้งขนส่งหรือไม่

สายซิ่งอยากแต่งเครื่องยนต์ให้แรงขึ้นแบบจี๊ดจัด สามารถทำได้จริงแน่นอน เพียงแต่อาจมีบางสิ่งที่เราควรรู้ก่อนตัดสินใจพารถคู่ใจของเราไปทำการ
Thirakan T
22/04/2024