แคร์รถยนต์

7 เช็คลิสต์ ตรวจสภาพรถง่ายๆ ก่อนเดินทางไกลเที่ยวสงกรานต์

ผู้เขียน : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
 
Published: March 25,2019
  
Last edited: August 12, 2024
ตรวจสภาพรถก่อนเดินทางไกลในวันสงกรานต์

ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ และเทศกาลสงกรานต์ก็ใกล้เข้ามาแล้ว  หลายๆ คนคงกำลังวางแผนเที่ยวช่วงวันหยุดยาว หรือเตรียมวางแผนเดินทางไกลกลับบ้านไปพบปะญาติพี่น้อง

แต่คงจะไม่ดีแน่ๆ ถ้าเจ้ารถยนต์คู่ใจ ดันมาเกิดปัญหาขึ้นในช่วงที่จะเดินทาง เพราะนอกจากจะไปไม่ถึงจุดหมายเเล้ว ยังเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในระหว่างทางเพิ่มขึ้นอีกด้วย แรบบิท แคร์ สรุปรวม 7 จุดสำคัญในรถยนต์ที่สามารถตรวจเช็กด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ก่อนออกเดินทางไกลเที่ยวสงกรานต์มาฝากกัน

เช็คสภาพรถก่อนเดินทางวันสงกรานต์

1. รอยรั่วซึมรอบตัวรถ

การรั่วซึมของของเหลวภายจากในระบบรถยนต์ ไม่ว่าจะรั่วไหลออกมาภายนอกตัวรถ หรือไหลซึมให้เห็นภายในห้องเครื่องยนต์ นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนความผิดปกติของชิ้นส่วนหรืออะไหล่ต่างๆ ภายในรถยนต์  หากไม่รีบแก้ไขอาการการรั่วซึมที่เกิดเพียงเล็กน้อย ของเหลวที่รั่วไหลออกมาอย่างไม่ถูกที่ถูกทางอาจขยายความเสียหายไปยังส่วนอื่นๆ ของเครื่องยนต์ได้

2.1 สิ่งที่ต้องเช็กเมื่อตรวจรอยรั่วซึมของรถด้วยตัวเอง

ตรวจสอบสภาพความพร้อมของชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ภายในรถยนต์จากประเภทของเหลวที่อาจรั่วซึมออกมาให้เห็นได้จากบริเวณภายในห้องโดยสาร ใต้ท้องรถ หรือในห้องเครื่องยนต์ เช่น น้ำมันเครื่อง, น้ำมันเพาเวอร์จากพวงมาลัย, น้ำมันเบรก, น้ำมันเกียร์, น้ำมันคลัทช์, น้ำหม้อน้ำ, น้ำฉีดกระจก, น้ำทิ้งระบบหล่อเย็น หรือน้ำกลั่นแบตเตอรี่

2.2 ขั้นตอนในการตรวจรอยรั่วซึมของรถด้วยตัวเอง

  1. ตรวจสภาพรถโดยรวมเพื่อหารอยรั่วซึม โดยเริ่มจากก้มมองที่บริเวณใต้ท้องรถ บริเวณล้อรถ บริเวณภายในห้องโดยสาร บริเวณแผงควบคุม (คอนโซล) และบริเวณภายในห้องเครื่องยนต์
  2. ตรวจสอบประเภทของเหลวที่รั่วซึม โดยหากพบว่ามีร่องรอยของการรั่วซึม มีหยดน้ำหรือของเหลวรั่วซึม ใหสังเกตสภาพหรือสีของเหลวนั้นๆ ดู ตัวอย่างเช่น
  • หยดน้ำในห้องโดยสาร – คาดว่ามีสาเหตุมาจากท่อน้ำทิ้งส่วนคอยล์เย็นมีปัญหา หรือเกิดปัญหากับระบบแอร์รถยนต์
  • ของเหลวสีแดง – คาดว่ามีปัญหาบริเวณพวงมาลัยพาวเวอร์
  • ของเหลวสีเขียว – คาดว่าเกิดปัญหาบริเวณระบบหล่อเย็น
  • ของเหลวสีดำ – คาดว่าเป็นรอยรั่วของน้ำมันเครื่องรถยนต์

2. ยางรถยนต์

ยางรถยนต์เป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งที่มักจะสึกหรอเมื่อมีการใช้งานรถยนต์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ยางรถยนต์มีโอกาสชำรุดได้หากต้องเดินทางไกล เพราะฉะนั้น อย่าลืมเช็กความดันลมยาง และควรเพิ่มความดันลมยางให้มากขึ้น 3-5 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักของผู้โดยสาร, สัมภาระ รวมถึงการเสียดสีของหน้ายางกับผิวถนนด้วย

2.1 สิ่งที่ต้องเช็กเมื่อตรวจยางรถยนต์ด้วยตัวเอง

ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์โดยรวม และวันหมดอายุของยางรถยนต์ ซึ่งต้องไม่มีลักษณะดอกยางเสื่อม แก้มยางฉีกขาด หน้ายางมีรอยแตกลายงา ยางปูดบวมผิดรูปทรง เนื้อยางแข็งกระด้างผิดปกติ

2.2 ขั้นตอนในการตรวจยางรถยนต์ด้วยตัวเอง

  1. ตรวจสภาพโดยรวมของยางรถยนต์ทั้ง 4 ล้อ ด้วยการสังเกตด้วยตาเปล่า ไม่ว่าจะเป็นลักษณะผิดปกติของยางรถยนต์จากอาการแบน บวม หรือรอยฉีกขาด
  2. ตรวจสอบแรงดันลมยาง ด้วยเกจวัดลมยาง เพียงหมุนจุกปิดลมยางออก และเสียบเกจวัดลมยางค้างไว้สักครู่เพื่อรออ่านค่าแรงดันจากหน้าปัดแสดงผล (ทั้งแบบเข็มและแบบดิจิทัล) โดยส่วนใหญ่จะมีค่าความดันอยู่ที่ 28-32 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) 
  3. ตรวจสอบลึกของดอกยาง โดยอุปกรณ์วัดความลึก หรือสังเกตได้ด้วยตาเปล่า หากเนื้อยางใช้งานสัมผัสถนนไปจนบางลง และมีระดับความหนาใกล้เคียงกับช่องว่างหรือร่องยาง หากมีลักษณะแบบนี้ควรเปลี่ยนชุดยางรถยนต์ใหม่
  4. ตรวจสอบยางอะไหล่ อุปกรณ์ช่วยเหลือ และจุกปิดยางให้พร้อมใช้งาน
ประกันรถยนต์-ช่วงสงกรานต์-ยางรถยนต์

3. ไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟรถยนต์

ไฟรถยนต์สำคัญมาก โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องขับรถตอนกลางคืน หากไม่มีแสงจากไฟรถยนต์ที่สว่างมากพอก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้รวมถึงไฟบริเวณหน้าปัดรถยนต์และไฟภายในห้องโดยสารด้วย ควรตรวจเช็กสภาพของไฟให้พร้อมใช้ก่อนที่จะเดินทาง หากเจอสิ่งผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทันเวลา

3.1 สิ่งที่ต้องเช็กเมื่อตรวจไฟและสัญญาณไฟรถยนต์ด้วยตัวเอง

ตรวจสอบการทำงานของระบบไฟส่องสว่างและระบบไฟเตือนต่างๆ เช่น ไฟหน้า, ไฟหรี่,ไฟสูง,ไฟต่ำ, ไฟขอทาง, ไฟเลี้ยว, ไฟฉุกเฉิน, ไฟส่องป้ายทะเบียน, ไฟถอยหลัง,ไฟตัดหมอก และไฟเบรค โดยโคมไฟต้องไม่แตกร้าว ไม่มีอาการการทำงานผิดปกติ เช่น ไม่สว่าง, สว่างน้อยกว่าปกติ, สว่างไม่สม่ำเสมอต่อเนื่อง หรือกระพริบถี่ผิดปกติ

3.2 ขั้นตอนในการตรวจตรวจไฟและสัญญาณไฟรถยนต์ด้วยตัวเอง

  1. ตรวจสภาพโคมไฟด้วยตาเปล่า โดยโคมไฟต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน 
  2. ตรวจสีของแสงและการติดตั้ง โดยตำแหน่งการติดตั้ง จำนวนและสีต้องถูกต้องตามกฏหมาย
  3. ตรวจการทำงานโดยการเปิดสวิตช์ควบคุม เริ่มต้นจากไล่เปิดไฟหน้า จากนั้นเปลื่ยนเป็นไฟสูงสลับกัน รวมถึงเช็กชุดไฟเลี้ยวทุกดวง ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ไปจนถึงไฟเบรค และไฟถอยหลัง
  4. ตรวจสอบทิศทางและความเข้มของแสง จากการใช้งานจริงในสภาพแวดล้อมที่มีแสงมาก หรือช่วงที่มีแสงน้อย

4. ระบบเบรกและน้ำมันคลัตช์

ระบบเบรกเป็นสิ่งที่ต้องเช็กให้แน่ใจเลย เพราะถ้าระบบเบรกมีปัญหา นั่นอาจหมายถึงอันตรายที่จะเกิดกับคนบนรถยนต์ โดยเฉพาะคนที่ต้องการใช้งานรถยนต์ในการเดินทางไกลยิ่งต้องเช็กให้ละเอียด

วิธีการเช็กระบบเบรกเบื้องต้นทำได้โดยการสตาร์ทรถและเข้าเกียร์ D แล้วลองเหยียบที่แป้นเบรกเพื่อดูว่ามีการเบรกอยู่ไหม และมีการคืนตัวเป็นยังไง กระตุกหรือไม่ หากพบสิ่งผิดปกติให้นำรถยนต์เข้าศูนย์เพื่อทำการซ่อมแซมจะดีกว่า

4.1 สิ่งที่ต้องเช็กเมื่อตรวจระบบเบรกด้วยตัวเอง

ตรวจสอบการทำงานของระบบเบรกโดยต้องไม่มีอาการผิดปกติในระหว่างการใช้งานเบรก เช่น เสียงผิดปกติ, รถส่ายไปมา, พวงมาลัยสั่นหรือหมุน, รถกระตุก, ปัญหารั่วซึมบริเวณล้อ หรือใต้ท้องรถ, เบรกแข็งหรือจมผิดปกติ

4.2 ขั้นตอนในการตรวจระบบเบรกด้วยตัวเอง

  1. ตรวจน้ำมันเบรก ต้องมีสภาพใส  และมีระดับตามปริมาณที่กำหนด ไม่รั่วซึมบริเวณใต้ท้องรถหรือตามล้อรถยนต์
  2. ตรวจหม้อลมเบรก (Brake Booster) เพื่อเช็กความหนักเบาในการใช้แรงเหยียบเบรก ทั้งในระหว่างดับเครื่องยนต์และติดเครื่อง 
  • เริ่มจากเหยียบเบรกจนสุด 3-5 ครั้ง และเหยียบเบรกค้างไว้ขณะดับเครื่องยนต์ 
  • ติดเครื่องยนต์โดยที่ยังเหยีบบเบรกค้างไว้อยู่ ระหว่างนี้เบรกควรจะจมลงไปเล็กน้อย
  • ดับเครื่องและเหยียบเบรคคาไว้อย่างน้อย 30 วินาที ระดับแป้นเบรกต้องไม่เปลี่ยนแปลง 
  • ปล่อยเท้าจากเบรคแล้วติดเครื่องยนต์อย่างน้อย 1 นาที แล้วดับเครื่อง เหยียบเบรคซ้ำหลายๆ ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะรู้สึกแป้นเบรคหนัก และยกตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ต้องใช้แรงเหยียบมากขึ้น ถือว่าระบบสูญญากาศในหม้อลมยังทำงานได้ดีตามปกติ

เช็คแบตเตอรี่ด้วยตัวเอง

5. น้ำกลั่นและแบตเตอรี่

น้ำกลั่นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำงานของเครื่องยนต์ ควรเติมน้ำกลั่นให้พอดีกับระดับที่กำหนด และเตรียมติดรถไปด้วยเผื่อเติมในอนาคตหรือยามฉุกเฉิน ส่วนแบตเตอรี่ก็เป็นแหล่งพลังงานของระบบไฟฟ้าต่างๆ ภายในรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียง ไฟรถยนต์ ระบบแอร์รถยนต์ ล้วนแต่พึ่งพาพลังงานจากแบตเตอรี่ จึงควรตรวจเช็กบริเวณขั้วต่อสายไฟว่ายังมีสภาพดีหรือไม่ และอายุการใช้งานแบตเตอรี่นานแค่ไหน ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนหรือยัง

5.1 สิ่งที่ต้องเช็กเมื่อตรวจน้ำกลั่นและแบตเตอรี่ด้วยตัวเอง

ตรวจสอบประสิทธิภาพในการเก็บไฟ ปริมาณน้ำกลั่น ตลอดจนอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยแบตเตอรี่ที่เสื่อมประสิทธิภาพอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์เริ่มติดเครื่องยาก, ไฟหน้าสว่างน้อยลง, ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง รวมถึงระบบไฟฟ้าในรถยนต์ทำงานผิดปกติ

5.2 ขั้นตอนในการตรวจน้ำกลั่นและแบตเตอรี่ด้วยตัวเอง

  1. ตรวจสภาพแบตเตอรี่โดยทำความสะอาดคราบสกปรก หรือฝุ่นผงบนตัวแบตเตอรี่ด้วยผ้าชุบน้ำยาเช็ดกระจก หรือผงฟูผสมน้ำ
  2. ตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ผ่านตาแมว (Indicator Sign) ที่แสดงบนตัวแบตเตอรี่ หรือเปิดช่องเซลล์แบตเตอรี่ (ฝาพลาสติกด้านบนของแบตเตอรี่) และใช้ไฟฉายส่องเพื่อดูปริมาณน้ำกลั่นที่เหลืออยู่
  3. ตรวจอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ โดยแบตเตอรี่ทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี อายุการใช้งานที่แนะนำจะขึ้นอยู่กับประเภทแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่แบบแห้ง แบตเตอรี่กึ่งแห้ง หรือแบตเตอรี่แบบน้ำ

6. สายพานรถยนต์

สายพานมีหน้าที่ถ่ายทอดกำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ไปยังชิ้นส่วน และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถยนต์ เพื่อร่วมกันทำงานและขับเคลื่อนรถยนต์ การตรวจสายพานรถยนต์ด้วยตัวเองทำได้ง่ายๆ เริ่มจากการมองสำรวจร่องรอยชำรุด และเช็กความตึงของสายพานด้วยการใช้นิ้วมือกดที่ช่วงกลางสายพาน หากลองกดลงไปแล้วสายพานยังมีความตึง คือกดลงไปได้ไม่เกิน 10 มม. แสดงว่าสายพานยังอยู่ในสภาพดี สามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่ถ้ากดลงไปได้มากกว่านั้น แนะนำให้เปลี่ยนสายพานก่อนดีกว่า

6.1 สิ่งที่ต้องเช็กเมื่อตรวจสายพานรถยนต์ด้วยตัวเอง

ตรวจสอบสภาพสายพานต่างๆ ในระบบเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นสายพานลิ่ม, สายพานแบน หรือสายพานฟันเฟื่อง หากสายพานเสื่อมอายุการใช้งาน จะสังเกตได้จากการลักษณะกรอบแตก ลายงา ขาดบิ่น หรือมีเสียงผิดปกติจากการทำงานของเครื่องยนต์

6.2 ขั้นตอนในการตรวจสายพานรถยนต์ด้วยตัวเอง

  1. ตรวจสอบสภาพโดยรวมของสายพาน ด้วยการสังเกตได้ด้วยตาเปล่าโดยไม่ต้องถอดประกอบชิ้นส่วนใดใด หากพบว่าสายพานฉีกขาด ควรเปลี่ยนทันที
  2. ตรวจสอบความตึงของสายพาน ด้วยการใช้มือกดลงไปบนเส้นสายพาน หากสายพานหย่อนมากเกินไป หรือมีลักษณะแข็ง กรอบแตก ไม่ยืดหยุ่น ควรต้องเปลี่ยนสายพานเช่นกัน
  3. ตรวจอายุการใช้งานของสายพาน จากในคู่มือประจำรถ และบันทึกการตรวจสภาพรถครั้งล่าสุด โดยสายพานส่วนใหญ่จะมีรอบเปลี่ยนเมื่อครบกำหนดระยะทางอยู่ที่ 100,000 กิโลเมตร

7. ประกันรถยนต์

ช่วงสงกรานต์แบบนี้ สื่อมักจะเรียกว่าช่วง 7 วันอันตราย โดยส่วนใหญ่แล้วก็มาจากอุบัติเหตุบนท้องถนนนี่แหละ เพราะฉะนั้น การใช้รถใช้ถนนจึงมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง การขับรถอย่างไม่ประมาทและการเมาไม่ขับ ก็อาจไม่ช่วยให้อุ่นใจได้มากเท่าที่ควร

ขอแนะนำให้เช็กประกันรถยนต์ พ.ร.บ. ให้ยังพร้อมใช้งาน รวมถึงมองหาประกันรถยนต์เพิ่มในช่วงสงกรานต์ เพราะเป็นช่วงที่บริษัทประกันภัยหลายๆ เจ้า ทยอยออกโปรโมชันดีๆ มาให้คนที่ใช้รถยนต์ในช่วงวันหยุดยาวนี้ได้เลือกประกันรถยนต์ที่มีข้อเสนอและเบี้ยประกันที่น่าสนใจ ทำให้ได้รับความคุ้มครองมารองรับให้อุ่นใจในราคาที่สบายกระเป๋า

บทสรุปส่งท้าย

แรบบิท แคร์ รวบรวมประกันรถออนไลน์จากทุกบริษัทชั้นมาให้ได้เลือกเปรียบเทียบครบทุกความต้องการ ในที่เดียว พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 70% พร้อมบริการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และบริการช่วยเหลือในทุกเส้นทางการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นบริการช่วยเหลือและให้ข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ Care Center โทร 1438 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือบริการแจ้งเคลมหรือประสานแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่าน LINE Official Account (@rabbitcare)

รับสิทธิพิเศษเพิ่มความแคร์รับสงกรานต์แบบนี้ได้ เฉพาะลูกค้าที่เลือกซื้อประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ ตั้งเเต่วันนี้เป็นต้นไปเท่านั้น! เปรียบเทียบประกันกับแรบบิท แคร์ ได้เลยที่ Rabbit Care หรือโทร 1438


 

บทความแคร์รถยนต์

Rabbit Care Blog Image 96528

แคร์รถยนต์

น้ำหยดใต้ท้องรถ เกิดจากอะไร? แบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ

เคยสังเกตกันไหมว่าเวลาที่เราจอดรถยนต์นิ่งสนิท บางครั้งจะมีน้ำหยดใต้ท้องรถลงมาด้วย ซึ่งจะมากหรือน้อยเราไม่อาจคาดเดาได้เลยหากไม่ทำความเข้าใจ
Natthamon
19/11/2024
Rabbit Care Blog Image 97244

แคร์รถยนต์

เอารถเข้าศูนย์ เช็คระยะ ทำยังไง ต้องจองล่วงหน้าไหม ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเท่าไหร่

หลังจากที่ออกรถมาใหม่ เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการเอารถเข้าศูนย์ เพื่อเช็กระยะตามที่ทางศูนย์ได้กำหนดเอาไว้
Natthamon
11/11/2024
Rabbit Care Blog Image 96140

แคร์รถยนต์

กุญแจรถแบตหมดกระทันหัน แก้ไขปัญหาได้ด้วยวิธีไหน

กลัวไหมกับการที่กุญแจรถแบตหมดแบบกระทันหัน โดยที่เราไม่ได้ตั้งตัว จนเกิดความกังวลว่ามันจะทำให้เราไม่สามารถเปิดรถได้ตามปกติ หรือสตาร์ทรถไปไหนไม่ได้เลย
Natthamon
29/10/2024