ระบบเกียร์ CVT คืออะไร ทำงานยังไงนะ ?
หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ ระบบเกียร์ Continuously Variable Transmission หรือเกียร์ออโต CVT กันมาบ้าง ซึ่งระบบเกียร์นี่ ส่วนใหญ่จะเป็นเกียร์ในรถรุ่นใหม่ๆ ว่าแต่มันแตกต่างจากระบบเกีบร์ทั่วๆ ไปยังไงนะ ไปความรู้จักกันดีกว่า
ระบบเกียร์ CVT คืออะไร ทำงานยังไงนะ ?
รู้กจักกับ ระบบเกียร์ CVT กันเถอะ
เกียร์ CVT ในรถยนต์ หรือ ระบบเกียร์แปรผัน เป็นเกียร์ที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานตามกำลังที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ ซึ่งในชุดเกียร์จะประกอบด้วย พูลเลย์ 2 ตัว ตัวแรกต่อกับเครื่องยนต์เรียกว่า พูลเล่ย์ขับ (DRIVE PULLEY) ส่วนตัวที่ต่อกับเพลาจะเรียกว่า พูลเลย์ตามหรือพูลเล่ย์กำลัง (DRIVEN PULLEY) โดยทั้งสองตัวจะทำงานสอดคล้องกันตามอัตราเร่งและรอบเครื่องยนต์
เกียร์ CVT กับเกียร์ AUTO แบบ TORQUE CONVERTER มีวิธีการสั่งการให้ขับเคลื่อนเหมือนกัน แต่ใส้ในต่างกัน จะมีหลักการปรับเปลี่ยนอัตราทดเหมือนกันคือเปลี่ยนจากเฟืองมาเป็นพูลเล่ย์ ที่จะขยายใหญ่หรือลดขนาดไปตามอัตราทดที่ต้องการ โดยใช้สายพานโลหะเป็นตัวเชื่อมการทำงานของพูลเลย์ทั้ง 2 อันไว้ด้วยกัน ซึ่งระบบการปรับขนาดของพูลเล่ย์นี้มีทั้งแบบทำงานโดยไฟฟ้าและไฮดรอลิก ทำให้ไร้ความรู้สึกในการปรับเปลี่ยนอัตราทดในเกียร์ CVT
ข้อดีของเกียร์ CVT คือ ความนุ่มนวลสามารถเปลี่ยนจาก 1 ไป 2 ไป 3 ได้ โดยไม่มีกระชาก เหมือนเกียร์ AUTO ปกติ ดังนั้นจึงทำให้รถยนต์นิ่งไม่มีความรู้สึกถึงการกระชาก หรือกระตุกในจังหวะเปลี่ยนเกียร์ แต่จะค่อยๆ ไต่ความเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างนุ่มนวล
ด้วยข้อดีเหล่านี่เอง ที่ส่งผลให้ทำให้อัตราการบริโภคน้ำมันลดลง และไม่มีการลากรอบทิ้งก่อนเปลี่ยนเกียร์เหมือนเกียร์ออโต้ และด้วยความนุ่มนวลนี่เอง ที่อาจทำให้ไม่ทันใจขาซิ่ง หรือผู้ที่คุ้นเคยกับเกียร์ออโต้แบบเก่าเท่าไหร่นัก
ระบบเกียร์อื่นๆ แตกต่างกันอย่างไร นะ?
นอกจากระบบเกียร์ CVT แล้ว ยังมีระบบเกียร์อื่นๆ ที่ควรทำความรู้จัก โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับทั้งหลายที่ควรรู้จักเอาไว้ โดยหลักๆ ระบบเกียร์ที่รถยนต์หลายรุ่นชอบใช้ มีดังต่อไปนี้
เกียร์ธรรมดา
เป็นรูปแบบเกียร์ที่เรียบง่ายและเก่าแก่มากที่สุด โดยมีหลักการทำงานคร่าวๆ คือ มีชุดคลัทช์เป็นตัวตัดต่อกำลังจากเครื่องยนต์กับชุดเกียร์ ด้วยการเหยียบ-ปล่อยแป้นคลัทช์ เมื่อต้องการเปลี่ยนจังหวะเกียร์ผ่านคันเกียร์ ซึ่งประกอบด้วยชุดเฟืองที่มีอัตราทดต่างกันสำหรับจังหวะเกียร์ต่างๆ
สำหรับนักขับมือใหม่ การใช้เกียร์ธรรมดาเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ข้อดีคือด้วยกลไกที่เรียบง่ายทำให้การซ่อมบำรุงได้ไม่ยาก มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าเกียร์รูปแบบอื่นๆ
เกียร์อัตโนมัติ
รูปแบบเกียร์ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะใช้งานง่ายเมื่อเทียบกับเกียร์ธรรมดา ไม่ต้องกังวลกับการเหยียบคลัทช์เปลี่ยนเกียร์ ซึ่งเกียร์อัตโนมัติจะคิดแทนให้หมด โดยจะมีทอร์คคอนเวอร์เตอร์ที่ซับซ้อนเป็นตัวส่งกำลังจากเครื่องยนต์ โดยปัจจุบันเกียร์อัตโนมัติก้าวไปไกลถึงระดับ 9 สปีด แล้ว
แม้จะขับขี่ได้ง่าย ทนทาน แต่เกียร์ประเภทนี้ เมื่อต้องซ่อมบำรุง จะมาพร้อมกับค่าซ่อมบำรุงสูง
เกียร์กึ่งอัตโนมัติ และ เกียร์คลัตช์คู่ DCT
เป็นรูปแบบเกียร์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างเกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา ซึ่งเกียร์กึ่งอัตโนมัติ (Semi-Automatic) นี้จะใช้ลักษณะกลไกคล้ายเกียร์ธรรมดาแต่จะมีระบบนิวเมติก (Pneumatic) และแอคทูเอเตอร์ (Actuator) หรือวาล์วหัวขับมาช่วยในการเปลี่ยนเกียร์
โดยเกียร์รูปแบบนี้ จะมีทั้งโหมดอัตโนมัติ หรือผู้ขับขี่เลือกเปลี่ยนเกียร์เองได้แบบเกียร์ธรรมดาผ่านแพดเดิลชิฟท์ที่พวงมาลัย ทั้งเกียร์ Semi-Automatic และ DCT นี้ถือเป็นเกียร์ยุคใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มสมรรถนะของรถยนต์ด้วยการเปลี่ยนเกียร์ที่รวดเร็วกว่าเกียร์ธรรมดา
ส่วนใหญ่มักจะเห็นเกียร์ทั้ง 2 รูปแบบนี้ในรถแข่ง หรือรถสปอร์ตราคาแพง เนื่องจากมีต้นทุนสูง กลไกการทำงานค่อนข้างซับซ้อน รวมถึงค่าซ่อมบำรุงที่แพงกว่าด้วยเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า เกียร์แต่ละแบบล้วนมีทั้งข้อดีและเสียแตกต่างกันออกไป หากเราเข้าใจหลักการใช้งาน และหลักการทำงาน จะช่วยให้เราใช้งานได้อย่างถูกต้อง ทำให้เกิดสมรรถนะสูงสุด ไม่สิ้นเปลือง หรือพละกำลัง รวมถึง ช่วยยืดอายุการใช้งานในการขับขี่ได้มากขึ้นด้วย
แต่ถ้าอยากซื้อรถยนต์ เข้าไปอัปเดตรถยนต์ใหม่ ราคาดี และซื้อขายสะดวกสบาย ที่ one2car.com สนับสนุนบทความดี ๆ โดย Autospinn อย่าลืมติดตามเรื่องรถใหม่-รถมือสองก่อนใครที่นี่
อย่าลืม ประกันรถยนต์ข้อเสนอพิเศษ คลิกเลย ! Rabbit Care
บทความอื่นๆ เกี่ยวกับเกียร์รถยนต์
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct