เปิดร้านขายของชำซักร้าน ด้วย 7 สเต็ปง่าย ๆ ต้องใช้งบเท่าไร ? มาดูกันเลย!!
ความฝันของหลาย ๆ คน อาจไม่ต้องมีธุรกิจใหญ่โตรวยล้นฟ้า หากแต่สามารถมีชีวิตเปี่ยมสุข เรียบง่าย พร้อมธุรกิจร้านขายของชำเล็ก ๆ สุดน่ารัก สำหรับเพื่อนบ้านรอบ ๆ ข้าง ได้ซื้อของ จนสามารถเป็นรายได้หลัก หรือรายได้เสริมที่มั่นคงทุกเดือน
หากนี่คือความฝันของคุณ! มาดูกันเถอะว่าจะเริ่มเปิดร้านขายของชำอย่างไร? งบประมาณในการเปิดร้านขายของชำคือเท่าไหร่? แล้วต้องขออะไรบ้าง? ตั้งแต่ใบสรรพสามิต ยันทะเบียนพาณิชย์ ไปดูวิธีกันเลย! ซึ่งบอกเลยว่าจะดูแต่วิธีการเชิงเทคนิคไม่ได้!! ต้องเอาศาสตร์ความโชคดี มูเตลู เข้ามาเสริมพลังให้ธุรกิจไปได้ด้วยดีด้วย! ใครคิดจะเปิดร้านขายของชำ อย่าลืมคลิกดูฤกษ์เปิดร้าน เริ่มต้นธุรกิจรุ่งเรืองร่ำรวยกันเลย
1. ศึกษาตลาดก่อนเปิดร้านขายของชำ
ไม่ใช่แค่ร้านขายของชำ ร้านค้าปลีก แต่ไม่ว่าธุรกิจใด ลำดับแรกที่เราควรจะคำนึงถึงคือการหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่เรากำลังจะเข้าไปมีส่วนร่วม ในกรณีของร้านขายของชำ สิ่งที่เราสามารถทำได้ง่ายที่สุดคือการสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า
- ช่วงเวลาที่ผู้คนในบริเวณนั้น นิยมออกมาซื้อของกัน
- เป็นพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับอะไร เช่นโรงเรียน อาจต้องขายของที่เด็กชอบ หรือแหล่งชุมชนผู้สูงอายุ ต้องเป็นของเพื่อสุขภาพ ยี่ห้อดั้งเดิม
- ดูคู่แข่ง หากเป็นพื้นที่ที่มีร้านค้าปลีกเยอะอยู่แล้ว เช่นเซเว่นอีเลฟเว่น โลตัส เราอาจไม่สามารถแข่งขันในด้านความหลากหลายของสินค้า อาจเปลี่ยนแนวไปขายของเฉพาะทางที่ เซเว่นฯ ไม่มีก็เป็นไปได้
2. เลือกทำเลที่เหมาะกับร้านขายของชำของคุณ
สำหรับร้านโชห่วย ร้านค้าปลีก และร้านขายของชำเล็ก ๆ เรื่องของทำเลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ และถือเป็นครึ่งหนึ่งของความสำเร็จได้เลยทีเดียว ยิ่งทำเลดีอย่างอาคารที่จดทะเบียนอพาร์ทเม้นท์มีผู้คนพลุกพล่าน คนก็ยิ่งเดินเข้าร้านขายของชำของเราเยอะมากขึ้นเท่านั้น โดยจะขอแบ่งทำเลออกเป็น 2 รูปแบบ
ทำเลที่เป็นเจ้าของอยู่แล้ว
นำบ้าน หรือตึกแถวของตนเองมาปรับเป็นร้านขายของชำ หรือร้านโชห่วยเล็ก ๆ ทำให้รู้สึกว่าเป็นร้านที่เป็นกันเอง มีกลิ่นอายของธุรกิจในครัวเรือน ข้อดีคือเป็นทำเลที่ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องเช่า และบรรยากาศร้านอบอุ่น มีเอกลักษณ์ แต่ข้อเสีย หรือข้อจำกัดคือเรื่องของทำเลที่จะอยู่แค่ในพื้นที่ชุมชน เป็นทำเลรอง ไม่ใช่ที่พลุกพล่าน และหากเป็นบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยเยอะ อาจมีความยุ่งวุ่นวายในการขายเล็กน้อย
ทำเลที่ต้องซื้อหรือเช่า
หากเป็นกรณีที่อยากได้ร้านขายของชำที่ดูเป็นทางการ มีการขายให้คนหมู่มาก (Mass) อาจไปเช่าพื้นที่ตึกแถว หรือร้านเล็ก ๆ ติดกับแหล่งพลุกพล่านเพื่อตั้งเป็นร้านขายของชำ โดยแน่นอนว่าข้อเสียคือจะต้องจ่ายค่าเช่า ค่าพื้นที่ทุกเดือน จึงเหมือนกับผู้ประกอบการที่มีงบเยอะ แต่ข้อดีคือสามารถเลือกทำเลที่ดีที่สุดในการตั้งร้านขายของชำ และอาจสะดวกสบายในการประกอบการ
3. คำนวณงบประมาณในการเปิดร้านขายของชำ
งบประมาณขั้นต่ำในการเปิดร้านขายของชำ คือ ประมาณ 1 แสนบาทขึ้นไป แต่หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจร้านขายของชำ คือ ต้องมั่นใจว่าเรามีเงินหมุนในแต่ละเดือนด้วย ฉะนั้นอาจคำนวนไปเลยว่า 70% ของเงินที่จะใช้ลงทุนงบประมาณในการเปิดร้านขายของชำ เป็นเงินเริ่มต้นสร้างร้านโชห่วย ส่วนที่เหลืออาจให้เป็นเงินเก็บไว้หมุนเวียน หรือเงินทุนสำรอง
โดยสิ่งที่ต้องลงทุนในร้านขายของชำมีค่อนข้างเยอะ แต่ ก็มี 3 สิ่งหลัก ๆ ที่ร้านขายของชำทุกร้านจะต้องมี ได้แก่
ชั้นวางของ
สามารถเลือกชั้นวางของได้หลากหลายรูปแบบ หลัก ๆ คือ 1.) ชั้นวางของสำเร็จรูป ที่ซื้อมาแล้วประกอบให้เลยเรียบร้อยแค่นำมาจัดวางในร้านโชห่วยก็ใช้งานได้เลย อาจมีราคาค่อนข้างสูง ราวละ 1,000 – 2,000 บาท และแบบที่ 2.) ชั้นวางของประกอบเอง อาจได้ราคาที่ถูก และสามารถปรับให้เข้ากับขนาดของร้านโชห่วยได้อย่างพอดี แต่อาจดูไม่เรียบร้อย และยากต่อการติดตั้ง
โต๊ะเก็บเงิน
ทุกร้านขายของชำจะต้องมีโต๊ะเก็บเงินทั้งหมด โดยพื้นฐานสิ่งที่จะต้องมีคือ โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องคิดเงิน POS (Point of Sale System) ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายระดับราคา ตั้งแต่ราคา 2,500 – 8,000 บาท ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของฟังก์ชั่น ความล้ำสมัยของเครื่อง
ตู้แช่
เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของร้านขายของชำที่มูลค่าค่อนข้างสูง โดยสามารถเลือกได้ประมาณ 3 รูปแบบ นั่นคือ 1.) ตู้แช่ 1 ประตู ซึ่งเป็นตู้แช่ขนาดเล็ก เหมาะกับร้านขายของชำท้องถิ่น 2.) ตู้แช่ 2 ประตู มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เหมาะสำหรับร้านขายของชำขนาดใหญ่ และสุดท้ายคือ 3.) ตู้ไอติม หรือตู้ไอศครีม สำหรับร้านขายของชำที่ต้องการมีตู้ไอศครีม เน้นขายขนมล่อตาล่อใจเด็ก ๆ ซึ่งราคาจะมีตั้งแต่หลักพัน ไปจนถึงหลักหลาย ๆ หมื่นเลย
สรุปงบประมาณในการเปิดร้านขายของชำ
ของใช้สำหรับการเปิดร้านขายของชำ | ประมาณราคา |
ชั้นวางของ | ~20,000 บาท |
โต๊ะเก็บเงิน | ~1,000 บาท |
เครื่องคิดเงิน POS | ~3,000 บาท |
เก้าอี้ | ~500 บาท |
ตู้แช่ 2 ประตู 1 ตู้ | ~16,000 บาท |
ตู้ไอศครีม 1 ตู้ | ~9,900 บาท |
ค่าเช่าที่ | ~18,500 บาท |
ค่าสินค้าในสต็อก | ~25,000 บาท |
เงินทุนสำรอง | ~24,600 บาท |
รวม ~100,000 บาท |
โดยสุดท้ายแล้ว งบประมาณในการเปิดร้านขายของชำ จะอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามงบประมาณก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการของร้านโชห่วยแต่ละร้าน ซึ่งหากพิจารณาแล้วอาจลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลงได้อีก โดยเฉพาะในกรณีที่ทำร้านขายของชำที่เปิดในบ้าน ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าที่ ฉะนั้นเราจึงไม่สามารถการันตีงบประมาณในการเปิดร้านขายของชำได้อย่างชัดเจนแน่นอน หากแต่ก็สามารถประมาณงบประมาณในการเปิดร้านขายของชำ มาได้ประมาณนี้
4. หาแหล่งซื้อสินค้า
อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับร้านขายของชำ ก็คือต้องดูด้วยว่าเราจะเอาสินค้าต่าง ๆ จากไหน ลักษณะสินค้าที่ต้องการขาย รวมถึงราคา และกำไร ซึ่งถ้าหากยิ่งได้สินค้าราคาถูก ราคาขายส่ง ก็จะสามารถขายสินค้าในอัตราราคาที่ดี ซึ่งสุดท้ายก็จะนำไปสู่กำไรที่ดีขึ้นได้ โดยจะแบ่งเป็นแหล่งสินค้า 2 แหล่งก็คือ
ร้านขายส่ง หรือยี่ปั๊ว
ร้านขายส่ง หรืออีกชื่อหนึ่งที่คนเรียกกันจนชินปากว่า “ร้านยี่ปั๊ว” ซึ่งจะเป็นร้านค้าที่ส่วนใหญ่แล้วขายให้ร้านค้าปลีก เพื่อขายให้ลูกค้าทั่วไปอีกที จึงเป็นการขายทีละเยอะ ๆ ขายสินค้าแบบเดียวเป็นแพ็ค หรือเป็นกิโลกรัม ฉะนั้นจึงเหมาะกับร้านค้าปลีกเฉพาะทางที่ขายของไม่กี่อย่าง มีงบประมาณในการเปิดร้านขายของชำไม่เยอะ และจะต้องเป็นของที่ซื้อมาขายไปได้อย่างรวดเร็ว
ร้านขายปลีก
มีร้านค้าขายปลีกรูปแบบที่เรียกว่า “ร้านค้าปลีกในรูปการขายส่ง” (Cash and Carry) ซึ่งยังมีแค่เจ้าเดียวนั่นก็คือแม็คโคร ซึ่งเป็นห้างรูปแบบผสม สามารถซื้อของเดี่ยว ๆ ในราคาตลาดทั่วไป และยังให้บริการร้านขายของชำด้วยระบบการซื้อของแบบสมาชิก โดยเจ้าของร้านสะดวกซื้อสามารถซื้อสินค้าได้ทีละเยอะ ๆ เพื่อนำไปขายต่อ จึงเหมาะกับร้านสะดวกซื้อที่ต้องการขายของทั่วไป ขายของที่หลากหลาย
5. ดูเรื่องใบอนุญาต และการเสียภาษีร้านค้าปลีก
คือการดำเนินงานด้านเอกสาร เพื่อทำให้ร้านค้าปลีกของเรา สามารถขายของได้อย่างถูกต้องตามหลักกฎหมาย เพราะไม่ว่าร้านขายของชำจะเล็ก หรือมีงบประมาณในการเปิดร้านขายของชำน้อยขนาดไหน ก็ควรที่จะทำให้ร้านของคุณมีมาตรฐานถูกหลักกฎหมาย
โดยคุณจะต้องเผื่อเงินบางส่วน ประมาณ 1,000 บาทเป็นค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาต ซึ่งราคาก็จะไม่เท่ากัน เช่นหากต้องการขายของมึนเมา คุณอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านขายของชำทุกท่านต้องคำนึง
ใบสรรพสามิต
ใบสรรพสามิต คือใบขออนุญาตให้ร้านขายของชำขายยาสูบ (บุหรี่) และสุรา (เหล้าเบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ) ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหากไม่ได้ขอใบสรรพสามิต ก็จะไม่สามารถขายสุรา และยาสูบได้ หากขัดขืนมีความผิดทางกฎหมาย โดยสามารถสมัครได้ออนไลน์ ตามเว็บไซต์ www.excise.go.th/excise2017/SERVICE/LIQUOR-TOBACCO-PLAYING_CARD_LICENSE/index.htm
ค่าธรรมเนียมขายสุรา
- ขายส่งสุรา ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ปีละ 5,500 บาท
- ขายปลีกสุรา ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ปีละ 2,200 บาท (ผู้จำหน่ายไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตปีละ 330 บาท)
ค่าธรรมเนียมขายยาสูบ
- ขายส่งบุหรี่ ซิกาแรต และบุหรี่ซิการ์ ใบอนุญาตปีละ 1200 บาท สำหรับผู้ปลูกยาเส้น และขายเอง ใบอนุญาต ปีละ 100 บาท หากขายอย่างเดียว ปีละ 500 บาท
- ขายปลีกบุหรี่ ซิการ์ ใบอนุญาตปีละ 500 บาท สำหรับขายยาเส้น ใบอนุญาต ปีละ 100 บาท
ขอทะเบียนพาณิชย์
ร้านขายของชำ ร้านค้าปลีก หรือธุรกิจแทบทั้งหมดจะต้องทำการขอทะเบียนพาณิชย์ เพื่อประกอบธุรกิจในแผ่นดินไทย โดยรูปแบบการขอทะเบียนพาณิชย์ร้านขายของชำสามารถขอทะเบียนพาณิชย์ได้ทั้งรูปแบบบุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว) และธุรกิจแบบนิติบุคคล โดยต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันที่ร้านเปิดขาย
โดยสามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้โดยการดาวน์โหลดเอกสารออนไลน์ผ่านทาง www.dbd.go.th/news_view.php?nid=946
และไปดำเนินเรื่องที่ได้ที่สำนักงานเขตของพื้นที่นั้น ๆ ที่คุณต้องการจะตั้งร้าน
ค่าธรรมเนียมในการขอทะเบียนพาณิชย์
- จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
- จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
- จดทะเบียนยกเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
หากมีการตรวจสอบว่าร้านค้าไม่ได้มีการจดทะเบียนพาณิชย์ ต้องโดนปรับไม่เกิน 2,000 บาท และโดนปรับวันละ 100 บาทหากยังไม่ปฎิบัติตามกฎอย่างถูกต้อง
การเสียภาษีร้านค้าปลีก
คิดถึงแต่งบประมาณในการเปิดร้านขายของชำอย่างเดียวไม่ได้ เพราะเรื่องเสียภาษีร้านค้าปลีก ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ร้านขายของชำมักมองข้าม และสุดท้ายก็ต้องมาจ่ายภาษีย้อนหลังกระอักเลือดกันไปเป็นแถว ฉะนั้นมาดูกันเถอะว่าภาษีร้านค้าปลีก จะต้องจ่ายอย่างไรจึงจะถูกต้อง ไร้ปัญหาในอนาคต
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรณีที่เป็นร้านขายของชำขนาดเล็ก ทำธุรกิจคนเดียว หรือ 2 คน และไม่ได้ขอทะเบียนพาณิชย์ ต้องเสียภาษีร้านค้าปลีกบุคคลธรรมดา โดยจะต้องทำบัญชีแจกแจงรายรับรายจ่ายให้ชัดเจน พร้อมยื่นภาษีปีละ 2 ครั้ง รูปแบบภาษีจะเป็นแบบขั้นบันได ขึ้นอยู่กับรายได้ของบุคคล
อัตราภาษีร้านค้าปลีก (บุคคลธรรมดา) | 5% - 35% |
ระยะเวลาในการจ่ายภาษีร้านค้าปลีก (บุคคลธรรมดา) | - ครั้งที่1 : ภ.ง.ด.94 ยื่นได้ช่วงกันยายน - ครั้งที่ 2 : ภ.ง.ด.90 ยื่นได้ช่วงมีนาคม |
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับร้านขายปลีกที่เป็นรูปแบบธุรกิจ มีผู้ร่วมทุนเยอะ และได้ขอทะเบียนพาณิชย์ในรูปแบบของธุรกิจนิติบุคคล ต้องจ่ายภาษีร้านค้าปลีก 2 ครั้งเช่นกัน ในรูปแบบของภาษีคงที่ เหมาะกับธุรกิจที่รายได้เยอะ มีกำไรที่แน่นอน
อัตราภาษีร้านค้าปลีก (นิติบุคคล) | 20% |
ระยะเวลาในการจ่ายภาษีร้านค้าปลีก (นิติบุคคล) | - ครั้งที่1 : ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี - ครั้งที่ 2 : ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี |
ภาษีเพิ่มเติมอื่น ๆ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากร้านขายของชำขายของได้เกินปีละ 1.8 ล้านบาท จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอัตรา 7% เพิ่มเติม
- ภาษีกรมสรรพาสามิตด้วย ในกรณีที่ร้านขายของชำ หรือร้านค้าปลีกมีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ยาสูบต่าง ๆ
6. คิดราคาข้าวของในร้านขายของชำให้เหมาะสม
ขั้นตอนการตั้งราคามีรายละเอียดเยอะมาก ๆ สำหรับร้านค้าปลีก หรือร้านโชห่วย แต่ใจความสำคัญก็คือเราคิดราคาเพื่อให้ของขายได้ และเมื่อขายไปแล้วร้านค้าไม่ขาดทุน เป็นราคาที่สอดคล้องกับงบประมาณในการเปิดร้านขายของชำ โดยหลักการตั้งราคาที่ง่าย และเร็วที่สุดคือการแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม อ้างอิงจากกำลังขายของสินค้าต่าง ๆ
สินค้าขายออกช้า หรือสินค้าค้างสต็อก
ตั้งกำไรอยู่ที่ประมาณ 30% เป็นสินค้าจำพวกที่ไม่ได้ซื้อเป็นประจำ ซึ่งร้านค้าปลีกสามารถเก็บไว้ในสต็อกได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในร้านสะดวกซื้ออาจจะเป็น พัดลม รองเท้าแตะ ร่ม ไปจนถึงกระเป๋า ซึ่งหากขายไม่ได้เน้นจำนวนเราอาจต้องคิดคำนวณให้อัตรากำไรเยอะหน่อย อาจถือว่าเป็นสินค้าพิเศษที่แต่ละร้านโชห่วยจะมีไว้เผื่อความต้องการของลูกค้า
สินค้าพื้นฐาน
ตั้งกำไรประมาณ 20% เป็นสินค้าทั่วไปที่มีการขายออกเรื่อย ๆ ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป อาจเป็นสินค้ากลุ่มขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กระดาษทิชชู่ และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นสินค้าที่หาได้ในร้านโชห่วยทั่วไป
สินค้าขายออกเร็ว
ตั้งกำไรประมาณ 10% เป็นสินค้าที่ซื้อมาขายไปได้อย่างรวดเร็ว ซื้อมาได้ทีละเยอะ ๆ มั่นใจว่าสามารถขายออกได้ในทันที เช่น บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของใช้จำเป็นเช่นผ้าอนามัย ซึ่งในแต่ละร้านค้าปลีก สินค้าประเภทนี้อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
ทั้งนี้ทั้งนั้น การตั้งราคาต้องคำนึงถึงคู่แข่ง และการจับจ่ายใช้สอยของคนท้องถิ่นระแวกนั้นด้วย หากเป็นร้านค้าปลีกในเมืองต้องตั้งราคาที่สอดคล้องกับค้าครองชีพของคนแถวนั้น หากเป็นร้านค้าปลีกชานเมืองอาจถูกลงมาหน่อย หรือหากเป็นร้านค้าปลีกในพื้นที่ห่างไกลอาจต้องคิดค่าขนส่งของบวกเข้าไปด้วยเป็นต้น
7. จัดของในร้านค้าปลีกให้เหมาะสม
สุดท้ายคือการจัดวางสินค้าในร้านค้าปลีก ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญที่มอบข้ามไม่ได้ เพราะนอกจากจะเป็นตัวเรียกลูกค้าแล้วยังทำให้ลูกค้ารู้สึกดีและอยากกลับมาซื้อของที่ร้านอีกในครั้งต่อ ๆ ไป โดยการจัดของ ไม่ได้มีกฎตายตัว แต่ก็มีหลากหลายข้อที่เราอยากแนะนำ ดังนี้
- จัดของให้เท่าสายตาของลูกค้า เช่นหากเป็นขนม หรือสินค้าสำหรับเด็กให้จัดสินค้าชั้นล่าง ๆ หรือหากเป็นสินค้าสำหรับผู้ใหญ่ให้จัดในระดับที่สูงขึ้นมาหน่อย เป็นต้น
- สินค้าทุกอย่าง ต้องมีที่ประจำ เพื่อความสะดวกสบายของลูกค้าประจำ ไม่ควรวางผังร้านใหม่บ่อย สินค้าใดวางไว้ตรงไหนก็ให้จำให้ดี และเติมสินค้าใหม่ ณ ที่เดิม ซึ่งนอกจากดีกับลูกค้าแล้ว ยังง่ายต่อการเติมสต็อกสินค้าใหม่อีกด้วย
ด้วย 6 ขั้นตอนนี้ คุณก็สามารถมีร้านขายของชำเป็นของตนเอง พร้อมประมาณงบประมาณ ในการเปิดร้านขายของชำของตนเอง ซึ่งถึงแม้เราจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่าย และครบถ้วนที่สุด แต่ในทางปฎิบัติจริง ๆ แล้วเราเข้าใจว่ามันไม่ได้ทำง่ายขนาดนั้น! เพราะไหนจะต้องจัดการเรื่องเงิน ไหนจะต้องดูเรื่องที่ ฉะนั้น แรบบิท แคร์ จึงมีตัวช่วยเรื่องเงินมาเสนอให้ทุกคน! หากต้องการเงินกู้ด่วน แรบบิท แคร์ก็มีสินเชื่อส่วนบุคคล สมัครง่าย ไม่ต้องค้ำประกัน สำหรับทุกคนที่คิดอย่างเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวของตนเอง!
บทความที่เกี่ยวข้อง
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct