Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

เปรียบเทียบบัตรเครดิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Sued credit card.png

โดนฟ้องบัตรเครดิต ไม่ไปศาลได้ไหม? จะโดนโทษอะไรบ้าง?

บัตรเครดิตจะช่วยให้เราบริหารจัดการเงินในแต่ละเดือนให้พอกับค่าจ่าย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเพียงการใช้เครดิต ไม่ใช่เงินที่เรามีอยู่ในกระเป๋าจริง ดังนั้นจึงไม่ต่างอะไรจากการยืมเงินในอนาคตของตัวเองมาใช้ก่อน ซึ่งถ้าหากบริหารจัดการเงินไม่ดี “หนี้บัตรเครดิต” ก็จะยิ่งพอกพูนจนเป็นเหตุให้ถูกฟ้องร้องได้ และหากได้รับหมายศาลบัตรเครดิตจะต้องทำอย่างไร และถ้าต้องขึ้นศาลบัตรเครดิต ต้องเตรียมอะไรบ้าง แรบบิท แคร์ จะมาช่วยไขความกระจ่างให้ในบทความนี้

เป็นหนี้แค่ไหนจึงจะได้รับหมายศาลบัตรเครดิต

ปกติแล้ว คดีความบัตรเครดิตอายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โดยจะต้องมีจำนวนหนี้ขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนดอยู่ที่ 2,000 บาทขึ้นไปจึงจะสามารถส่งฟ้องขอหมายศาลบัตรเครดิตได้ ตัวอย่างเช่น คุณเอมีกำหนดนัดชำระค่าบัตรเครดิต จำนวนเงินเกิน 3,000 บาท ในวันที่ 30 มีนาคม 2566 แต่คุณเอไม่ได้ชำระภายในวันดังกล่าว อายุความจะเริ่มนับทันทีในวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดยมีอายุความไปอีก 2 ปี ซึ่งธนาคารมีสิทธิ์จะขอหมายศาลบัตรเครดิตได้ทันทีเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระตามที่ระบุในสัญญาตอนสมัครบัตร โดยจะเดินเรื่องขอหมายศาลบัตรเครดิตหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของธนาคาร แต่ส่วนใหญ่แล้วแทบทุกธนาคารจะส่งจดหมายทวงถามหนี้หรือใช้เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สินโทรมาสอบถามก่อนจะส่งหมายศาลบัตรเครดิตทั้งนั้น เพราะการขึ้นศาลมีใช้จ่ายสูง ทั้งค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ อีกทั้งยังเสียเวลาดำเนินการด้วย ดังนั้นลูกหนี้ก็ควรจะต่อรองกับธนาคารให้ดีก่อนที่จะโดนฟ้องบัตรเครดิตให้เป็นประวัติติดตัว

ถ้าหากธนาคารไม่ได้ฟ้องร้องขอหมายศาลบัตรเครดิตในช่วงเวลา 2 ปีก็จะถือว่าคดีขาดอายุความลงทันที แต่ในฐานะเจ้าหนี้ธนาคารก็จะยังยื่นฟ้องต่อศาลได้ โดยอาจจะต้องรับความเสี่ยงที่คดีจะถูกยกฟ้องหากลูกหนี้ยกเรื่องอายุความขึ้นมาต่อสู้ แต่หากไม่มีการยกเรื่องอายุความขึ้นมาพิจารณาก็ยังมีโอกาสที่ศาลจะตัดสินให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ได้

รู้ได้ยังไงว่าโดนฟ้องแล้ว หมายศาลบัตรเครดิต ส่งไปที่ไหน?

โดยทั่วไปการส่งฟ้องศาลจะไม่มีการโทรแจ้งเตือนใด ๆ จากธนาคาร ถ้าหากได้รับสายแล้วอ้างว่าเป็นธนาคารให้อนุมานได้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพ จะมีเพียงการส่งหมายศาลบัตรเครดิตไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านเท่านั้น และลูกหนี้จะไม่มีสิทธิปฏิเสธว่าไม่ได้รับหมายศาลบัตรเครดิตนั้นไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตาม เพราะเมื่ออ้างอิงตามกฎหมายหากหมายศาลบัตรเครดิตถูกส่งถึงบ้านจะถือว่าลูกหนี้ได้รับแล้วทันที ดังนั้นหากใครที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในที่อยู่ตามทะเบียนบ้านบนบัตรประชาชนและมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้อง จะต้องกลับบ้าน หรือ ให้คนที่อยู่ที่บ้านช่วยตรวจสอบจดหมายที่ถูกส่งไปให้ดีว่ามีหมายศาลบัตรเครดิตถูกส่งไปหรือไม่ หรืออีกวิธีที่จะตรวจสอบได้คือติดต่อสอบถามได้ที่ศาลในเขตอำนาจตามทะเบียนบ้านได้เลย

ถ้าต้องขึ้นศาลบัตรเครดิต เตรียมอะไรบ้าง?

  1. เตรียมหาทนาย โดยปกติแล้วหนี้บัตรเครดิตที่มีจำนวนเงินแน่นอน ศาลจะทำหน้าที่เป็นคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้ในวันเวลาตามหมายศาลบัตรเครดิตอยู่แล้ว แต่เราก็ควรจะมีทนายผู้รู้กฎหมายเข้าไปช่วยรักษาผลประโยชน์ในกรณีที่เจ้าหนี้จะให้เราลงลายมือชื่อในเอกสารข้อตกลงใด ๆ อีกทั้งช่วยต่อรองกับศาลเพื่อให้วิธีการชำระหนี้เป็นผลดีกับเรามากที่สุด นอกจากนี้หากว่าเป็นคดีความที่มีรายละเอียดมากกว่านั้น เช่น เราไม่ใช่ผู้ก่อหนี้เอง ทนายก็จะช่วยต่อสู้คดีให้เราได้รับความยุติธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าหมายศาลบัตรเครดิตนั้นจำเป็นต้องใช้ทนายแค่ไหน ถ้าเป็นคดีบัตรเครดิตธรรมดาที่ไม่ซับซ้อนก็อาจจะไม่ต้องจ้างทนายเลยก็ได้
  2. เตรียมเอกสารส่วนบุคคล สิ่งที่ต้องนำไปขึ้นศาลด้วยทุกครั้ง คือ บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ขึ้นศาลทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน หมายศาลบัตรเครดิต หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจในกรณีแต่งตั้งผู้แทน
  3. เตรียมเอกสารแสดงความสามารถในการชำระหนี้ เอกสารแสดงรายรับรายจ่าย เอกสารเกี่ยวกับภาระหนี้สินปัจจุบัน และเอกสารเกี่ยวกับภาระการดูแลคนในครอบครัวจะสามารถนำไปใช้ในการต่อรองวิธีชำระหนี้ได้ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยตามหมายศาลบัตรเครดิตนัดแรก
  4. เตรียมหลักฐานยืนยันว่าไม่ได้ก่อหนี้ หากว่าหนี้ในหมายศาลบัตรเครดิตเป็นหนี้ที่มีผู้อื่นนำบัตรเครดิตเราไปใช้และเราไม่ได้เป็นผู้ก่อหนี้ ก็สามารถนำหลักฐานยืนยันมาใช้ต่อสู้เพื่อปฏิเสธไม่รับผิดได้ เช่น ภาพแชทที่ระบุการขอยืมใช้บัตรเครดิตและจำนวนเงิน เพื่อเรียกให้ผู้ก่อหนี้ตัวจริงเข้ามารับผิดร่วมกัน หรือ ใบแจ้งความในกรณีที่บัตรเครดิตถูกขโมย
  5. เตรียมหลักฐานยืนยันในส่วนที่ชำระหนี้แล้ว หากมีการชำระไปแล้วบางส่วนให้เตรียมหลักฐาน เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือ สลิปโอนเงิน
  6. (กรณีคดีขาดอายุความ) หลักฐานยืนยันขาดอายุความ หากได้รับหมายศาลบัตรเครดิตที่หมดอายุความแล้ว ลูกหนี้มีสิทธิยกเรื่องการขาดอายุความขึ้นมาต่อสู้เพื่อปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 193/29

โดนฟ้องบัตรเครดิต ไม่ไปศาลมีโทษยังไงบ้าง?

ได้หมายศาลบัตรเครดิตไม่ได้หมายความว่าจะโดนยึดทรัพย์ในทันที! ถ้าหากว่าได้รับหมายศาลบัตรเครดิตนั้นแล้วแม้ว่าจะยังไม่มีเงินใช้หนี้ก็ตาม แต่ก็ควรจะไปฟังการประนีประนอมในนัดแรกตามวันและเวลาที่ระบุในหมายศาลบัตรเครดิต เพื่อแสดงตัวเพื่อให้ศาลเห็นว่าเราไม่มีเจตนาหนีหนี้ เพียงแต่มีเหตุผลที่ทำให้ยังไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ในทันที นอกจากนี้ยังเป็นการเข้าไปเจรจาหาความเป็นธรรมให้กับตัวเองด้วย

หากโดนฟ้องบัตรเครดิต ไม่ไปศาล ศาลก็จะพิพากษาตามคำฟ้องในหมายศาลบัตรเครดิตและหลักฐานของเจ้าหนี้เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ลูกหนี้จะเสียสิทธิ์ในการชี้แจงและต่อรองวิธีชำระหนี้ไปทันที แต่ไม่ว่าลูกหนี้จะไปฟังคำพิพากษาตามหมายศาลบัตรเครดิตนั้นด้วยตนเองหรือไม่ ก็จะยังมีสิทธิยื่นขออุทธรณ์ได้ภายในเวลา 1 เดือนนับแต่มีคำพิพากษา เพื่อเลื่อนการบังคับคดีหรือขอให้พิจารณาเงื่อนไขการชำระเงินใหม่ อาจจะเปลี่ยนจากต้องจ่ายเงินก้อนเป็นผ่อนชำระได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความยินยอมของเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องทำให้เจ้าหนี้เห็นถึงความจริงใจยิ่งกว่าเดิม เพราะเคยผิดนัดตามหมายศาลบัตรเครดิตมาแล้ว แต่หากไม่มีการยื่นอุทธรณ์ ลูกหนี้จะได้รับหมายบังคับให้ชำระหนี้ทั้งหมดตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน และหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนด ศาลจะสามารถตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ ดังนี้

  • ยึดทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ คือ สังหาริมทรัพย์ จำพวกทองคำ รถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ อาทิ ที่ดิน บ้าน คอนโด โดยเจ้าหนี้จะอายัดทรัพย์ได้ 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาตามหมายศาลบัตรเครดิตนั้นจนถึงที่สุดแล้ว และหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาต่อศาล ทรัพย์สินจะถูกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามหมายศาลบัตรเครดิตนั้นต่อไป หากลูกหนี้พยายามโอนทรัพย์สินเป็นชื่อผู้อื่นหรือซุกซ่อน จะถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • อายัดเงินเดือน ค่าตอบแทน และเงินชดเชย โดยจะสามารถอายัดได้ในอัตราที่กฎหมายกำหนด คือ เงินเดือนที่อายัดได้ต้องมากกว่า 20,000 บาท และอายัดได้ไม่เกิน 30% โดยต้องเหลือไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท / ค่าตอบแทนและเงินสงเคราะห์ตามสวัสดิการ อายัดได้ไม่เกิน 30% / เงินโบนัส อายัดได้ไม่เกิน 50% / เงินชดเชยกรณีถูกให้ออกจากงาน อายัดได้โดยต้องเหลือให้ลูกหนี้ไม่น้อยกว่า 300,000 บาท
  • ทรัพย์สินที่ได้รับมาภายหลังการพิพากษา เช่น ทรัพย์สินมรดก เงินปันผลจากการลงทุน หรือ เงินได้จากกรมธรรม์ประกันชีวิต

อายุความการอายัดเงินเดือนมีกี่ปี?

เจ้าหนี้มีอายุความการอายัดเงินเดือนอย่างต่อเนื่องได้เป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี หรือจนกว่าหนี้ตามคำพิพากษาของหมายศาลบัตรเครดิตจะถูกชำระครบถ้วนแล้ว โดยบริษัทนายจ้างจะเป็นผู้นำส่งเงินเดือนของลูกหนี้ตามจำนวนที่อายัดให้กับกรมบังคับคดี และนายจ้างมีสิทธิค้านการอายัดได้กรณีลูกหนี้มีภาระหนี้กับหน่วยงานอื่น เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ จนเงินเดือนที่เหลือมีไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายต่อเดือน โดยอาจจะให้ลูกหนี้ยื่นขอเลื่อนหนี้กับสหกรณ์ หรือขอลดการอายัดเงินเดือนกับศาลเอง

วิธีปลดอายัดเงินเดือนทำอย่างไร?

การปลดอายัดเงินเดือนทั้งหมดจะทำได้ก็ต่อเมื่อ ลูกหนี้ชำระหนี้ทั้งหมดตามที่ระบุในหมายศาลบัตรเครดิตครบถ้วนแล้ว และเจ้าหนี้ส่งหนังสือขอถอนอายัดเงินเดือนต่อศาลเอง ในกรณีที่ยังชำระหนี้ตามหมายศาลบัตรเครดิตอยู่แม้จะปลดอายัดเงินเดือนทั้งหมดไม่ได้ ลูกหนี้ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอลดจำนวนเงินเดือนที่อายัดได้ไม่เกิน 50% ของจำนวนเงินที่ศาลสั่งให้อายัดในคำพิพากษาเดิม โดยวิธีลดอายัดเงินเดือนจะต้องแนบเอกสารรับรองเงินเดือน และเอกสารค่าใช้จ่ายที่แสดงถึงความจำเป็น เช่น ค่าเทอมลูก ค่าผ่อนรถ บิลค่าดูแลผู้สูงอายุ และส่งคำร้องขอลดอายัดต่อศาลที่สำนักบังคับคดีว่าจะขอลดเหลือเท่าไร เพื่อให้ศาลพิจารณาตามที่เห็นสมควร โดยการพิจารณากำหนดจำนวนเงินที่อายัดใหม่จะขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ร่วมกัน

เห็นได้ชัดว่าหมายศาลบัตรเครดิตไม่ได้เป็นสิ่งน่ากลัวอย่างที่คิดหากเรามีความรู้ การเพิกเฉยต่อหมายศาลบัตรเครดิตไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง การเดินหน้าเจรจาต่างหากที่จะเป็นผลดีกับลูกหนี้มากกว่า ที่สำคัญคือถ้าหากไม่อยากเสียทั้งเงิน เวลาและเสียประวัติก็ควรจะต้องใช้อย่างมีวินัย จำกัดการใช้บัตรเครดิตของตนเองให้เกณฑ์ที่จะสามารถชำระคืนได้ การบริหารเงินไม่ให้เกิดหนี้พอกพูนต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกสมัคร บัตรเครดิต ผ่านระบบเปรียบเทียบวงเงินและสิทธิประโยชน์โดย แรบบิท แคร์ เพื่อให้ได้บัตรที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องวงเงินและไลฟ์สไตล์ทางการเงินของคุณมากที่สุด แถมบริการคำปรึกษา และอำนวยความสะดวกให้คุณอย่างถึงที่สุดตั้งแต่ต้นจนจบ

ค้นหาบัตรเครดิตที่ใช่

บัตรเครดิตซิตี้ แคชแบ็ก

ซิตี้ แคชแบ็ก

Citibank

  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้ครบ 1 แสน
  • เครดิตเงินคืน 10%
  • วงเงิน 2-5 เท่าของรายได้


  • สิทธิประโยชน์



  • เงินคืน 10% ที่ BTS, MRT, คาเฟ่อเมซอน
  • เงินคืน 5% ที่ 7-Eleven, Grab, Watsons
  • เงินคืน 1% ที่ปั๊ม Shell และใช้จ่ายอื่นๆ
บัตรเครดิต ซิตี้ ลาซาด้า

บัตรเครดิตซิตี้ ลาซาด้า

Citibank

  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้ครบ 6 หมื่น
  • สะสมแต้ม 25 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 5 เท่าของรายได้


  • สิทธิประโยชน์



  • X10 คะแนน และส่วนลด 10% บนลาซาด้า
  • X3 คะแนน หมวดแฟชั่น สุขภาพ ท่องเที่ยว
  • รับโค้ดลาซาด้า 1,000 ฿ + บัตร Starbucks 200 ฿
บัตรเครดิตซิตี้ ซิมพลิซิตี้

บัตรเครดิตซิตี้ ซิมพลิซิตี้

Citibank

  • ฟรีค่าธรรมเนียม
  • เงินคืน 1% ที่ปั๊ม Shell
  • วงเงิน 2-5 เท่าของรายได้


  • สิทธิประโยชน์



  • ค่าธรรมเนียม กดเงินสด 1%
  • สิทธิพิเศษำในเดือนเกิด
บัตรเครดิตซิตี้ รีวอร์ด

บัตรเครดิตซิตี้ รีวอร์ด

Citibank

  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้ครบ 1 แสน
  • เงินคืน 2,000 ฿ เมื่อสมัครบัตรทางออนไลน์
  • สะสมแต้ม 25 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 2-5 เท่าของรายได้


  • สิทธิประโยชน์



  • X5 คะแนน ผ่าน Rabbit Line Pay, Lazada, Shopee, e-wallet, Netflix, Spotify, Apple Music
  • X5 คะแนน หมวดร้านอาหาร ท่องเที่ยว
บัตรเครดิต-KTC-VISA-PLATINUM

เคทีซี วีซ่า แพลตทินั่ม

KTC

  • ฟรีค่าธรรมเนียม
  • ช้อปออนไลน์เงินคืน 10%
  • สะสมแต้ม 25 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 0% 10 เดือน


  • สิทธิประโยชน์



  • คะแนนใช้แทนส่วนลด ร้านค้าชั้นนำ
  • คะแนนไม่มีหมดอายุ
บัตรเครดิต เคทีซี อโกด้า แพลทินัม มาสเตอร์การ์ด

เคทีซี อโกด้า แพลทินัม

KTC

  • ฟรีค่าธรรมเนียม
  • สะสมแต้ม 25 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 5 เท่าของรายได้


  • สิทธิประโยชน์



  • เป็นสมาชิก AgodaVIP Platinum
  • X2 คะแนน ใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศ
  • รับโบนัสเพิ่ม 250 คะแนน
บัตรเครดิต เคทีซี แคชแบ็ค แพลตทินัม

เคทีซี แคชแบ็ค แพลตทินัม

KTC

  • ฟรีค่าธรรมเนียม
  • เครดิตเงินคืน 1%
  • วงเงิน 5 เท่าของรายได้


  • สิทธิประโยชน์



  • บริการผู้ช่วยส่วนตัว 24 ชั่วโมง
  • ประกันอุบัติเหตุการเดินทาง วงเงิน 8 ล้าน
บัตรเครดิต เคทีซี บางจาก แพลตทินั่ม

เคทีซี บางจาก แพลตทินั่ม

KTC

  • ฟรีค่าธรรมเนียม
  • สะสมแต้ม 25 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 0% 10 เดือน


  • สิทธิประโยชน์



  • ส่วนลด 1% ที่ปั๊มบางจาก
  • บริการผู้ช่วยส่วนตัว 24 ชั่วโมง
บัตรเครดิต ยูโอบี เลดี้ แพลตทินัม

ยูโอบี เลดี้ แพลตทินัม

UOB

  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้ครบ 1 แสน
  • เครดิตเงินคืนสูงสุด 15%
  • สะสมแต้ม 10 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 0% 6 เดือน


  • สิทธิประโยชน์



  • เงินคืน 15% ที่ห้างชั้นนำ และหมวดร้านอาหาร
  • เงินคืน 3% ที่คาลเท็กซ์ทุก 800 บาท
บัตรเครดิต ยูโอบี โยโล่ แพลตทินั่ม

ยูโอบี โยโล่ แพลตทินั่ม

UOB

  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้ครบ 1 แสน
  • เครดิตเงินคืนสูงสุด 15%
  • วงเงิน 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 0% 3 เดือน


  • สิทธิประโยชน์



  • เงินคืน 15% ที่ BTS ,MRT, 7-Eleven, Shopee, Grab
  • เงินคืน 3% ที่คาลเท็กซ์ทุก 800 บาท
  • 1 ฟรี 1 เมื่อซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเครือ SF
บัตรเครดิตไทเทเนียม โรงพยาบาลรามาธิปดี

ไทเทเนียม รพ.รามาธิปดี

ธนาคารกรุงเทพ

  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้ครบ 5 พัน
  • เครดิตเงินคืนสูงสุด 2%
  • วงเงิน 2-5 เท่าของรายได้


  • สิทธิประโยชน์



  • บริจาค 0.2% ทุกยอดให้แก่ รพ. รามาธิบดี
  • เอกสิทธิ์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี
บัตรเครดิต แอร์เอเชีย

บัตรเครดิต แอร์เอเชีย

ธนาคารกรุงเทพ

  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้ครบ 5 พัน
  • สะสมแต้ม 20 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 2-5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 0% หรือ 0.79% 10 เดือน


  • สิทธิประโยชน์



  • ทุก 20 บาท รับ 1 airasia point
  • รับ Platinum member airasia reward
  • ฟรี Aisasia Hot seat, สัมภาระใต้เครื่อง, เครื่องดื่ม
บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม

บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม

ธนาคารกรุงเทพ

  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อใช้ครบ 5 พัน
  • สะสมแต้ม 25 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 2-5 เท่าของรายได้


  • สิทธิประโยชน์



  • สะสมไมล์จากสายการบินชั้นนำ
  • บริการผู้ช่วยส่วนบุคคล 24 ชม.
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ชิลล์

บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ชิลล์

ttb

  • ฟรีค่าธรรมเนียม
  • เงินคืน 1%
  • วงเงิน 2 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 0% 3 เดือน


  • สิทธิประโยชน์



  • ฟรีค่าธรรมเนียมการกดเงินสด
  • รับดอกเบี้ยพิเศษ 3 รอบบัญชีแรก
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ฟาสต์

ทีทีบี โซ ฟาสต์

ttb

  • ฟรีค่าธรรมเนียม
  • เงินคืนสูงสุด 3%
  • สะสมแต้ม 10 ฿ = 1 คะแนน
  • วงเงิน 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 0% 3 เดือน


  • สิทธิประโยชน์



  • เงินคืน 3% ที่ปั๊มเอสโซ่
  • เงินคืน 3% หมวดอาหาร
  • ประกันอุบัติเหตุจากการเดินทาง 6 ล้านบาท
shopee card kasikorn

Kbank-Shopee

ธนาคารกสิกรไทย

  • ฟรีค่าธรรมเนียมปีแรก
  • สะสมแต้ม 25 ฿ = 1 คะแนน
  • ผ่อน 0% 10 เดือน


  • สิทธิประโยชน์



  • X2 คะแนน เมื่อช้อปออนไลน์
  • X10 คะแนน เมื่อช้อปที่ Shopee Thailand
  • รับ 1% Shopee Coin
  • แลก 1,000 คะแนน รับโค้ด Shopee 150 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา