บัตรเครดิตจ่ายยังไง? จ่ายแบบไหน? จ่ายเท่าไหร่? ถึงจะดี
สมัยนี้ ใครๆก็พกบัตรเครดิตติดตัวกันทั้งนั้น เพราะมันทั้งใช้ง่าย รูดสะดวก จะเอาไปผ่อนสินค้าหรือซื้อของออนไลน์ก็สบาย แถมยังมีสิทธิประโยชน์และคะแนนสะสมต่างๆให้อีกมากมาย แต่ของแบบนี้ ถ้าใช้แบบไม่ระวัง มันก็อาจจะเป็นพิษเป็นภัยต่อเงินในกระเป๋าเราได้เหมือนกันค่ะ
ปัญหาใหญ่ๆของคนมีบัตรเครดิต คือ การเป็นหนี้บัตรเครดิตค่ะ ซึ่งวิธีปลดหนี้ที่ดี รวดเร็ว และได้ผลมากที่สุด ก็คือ การรีบดินไปจ่ายให้มันหมดๆไปนั่นเอง เพราะฉะนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า บัตรเครดิตจ่ายยัง จ่ายแบบไหน และจ่ายเท่าไหร่ ถึงจะดีต่อตัวเรามากที่สุด
บัตรเครดิตจ่ายยังไง และจ่ายทางไหนได้บ้าง
การรูดบัตรเครดิต ก็เหมือนกับเราไปขอยืมเงินจากธนาคารมาล่วงหน้านั่นแหละค่ะ โดยเมื่อถึงเวลาสรุปรอบบัญชี (วันที่สรุปรวมยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในแต่ละเดือน) ทางธนาคารหรือเจ้าของบัตรเครดิต ก็จะส่ง ใบแจ้งหนี้ มาให้เราดูว่า เราใช้เงินเท่าไหร่ ใช้ที่ไหน มีคะแนนสะสมอะไรบ้าง และต้องชำระหนี้กับธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
ซึ่งหน้าที่ของเรา ก็คือ ต้องไปจ่ายหนี้บัตรเครดิตตามที่เราได้รูดใช้ไป ภายในวันครบกำหนดชำระบัตรเครดิต (ส่วนมากจะนับถัดจากวันสรุปบัญชี 15 วัน) พร้อมจ่ายดอกเบี้ยหรือ ค่าธรรมเนียม ที่ระบุมาในใบแจ้งหนี้ให้ครบถ้วนด้วย โดยถ้าเราจ่ายไม่ครบ เงินที่เราค้างชำระก็จะถูกทบไปรวมกับหนี้ในรอบต่อๆไปเรื่อยๆนั่นเอง
จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ตัวร้ายแห่งการสร้างหนี้
หลายๆคน เมื่อมีบัตรเครดิตในมือ ก็อยากจะใช้งานมันให้สมกับที่สมัครมา จนลืมคิดไปเลยว่าต้องจ่ายคืนธนาคารด้วย หรือบางทีเราก็มีภาระจะต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ออกไป โดยที่ยังไม่รู้ว่าจะหาเงินมาโป๊ะหนี้ได้ตอนไหน และเมื่อเราไม่มีเงินพอที่จะจ่ายหนี้ให้ครบจำนวนในแต่ละเดือน คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะ จ่ายบัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำ ไปก่อนซึ่งขอบอกเลยว่า คุณคิดผิดแล้วล่ะค่ะ
เพราะว่า การชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ คุณจะถูกคิดดอกเบี้ยในอัตราที่แพง ถึง 20% ต่อปี ทันทีตั้งแต่วันที่เราใช้บัตรเลย (ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระหนี้) แถมยังคิดดอกเบี้ยเป็นรายวันจนกว่าจะชำระหนี้ที่ค้างไว้หมดด้วย ถ้าไม่อยากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเกินความจำเป็น เราขอแนะนำให้คุณ ใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวัง อย่าใช้เงินเกินตัว และรีบจ่ายหนี้ให้หมดโดยเร็วดีกว่าค่ะ
อีกหนึ่งวิธี ที่จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ คือ การจ่ายหนี้ให้ทันภายใน ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย 45 วันค่ะ โดยระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย จะเริ่มนับตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชี ไปจนถึงวันครบกำหนดการชำระเงินในงวดถัดไปค่ะ ซึ่งถ้าคุณจ่ายหนี้จำนวนเต็ม ภายในระยะเวลาดังกล่าวนี้ คุณก็จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยสักบาทเลยค่ะ เพราะฉะนั้น ต้องวางแผนการใช้จ่ายให้รอบคอบด้วยนะคะ
4 ทางเลือก จ่ายบัตรเครดิต ที่สะดวกและง่ายที่สุด
แต่ก่อน เราอาจจะไม่ค่อยมีทางเลือกในการไปจ่ายหนี้บัตรเครดิตมากนัก แต่สมัยนี้อะไรๆก็เริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัล สังคมไร้เงินสดกันไปหมดแล้ว จึงเป็นโชคดีของนักช้อปอย่างเรา ที่มีช่องทางในการจ่ายบัตรเครดิต ที่ทั้งง่าย สะดวก และประหยัดเวลาให้เลือกกันมากมายเลยทีเดียว
1.Online หรือ Internet Banking
สมัยนี้ ไม่ว่าธนาคารไหน ก็มีเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นด้านการเงินเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น ซึ่งแน่นอนว่ามันต้องมี บริการจ่ายหนี้บัตรเครดิต รวมอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งข้อดีของมัน ก็คือ เราสามารถจ่ายหนี้บัตร ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เพียงแค่มีบัญชีธนาคารและไวไฟดีๆเท่านั้นเอง
2.ตู้ ATM
ไหนๆก็ต้องเดินไปกดเงินอยู่แล้ว รอบหน้าก็ลองจ่ายค่าบัตรเครดิตผ่านตู้ ATM ไปด้วยเลยสิคะ เพราะปัจจุบัน ก็มีหลายธนาคารที่ให้บริการจ่ายหนี้บัตรผ่านตู้ ATM อยู่แล้ว ทั้งประหยัดเวลา และสะดวกกว่าเป็นไหนๆ แถมใครที่มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่เดียวกับธนาคารเจ้าของบัตรอยู่แล้วยิ่งง่ายเข้าไปอีกด้วย
3.สาขาของธนาคาร
ถึงแม้วิธีใหม่จะง่ายกว่า แต่วิธีเก่าก็ยังได้ผลดีอยู่เหมือนเดิมค่ะ โดยคุณสามารถเดินเข้าไปจ่ายค่าบัตรเครดิตที่เคาน์เตอร์ของธนาคารได้เลย แล้วอย่าลืมพกใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตและเลขบัตรเครดิตไปด้วย และก็จ่ายได้แค่เงินสดเท่านั้นนะคะ
4.ตัดผ่านบัญชีธนาคาร
วิธีนี้ เหมาะสำหรับคนขี้ลืมสุดๆเลยค่ะ เพราะแค่คุณผูกบัตรชีธนาคารไว้กับบัตรเครดิต พอถึงเวลาจ่ายเงิน ทางธนาคารก็จะตัดเงินผ่านบัญชีของคุณไปโดยอัตโนมัติเลย ไม่ต้องเสียเวลาไปหาที่จ่ายด้วย แต่วิธีนี้ ต้องจ่ายเต็มทุกรอบเท่านั้นนะคะ
เห็ยมั้ยคะ ว่าเรามีทางเลือกที่จะ จ่ายหนี้บัตรเครดิต ได้มากมายเลย และสำหรับใครที่กำลังเร่งอยากจ่ายหนี้บัตรเครดิตให้หมดไวๆ เราขอแนะนำ 4 วิธีง่ายๆค่ะ นั้นคือ
- เลี่ยงการจ่ายแค่ขั้นต่ำ พยายามจ่ายเต็มจำนวน และจ่ายให้ตรงเวลาทุกครั้ง
- ถ้ามีบัตรหลายใบ ทยอยปิดไปทีละใบจะดีที่สุด
- ใช้เงินสดบ้าง อย่ารูดอย่างเดียว
- ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ติดตามการใช้เงินของตัวเอง
เพียงเท่านี้ หนี้บัตรเครดิตในมือ ก็จะสลายตัวไปในไม่ช้าแล้วล่ะค่ะ Rabbit Care เป็นกำลังใจให้นะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี