แคร์การเงิน

เทคนิคใช้บัตรกดเงินสด ใช้ยังไง ไม่ให้เป็นหนี้หัวโต ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: February 8,2019
เทคนิคใช้บัตรกดเงินสดอย่างไรไม่ให้เป็นหนี้

บัตรกดเงินสด ใครๆ ก็บอกว่าใช้แล้วเป็นหนี้ แถมดอกเบี้ยแพง แบบนี้มันกับดักชัดๆ บอกเลยว่าไม่จริงเสมอไป! และวันนี้ Rabbit Care ก็มีเทคนิคใช้บัตรเงินสดให้ได้ประโยชน์ มากกว่าหนี้หัวโตกันนะ?

เทคนิคใช้บัตรกดเงินสด ไม่ให้เป็นหนี้หัวโต

เทคนิคใช้บัตรกดเงินสด

เข้าใจธรรมชาติของบัตรกดเงินสด

ก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งาน เราลองมาทบทวนธรรมชาติการของบัตรกดเงินสดกันอีกสักรอบดีกว่า แน่นอนว่า บัตรกดเงินสด ก็คือ สินเชื่อชนิดหนึ่งนั่นแหละ ซึ่งข้อดีของบัตรกดเงินสด ก็คือการให้คุณกดเงินสดออกมาจาก ATM ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด เช่น บัตรกดเงินสด ktc เป็นต้น

ส่วนจะสามารถกดได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับวงเงินที่คุณได้รับอนุมัติ ต่างจากการกดเงินสดด้วยการใช้บัตรเครดิต ที่คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด

แน่นอนว่า ในกรณีที่คุณไม่มีเงินสดและไม่สามารถใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตได้ บัตรกดเงินสดจึงนับได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ยิ่งถ้าคุณไม่กดใช้งาน หนี้ของคุณก็จะไม่เกิดและจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปีอย่างบัตรเครดิต จึงเหมาะสำหรับเอาไว้ใช้เป็นวงเงินในกรณีฉุกเฉิน

การกดเงินสด

และด้วยความสะดวกสบายนี้ ทำให้การใช้งาน ต้องแลกมาด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดโดยมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ 28% ต่อปี และยังคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน แม้ว่าคุณจะกดเงินสดออกมาเพียงแค่วันเดียวและชำระเงินเต็มจำนวน คุณก็จะยังคงต้องเสียดอกเบี้ยอยู่ดี

ฉะนั้น หากคิดจะเป็นหนี้บัตรกดเงินสด ต้องคำนึงถึงระยะเวลาให้ดี ถ้ามีเงินคืนเร็วเท่าไหร่ ดอกเบี้ยก็จะน้อย เมื่อเทียบเท่ากับบัตรเครดิต

แต่ในทางกลับกัน บัตรกดเงินสดไม่เหมาะให้คุณเป็นหนี้เรื้อรัง หรือหนี้กินระยะเวลายาวๆ เพราะดอกเบี้ยคงจะบาน กลายเป็นหนี้หัวโตแน่ๆ

การกดเงินสด

แล้วแบบนี้ จะใช้บัตรกดเงินสดยังไงดี ไม่ให้เป็นหนี้?

ข้อดีของการไม่มีหนี้มีมากมาย แต่ให้พูดกันตามตรง การใช้บัตรกดเงินสดแบบไม่ให้เป็นหนี้เลยนั้นอาจจะเรียกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะตามเงื่อนไขของบัตรกดเงินสดคือ หากกดออกมาแล้วถือว่ามีดอกเบี้ยเกิดขึ้นแล้วทันที แถมยิ่งจำนวนวันในการจ่ายเงินคืนนานเท่าใด ก็ยิ่งมีดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นนานเท่านั้น

ดังนั้นการใช้งานบัตรกดเงินให้เกิดประสิทธิภาพ หากต้องใช้ ก็ควรรีบชำระคืนโดยเร็วที่สุด และไม่ต้องรอบิลเรียกเก็บเงินปลายเดือน (เพราะคิดเป็นรายวัน บิลแจ้งเป็นแค่การย้ำไม่ให้คุณลืมจ่ายเท่านั้น) เพราะถ้ายิ่งชำระคืนเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งเสียดอกเบี้ยน้อยเท่านั้น

จะเห็นได้ว่าบัตรกดเงินสดนั้น เหมาะสำหรับเก็บเอาไว้ใช้เป็นวงเงินฉุกเฉิน และอาจจะรอนานมากขนาดไปนั่งสมัครสินเชื่อใหม่ๆ ไม่ได้ รวมไปถึงการไม่มีเงินสดไว้ฉุกเฉินในรายจ่ายนั้นๆ

เช่น ไปต่างประเทศแล้วร้านค้าหรือบริการไม่รับบัตรเครดิต , ต้องรีบนำเงินไปชำระค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จไปขอเงินคืนจากบริษัทประกันทีหลัง หรือทำธุรกิจ ต้องการเงินไปหมุน แต่ต้องมั่นใจว่าจะได้เงินคืนในระยะเวลาสั้นๆ เป็นต้น

แสดงว่า ตัวการคือ ดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสด?

พูดอีกก็ถูกอีก ถึงแม้ดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดในแต่ละธนาคารแตกต่างกัน แต่ดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดก็สูงมากที่สุดในบรรดาสินเชื่ออยู่ดี แต่บางธนาคารอาจจะมีการกำหนดว่า วงเงินต่ำๆ อัตราดอกเบี้ยจะสูง แต่หากวงเงินสูงอัตราดอกเบี้ยจะต่ำลง ก็ได้เช่นกัน

จุดเด่นของการคิดดอกเบี้ยรายวัน ไม่ใช่เป็นแค่ข้อเสีย หากมองถึงแง่ดีแล้ว ถ้าเรากดเงินมาใช้ในจำนวนวันที่น้อย แล้วชำระคืนทั้งหมด ดอกเบี้ยก็จะถูกคิดเท่ากับจำนวนวันที่ค้างจ่ายเท่านั้น หรือหากเราใช้เงินในระยะเวลาที่นานขึ้น ดอกเบี้ยก็จะถูกคิดไปตามจำนวนวันและยอดคงค้างที่มีอยู่ จนกว่าเราจะชำระคืนเงินที่กู้ยืมมา

ยิ่งคืนเร็ว ยิ่งประหยัดดอกเบี้ย ต่างจากบัตรเครดิตที่จ่ายเงินคืนเร็วแค่ไหน ก็ยังคิดดอกเบี้ยเป็นรอบเดือน หรือนับตามกำหนดบิลอยู่ดี

เราจะเห็นได้ว่า บัตรกดเงินสดนั้น ตอบสนองความต้องการใช้เงินในระยะสั้นๆ จำนวนไม่มากได้ดี โดยไม่ต้องมีภาระค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยสูงมากนัก นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ในยามฉุกเฉินต่างๆ ไม่ต้องกู้หนี้นอกระบบ หรือต้องบากหน้าไปยืมเงินคนรอบตัวอีกด้วย

รวมเทคนิคใช้บัตรกดเงินสดยังไง ให้เก๋าเกมสุด?

  • กดเงินสดจากบัตรกดเงินสด เท่าที่จำเป็นต้องใช้ อย่าใช้เสมือนเป็นบัตร ATM ของตนเอง
  • ก่อนเสียบบัตรกดเงินสดหรือบัตร ATM เข้าไปในตัวเครื่อง ตรวจสอบให้มั่นใจว่า กำลังต้องการกดเงินจากบัตรไหน บางครั้งมีเงินอยู่ในบัญชีเงินฝาก รู้ตัวทีหลังก็อาจจะเสียดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายโดยใช่เหตุ ถึงเราจะจ่ายคืนได้ในวันเดียวกัน แต่สุดท้ายก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการชำระเงินคืนอยู่ดี
  • มีเงินสดเป็นก้อนกลับมาเมื่อไหร่ ควรชำระคืนทันทีที่มีโอกาส ไม่จำเป็นต้องรอใบแจ้งหนี้ การค้างเงินสดไว้ในกระเป๋าไม่ได้ดอกเบี้ย แต่หนี้ที่คงค้างมีการคิดดอกเบี้ยทุกวัน
  • พยายามชำระเงินให้เป็นก้อนที่ใหญ่ขึ้น เพราะจะไม่คุ้มกับค่าธรรมเนียมการชำระเงิน เช่น การชำระเงินคืน 1,000 บาท ประหยัดดอกเบี้ยเพียง 76 สตางค์ต่อวัน แต่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 15 บาท ถือว่าไม่คุ้มค่าอยู่ดี
  • การชำระเงินคืนผ่านตัวแทน จะต้องใช้ระยะเวลาในการเคลียร์ริ่งประมาณ 3 วันทำการ เราต้องคำนวณดอกเบี้ยเผื่อไว้ล่วงหน้ามิฉะนั้นจะมีการค้างดอกเบี้ยอยู่เล็กน้อย พอรอบต่อไปไม่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าว ก็อาจจะโดนค่าปรับ ค่าเรียกเก็บ ซึ่งมากกว่ายอดเงินคงค้างหลายเท่าตัว

สรุปแล้ว การใช้บัตรเงินสดให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่เป็นหนี้หัวโต อาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะมีการคิดดอกเบี้ยตั้งแต่คุณเริ่มกดเงินออกมาใช้งาน แต่ถ้ามีวินัยในการใช้เงิน รู้จักหมุนเงิน จ่ายเงินคืนได้ตรงต่อเวลา จ่ายเงินโดยไม่ต้องรอบิลเรียกเก็บ เท่านี้คุณก็ใช้บัตรกดเงินสดได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกลัวหนี้สินพอกพูนแล้ว

และสำหรับใครที่เริ่มสนใจ อยากจะสมัครบัตรกดเงินสดออนไลน์ ทาง Rabbit Care ขอแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ บัตร KTC proud อีกหนึ่งบัตรกดเงินสดที่น่าสนใจ ที่ให้คุณสมัครได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ให้คุณมีผู้ช่วยเหลือยามฉุกเฉิน โดยที่ไม่ต้องเดือดร้อน บากหน้าไปยืมเงินใคร อีกต่อไป!


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024