โดนใบสั่งออนไลน์ต้องจ่ายที่ไหน? ใบสั่งจราจรหายจะเช็คย้อนหลังได้อย่างไร?
ใบสั่งออนไลน์ หรือใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ คือใบสั่งจราจรที่กล้องวงจรปิด (CCTV) จับภาพการกระทำความผิดในระหว่างขับขี่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถในที่ห้ามจอด ปาดคอสะพาน ผ่าไฟแดง ทับเส้นทึบ หรือขับรถเร็ว และจัดส่งใบสั่งออนไลน์มาให้ที่บ้านผ่านทางไปรษณีย์
แต่ปัญหาสำคัญที่หลายคนเจอเมื่อโดนใบสั่งออนไลน์ คือ ทำใบสั่งปรับหาย ลืมใบสั่ง หรือแม้กระทั่งไม่รู้ว่าโดนใบสั่งจราจรออนไลน์ด้วยซ้ำ ทำให้อาจมีใบสั่งปรับค้างจ่ายโดยไม่รู้ตัว และส่งผลให้ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีไม่ได้ หากไม่ได้จ่ายค่าปรับจราจรตามใบสั่ง แรบบิท แคร์ รวบรวมวิธีตรวจเช็กใบสั่งปรับจราจรออนไลน์ย้อนหลัง พร้อมช่องทางจ่ายค่าปรับออนไลนง่ายๆ มาฝากกัน
1. ตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ค้างจ่ายได้ที่ไหน?
สำหรับใครที่ต้องการตรวจเช็คใบสั่งออนไลน์ย้อนหลังที่ยังไม่ได้จ่าย ได้รับใบสั่งแต่ทำใบสั่งหายไปแล้ว หรือต้องการตรวจสอบว่าตัวเองโดนใบสั่งโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ สามารถทำได้ตัวเองง่ายๆ ด้วยตัวเองผ่านทั้งเว็บไซต์ตรวจสอบใบสั่งจราจรออนไลน์ ตู้บริการตรวจสอบข้อมูลของภาครัฐ หรือติดต่อสอบถามกับหน่วยงานที่ดูแลและจัดการเรื่องใบสั่งจราจรโดยตรง มีช่องทางในการเช็กใบสั่งจราจรค้างจ่ายได้ดังนี้
1.1 เว็บไซต์ตรวจใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน
สามารถตรวจสอบใบสั่งความเร็วออนไลน์ได้ด้วยตัวเองที่หน้าเว็บไซต์ “ใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน” (ptm.police.go.th) โดยต้องลงทะเบียนด้วยข้อมูลบัตรประชาชน ข้อมูลรถที่ครอบครอง และข้อมูลใบอนุญาตขับขี่ให้เรียบร้อยก่อนเข้าใช้งานระบบตรวจสอบ
หลังจากนั้นระบบจะเเสดงข้อมูลใบสั่งที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเลขที่ใบแจ้ง ทะเบียนรถ วันที่กระทำผิด หน่วยงานที่ออกใบสั่ง และค่าปรับ พร้อมกับสามารถเลือกจ่ายใบสั่งจราจรออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตได้ทันทีพร้อมกันสูงสุด 10 ใบสั่ง
นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถเลือกดาวน์โหลดแบบฟอร์มโต้แย้งข้อกล่าวหาตามใบสั่งปรับที่ได้รับได้ ไม่ว่าจะโต้แย้งใบสั่งด้วยเหตุผลรถหาย หรือรถถูกขายไปก่อนเกิดเหตุแล้ว หรือแม้กระทั่งไม่ได้เป็นผู้ขับขี่ในวันและเวลาเกิดเหตุดังกล่าวได้อีกด้วย
1.2 ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ (Government Smart Kiosk)
สามารถตรวจสอบใบสั่งจราจรออนไลน์ย้อนหลังได้ผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ (Government Smart Kiosk) โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ที่มีตั้งให้บริการอยูทั่วประเทศมากถึง 77 จุดบริการ
เพียงสอดบัตรประชาชนที่ช่องสอดบัตรของตู้ เลือกเมนู “บริการอื่นๆ” จากนั้นเลือกเมนู “ตรวจสอบ” และ “ตรวจสอบใบสั่ง” หน้าจอจะแสดงผลรายละเอียดใบสั่ง และสามารถสั่งพิมพ์ใบสั่งออนไลนื และนำสลิปข้อมูลรายการใบสั่งค่าปรับที่ได้รับจากตู้บริการฯ ไปชำระค่าปรับตามช่องทางที่สะดวกได้ทันที
1.3 กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจจราจร
สำหรับใครที่ไม่สะดวกเช็กใบสั่งค่าปรับจราจรด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ตรวจสอบ E-Ticket หรือต้องการขอคัดสำเนาใบสั่งเพื่อนำไปชำระ อาจเลือกวิธีติดต่อกองกำกับการ 4 กองยังคับการตำรวจจราจร (Traffic Police) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบศูนย์ควบคุมการจราจรและงานเทคนิคการจราจรโดยตรง
โดยสามารถติดต่อเพื่อขอคัดสำเนาใบสั่งออนไลน์ที่ทำหายได้ที่ กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจจราจร เลขที่ 123 หมู่ที่ 2 ถนนวิภาวดี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 02-5153166-67 หรือโทร. 1197 ในวันและเวลาราชการ
2. ค่าปรับใบสั่งออนไลน์ จ่ายที่ไหนได้บ้าง?
ใบสั่งค่าปรับจราจรที่สามารถจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ หรือช่องทางจ่ายค่าปรับจราจรอื่นๆ ที่ไม่ใช่การไปจ่ายที่สถานีตำรวจด้วยตัวเอง เช่น การจ่ายค่าปรับจราจรที่เซเว่น หรือตู้ ATM ได้นั้น จะต้องเป็นใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ หรือการโดนใบสั่งค่าปรับจราจรจากการกระทำผิดกฎจราจรที่บันทึกโดยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่จัดส่งไปที่บ้านเท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นใบสั่งจากกล้องจราจร ใบสั่งแบบเล่มที่ไม่ถูกยึดใบขับขี่ หรือใบเตือนทุกชนิดที่มีบาร์โค้ดและเครื่องหมาย PTM (Police Ticket Management) รวมถึงใบสั่งที่มีข้อความระบุว่า “สามารถชำระได้ที่ช่องทางของธนาคารกรุงไทย”
ซึ่งใบสั่งประเภทข้างต้นจะสามารถจ่ายค่าปรับความเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ได้ แต่หากเป็นใบสั่งแบบทั่วไปที่เขียนด้วยลายมือจะไม่สามารถชำระค่าปรับผ่านช่องทางออนไลน์ได้ มีช่องทางที่สามารถจ่ายค่าปรับใบสั่งออนไลน์ได้มีดังนี้
- เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย (KTB) ทุกสาขาทั่วประเทศ (ค่าธรรมเนียม 20 บาท)
- ตู้ ATM และ ADM (ตู้รับฝากเงินสดอัตโนมัติ) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ทั่วประเทศ (ค่าธรรมเนียม 15 บาท)
- KTB netbank (Internet Banking) (ค่าธรรมเนียม 15 บาท)
- แอปฯ Krungthai NEXT (ไม่มีค่าธรรมเนียม)
- ที่ทำการไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ (ค่าธรรมเนียม 15 บาท)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสของ 7-11 (Counter Service) (ค่าธรรมเนียม 20 บาท)
- เคาน์เตอร์ CenPay ในเครือ CENTRAL Group (ค่าธรรมเนียม 20 บาท)
- ตู้บุญเติม (ยกเว้นตู้บุญเติมหน้า 7-11)
- หน่วยบริการรับชำระค่าปรับตามใบสั่งที่มีเครื่องหมาย PTM (Police Ticket Management)
- สถานีตํารวจที่ออกใบสั่ง หรือสถานีตํารวจท้องที่ทั่วประเทศ
3. ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งออนไลน์จะเป็นอะไรหรือเปล่า?
3.1 เสียค่าปรับจ่ายล่าช้าเพิ่ม
กรณีที่ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งจราจรออนไลน์ตามเวลาที่กำหนด หรือตามที่ได้ระบุไว้ในใบสั่ง จะมีค่าปรับล่าช้าเพิ่มสูงสุด 1,000 บาทต่อใบ และหากมีใบสั่งค้างชำระและเกินระยะเวลาจ่ายค่าปรับที่กำหนดหลายใบ อาจจะถูกปรับล่าช้าย้อนหลังทุกใบอีกด้วย
3.2 เสียค่าปรับไม่แสดงป้ายภาษี
แม้ว่าจะสามารถชำระภาษีรถยนต์ประจำปีได้ในกรณีที่มีใบสั่งออนไลน์ค้างจ่ายอยู่ เเต่จะไม่ได้รับหลักฐานการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีตามปกติ แต่จะได้รับหลักฐานการเสียภาษีประจำปีชั่วคราวที่มีอายุ 30 วันแทน เพื่อให้นำไปใช้จ่ายค่าปรับที่ค้างชำระอยู่ให้เรียบร้อยก่อน และนำใบเสร็จกลับมารับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี หรือป้ายภาษี (ป้ายสี่เหลี่ยมติดหน้ารถ)
แต่หากยังไม่ชำระใบสั่งออนไลน์ที่ค้างชำระอยู่ และไม่ได้ไปเปลี่ยนป้ายภาษีตามที่กำหนด จะถือว่ามีความผิดจากการขับขี่รถโดยไม่แสดงเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีหรือป้ายภาษีรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 และมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
3.3 ถูกอายัดใบขับขี่
หากเคยโดนยึดใบขับขี่ และไม่ได้ไปเสียค่าปรับตามใบสั่งจราจรเพื่อขอรับใบขับขี่คืน สามารถเข้าทดสอบเพื่อขอรับใบขับขี่ใหม่ได้ เเต่จะไม่สามารถรับใบขับขี่ใหม่ได้ทันที รวมถึงจะไม่สามารถแจ้งความใบขับขี่หายเพื่อทำใบขับขี่ใหม่ได้
เนื่องจากจะยังมีรายชื่อค้างจ่ายใบสั่งอยู่ในระบบของกรมการขนส่งทางบกแม้ว่าจะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม ทำให้ใบขับขี่ถูกอายัด และต้องชำระค่าปรับตามใบสั่งที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อยก่อนเพื่อถอนอายัดใบขับขี่จึงจะขอรับใบขับขี่คืนได้
3.4 ถูกออกหมายจับ
หากยังไม่จ่ายใบสั่งปรับออนไลน์ และยังกระทำผิดอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการออกหมายเรียกให้มาชำระค่าปรับใบสั่งที่ค้างอยู่ก่อน เเต่หากเจ้าของที่โดนใบสั่งยังเพิกเฉย ไม่ตอบรับหมายเรียก เจ้าหน้าที่จะพิจารณาออกหมายจับ และส่งฟ้องศาลต่อไปทันที
ถ้าไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งออนไลน์ ประกันรถยนต์แต่ละชั้นยังคุ้มครองหรือไม่
การไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งจราจรออนไลน์ ไม่มีผลโดยตรง ต่อการคุ้มครองจากประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้นไหนก็ตาม อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรพิจารณาดังนี้
ประกันชั้น 1
- ประกันชั้น 1 ยังคงให้ความคุ้มครองตามปกติ แม้ว่าคุณจะไม่ได้จ่ายค่าปรับใบสั่งออนไลน์
- ความคุ้มครองยังรวมถึงความเสียหายต่อรถของคุณและคู่กรณีในกรณีอุบัติเหตุ
ประกันชั้น 2+ และ 3+
- ประกันชั้น 2+ และประกัน3+คุ้มครองอะไรบ้าง ยังคงคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุมีคู่กรณี และการไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งจะไม่ส่งผลต่อการเคลมประกัน
ประกันชั้น 2 และชั้น 3
- ประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง และประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง จะยังคงคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลที่สาม (คู่กรณี) เหมือนเดิม ไม่ได้รับผลกระทบจากการไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง
แม้ว่า การไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งจะไม่ส่งผลต่อความคุ้มครองของประกันรถยนต์ แต่คุณควรรีบชำระค่าปรับเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย เช่น การต่อทะเบียนรถไม่ได้ ซึ่งอาจมีผลกระทบทางอ้อมต่อการใช้รถและประกันในอนาคต
บทสรุปส่งท้าย
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีช่องทางอำนวยความสะดวกในการจ่ายค่าปรับจราจรที่เข้าถึงง่ายมากขึ้น แต่จากสถิติตัวเลขใบสั่งจราจรที่ไม่ได้จ่ายในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่ามียอดค้างจ่ายสูงถึง 13 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82.20% ของใบสั่งทั้งหมด ทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงมาตรการลงโทษ ทั้งในส่วนของโทษจับและปรับที่เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการไม่ให้ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ทันทีตามปกติ ในกรณีที่มีค่าปรับจากใบสั่งจราจรออนไลน์ที่ค้างชำระอยู่
แรบบิท แคร์ พร้อมดูแลทุกการเดินทางด้วยประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือ พ.ร.บ. จากทุกบริษัทชั้นนำที่มีให้เลือกครบจบในที่เดียว ทุนประกันสูง เบี้ยถูกพิเศษ พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 70% และบริการเสริมเฉพาะลูกค้าที่เลือกซื้อประกันภัยรถยนต์กับ แรบบิท แคร์ ฟรีทันที ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ไม่ว่าจะเป็นบริการความช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนน (Roadside Service) บริการแจ้งเคลมออนไลน์ และบริการประสานงานแจ้งเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทั้งทาง Care Center โทร. 1438 หรือ LINE Official Account (@rabbitcare)
เปรียบเทียบพร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และเลือกซื้อประกันกับ แรบบิท แคร์ เพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใครได้แล้วตั้งเเต่วันนี้ โทรเลย. 1438 หรือ rabbitcare.com
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต