Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

ถูกยึดใบขับขี่ควรทำอย่างไร และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง?

กฎหมายจราจรการยึดใบขับขี่ มีอะไรบ้าง?

จากข้อมูลในราชกิจจานุเบกษา เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ว่าด้วยเรื่อง ระเบียบว่าด้วยการยึดใบอนุญาตขับขี่ การบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2565 ได้กล่าวถึง กฎหมายจราจรการยึดใบขับขี่ไว้ว่า หากเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าผู้ขับขี่ผู้นั้นอยู่ในสภาพที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ทั้งของตนเองและผู้อื่น ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการควบคุมวินัยจราจรของผู้ขับขี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัยของสาธารณะ และสวัสดิภาพของประชาชน ให้เจ้าพนักงานจราจรสามารถเรียกตรวจใบขับขี่ และให้เจ้าพนักงานจราจรที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปนั้นมีอำนาจในการยึดใบขับขี่ได้เลยทันที หรือบันทึกการยึดใบขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลนั้น เพื่อไม่ให้บุคคลนั้นสามารถขับรถได้ต่อไปอีก

ตำรวจยึดใบขับขี่ได้ไหม 2568 ?

เบื้องต้นเจ้าพนักงานจราจรจะไม่มีสิทธิ์ในการเรียกเก็บหรือยึดใบขับขี่ของผู้ขับ แต่เจ้าพนักงานจราจรสามารถเรียกตรวจดูใบอนุญาตขับขี่ได้ และจะต้องคืนให้แก่ผู้ขับขี่โดยทันที ซึ่งในส่วนของผู้ขับขี่นั้นก็จะต้องพกใบขับขี่ในขณะที่ขับรถตลอดเวลา และจะต้องแสดงใบขับขี่เมื่อเจ้าหน้าที่มีการขอตรวจดูนั่นเอง

วิธีการแสดงใบขับขี่ มีทั้งหมดกี่รูปแบบ?

สำหรับวิธีการแสดงใบขับขี่นั้นจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. ใช้ใบอนุญาตขับขี่ตัวจริง
  2. ใช้ใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบขับขี่ดิจิทัล ผ่านแอปพลิเคชัน DLT QR LICENCE (สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ทั้งในโทรศัพท์ระบบ Android และ iOS โดยค้นหาคำว่า DLT QR LICENCE)
  3. ใช้สำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามแบบฟอร์มที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ซึ่งจะไม่สามารถใช้ภาพที่ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือได้

ใบขับขี่มีทั้งหมดกี่ประเภท?

ใบขับขี่สามารถแบ่งออกได้ตามชนิดและรูปแบบการใช้งานของยานพาหนะทั้งหมด 11 ประเภท ได้แก่

  1. ใบขับขี่รถชนิดชั่วคราว (ประเภท บ.) โดยผู้ที่ขอทำใบขับขี่ครั้งแรกทุกคนจะได้รับใบขับขี่ประเภทนี้ไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นรถชนิดใดก็ตาม ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว ใบขับขี่ขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว และใบขับขี่ขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว โดยที่ใบขับขี่ประเภทนี้จะมีอายุการใช้งาน 2 ปี และจะสามารถทำได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  2. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล (ประเภท บ.) เมื่อใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวครบ 2 ปีแล้ว ก็สามารถต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งาน 5 ปีได้เลยทันที
  3. ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (ประเภท บ.) จะมีเงื่อนไขคล้ายกับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล คือจะได้ใบขับขี่แบบชั่วคราวไว้ก่อน และสามารถต่ออายุเป็นใบขับขี่แบบ 5 ปีเช่นเดียวกัน
  4. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (ประเภท บ.) สามารถทำได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป และจะต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์แบบชั่วคราวมาก่อนแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  5. ใบขับขี่สากลหรือใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ (ประเภท บ.) เป็นใบขับขี่ที่อนุญาตให้ขับรถได้ตามความตกลงระหว่างประเทศ ไม่มีการกำหนดอายุขั้นต่ำในการทำ แต่จะต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมาแล้ว และมีสำเนาหนังสือเดินทางประกอบด้วย จึงจะสามารถยื่นเรื่องทำใบขับขี่สากลได้ โดยใบขับขี่ชนิดนี้จะมีอายุ 1 ปี ซึ่งจะสามารถใช้ได้ในประเทศที่ยอมรับใบขับขี่สากล
  6. ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ (ประเภท ท.) เป็นใบขับขี่สำหรับคนที่ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น ขับ TAXI ขับ GrabCar คนขับรถส่งของ เป็นต้น โดยจะต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และสามารถทำได้เมื่อมีอายุ 22 ปีขึ้นไป
  7. ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ (ประเภท ท.) หรือรถตุ๊กตุ๊ก มีเงื่อนไขว่าจะต้องทำใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน และจะมีอายุการใช้งานได้ 5 ปีเช่นเดียวกัน
  8. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ (ประเภท ท.) ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป จึงจะสามารถทำใบขับขี่ประเภทนี้ได้ และจะต้องมีใบขับขี่จักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งใบขับขี่ประเภทนี้จะมีอายุการใช้งาน 3 ปี ดังนั้นคนที่ทำงานเป็นไรเดอร์ส่งอาหาร หรือขับรถส่งของ ก็จะต้องมีใบขับขี่ประเภทนี้ด้วย
  9. ใบขับขี่รถบดถนน (ประเภท ท.) ผู้ขับจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษด้วย เช่น หลักสูตร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก) เพื่อให้สามารถใช้งานรถบดถนนที่มีความอันตรายสูงได้อย่างปลอดภัย โดยใบขับขี่ประเภทนี้ สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  10. ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ (ประเภท ท.) คนขับจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และใบขับขี่จะมีอายุการใช้งาน 5 ปีด้วยกัน
  11. ใบขับขี่รถชนิดอื่นนอกจากข้อ 1- 9 (ประเภท ท.) เป็นใบอนุญาตขับขี่สำหรับผู้ขับรถชนิดอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น รถใช้งานในเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งใบขับขี่ประเภทนี้ก็จะมีอายุการใช้งาน 5 ปีเช่นเดียวกัน

เมื่อทำผิดกฎจราจรแล้วถูกออกใบสั่ง ควรทำอย่างไรต่อดี?

เมื่อทำผิดกฎจราจร ผู้ขับขี่จะถูกตัดแต้มและเสียค่าปรับ กล่าวคือ หากถูกตัดแต้มครบ 12 แต้ม ก็จะต้องถูกพักการใช้ใบขับขี่ 90 วัน รวมทั้งผู้ขับขี่จะต้องเข้าไปอบรมใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก เพื่อที่จะได้รับแต้มคืนกลับมานั่นเอง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังและไม่ทำผิดซ้ำซ้อน เพราะถ้าหากว่าถูกพักการใช้ใบขับขี่เกิน 2 ครั้งภายใน 3 ปี ในครั้งที่ 3 นั้นจะถูกพักการใช้ใบขับขี่นานถึง 1 ปีเลยทีเดียว และในระหว่าง 1 ปี หากกระทำผิดเป็นครั้งที่ 4 อีก ก็จะถูกเพิกถอนการใช้ใบขับขี่โดยถาวรเลยทันที

ไม่พกใบขับขี่ในระหว่างที่ขับรถ มีโทษอย่างไรบ้าง?

  1. มีใบขับขี่แต่ไม่แสดงให้เจ้าหน้าที่ดู หรือไม่ได้พกใบขับขี่ จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  2. หากขับรถโดยไม่มีใบขับขี่ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. ในกรณีที่ผู้ประกอบการยินยอมให้ผู้ที่ไม่มีใบขับขี่ขับรถยนต์สาธารณะนั้น จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เนื่องจากไม่มีใบขับขี่ประเภท 2
  4. ผู้ใดขับรถโดยที่ไม่มีใบขับขี่ เนื่องจากว่าใบขับขี่หมดอายุ ถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่ ถูกเพิกถอนใบขับขี่ หรือถูกยึดใบขับขี่ จะถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  5. หากผู้ใดฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถ โดยที่ไม่มีใบอนุญาต จะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วเท่านั้น
  6. ผู้ใดขับรถโดยที่ไม่มีใบขับขี่ เพราะว่าให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตหรือเครื่องหมายที่ทะเบียนออกให้ จะต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  7. ผู้ใดขับรถโดยที่ไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ หรือไม่แสดงสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถ จะต้องถูกระวางโทษไม่เกิน 1,000 บาท

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

ถ้าหากดูจากความคุ้มครองทั้งหมดก็จะแนะนำว่าให้ทำเป็นประกันภัยชั้น 1 ไว้เลย จะได้อุ่นใจและคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากที่สุด เพราะเราไม่เพียงแต่จะได้รับความคุ้มครองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ว่าเรายังจะได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไปอีก อีกทั้งนอกจากนี้ยังได้รับความคุ้มครองสำหรับการชนแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ค่าซ่อมสีรถ ในกรณีที่รถนั้นเกิดริ้วรอยต่าง ๆ ที่ไม่ได้มาจากการเฉี่ยวชนของคู่กรณี ซึ่งมันก็จะเป็นความพิเศษโดยเฉพาะสำหรับ ประกันภัยชั้น 1 นี้เท่านั้น

ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

เพราะนอกจากแรบบิท แคร์ จะมีโปรโมชั่นพิเศษและส่วนลดอื่น ๆ อีกมากมายที่รอให้คุณแล้ว แรบบิท แคร์ ยังมีบริการดูแลลูกค้าแบบจัดเต็ม ที่พร้อมจะให้คำปรึกษาตั้งแต่ครั้งแรกที่เลือกทำประกันภัยกับเรา ไปจนถึงการรับเรื่องประสานงานเคลมเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้อย่างรวดเร็ว และทันใจลูกค้าแน่นอน เพราะฉะนั้นจึงสามารถอุ่นใจได้เลยว่าคุณจะไม่ผิดหวังแน่นอนถ้าเลือกทำประกันภัยกับแรบบิท แคร์ และสามารถดูสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ แรบบิท แคร์

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา