เมารถบ่อยต้องอ่าน! รวมสารพัดวิธีง่าย ๆ ให้คุณเอาชนะอาการเมารถ
มีใครเคยรู้สึกเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียนเวลานั่งรถเดินทางบ้าง? ทำอย่างไรก็ไม่หายยิ่งนั่งนาน ๆ ก็ยิ่งเวียนหัวบอกเลยว่าเป็นอาการที่ทรมานสุด ๆ จะลงจากรถก็ไม่ได้เพราะจำเป็นต้องเดินทาง แบบนี้เป็นลักษณะอาการของ “คนเมารถ” แน่นอน แต่ก็น่าแปลกที่อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลเท่านั้น บางคนก็เมารถหนักแต่บางคนนิ่งชิล ๆ จะที่ร้อยโค้งก็ไม่หวั่น แม้อาการเมารถจะไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่ปล่อยไว้ก็ย่อมสร้างปัญหากับคุณแน่ ๆ โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางบ่อย ๆ ด้วยเหตุนี้น้องแคร์จึงขอแชร์วิธีแก้เมารถมาฝากทุกคนดังนี้
อาการเมารถคืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
เมารถเป็นอาการ Motion Sickness อย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นภาวะที่การทรงตัวกับสมองไม่สามารถปรับการทำงานกับสิ่งที่เคลื่อนไหวรอบด้านได้ทัน มักจะเกิดขึ้นตอนนั่งยานพาหนะต่าง ๆ ที่มีการเคลื่อนไหว อย่างเช่น รถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน เป็นต้น อาการเมารถมีโอกาสเป็นได้ในบุคคลทุกเพศทุกวัย หนักเบาเป็นไม่เท่ากันแต่ก็มีหลายคนที่ไม่เป็นเลย หากเมารถเมื่อไหร่ก็จะมีอาการเวียนหัว มึนหัว คลื่นไส้อาเจียน
ส่วนสาเหตุของการเมารถนั้นอธิบายได้ว่า หูชั้นในที่เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัวและรักษาสมดุลของร่างกาย ซึ่งจะทำงานร่วมกับสัญญาณที่ส่งมาจากอวัยวะต่าง ๆ ตามร่างกาย อย่างตา และผิวหนัง โดยตาจะเป็นอวัยวะสำคัญในการรับภาพเข้ามาผ่านหูชั้นในเพื่อประมวลผลว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ หากมีการเคลื่อนที่เร็ว ๆ จะทำให้สัญญาณภาพที่ส่งมาจากตาทำงานไม่สอดคล้องกับหูชั้นใน ทำให้สมองประมวลผลผิดพลาดจึงเกิดอาการเวียนหัวนั่นเอง ลองสังเกตหากเราหลับตาขณะเคลื่อนที่เร็ว ๆ ก็จะช่วยลดอาการเวียนหัวได้มากขึ้น
หากอธิบายให้ภาพมากขึ้น ถ้าคุณลองหมุนตัวด้วยความเร็วสักประมาณ 10 รอบขึ้นไป คุณจะเวียนหัว ภาพหมุน และรู้สึกคลื่นไส้ เพราะสมองได้รับภาพรอบตัวที่เร็วจนเกินไปแต่ร่างกายไม่ได้รับการตอบสนองต่อการเคลื่อนที่เหล่านั้น เมื่อสมองกับร่างกายทำงานไม่ประสานกันก็จะเกิดอาการเวียนหัว จะเห็นได้ว่าหากเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกที่เคลื่อนที่ไว ๆ หรือเล่นเกมส์ติดต่อกันนาน ๆ ก็เกิดอาการเมาได้เช่นกัน
อาการของคนเมารถเป็นอย่างไร?
สำหรับการเมารถนั้นผู้ป่วยจะมีอาการคือเวียนหัวอย่างเฉียบพลัน รู้สึกมวลท้องคลื่นไส้อยากอาเจียน อ่อนเพลียไม่มีแรง ไม่อยากทานอาหาร หน้าซีดปากศีด มึนหัว ทรงตัวไม่อยู่ อาการของคนเมารถนั้นหนักเบาไม่เท่ากัน บางคนอาจมีอาการเมารถมาก ส่วนบางคนมีอาการเล็กน้อย ทั้งนี้เกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย ผู้ที่มีประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวไวก็จะมีโอกาสเมารถได้มากกว่าคนปกติ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วอย่างไมเกรนก็เมารถได้ง่ายกว่าคนปกติด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เด็กและหญิงตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเมารถได้ง่ายด้วย
เมารถเป็นอันตรายหรือไม่ ต้องไปพบแพทย์หรือปล่าว
โดยปกติแล้วอาการเมารถสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องไปพบแพทย์ แค่พักเล็กน้อยไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้แล้ว แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เวียนหัวหรือคลื่นไส้อย่างหนักแม้เวลาจะผ่านไปนานแล้วก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยดีกว่า ซึ่งแพทย์จะให้ยาปฎิชีวนะเข้ามาช่วยบรรเทาอาการ สำหรับใครที่มีอาการเมารถบ่อย ๆ เกิดขึ้นซ้ำวนเวียนไปมา แบบว่าแค่นั่งรถนิดเดียวก็รู้สึกเวียนหัวแล้ว เคสแบบนี้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพราะอวัยวะบางส่วนในร่างกายของคุณอาจทำงานผิดปรกติได้ (โดยเฉพาะอวัยวะที่เชื่อมกับประสาทตาและหู)
ปิดพลาสเตอร์ที่สะดือแก้เมารถได้จริงหรือไม่?
มีข่าวแขร์กันเป็นที่แพร่หลายเลยทีเดียวกับคำกล่าวที่ว่า “การแปะพลาสเตอร์ที่สะดือจะช่วยป้องกันการเมารถได้” ซึ่งน้องแคร์ขอให้คำตอบเลยว่าเรื่องนี้ไม่จริงแต่อย่างใด (ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจาก อย. และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว) เพราะสะดือไม่ใช่อวัยวะที่มีส่วนในการรักษาสมดุลต่อร่างกาย และไม่ได้เชื่อมระบบประมวลการรับรู้ถึงสมอง ดังนั้นการเอาพลาสเตอร์มาปิดก็ไม่ได้จะช่วยให้ระบบประสาทการทรงตัวทำงานดีขึ้น ไม่ใกล้เคียงเลยแม้แต่น้อย ดังนั้นหากเห็นข่าวที่แชร์มาดังนี้ก็ให้กดปิดไปได้เลย
วิธีป้องกันการเมารถ
อาการเมารถจะเกิดขึ้นง่ายมากหากเรานั่งโดยสารอยู่บนรถเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะเส้นทางคดเคี้ยวขึ้นลงเนินเขา เพราะตัวเราจะถูกแรงเหวี่ยงให้ส่ายไปมา ดังนั้นหากเรารู้ตัวว่าจะต้องเดินทางและคุณเป็นคนที่เมารถง่าย เราสามารถป้องกันได้ดังนี้
1. รับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
เดินทางอย่าปล่อยให้ท้องว่าง เพราะถ้าท้องว่างเมื่อไหร่จะเมารถง่ายมากขึ้น ให้รับประทานอาหารปกติประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง หลังจากทานเสร็จแล้วอย่างเพิ่งเดินทางทันที ให้รอพักสักประมาณ 45 นาที ก่อนออกเดินทาง รวมถึงหลีกเลี่ยงของทอดหรืออาหารที่เป็นกรดด้วย
2. เลือกที่นั่งบริเวณกลางรถ
หากคุณเดินทางไปกับรถตู้หรือรถทัวร์โดยสารพยายามอย่านั่งบริเวณท้ายรถ เพราะท้ายรถจะเป็นจุดที่ถูกเหวี่ยงได้มากที่สุดและมีการสะเทือนบ่อยกว่าจุดอื่น ๆ ซึ่งจุดที่ดีที่สุดก็คือบริเวณกลางรถ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อยสุด
3. นั่งตัวตรงสายตามองไปข้างหน้าแก้เมารถได้จริง
เมื่อนั่งบนรถแล้วให้นั่งตัวตรงมองไปข้างหน้าทอดสายตาไปยังที่ไกล ๆ พยายามอย่ามองไปข้างทาง เพราะเราจะเห็นภาพวิวทิวทัศน์เคลื่อนที่ผ่านสายตารวดเร็วจนทำให้ประสาทการมองเห็นทำงานไม่สอดคล้องกับสมองได้ส่งผลให้คุณเกิดอาการเมารถเร็วขึ้นกว่าเดิม
4. นั่งเฉย ๆ อย่าทำกิจกรรมบนรถ
บางคนตอนนั่งรถชอบแก้เบื่อด้วยการก้มหน้าหยิบโทรศัพท์มาเล่น บางคนก็นั่งเล่นเกมส์ บางคนก็อ่านหนังสือ บางคนก็หยิบขนมขึ้นมาทาน ซึ่งบอกเลยว่ากิจกรรมเหล่านี้ทำให้คุณเมารถได้ง่ายขึ้น เพราะการก้มหน้าจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ซึ่งจะทำเกิดอาการเมารถได้ง่าย นอกจากนี้ตอนนั่งรถก็ทำจิตใจให้ผ่อนคลายอย่าเครียดจนเกินไป
5. ลงจากรถทุกครั้งเมื่อมีการแวะพัก
การนั่งอยู่บนรถนาน ๆ ทำให้เมื่อยตัวและทำให้การไหลเวียนของเลือดนำออกซิเจนสู่สมองช้า ดังนั้นหากมีการแวะหยุดพักรถตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างปั๊มน้ำมัน ร้านอาหาร หรือจุดพักรถ ก็แนะนำให้คุณออกไปยืดเส้นยืดสายเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดดียิ่งขึ้น
6. เปิดกระจกระบายอากาศช่วยแก้เมารถได้
หากรถที่คุณนั่งมีเพื่อนร่วมทางหลายคนอาจทำให้อึดอัดและอากาศถ่ายเทไม่ทัน หรือแดดร้อนแอร์แรงไม่เพียงพอต่อการสร้างความเย็นบนรถ ก็ให้ลองเปิดกระจกรับสายลมธรรมชาติเข้ามาในรถบ้างเพื่อช่วยให้อากาศไหลเวียนดีขึ้น หากรู้สึกเริ่มอึดอัดเมื่อไหร่ก็ให้สูดหายใจลึก ๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือดมากขึ้น
7. ทานยาแก้เมารถป้องกันไว้ก่อน
ยาแก้เมารถเป็นไอเทมไม่ลับที่ช่วยแก้อาการเมารถได้อย่างเห็นผล สามารถซื้อทานได้ง่าย ๆ ตามร้านขายยาทั่วไปรวมถึงร้านสะดวกซื้อ ก่อนออกเดินทางสักครึ่งชั่วโมงก็ให้รับประทานยาแก้เมารถก่อน 1 เม็ด โดยยาจะไปออกฤิทธิ์ให้ระบบประสาทรับรู้การเคลื่อนไวน้อยลง จนไม่ส่งผผลกระทบต่อการเสียสมดุลของระบบทรงตัว
8. แว่นกันแดดช่วยป้องกันอาการเมารถได้
อันนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถช่วยป้องกันการเมารถได้จริงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากแว่นกันแดดจะช่วยลดการรับรู้ของประสาทตา ทำให้การจับภาพเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ลดลงระหว่างนั่งรถ แก้การเวียนหัว มึนหัวได้ ว่าแล้วทริปหน้าก็อย่ารอช้าพกแว่นกันแดดไปลองใส่กันได้เลย
9. พักผ่อนให้เพียงพอก่อนการเดินทาง
เพื่อให้การเดินทางของคุณราบรื่นพร้อมป้องกันการเมารถไปในตัว เราขอแนะนำว่าต้องพักผ่อนให้เพียงพอทุกครั้งก่อนการเดินทางเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสดชื่น ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เพราะจะทำให้ปวดศรีษะขณะนั่งรถได้
10 ทำประกันสุขภาพไว้ก่อนเผื่อฉุกเฉิน
แม้ว่าอาการเมารถจะเป็นการป่วยเบา ๆ สามารถพักให้ร่างกายปรับตัวเองได้ แต่ถ้าเมารถหนักและมีการอาเจียนครั้งละมาก ๆ ก็อาจทำให้ร่างกายจนขาดน้ำและเกิดภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอย่างโรคความดันโลหิตต่ำ หรือหัวใจเต้นผิดปรกติได้ และในท้ายที่สุดก็ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล น้องแคร์จึงขอแนะนำให้ทำประกันสุขภาพไว้ก่อนหากมีอาการเมารถหนักจนถูกส่งเข้าโรงพยาบาลจะได้มีประกันคุ้มครองค่ารักษานั่นเอง นอกจากนี้ประกันสุขภาพยังมีความคุ้มครองไปถึงอาการป่วยจากโรคภายอื่น ๆ ด้วยนะ ซื้อติดไว้ยังไงก็อุ่นใจทั้งการเดินทางไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวันแน่นอน
สุดท้ายนี้น้องแคร์ขออวยพรให้ทุกท่านเดินทางอย่างปลอดภัย ไม่เจ็บป่วย ไม่เมารถ และมีความสุขตลอดการเดินทาง หากสนใจประกันสุขภาพหรือประกันตัวไหนก็สามารถติดต่อมาขอคำปรึกษากับน้องแคร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลย
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น