แคร์ไลฟ์สไตล์

ของเหลวขึ้นเครื่องได้เท่าไหร่ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
ตรวจทาน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
Published: July 7,2023
  
Last edited: August 15, 2023
  
Reviewed: August 11, 2024
ของเหลวขึ้นเครื่องได้เท่าไหร่

มาตรการเกี่ยวกับของเหลวขึ้นเครื่องน่าจะเป็นกฎที่สร้างความปวดหัวให้กับคนที่ขึ้นเครื่องบินครั้งแรกรวมไปถึงคนอื่น ๆ ไม่น้อยเลยทีเดียว หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมถึงการมีอยู่ของกฎเกี่ยวกับของเหลวว่าเกิดจากอะไร แล้วอย่างนี้จะนำของเหลวขึ้นเครื่อง ไม่เกินเท่าไหร่กันแน่ หรือว่าจะห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องไปเลย? วันนี้น้องแคร์จึงได้รวบรวมคำตอบรวมไปถึงอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับของเหลวนำขึ้นเครื่องบินให้กับทุกคนได้ทราบกันในวันนี้

ของเหลวขึ้นเครื่องคืออะไร? แบ่งประเภทเป็นอย่างไรบ้าง

สำหรับคนที่โดยสารด้วยเครื่องบินครั้งแรกอาจเกิดความสงสัยว่าของเหลวขึ้นเครื่องบินคืออะไร ถูกแบ่งเป็นอะไรบ้าง ก็ต้องบอกเลยว่ามีการแบ่งประเภทของของเหลวขึ้นเครื่องหรือที่เรียกว่า LAGs (Liquids ,Aerosols and Gels) ไว้เป็นหมวดหมู่ดังต่อไปนี้

  • อาหารที่มีของเหลวเป็นองค์ประกอบ : น้ำ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ซุปหรืออาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ น้ำเชื่อม แยม ซอสชนิดต่าง ๆ
  • สิ่งของที่เป็นเจล : ยาสีฟัน ยาสระผม เจลอาบน้ำ เจลแต่งทรงผม
  • วัตถุที่ต้องฉีดพ่น : สเปรย์ โฟม 
  • เครื่องสำอาง : ครีม โลชั่นบำรุงผิว น้ำหอม ครีมกันแดด
  • สิ่งของที่ส่วนผสมเป็นของแข็งและของเหลว : ลิปสติกชนิดน้ำ Lip Gloss มาสคาร่า

สิ่งของที่กล่าวมาด้านต้นถือว่าเป็นของเหลวขึ้นเครื่องที่ต้องปฏิบัติตามกฎของสนามบินอย่างเคร่งครัด

ตรวจสอบของเหลวขึ้นเครื่อง

มาตรการของเหลวขึ้นเครื่องเกิดจากสาเหตุใด

สำหรับมาตรการของเหลวขึ้นเครื่องมีที่มาที่ไปค่อนข้างน่าสนใจ โดยต้องย้อนกลับไปที่ปี ค.ศ. 2006 ได้มีกลุ่มก่อการร้ายนำของเหลวที่เป็นสารประกอบระเบิดลักลอบขึ้นเครื่องบินที่อังกฤษ แต่โดนทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้เสียก่อน จากเหตุการณ์ครั้งนี้จึงเกิดเป็นมาตรการของเหลวขึ้นเครื่องโดยเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน  ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา

มาตรการของเหลวขึ้นเครื่องเป็นอย่างไร? มีข้อบังคับอย่างไรบ้าง

มาตรการของเหลวขึ้นเครื่อง คือ กฎข้อบังคับที่สามารถให้นำของเหลวขึ้นเครื่องได้ไม่เกินกำหนด โดยมาตรการเกี่ยวกับของเหลวถุูกกำหนดโดย International Civil Aviation Organization (ICAO) หรือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ  ซึ่งเป็นข้อบังคับใช้ในสนามบินทั่วโลกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ของเหลวขึ้นเครื่องต้องมีปริมาตรไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (100 ml.)

หากนำของเหลวขึ้นเครื่องจะต้องบรรจุลงในภาชนะที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (100 ml.) โดยให้ความสำคัญที่บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่บรรจุเป็นหลัก แม้ว่า LAGs หรือของเหลวขึ้นเครื่อง กี่กรัมก็ตาม ( LAGs ไม่ถึง 100 ml.) หากบรรจุอยู่ในภาชนะที่เกิน 100 มิลลิลิตร (100 ml.) จะไม่ให้นำขึ้นเครื่อง

2. สามารถนำของเหลวขึ้นเครื่องได้เกินหนึ่งชนิด แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร (1000 ml.)

สำหรับใครก็ตามที่ต้องการพกของเหลวขึ้นเครื่องไปเกิน 100 มิลลิลิตร (100 ml.) จะต้องทำการบรรจุลงในภาชนะเหมือนข้อ 1. โดยบรรจุลงในภาชนะที่ไม่เกินชิ้นละ 100 มิลลิลิตร (100 ml.) และเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร (1000 ml.) หรือ 1 ลิตร

3. ของเหลวขึ้นเครื่องทั้งหมดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์จะใส่รวมในถุงพลาสติกใสเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ

สำหรับคนที่ต้องการนำของเหลวขึ้นเครื่อง หลังจากที่บรรจุลงภาชนะไม่เกินชิ้นละ 100 มิลลิลิตร (100 ml.)

รวมกันไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร (1000 ml.) จะต้องใส่รวมในถุงพลาสติกแบบใส (Transparent Re-Sealable Plastic Bag) โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้

  • ถุงพลาสติกใสที่มีขนาดไม่เกิน 20 x 20 ซม.
  • ผนึกปากถุงให้เรียบร้อย
  • ผู้โดยสารนำถุงที่บรรจุองเหลวขึ้นเครื่อง 1 ถึงต่อผู้โดยสาร 1 คน
  • ถุงนี้จะต้องตรวจสอบโดยแยกออกจากกระเป๋าหรือสัมภาระอื่นๆ

ผู้หญิงแบ่งของเหลวขึ้นเครื่องใส่ขวด

ของเหลวขึ้นเครื่องที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการของ ICAO

แน่นอนว่าไม่ใช่ของเหลวขึ้นเครื่องทั้งหมดจะต้องปฏิบัติข้อบังคับของ ICAO ยังมีของเหลวอีกบางประเภทที่ได้รับการยกเว้น สามารถถือขึ้นเครื่องไปได้โดยมีปริมาณเกินกว่า 100 มิลลิลิตร โดยจะต้องแสดงสิ่งของดังกล่าวที่จุดตรวจรักษาความปลอดภัย โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้

  • ของเหลวขึ้นเครื่องที่เป็นยา จะต้องมีใบรับรองแพทย์ ฉลาก เอกสารกำกับยาที่ระบุชื่อผู้โดยสาร ยกเว้นว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เช่น ยาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  • อาหารสำหรับทารกหรือน้ำนมแม่ที่บรรจุในถุงน้ำนม โดยอาหารนำขึ้นได้หากมีทารกร่วมเดินทาง ส่วนน้ำนมแม่นำขึ้นไปด้วยได้ไม่จำเป็นว่าทารกจะเดินทางไปด้วยหรือไม่
  •  เครื่องสำอางที่เป็นของแข็ง สามารถนำขึ้นเครื่องติดตัวไปได้เลย

ทำไมของใน Duty Free ถึงเป็นของเหลวขึ้นเครื่องบินได้?

หลังจากที่ทราบแล้วว่าของเหลวขึ้นเครื่อง กี่กรัมถึงไม่ผิดกฎ ซึ่งน่าจะเกิดคำถามกับหลาย ๆ คนในเรื่องที่ว่าของเหลวเหมือนกันแต่ซื้อมากจาก Duty Free ทำไมถึงนำขึ้นเครื่องบินได้ ของเหลวจาก Duty Free ต่างจากของเหลวปกติอย่างไร เรามีคำตอบให้

โดยสาเหตุ LAGs หรือของเหลวขึ้นเครื่องจาก Duty Free สามาถนำไปได้เลยนั้นก็เพราะว่า LAGs รวมถึงของเหลวเหล่านี้ได้ผ่านการตรวจสอบจากทางท่าอากาศยานหรือสนามบินแล้วนั่นเอง โดยของเหลวเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าจะไม่สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของระเบิดได้ ยิ่งไปกว่านั้นทางร้านจะบรรจุของที่เราซื้อในถุงที่มิดชิดและมีตรารับรองนั่นเอง

ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

การเตรียมของเหลวขึ้นเครื่องเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางด้วยเครื่องบินให้เรียบร้อย ซึ่งเราได้ทราบแล้วว่าของเหลวขึ้นเครื่อง ไม่เกินบรรจุภัณฑ์ละ 100  มิลลิลิตร (100 ml.) โดยรวมกันไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร (1000 ml.) และมีอีกหนึ่งสิ่งที่ควรเตรียมทุกครั้งเมื่ออกเดินทางนั่นก็คือประกันการเดินทางที่จะมอบความคุ้มครองให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนเมื่อต้องเดินทางออกนอกประเทศ โดยมอบความคุ้มครองค่ารักษาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงหากพาสปอร์ตหายก็สามารถได้รับความคุ้มครอง และสิทธิพิเศษอีกมากมาย สามารถมาสมัครง่าย ๆ กับเราได้ที่ แรบบิท แคร์ กันได้เลย


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 98485

แคร์ไลฟ์สไตล์

ข้อมูลสำหรับสายบินลัดฟ้า! พิกัดที่จอดรถสนามบินดอนเมือง ค่าจอดรถสนามบินดอนเมือง 2568

ใครเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินบ่อยต้องอ่าน กับข้อมูลที่จอดรถสนามบินดอนเมืองที่ควรรู้ต่าง ๆ ทั้งรายละเอียดอาคารจอดรถสนามบินดอนเมืองว่ามีกี่อาคาร
Nok Srihong
24/12/2024
Rabbit Care Blog Image 98154

แคร์ไลฟ์สไตล์

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
คะน้าใบเขียว
19/12/2024