Overbooking จองตั๋วเครื่องบินไว้ แต่ขึ้นเครื่องไม่ได้ซะงั้น!
Overbooking เป็นอีกคำที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ และเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเดินทางด้วยเครื่องบิน โดยเฉพาะในช่วงที่การเดินทางเข้า-ออกประเทศต่าง ๆ นั่นคึกคักเรายิ่งได้ยินปัญหา Overbooking หรือ Overbooked เพิ่มมากขึ้นตามาเรื่อย ๆ
และยิ่งการเดินทางโดยเครื่องบินจะมีความสะดวก รวดเร็ว และราคาไม่แพงอย่างเมื่อก่อนแล้ว Overbooking ก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นจนทำให้ต้องพาลหงุดหงิดกันเป็นประจำ สำหรับคนที่ไม่เคยเจอ Overbooking ก็คงสงสัยกันว่า Overbooking คืออะไร วันน้องแคร์จะพาเพื่อน ๆ ไปร่วมไขคำตอบกันว่าปัญหานี้จริง ๆ แล้วคืออะไร เกิดจากอะไรกันแน่
Overbooking คืออะไร?
Overbooking คือ นโยบายที่สายการบินมีการเปิดขายตั๋วเกินกว่าจำนวนที่นั่งบนเครื่องบิน เพราะสายการบินจะต้องมีการประมาณจำนวนผู้โดยสารแบบ No show หรือคนที่มาเช็กอินไม่ตามกำหนดเวลาไม่ว่าจะเกิดจากเหตุผลอย่างเดินทางมาสาย มีอาการป่วย หรือเปลี่ยนใจไม่มา เป็นต้นฯลฯ
โดยการ Overbooking หรือ Overbooked สามารถเกิดขึ้นได้เสมอเนื่องจากสายการบินมีต้นทุนที่ต้องดำเนินการ และไม่อยากบ่อยให้มีที่นั่งเปล่า ๆ หรือเพิ่มเที่ยวบิน กรุงเทพฯ โดยไม่จำเป็น จึงเปิดให้จองตั๋วเกินกำหนดจนก่อให้เกิดปัญหาขึ้นโดยเราจะขอลงรายละเอียดสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดในส่วนถัดไป
Overbooking หรือ Overbooked เกิดจากอะไร
Overbooking มีจุดเริ่มต้นมาจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้โดยสาร ที่ได้ทำการจองตั๋วเครื่องบินไว้เป็นที่เรียบร้อย แต่เมื่อถึงเวลากลับไม่มาขึ้นเครื่องโดยไม่มีการแจ้งยกเลิก หรือที่เราเรียกกันว่า “No Show” ทำให้มีที่นั่งว่างเกิดขึ้นในเที่ยวบินนั้น และมักจะเป็นแบบนี้กับทุกเที่ยวบินเสมอ ทำให้บริษัทสายการบินทั้งหลาย เห็นช่องทางทำเงินเพิ่มจากการเกิดที่นั่งว่างในเที่ยวบินแบบนี้
กรณีตัวอย่าง หากสายการบินมีการทำสถิติแล้วพบว่า ในแต่ละเที่ยวบินจะมีผู้โดยสารประมาณ 90% ที่มาเดินทางตามปกติ ส่วนอีก 10% ที่เหลือคือผู้โดยสารที่ไม่มาขึ้นเครื่องโดยไม่มีการแจ้งยกเลิก(No Show)
หมายความว่า หากในเที่ยวบินหนึ่งมีที่นั่งจำนวน 180 ที่นั่ง จะมีผู้ทำการเช็กอินเพียง 162 ที่นั่ง สายการบินจึงเปิดจองตั๋วเครื่องบินในแต่ละเที่ยวเป็น 110% หรือ Overbooking ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด เพื่อเป็นการเติมเต็มที่ว่างบนเครื่อง และยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มไปในตัวอีกด้วย
การจัดการเมื่อเปิด Overbooking แล้วผู้โดยสารเช็กอินเกินจำนวนที่นั่ง?
เมื่อเปิด Overbooking หรือ Overbooked แต่เหตุไม่คาดฝัน เมื่อผู้โดยสารเช็กอินเกินจำนวนที่นั่ง ถึงแม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงน้อยนิด แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นเมื่อไหร่ เป็นอันต้องมีข่าวใหญ่โตขึ้นมาทุกที
แน่นอนว่าสายการบินนั้นจะต้องถูกประณามและเสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก สายการบินส่วนใหญ่จึงมีแผนการรับมือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ Overbooking ไว้แล้วเช่นกัน
1. ให้ผู้โดยสารย้ายไปยังที่ว่างในระดับชั้นอื่น
หากในเที่ยวบินที่เปิด Overbooking นั้นยังมีที่ว่างในระดับชั้นอื่นเหลืออยู่ ผู้โดยสารจะได้ย้ายไปที่นั่งนั้นแทน และหากโชคดีแบบสุด ๆ คุณอาจได้นั่งในชั้น Business Class อีกด้วย
2. ย้ายผู้โดยสารไปสายการบินอื่น
หากสายการบินอื่น มีเที่ยวบินในเวลาใกล้เคียง มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน และยังมีที่ว่างเหลืออยู่ ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจาก Overbooking จะถูกย้ายไปเดินทางกับสายการบินนั้นแทน
3. รอเที่ยวบินต่อไป
อาจเป็นการชดเชยที่ไม่น่าให้อภัยนัก เพราะเป็นการปล่อยให้ผู้โดยสารรอเที่ยวบินต่อไป ซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง โดยมีบริการเพียงเล็กน้อยเป็นสิทธิพิเศษต่าง ๆ อย่างสินค้า คูปองอาหาร หรือโรงแรมที่พักชั่วคราวเพียงเท่านั้น
หากเกิด Overbooking ในไทยจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง
จากประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๓ ก็ได้มีการกำหนดสิทธิพิเศษและการชดเชยต่าง ๆ ในกรณีที่ผู้โดยสารถูกยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศ
ทำให้เราอุ่นใจได้ว่าอย่างน้อยเราก็ยังได้รับการดูแลจากสายการบิน โดยที่น้องแคร์ได้สรุปการชดเชยหรือสิทธิพิเศษที่เราพึงได้รับหากเกิดการ Overbooking จากสายการบินสัญชาติไทยในการเดินทางภายในประเทศไว้ดังต่อไปนี้
1. เสนอทางเลือกให้กับผู้โดยสาร
- รับเงินค่าโดยสารคืนเต็มจำนวน
- เปลี่ยนเที่ยวบินใหม่
- เลือกการเดินทางในรูปแบบอื่นไปยังจุดหมาย
โดยที่สายการบินจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และหากว่าราคาการเดินทางใหม่ราคาต่ำกว่าตั๋วในตอนแรก สายการบินจะต้องมอบเงินส่วนต่างให้
2. ดูแลผู้โดยสารขณะรอเที่ยวบินใหม่
- จัดหาอาหาร เครื่องดื่ม
- จัดหาที่พักอย่างน้อย 1 คืนขึ้นไป
- จัดหาอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็น
โดยในส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สายการบินจะต้องเป็นผู้ดำเนินการให้หากเกิดกรณี Overbooking จนทำให้เกิดการยกเลิกเที่ยวบินของผู้โดยสารคนนั้นขึ้นมา
3. รับเงินชดเชยมูลค่า 1,200 บาททันที
ปัญหา Overbooking ประกันการเดินทางช่วยอะไรบ้าง?
เมื่อเกิดเหตุการณ์ Overbooking นอกจากการชดเชยของสายการบินที่ต้องรับผิดชอบแล้ว หากคุณตัดสินใจ “ซื้อประกันการเดินทาง” เอาไว้ ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากทางนี้ด้วยเช่นกัน
ถึงแม้ในเงื่อนไขของประกันการเดินทาง ไม่มีส่วนไหนที่บอกว่าให้การคุ้มครองในกรณีของปัญหา Overbooking โดยตรง แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันการเดินทางเลย
เพราะทุกครั้งที่เกิดปัญหา Overbooking จะส่งผลให้นักเดินทางต้องจำใจรอเที่ยวบินถัดไป หมายความว่าผู้ทำประกันได้เข้าข่าย “เที่ยวบินดีเลย์” เป็นที่เรียบร้อย และมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย จากประกันการเดินทางในส่วนของความล่าช้าในการเดินทาง อย่างถูกต้องตามเงื่อนไขทุกประการ ส่วนการชดเชยจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณได้เลือกซื้อประกันการเดินทางตัวไหนไว้แล้วละ
เห็นไหมว่าประกันการเดินทาง ได้ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองทุกความเสี่ยงในการเดินทางอย่างแท้จริง ไม่เว้นแม้แต่ปัญหาที่เกิดตั้งแต่ยังไม่ขึ้นเครื่อง อย่าง Overbooking ที่เราได้พูดถึงกันในวันนี้
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางยังมีอีกมากมายนอกจาก Overbooking และการซื้อประกันการเดินทางก็เรียกได้ว่าคุ้มครองแทบจะทุกกรณี ใครที่เป็นนักเดินทางตัวยงแต่ยังละเลยที่จะซื้อ ประกันการเดินทาง คงต้องลองเปลี่ยนความคิดดูใหม่แล้วละ
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น