แคร์ไลฟ์สไตล์

Home Isolation คืออะไร เตรียมตัวอย่างไร ประกันจ่ายไหม

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published November 05, 2021

ถึงแม้ยอดโควิด-19 ในปัจจุบันจะลดลงไปบ้าง และบางคนก็อาจจะฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่ก็ยังประมาทไม่ได้! แล้วแบบนี้ ในกรณีที่ต้อง Home Isolation มันคืออะไร? กักตัว 14 วัน ต้องเตรียมตัวอย่างไร? และสามารถเบิกเคลมประกันcovidได้หรือไม่? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบให้แน่นอน!

รู้จัก Home Isolation เมื่อเกิดเหตุจำเป็นต้องรักษาตัวที่บ้าน

จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดหนัก จนทำให้ยอดผู้ป่วยในหลาย ๆ จังหวัดพุ่งสูงแทบจะเป็นหมื่นรายต่อวัน ทำให้โรงพยาบาลสนามหรือสถานพยาบาลหลาย ๆ แห่ง ไม่สามารถรรองรับผู้ป่วยได้ทั้งหมด นี่เองที่ทำให้ Home Isolation และ Community Isolation ได้เข้ามามีบทบาท

Community Isolation คือการพักรักษาแยกกักตัวในชุมชนได้ ทั้งผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือกลับมาดูแลรักษาต่อจากโรงพยาบาลจนครบกำหนด โดยมีการจัดให้มีพื้นที่เอกเทศในชุมชนสำหรับแยกกักตัวผู้ติดเชื้อเพื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและเจ้าของสถานที่ในการจัดเตรียมสถานที่ด้วย

ส่วน Home Isolation คือการกักตัวเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ที่บ้าน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคนจนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ประกอบกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์ประเมินว่าสามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้

ทั้งนี้ก็เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้น้อยลง ลดภาระของบุคลากรทางแพทย์ และเป็นการเปิดทางให้ผู้ป่วยอาการหนักได้ใกล้ชิดกับแพทย์มากกว่านั่นเอง

โดยพื้นฐานแล้ว การจะรักษาตัวแบบ Home Isolation ได้ ทางแพทย์จะพิจารณาจาก 

  • ผู้ป่วยต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
  • สุขภาพแข็งแรง มีอาการน้อยคือสามารถมีอาการไข้, ไอเจ็บคอมีน้ำมูก, ไม่ได้กลิ่น, ไม่รับรส, มีผื่น และถ่ายเหลว แต่ต้องไม่มีอาการหายใจเร็วหายใจลำบาก, ปอดไม่อักเสบ และระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96% หรือไม่มีอาการเลย
  • ไม่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • อาศัยอยู่คนเดียว หรือมีผู้อาศัยร่วมด้วยไม่เกิน 1 คน
  • ต้องไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต, โรคหัวใจหรือหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอด
  • ในกรณีที่กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล หากมีอาการดีขึ้น แพทย์จะวินิจฉัยให้กลับไปกักตัวที่บ้านได้

สรุปแล้ว Home Isolation คือการกักตัวรักษาอาการโควิด-19 ที่บ้าน โดยผู้ป่วยต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เข้าเกณฑ์อันตราย จัดเป็นผู้ป่วยสีเขียว ที่สำคัญต้องมีพื้นที่ในบ้านเหมาะสมกับการกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย

Home Isolation ต้องเตรียมตัวยังไง และต้องทำอะไรบ้าง? 

การรักษากักตัวที่บ้านแบบ Home Isolation ไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่เราจะเตรียมตัวได้ยังไงกันล่ะ? เราสามารถปฎิบัติตัวได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • อุปกรณ์ประเมินอาการต่าง ๆ เบื้องต้น ได้แก่ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ ซึ่งค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้นคืออยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง มีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอด ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • สมาร์ตโฟน หรือเครื่องมือที่พร้อมสื่อสาร เอาไว้ติดต่อกับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอุปกรณ์การสื่อสารที่เหมาะต้องสามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time กับแพทย์และพยาบาลทุกวัน
  • ยารักษา ซึ่งจะเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์
  • อาหารครบสามมื้อ ผู้ป่วยควรมีแผนเรื่องอาหารการกินในแต่ละวัน เช่น รับความช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากชุมชนในอาหารการกินแต่ละวัน หรือการสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่ เป็นต้น

หลักการปฎิบัติตัวเมื่อเข้ารักษาตัวแบบ Home Isolation

  • ห้ามออกจากที่พักและห้ามผู้ใดมาเยี่ยมบ้าน ต้องกักตัวที่บ้านเท่านั้น
  • ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  • แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
  • ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • หากไม่ได้อยู่คนเดียวให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่จำเป็นต้องสัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ
  • แยกซักเสื้อผ้าและเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก
  • ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
  • แยกขยะโดยมัดปากถุงขยะให้แน่น

เบื้องต้นถ้าบ้านที่มีพื้นที่เพียงพอ ควรให้ผู้ป่วยแยกอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียวและควรเป็นห้องที่มีห้องน้ำในตัว รวมถึงแยกภาชนะของใช้ส่วนตัว ส่งข้าวให้เอาวางไว้หน้าห้อง เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดประตูมาหยิบข้าวไปทานเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือการสัมผัสให้มากที่สุด หรือให้อาหารเป็นข้าวกล่อง

ในกรณีที่ผู้ป่วยอาศัยในคอนโด, ห้องเช่า หรือแฟลต ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกออกเป็นห้องชัดเจน เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และบุคคลอื่นที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว

นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบสามมื้อ หมั่นสังเกตอาการของตัวเองทุกวัน อย่างการวัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น หอบ, เหนื่อย, ไข้สูง ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาล หรือบุคลากรทางแพทย์ที่รักษาอยู่ทันที

หากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางมาด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะไปด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศตลอดการเดินทาง

นอกจากนี้ ถึงแม้จะรักษาตัวจนหายดีแล้ว แต่ทางการแพทย์จะแนะนำให้เหล่าอดีตผู้ป่วยโควิดต้องกักตัว 14 วันที่บ้านเพิ่ม เพื่อให้มั่นใจว่าหายดี และหมดระยะการแพร่เชื้อแล้วอีกด้วย

Home Isolation สามารถเบิกเคลมประกันโควิด หรือประกันสุขภาพได้หรือไม่? 

หลายคนเมื่อประเมินและมั่นใจว่าตนสามารถทำการรักษาแบบ home isolation แน่นอน เพราะพร้อมทั้งสถานที่ สุขภาพ และไม่ต้องการเพิ่มภาระให้บุคลากรทางการแพทย์เกินความจำเป็น แต่ประกัน covid ที่ทำเอาไว้จะสามารถเบิกเคลมได้หรือไม่?

บอกได้เลยว่าขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทาง คปภ. ได้อนุโลมให้บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย คุ้มครองผู้ป่วยโควิดที่ดูแลรักษาตัวแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation เพื่อให้ครอบคลุมการรักษาเพื่ออุดช่องว่างของเงื่อนไขกรมธรรม์

แต่อย่างไรก็ตาม การเบิกเคลมประกันตามคำสั่งนี้บังคับใช้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ที่ผ่านมาเท่านั้น แต่หากในอนาคตมีการแพร่ระเบิดรุนแรงอีก ก็อาจสามารถเคลมประกัน covid ได้อีกในอนาคต

แล้วถ้าเสียชีวิตเพราะโควิดจากที่บ้าน จะเคลมประกัน covid ได้อย่างไร?

ในกรณีที่เสียชีวิตระหว่างรอเตียง หรืออยู่ในระหว่าง Home Isolation นั้น สามารถเบิกเคลมได้ หากมีผลตรวจยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี rt pcr จะสามารถเคลมประกันแบบเจอ จ่าย จบ หรือค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยรายได้ หรือกรณีภาวะโคม่าหรือเสียชีวิตจากโควิด จะต้องเป็นตามเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ทำเอาไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของบริษัทประกันฯ

เอกสารหลัก ๆ ที่ใช้ในการเคลมกรณีผู้ป่วยมีอาการโคม่าหรือเสียชีวิต มีดังนี้ 

  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของบริษัท)
  • ใบรับรองแพทย์ฉบับจริงหรือฉบับสำเนาผลวินิจฉัยของแพทย์จากสถานพยาบาล
  • ผลการตรวจที่ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี rt pcr ที่ได้รับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือใบรายงานทางการแพทย์
  • ใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาล และใบแจ้งรายการค่าใช้จ่าย (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกของผู้ทำประกัน
  • ประวัติการรักษาทั้งหมด 
  • สำเนารายงานทางการแพทย์ที่วินิจฉัยภาวะโคม่า
  • สำเนาใบรับรองการเสียชีวิตของโรงพยาบาล หรือหน่วยงานราชการ
  • สำเนาใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับผลประโยชน์
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรก

สรุปแล้ว ช่วงเวลาปัจจุบันในเดือนตุลาคม 2564 เป็นระยะเวลาที่เลยกำหนดการให้เบิกเคลมประกัน covid ในกรณีที่รักษาแบบ Home Isolation จึงทำให้ไม่สามารถเบิกเคลมได้ แต่ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีก ซึ่งต้องคอยติดตามทาง คปภ. ต่อไป

ถึงแม้ตอนนี้จะเบิกเคลมได้เฉพาะการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่การซื้อประกัน covid-19 ป้องกันเอาไว้ ก็ยังไม่เสียเกินแก้ หรือแม้แต่ประกันที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิดเองก็ยังน่าสนใจ คลิกเพื่อปรึกษากับ แรบบิท แคร์ เลย! ที่นี้ นอกจากประกัน covid ยังเต็มไปด้วยประกันสุขภาพที่หลากหลาย เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมบริการเปรียบเทียบประกันและคำแนะนำ ฟรี!


บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

แคร์ไลฟ์สไตล์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘ช็อกโกแลต’ ทำมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร และมีข้อควรระวังในการรับประทานอย่างไรบ้าง ?

ช็อกโกแลต ขนมชนิดโปรดในดวงใจของหลาย ๆ คนที่ช่วยสร้างความสุขให้ทุกครั้งเมื่อรับประทานนั้น ความจริงแล้วทำมาจากอะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
Nok Srihong
24/04/2024

แคร์ไลฟ์สไตล์

กรอบแว่น มีความสำคัญต่อบุคลิกภาพอย่างไร ? แนะนำวิธีเลือกกรอบแว่นแบบง่าย ๆ ให้เหมาะสมกับตัวเอง

กรอบแว่นสิ่งสำคัญสำหรับคนใส่แว่นที่ไม่ว่าจะตัดแว่นกี่ครั้งก็ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจกับการเลือกกรอบแว่นใหม่แทบทุกครั้ง
Nok Srihong
22/04/2024

แคร์ไลฟ์สไตล์

Food Waste หรือ ขยะอาหาร คืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ?

Food Waste หรือ ขยะอาหาร เป็นปัญหาที่ทั่วโลกนั้นให้ความสำคัญกับการแก้ไขมาพักใหญ่ แต่สำหรับประเทศไทย มีเพียงผู้คนบางกลุ่มเท่านั้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ
Nok Srihong
22/04/2024