ไขข้อข้องใจ ผู้ป่วยโรคออทิสติกทำประกันได้ไหม?
เรื่องออทิสติกในลูกเป็นเรื่องที่ทั้งพ่อแม่กังวล นอกเหนือจากอาการป่วยที่อาจส่งผลกระทบถึงพัฒนาสติปัญญาและทักษะทางสังคมของลูกแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ อย่าง การทำประกันด้วย แล้วแบบนี้ โรคออทิสติก คืออะไร แล้วหากเป็นจริง จะสามารถทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพได้เหมือนคนทั่วไปหรือไม่? ไปหาคำตอบกับ แรบบิท แคร์ กันดีกว่า
โรคออทิสติก คืออะไร? มีวิธีสังเกตอะไรได้บ้าง?
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า กลุ่มของโรคออทิสติก (Autistic spectrum disorder) เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในสมอง เช่น ระบบประสาท หรือเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ทำให้เกิดความบกพร่องในการพัฒนาต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาทางภาษา การเข้าสังคมที่ช้าลง และอาจมีพฤติกรรมอื่นๆ เพิ่ม เช่น พฤติกรรมที่ซ้ำซากและจำกัด การสนใจและการกระทำที่ซ้ำ ๆ ซึ่งความบกพร่องในพัฒนาการเหล่านี้ จะยังคงอยู่ตลอดชีวิต โดยการเป็นออทิสติกนั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของการเลี้ยงดู หรือบุคลิก ภาพของพ่อแม่
อาการเหล่านี้เริ่มแสดงตัวก่อนเด็กอายุ 3 ขวบ ระดับความรุนแรงของโรคแต่ละราย สามารถแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางภาษา ระดับสติปัญญา หรือความสามารถทางปัญญา (IQ หรือ Intelligence Quotient) และความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แม้จะสามารถพบร่วมกับภาวะปัญญาอ่อนได้สูงถึง 50% แต่ผู้ป่วยโรคออทิสติกนั้นจะแตกต่างการเป็นปัญญาอ่อน โดยทาง คลินิกสุขภาพจิตและพัฒนาการเด็ก รพ.วิภาวดี อธิบายว่า สามารถแยกได้จากประเมินระดับสติปัญญา (IQ test) เป็นหลักนั่นเอง
สำหรับคำถามที่ว่า ออทิสติก รักษาหายไหม? หากเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคออทิสติก แม้จะรักษาให้หายไม่ได้ แต่สามารถรักษาให้ดีขึ้น ผู้ป่วยใช้ชีวิต เข้าสังคมได้อย่างปกติไม่แตกต่างจากคนทั่วไป หากได้รับ การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย
ออทิสติก มีกี่ประเภท มีอาการอย่างไรบ้าง?
สำหรับอายุที่เริ่มมีอาการ เด็กกลุ่มโรคออทิสติกจะมีอาการก่อนอายุ 3 ปี ส่วนใหญ่พบอาการช่วง 2 ขวบปีแรก และ 1 ใน 4 ของพ่อแม่ รายงานว่าลูกมีพฤติกรรมด้านภาษา และสังคมถดถอยหลังจากเริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมายได้ไม่กี่คำ ซึ่งหลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าออทิสติก มีกี่ประเภท เบื้องต้น เราสามารถแบ่งอาการของเด็กกลุ่มโรคออทิสติกออกได้ ดังนี้
- ความผิดปกติด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
เป็นความบกพร่องที่มีความรุนแรงมากที่สุดของกลุ่มโรคออทิสติกและดำเนินอยู่ตลอดในแต่ละช่วงวัย โดยกลุ่มออทิสติกที่มีความบกพร่องทางสังคมน้อยถือว่ามีการพยากรณ์โรคที่ดี ความบกพร่องทางสังคม เช่น ไม่มองหน้า ไม่สบตา ขณะพูดคุย หรือมีกิจกรรมร่วมกัน, ไม่แสดงสีหน้าท่าทาง ไม่ยิ้ม, ไม่มีภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสาร, ขาดความสนใจร่วมกับผู้อื่น, ไม่เข้าใจสถานการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อน ดูเหมือนไม่รู้จักกาลเทศะ หรือบางรายไม่สามารถแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมได้
- ความผิดปกติด้านภาษาและการสื่อสาร
เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า เป็นอาการแสดงที่นำเด็กกลุ่มโรคออทิสติกมาพบแพทย์บ่อยที่สุด โดย 50% ของเด็กกลุ่มโรคนี้ไม่สามารถใช้ภาษาพูดเพื่อการสื่อสารได้ เช่น พัฒนาการด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารล่าช้าหรือไม่สามารถพูดได้เลย, ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารได้, พูดคำหรือวลีที่ไม่มีความหมาย ซ้ำ ๆ หรือส่งเสียงไม่เป็นภาษา พูดเล่นเสียง รวมไปถึงพฤติกรรมเข้าใจภาษาแบบตรงไปตรงมาตามตัวหนังสือ ทำให้ไม่เข้าใจมุกตลก สุภาษิต หรือสำนวนคำพังเพย
- ความผิดปกติของพฤติกรรม
โดยผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำ ๆ หรือติดของบางอย่างมากเกินไป, กิจวัตรประจำวันมีแบบแผนเฉพาะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้, มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ เช่น สะบัดมือ หมุนตัว เขย่งเท้า โยกตัว โขกศีรษะ ทำร้ายร่างกายตัวเอง, ปรับตัวยากต่อการเปลี่ยนแปลง, ตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเกินไป ในกลุ่มที่มีความสามารถสูง จะมีความสนใจเฉพาะเรื่องจนกลายเป็นความสามารถพิเศษ มีการสะสมของที่สนใจ พูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ
- ความบกพร่องของระดับเชาวน์ปัญญา
จากสถิติพบว่า 50% ของเด็กกลุ่มโรคออทิสติกมีความบกพร่องของระดับเชาวน์ปัญญา โดยความสามารถด้านภาษาจะบกพร่องมากกว่าความสามารถด้านการกระทำ หรือการเคลื่อนไหว ระดับเชาวน์ปัญญาที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเกิดอาการชักร่วมด้วย รวมถึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาด้วย
ดังนั้น ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกหลานอยู่เสมอ หากพบว่ามีพัฒนาการที่ไม่เป็นไปตามวัย มีอาการเบื้องต้นที่ได้กล่าวไปควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาถึงแนวทางต่าง ๆ ต่อไป
แล้วแบบนี้ ผู้ป่วยกลุ่มโรคออทิสติก ควรตรวจสุขภาพอะไรเพิ่มเติมบ้าง?
สำหรับเด็กกลุ่มโรคออทิสติก ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
- ตรวจการได้ยิน เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าด้านการพูด และภาษาควรตรวจการได้ยินทุกราย
- ตรวจวัดระดับเชาวน์ปัญญา (IQ) หรือระดับพัฒนาการ ควรตรวจระดับเชาวน์ปัญญาและพัฒนาการด้านอื่น ๆ ด้วย เพื่อบอกการพยากรณ์โรคและวางแผนการรักษาต่อไป
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ตรวจในกรณีสงสัยอาการชัก ได้แก่ มีอาการเหม่อจ้องมองโดยไร้จุดหมายร่วมกับมีอาการไม่รู้สึกตัว ประวัติพัฒนาการถดถอย หรือตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาท
- ตรวจโครโมโซม ส่งตรวจในกรณีพบลักษณะความผิดปกติที่จำเพาะต่อโรคทางพันธุกรรม หรือมีภาวะปัญญาอ่อนหรือพัฒนาการบกพร่องในครอบครัว
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น กลุ่มโรคออทิสติกไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป้าหมายของการรักษาคือการส่ง เสริมพัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ใกล้เคียงเด็กปกติมากที่สุด ซึ่งการวินิจฉัยและได้รับการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย และต่อเนื่องทำให้ผลการรักษาดี
โดยวิธีการรักษาที่เหมาะสมคือ บูรณาการ การรักษาด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามความจำเป็นของเด็กแต่ละคน เช่น ปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม, ฝึกพูด, ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น
สรุปแล้ว ผู้เป็นออทิสติกสามารถทำประกันได้ไหม?
จริงอยู่ที่กลุ่มผู้ป่วยโรคออทิสติกนั้น แม้จะมีร่างกายที่แข็งแรงก็ตาม แต่หลายครั้ง ผู้เป็นออทิสติกอาจพบความยากลำบากในการทำประกันภัย เนื่องจากออทิสติกถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงในการเกิดความบกพร่องในพัฒนาการและพฤติกรรมที่ไม่ธรรมชาติ ซึ่งบางบริษัทประกันอาจปฏิเสธการรับประกันหรือเสนอเงื่อนไขการคุ้มครองที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีออทิสติก
แต่ใช่ว่าการเป็นผู้ป่วยออทิสติกจะหมดโอกาสในการทำประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพเลย เพราะในบางกรณี ผู้ป่วยออทิสติกก็สามารถทำประกันได้ แต่อาจมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนในการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็น ระดับความรุนแรงของออทิสติก, ประวัติสุขภาพการรักษาต่าง ๆ หรือเบี้ยประกันที่แพงมากขึ้น
สำหรับผู้ปกครองที่มีคนใกล้ตัวเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคออทิสสติก และอยากทำประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพให้ เบื้องต้นอาจเตรียมการณ์ได้ ดังนี้
- ติดต่อสอบถามเพื่อขอคำแนะนำสำหรับการทำประกัน รวมถึงอ่านและตรวจสอบข้อกำหนดและเงื่อนไขของนโยบายประกันอย่างละเอียด เช่น เงื่อนไขการคุ้มครอง, การเก็บเบี้ยประกัน, รายละเอียดการเคลม เพื่อให้ได้ข้อมูลและคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม
- ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผู้ป่วยออทิสติก ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการรักษา, การส่งเสริมการพัฒนา หรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับออทิสติก เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทประกันประเมินความเสี่ยงและสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับแบบแแผนประกันที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยออทิสติกได้
ข้อควรระวังในการเลือกทำประกันให้กับผู้ป่วยออทิสติก คือ บริษัทประกันอาจมีการจำกัดเงื่อนไขในการคุ้มครอง เช่น การปฏิเสธความคุ้มครองสำหรับผู้ที่มีภาวะออทิสติกรุนแรง หรืออาจมีการเพิกถอนการคุ้มครองหากมีปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตกับผู้ป่วยออทิสติก
และสำหรับใครที่กำลังมองหาประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพ ต้องที่นี้เลย แรบบิท แคร์ ที่พร้อมให้บริการคำแนะนำและพร้อมตอบทุกคำถามให้คุณ และแบบแผนประกันที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct