แคร์ไลฟ์สไตล์

Home Isolation คืออะไร เตรียมตัวอย่างไร ประกันจ่ายไหม

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: November 5,2021
  
 
ประกัน covid

ถึงแม้ยอดโควิด-19 ในปัจจุบันจะลดลงไปบ้าง และบางคนก็อาจจะฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่ก็ยังประมาทไม่ได้! แล้วแบบนี้ ในกรณีที่ต้อง Home Isolation มันคืออะไร? กักตัว 14 วัน ต้องเตรียมตัวอย่างไร? และสามารถเบิกเคลมประกันcovidได้หรือไม่? วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบให้แน่นอน!

รู้จัก Home Isolation เมื่อเกิดเหตุจำเป็นต้องรักษาตัวที่บ้าน

จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดหนัก จนทำให้ยอดผู้ป่วยในหลาย ๆ จังหวัดพุ่งสูงแทบจะเป็นหมื่นรายต่อวัน ทำให้โรงพยาบาลสนามหรือสถานพยาบาลหลาย ๆ แห่ง ไม่สามารถรรองรับผู้ป่วยได้ทั้งหมด นี่เองที่ทำให้ Home Isolation และ Community Isolation ได้เข้ามามีบทบาท

Community Isolation คือการพักรักษาแยกกักตัวในชุมชนได้ ทั้งผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือกลับมาดูแลรักษาต่อจากโรงพยาบาลจนครบกำหนด โดยมีการจัดให้มีพื้นที่เอกเทศในชุมชนสำหรับแยกกักตัวผู้ติดเชื้อเพื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและเจ้าของสถานที่ในการจัดเตรียมสถานที่ด้วย

ส่วน Home Isolation คือการกักตัวเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ที่บ้าน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคนจนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ประกอบกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์ประเมินว่าสามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้

ทั้งนี้ก็เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้น้อยลง ลดภาระของบุคลากรทางแพทย์ และเป็นการเปิดทางให้ผู้ป่วยอาการหนักได้ใกล้ชิดกับแพทย์มากกว่านั่นเอง

โดยพื้นฐานแล้ว การจะรักษาตัวแบบ Home Isolation ได้ ทางแพทย์จะพิจารณาจาก 

  • ผู้ป่วยต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
  • สุขภาพแข็งแรง มีอาการน้อยคือสามารถมีอาการไข้, ไอเจ็บคอมีน้ำมูก, ไม่ได้กลิ่น, ไม่รับรส, มีผื่น และถ่ายเหลว แต่ต้องไม่มีอาการหายใจเร็วหายใจลำบาก, ปอดไม่อักเสบ และระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96% หรือไม่มีอาการเลย
  • ไม่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • อาศัยอยู่คนเดียว หรือมีผู้อาศัยร่วมด้วยไม่เกิน 1 คน
  • ต้องไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต, โรคหัวใจหรือหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอด
  • ในกรณีที่กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล หากมีอาการดีขึ้น แพทย์จะวินิจฉัยให้กลับไปกักตัวที่บ้านได้

สรุปแล้ว Home Isolation คือการกักตัวรักษาอาการโควิด-19 ที่บ้าน โดยผู้ป่วยต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เข้าเกณฑ์อันตราย จัดเป็นผู้ป่วยสีเขียว ที่สำคัญต้องมีพื้นที่ในบ้านเหมาะสมกับการกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย

home isolation

Home Isolation ต้องเตรียมตัวยังไง และต้องทำอะไรบ้าง? 

การรักษากักตัวที่บ้านแบบ Home Isolation ไม่ใช่เรื่องที่แย่ แต่เราจะเตรียมตัวได้ยังไงกันล่ะ? เราสามารถปฎิบัติตัวได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • อุปกรณ์ประเมินอาการต่าง ๆ เบื้องต้น ได้แก่ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ ซึ่งค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้นคืออยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง มีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอด ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • สมาร์ตโฟน หรือเครื่องมือที่พร้อมสื่อสาร เอาไว้ติดต่อกับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอุปกรณ์การสื่อสารที่เหมาะต้องสามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time กับแพทย์และพยาบาลทุกวัน
  • ยารักษา ซึ่งจะเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์
  • อาหารครบสามมื้อ ผู้ป่วยควรมีแผนเรื่องอาหารการกินในแต่ละวัน เช่น รับความช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากชุมชนในอาหารการกินแต่ละวัน หรือการสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่ เป็นต้น

กักตัว 14 วัน

หลักการปฎิบัติตัวเมื่อเข้ารักษาตัวแบบ Home Isolation

  • ห้ามออกจากที่พักและห้ามผู้ใดมาเยี่ยมบ้าน ต้องกักตัวที่บ้านเท่านั้น
  • ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  • แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
  • ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • หากไม่ได้อยู่คนเดียวให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่จำเป็นต้องสัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ
  • แยกซักเสื้อผ้าและเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก
  • ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
  • แยกขยะโดยมัดปากถุงขยะให้แน่น

กักตัวที่บ้าน

เบื้องต้นถ้าบ้านที่มีพื้นที่เพียงพอ ควรให้ผู้ป่วยแยกอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียวและควรเป็นห้องที่มีห้องน้ำในตัว รวมถึงแยกภาชนะของใช้ส่วนตัว ส่งข้าวให้เอาวางไว้หน้าห้อง เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดประตูมาหยิบข้าวไปทานเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือการสัมผัสให้มากที่สุด หรือให้อาหารเป็นข้าวกล่อง

ในกรณีที่ผู้ป่วยอาศัยในคอนโด, ห้องเช่า หรือแฟลต ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกออกเป็นห้องชัดเจน เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และบุคคลอื่นที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว

นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบสามมื้อ หมั่นสังเกตอาการของตัวเองทุกวัน อย่างการวัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น หอบ, เหนื่อย, ไข้สูง ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาล หรือบุคลากรทางแพทย์ที่รักษาอยู่ทันที

หากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางมาด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะไปด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศตลอดการเดินทาง

นอกจากนี้ ถึงแม้จะรักษาตัวจนหายดีแล้ว แต่ทางการแพทย์จะแนะนำให้เหล่าอดีตผู้ป่วยโควิดต้องกักตัว 14 วันที่บ้านเพิ่ม เพื่อให้มั่นใจว่าหายดี และหมดระยะการแพร่เชื้อแล้วอีกด้วย

โควิด-19

Home Isolation สามารถเบิกเคลมประกันโควิด หรือประกันสุขภาพได้หรือไม่? 

หลายคนเมื่อประเมินและมั่นใจว่าตนสามารถทำการรักษาแบบ home isolation แน่นอน เพราะพร้อมทั้งสถานที่ สุขภาพ และไม่ต้องการเพิ่มภาระให้บุคลากรทางการแพทย์เกินความจำเป็น แต่ประกัน covid ที่ทำเอาไว้จะสามารถเบิกเคลมได้หรือไม่?

บอกได้เลยว่าขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทาง คปภ. ได้อนุโลมให้บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย คุ้มครองผู้ป่วยโควิดที่ดูแลรักษาตัวแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation เพื่อให้ครอบคลุมการรักษาเพื่ออุดช่องว่างของเงื่อนไขกรมธรรม์

แต่อย่างไรก็ตาม การเบิกเคลมประกันตามคำสั่งนี้บังคับใช้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ที่ผ่านมาเท่านั้น แต่หากในอนาคตมีการแพร่ระเบิดรุนแรงอีก ก็อาจสามารถเคลมประกัน covid ได้อีกในอนาคต

แล้วถ้าเสียชีวิตเพราะโควิดจากที่บ้าน จะเคลมประกัน covid ได้อย่างไร?

ในกรณีที่เสียชีวิตระหว่างรอเตียง หรืออยู่ในระหว่าง Home Isolation นั้น สามารถเบิกเคลมได้ หากมีผลตรวจยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี rt pcr จะสามารถเคลมประกันแบบเจอ จ่าย จบ หรือค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยรายได้ หรือกรณีภาวะโคม่าหรือเสียชีวิตจากโควิด จะต้องเป็นตามเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ทำเอาไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของบริษัทประกันฯ

เอกสารหลัก ๆ ที่ใช้ในการเคลมกรณีผู้ป่วยมีอาการโคม่าหรือเสียชีวิต มีดังนี้ 

  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของบริษัท)
  • ใบรับรองแพทย์ฉบับจริงหรือฉบับสำเนาผลวินิจฉัยของแพทย์จากสถานพยาบาล
  • ผลการตรวจที่ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี rt pcr ที่ได้รับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือใบรายงานทางการแพทย์
  • ใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาล และใบแจ้งรายการค่าใช้จ่าย (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกของผู้ทำประกัน
  • ประวัติการรักษาทั้งหมด 
  • สำเนารายงานทางการแพทย์ที่วินิจฉัยภาวะโคม่า
  • สำเนาใบรับรองการเสียชีวิตของโรงพยาบาล หรือหน่วยงานราชการ
  • สำเนาใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับผลประโยชน์
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรก

สรุปแล้ว ช่วงเวลาปัจจุบันในเดือนตุลาคม 2564 เป็นระยะเวลาที่เลยกำหนดการให้เบิกเคลมประกัน covid ในกรณีที่รักษาแบบ Home Isolation จึงทำให้ไม่สามารถเบิกเคลมได้ แต่ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีก ซึ่งต้องคอยติดตามทาง คปภ. ต่อไป

ถึงแม้ตอนนี้จะเบิกเคลมได้เฉพาะการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่การซื้อประกัน covid-19 ป้องกันเอาไว้ ก็ยังไม่เสียเกินแก้ หรือแม้แต่ประกันที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิดเองก็ยังน่าสนใจ คลิกเพื่อปรึกษากับ แรบบิท แคร์ เลย! ที่นี้ นอกจากประกัน covid ยังเต็มไปด้วยประกันสุขภาพที่หลากหลาย เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมบริการเปรียบเทียบประกันและคำแนะนำ ฟรี!


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 99136

แคร์ไลฟ์สไตล์

รวมที่จอดรถ mrt และอาคารจอดแล้วจร มีตรงไหนบ้าง? เช็กได้เลย!!

ถึงแม้ในปัจจุบันหลายคนจะมีรถยนต์เป็นของตัวเอง แต่ในเวลาเดินทางจริงต้องเลือกใช้บริการที่จอดรถ mrt หรือลานจอดรถ mrt
Natthamon
17/01/2025
Rabbit Care Blog Image 85349

แคร์ไลฟ์สไตล์

ปักหมุด 8 อุทยานแห่งชาติที่กำลังมาแรงแห่งปี 2568 ใครชอบธรรมชาติติดใจแน่นอน

ใช้ชีวิตในป่าคอนกรีต ทำงานเช้าเย็น เหนื่อยทั้งกายทั้งใจมานาน ลองมารีชาร์จ เติมพลังให้ตนเองซะหน่อยด้วยการกลับสู่ธรรมชาติ เข้าป่า ล่องลำธาร ส่องสัตว์ ลงทะเล
Nok Srihong
13/01/2025
Rabbit Care Blog Image 98485

แคร์ไลฟ์สไตล์

ข้อมูลสำหรับสายบินลัดฟ้า! พิกัดที่จอดรถสนามบินดอนเมือง ค่าจอดรถสนามบินดอนเมือง 2568

ใครเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินบ่อยต้องอ่าน กับข้อมูลที่จอดรถสนามบินดอนเมืองที่ควรรู้ต่าง ๆ ทั้งรายละเอียดอาคารจอดรถสนามบินดอนเมืองว่ามีกี่อาคาร
Nok Srihong
24/12/2024