แคร์สุขภาพ

เช็กด่วน! สารพิษตกค้างผัก-ผลไม้ เตรียมแบน 1 ธ.ค.นี้

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
Published October 30, 2019

เป็นข้อถกเถียงกันยกใหญ่ที่จะให้มีการยกเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงต่อชีวิตของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็น “พาราควอต-ไกลโฟเซต-คลอร์ไพริฟอส” ซึ่ง 3 สารเคมีนี้ ส่วนใหญ่ตกค้างในผักและผลไม้จำนวนมาก เมื่อทานเข้าไปเป็นเวลานานจะเกิดการสะสม ทำให้เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

รัฐบาลจึงมีมติสั่งห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามส่งออก และมีไว้ในครอบครองตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2562 นี้เป็นต้นไป Rabbit Care ก็รวบรวมข้อมูลการเกิดอันตรายของทั้ง 3 สารพิษ มาฝากกัน

สารเคมีเกษตร 3 ชนิดตกค้างในผัก-ผลไม้อะไรบ้าง

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ประเภทสารกำจัดแมลง โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างผักผลไม้ ผักพื้นบ้าน จาก 5 ภูมิภาค 10 จังหวัด และผลการตรวจอาหารที่มีสารพิษตกค้าง 3 ชนิด คือ สารไกลโฟเสต สารคลอร์ไพรีฟอส และสารพาราควอต ได้ผลดังนี้

1.สารพาราควอต (Paraquat)

  • ผลการตรวจผัก 128 ตัวอย่าง ตรวจพบ  26.6% เกินมาตรฐาน 6.3% ชนิดผักที่เกินมาตรฐาน ได้แก่ คะน้า กะหล่ำ ผักหวาน ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู ส่วนผลไม้สด 40 ตัวอย่าง พบการตกค้าง 12.5% เกินมาตรฐานคิดเป็น  5% ผลไม้ที่ตรวจพบได้แก่ ส้ม โดยเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สดจาก 8 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา ตรัง เชียงใหม่ พิษณุโลก
  • ศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี  ระบุว่า หากรับสารพาราควอตทางการหายใจ ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุโพรงจมูก เลือดกำเดาไหล หากรับผ่านการกิน ทำให้มีแผลไหม้ในช่องปาก ระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ความอยากอาหารลดลง ปวดท้อง คอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย หายใจสั้น ๆ หัวใจเต้นเร็ว ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต

2.สารไกลโฟเซต (Glyphosate)

  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้สุ่ม 10 ตัวอย่าง ตรวจพบ 1 ตัวอย่างของสารไกลโฟเสตที่จังหวัดราชบุรี พบการตกค้างในนาข้าว จากน้ำที่เป็นแหล่งเพาะปลูกนาข้าว สวนผัก เป็นส่วนใหญ่ แต่น้ำจากนาข้าวพบสูงสุดในปริมาณที่พบ 2.8 ไมโครกรัมต่อลิตร
  • สถาบันวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก พบไกลโฟเซต ยาฆ่าวัชพืชกลุ่ม Phosphonic acid ตัวการร้ายที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งพบว่าอัตราการตายของผู้ป่วยในไทยอยู่ที่ 3% เลยทีเดียว

3.สารคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)

  • มีการตรวจในผักผลไม้ 240 ตัวอย่าง ผลการตรวจผัก 160 ตัวอย่าง พบสารตกค้าง 16.9% เกินมาตรฐาน 13.8% ชนิดผักที่เกินมาตรฐาน ได้แก่ ใบบัวบก ผักชี ผักชีฝรั่ง ถัวฝักยาว มะเขือยาว มะเขือเปราะ สะระแหน่ และคะน้า โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดสด 10 ตลาด จากจังหวัดราชบุรี ปทุมธานี ระยอง ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา ตรัง เชียงใหม่ พิษณุโลก
  • คลอร์ไพริฟอส เป็นสารฆ่าแมลงกลุ่ม organophsphorus ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายสารสื่อประสาทอะซิคิลโคลีน ทำให้สารสื่อประสาทดังกล่าวเกิดอาการคั่งและส่งสัญญาณประสาทมากขึ้น ระบบประสาททำงานมากขึ้น เป็นพิษต่อระบบประสาท ผลกระทบคือ ทำให้ไอคิวลดลง สูญเสียความจำในการทำงาน ขาดสมาธิ คล้ายโรคสมาธิสั้น หรือออทิสติก

วิธีป้องกันอันตรายจากสารพิษ

1.อ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้งานและปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดได้แก่ วิธีใช้ ปริมาณ การป้องกัน การแก้พิษเบื้องต้น คำเตือนต่าง ๆ เพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเกษตรกรเมื่อเกิดอันตราย

2.สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและใส่อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีจำกัดศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงมือยาง รองเท้าบูตยาง หน้ากาก แว่นตา หมวกปีกกว้าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชขณะฉีดพ่นหรือทำงาน

3.ถอดชุดและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ ขณะฉีดพ่นหรือทำงานแยกซักจากเสื้อผ้าอื่น ๆ แล้วรีบอาบน้ำ ฟอกสบู่ เปลี่ยนเสื้อผ้าที่สะอาดทันทีก่อนจะไปทำกิจกรรมอื่น ๆ

4.ทิ้งภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่าทิ้งรวมกับขยะอื่น ๆ อย่าทิ้งเศษสารเคมีที่เหลือลงในท่อระบายน้ำ ลำธาร คลอง หนองบึง โดยเด็ดขาด ควรฝังภาชนะบรรจุสารเคมี ระยะห่างจากแหล่งน้ำ 50 เมตร ขุดหลุมลึกอย่างน้อย 1 เมตร พร้อมปักป้ายจุดฝังให้ชัดเจน

5.เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ขณะเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วหมดสติ ต้องรีบส่งแพทย์เป็นการด่วน เพื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

6.สำหรับผู้บริโภค ควรล้างผัก-ผลไม้ให้สะอาดด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง หรือแช่ในน้ำที่ผสมด่างทับทิมเพื่อสลายสารเคมีตกค้างให้หมดจด หรือเลือกบริโภคผัก-ผลไม้ที่มีสลากปลอดสารพิษเพื่อความสบายใจ

การโดนสารพิษหรือการกินสารพิษเข้าไปในประมาณที่มากจะก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นการทำประกันโรคร้าย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการดูแลสุขภาพให้ยั่งยืนได้


สรุป

สรุปบทความ

สารเคมีที่ตกค้างในผัก-ผล มีสารพาราควอต (Paraquat), สารไกลโฟเสต (Glyphosate), สารคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) ที่เกินมาตรฐานในผักและในผลไม้ ซึ่งเป็นสารที่อาจทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพร้ายแรงได้ เช่น ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต ผลกระทบต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ และผลกระทบที่ทำให้ระบบประสาททำงานมากขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคควรล้างผัก-ผลไม้ให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดหลายครั้ง หรือแช่ในน้ำที่ผสมด่างทับทิมเพื่อสลายสารเคมีตกค้าง

จบสรุปบทความ

บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

โยคะ (Yoga) มีประโยชน์อย่างไร สามารถบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

โยคะ หนึ่งในศาสตร์การออกกำลังกายที่แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีและทราบกันถึงประโยชน์หลาย ๆ อย่างที่โยคะมีต่อร่างกายของคนเรา
Nok Srihong
11/04/2024

แคร์สุขภาพ

ดนตรีบำบัด คืออะไร ? ดนตรีสามารถบำบัดจิตใจและความเครียดได้จริงหรือไม่ ?

เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเสียงดนตรีสามารถช่วยให้เกิดความผ่อนคลายของร่างกายและจิตได้
Nok Srihong
11/04/2024