
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
เป็นข้อถกเถียงกันยกใหญ่ที่จะให้มีการยกเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงต่อชีวิตของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็น “พาราควอต-ไกลโฟเซต-คลอร์ไพริฟอส” ซึ่ง 3 สารเคมีนี้ ส่วนใหญ่ตกค้างในผักและผลไม้จำนวนมาก เมื่อทานเข้าไปเป็นเวลานานจะเกิดการสะสม ทำให้เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
รัฐบาลจึงมีมติสั่งห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามส่งออก และมีไว้ในครอบครองตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2562 นี้เป็นต้นไป Rabbit Care ก็รวบรวมข้อมูลการเกิดอันตรายของทั้ง 3 สารพิษ มาฝากกัน
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ประเภทสารกำจัดแมลง โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างผักผลไม้ ผักพื้นบ้าน จาก 5 ภูมิภาค 10 จังหวัด และผลการตรวจอาหารที่มีสารพิษตกค้าง 3 ชนิด คือ สารไกลโฟเสต สารคลอร์ไพรีฟอส และสารพาราควอต ได้ผลดังนี้
1.อ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้งานและปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดได้แก่ วิธีใช้ ปริมาณ การป้องกัน การแก้พิษเบื้องต้น คำเตือนต่าง ๆ เพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเกษตรกรเมื่อเกิดอันตราย
2.สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและใส่อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีจำกัดศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงมือยาง รองเท้าบูตยาง หน้ากาก แว่นตา หมวกปีกกว้าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชขณะฉีดพ่นหรือทำงาน
3.ถอดชุดและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ ขณะฉีดพ่นหรือทำงานแยกซักจากเสื้อผ้าอื่น ๆ แล้วรีบอาบน้ำ ฟอกสบู่ เปลี่ยนเสื้อผ้าที่สะอาดทันทีก่อนจะไปทำกิจกรรมอื่น ๆ
4.ทิ้งภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่าทิ้งรวมกับขยะอื่น ๆ อย่าทิ้งเศษสารเคมีที่เหลือลงในท่อระบายน้ำ ลำธาร คลอง หนองบึง โดยเด็ดขาด ควรฝังภาชนะบรรจุสารเคมี ระยะห่างจากแหล่งน้ำ 50 เมตร ขุดหลุมลึกอย่างน้อย 1 เมตร พร้อมปักป้ายจุดฝังให้ชัดเจน
5.เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ขณะเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วหมดสติ ต้องรีบส่งแพทย์เป็นการด่วน เพื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
6.สำหรับผู้บริโภค ควรล้างผัก-ผลไม้ให้สะอาดด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง หรือแช่ในน้ำที่ผสมด่างทับทิมเพื่อสลายสารเคมีตกค้างให้หมดจด หรือเลือกบริโภคผัก-ผลไม้ที่มีสลากปลอดสารพิษเพื่อความสบายใจ
การโดนสารพิษหรือการกินสารพิษเข้าไปในประมาณที่มากจะก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นการทำประกันโรคร้าย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการดูแลสุขภาพให้ยั่งยืนได้
สารเคมีที่ตกค้างในผัก-ผล มีสารพาราควอต (Paraquat), สารไกลโฟเสต (Glyphosate), สารคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) ที่เกินมาตรฐานในผักและในผลไม้ ซึ่งเป็นสารที่อาจทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพร้ายแรงได้ เช่น ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต ผลกระทบต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ และผลกระทบที่ทำให้ระบบประสาททำงานมากขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคควรล้างผัก-ผลไม้ให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดหลายครั้ง หรือแช่ในน้ำที่ผสมด่างทับทิมเพื่อสลายสารเคมีตกค้าง
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?