แคร์สุขภาพ

ระวัง! โรคประจำตัวที่ถึงชีวิตได้ เมื่อติดเชื้อโควิด-19

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด ผู้พยายามเข้าใจมักเกิ้ล นิยมชมชอบกลางคืน สามารถผูกมิตรได้ด้วยของกินอร่อยๆ ตอนนี้กำลังหลบลี้หนีภัยจากออฟฟิศซินโดรมอยู่

close
Published March 09, 2021

โควิด-19 นั้น ไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่สุ่มเสี่ยงเป็นแล้วถึงแก่ชีวิต แต่กลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคประจำตัวบางชนิด ก็เข้าข่ายเช่นเดียวกัน ว่าแต่มีโรคประจำตัวอะไรบ้างนะ ที่เข้าข่าย มาเช็กไปพร้อมๆ กันดีกว่า! 

 

โรคร้าย

 

โรคประจำตัวที่อาจเสียชีวิตได้ เมื่อติดเชื้อโควิด

 

โรคหัวใจและหลอดเลือด

เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคประจำตัว ที่ใครเป็น โควิด-19 จะเสี่ยงเสียชีวิตสูง เนื่องจากเชื้อไวรัสจะไปกระตุ้นให้อาการในกลุ่มโรคเหล่านี้รุนแรงมากขึ้น และจากผลการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยอยู่ที่ 13.2%

หลักๆ เมื่อติด โควิด-19 แล้ว จะส่งผลให้ ระดับออกซิเจนที่ต่ำลงจากปอดบวม และโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สูงขึ้น, มีภาวะที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ, มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือไตวายได้

โดยทางแพทย์ได้ให้คำแนะนำว่า ควรดูแลสุขภาพในช่วงนี้เป็นพิเศษ ให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอยู่สม่ำเสมอ เช่น การงดเค็ม, พยายามไม่เครียด, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, กินยาอย่างต่อเนื่อง 

 

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือหนึ่งในโรคหลัก ที่คนไทยมักจะเป็นกัน และแน่นอนว่า หากติด โควิด-19 การเป้นโรคเบาหวานจะทำให้คุณเสี่ยงเสียชีวิตมากถึง 9.2% นับได้ว่าเป็นโรคประจำตัวอันดับสอง ที่คนเสียชีวิตมากที่สุด เมื่อติดเชื้อ 

เนื่องจาก โรคเบาหวานนั้น จะทำให้ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มากขึ้น และรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังเสี่ยงกับการมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วม รวมไปถึง การที่เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอีกด้วย

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น ไม่ควรหยุดยาเอง พยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเสมอ (ระดับ 80-180 มก./ดล.) เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อที่สุดแรงจนเสียชีวิตได้

 

ระบบทางเดินหายใจ

 

โรคไตเรื้อรัง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ขั้นที่ 3 – ขั้นที่ 5 ที่ต้องรักษาด้วยการฟอกเลือด หรือเป็นผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายไตอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หากติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจาก ผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือด จะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป และผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายไตจะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง จึงเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเอง ก็จำเป็นต้องระมักระวังตัวเป็นพิเศษ นอกจากยาที่ต้องทานเป็นประจำสม่ำเสมอแล้ว ต้องเฝ้าระวังในเรื่องอาการต่างๆ ของตนด้วย หากคุณมีไข้ให้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลก่อนที่จะเข้ารับบริการ

 

โรคปอดและทางเดินทางหายใจ 

สำหรับผู้ป่วยโรคปอดและทางเดินหายใจ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความเสี่ยงสูง เพราะเดิมที โควิด-19 เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง และจะกระตุ้นอาการหอบหืด รวมไปถึงอาจทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคร้ายแรงอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยโรคปอด นอกจากจะมีผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจแล้ว อาจทำให้โรคที่เป็นอยู่กำเริบหนักขึ้น มีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหืดหอบระดับปานกลางถึงรุนแรง และผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD), โรคปอดอักเสบเรื้อรัง และโรคซิสติก ไฟโบรซิส เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้อากาศนั้น ถึงแม้จะมีอาการที่ทำให้หลายคนมีอาการสับสนกับ โควิด-19 ได้ แต่ก็ไม่ใช่กลุ่มที่มีเสี่ยง และไม่ได้เพิ่มความรุนแรงของ โควิด-19 เมื่อเทียบกับกลุ่มโรคอื่นๆ หรือแม้แต่การทานยาก็ไม่มีผลต่อการรักษา หรือเพิ่มความเสี่ยงใดๆ ดังนั้นจึงทานยาได้ตามปกติ 

แต่ด้วยอาการที่ใกล้เคียงกันในระยะแรก อาจทำให้หลายคนแยกออกได้ยาก ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตอาการอื่นๆ เพิ่มเติมอยู่อย่างสม่ำเสมอ 

 

ปอดอักเสบ

 

โรคอ้วน

โดยกำหนดไว้ที่โรคอ้วนชนิดรุนแรง หรือผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 40 ขึ้นไป หรือตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ในกรณ๊ของชาวเอเชีย สำหรับกลุ่มเสี่ยงนี้จะเสี่ยงต่ออาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคโควิด-19 และมีความเสี่ยงของการมีอาการที่รุนแรงมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป แม้จะมีอายุน้อย ไม่ใช่กลุ่มคนสูงอายุก็ตาม

 

โรคตับ

ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง, ผู้ป่วยปลูกถ่ายตับที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน, ผู้ป่วยภาวะที่มีตับอักเสบจากภูมิไวเกิน (AIH) และรวมไปถึงผู้ป่วยมะเร็งตับที่อยุ่ระหว่างการรักษาด้วยคีโม เป็นกล่มคนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรกหากติดโควิด-19 เนื่องจากอาการป่วยจากโรคโควิด-19 รวมถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรค อาจมีผลกระทบต่อการทำงานของตับนั่นเอง

 

ระบบทางเดินหายใจ

 

ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

นอกเหนือจากโรคดั่งกล่าวแล้ว ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง, กลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือคนที่สูบบุหรี่ ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรง เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังอาจติดเชื้อนานกว่าผู้ป่วย โควิด-19 กลุ่มอื่นๆ 

ระวังอย่าให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลงกว่าเดิม โดยระวังเรื่องปัจจัยเรื่องความเครียด, การอดนอน, ความเหนื่อยล้าทางร่างกาย สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลงได้  นอกจากนี้ยังควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสม่ำเสมออีกด้วย

 

โรคประจำตัว

 

จะเห็นได้ว่า กลุ่มโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการติด โควิด-19 แล้วมีอาการร้ายแรง เสี่ยงถึงชีวิต จะเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกนัร่างกายอ่อนแอ บกพร่อง เอื้อต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นคนในกลุ่มนี้จึงต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ เพราะการติด โควิด-19 จะทำให้โรคประจำตัวของใครหลายๆ คนรุนแรงขึ้นได้ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อนเพิ่มได้อีกด้วย

เรื่องสุขภาพไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้ง โควิด-19 และ โรคร้ายต่างๆ เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะฉะนั้น ต้องนี่เลย ประกันสุขภาพ จาก Rabbit Care ที่มีทั้ง ประกันสุขภาพโรคร้าย และ ประกันแพ้วัคซีน โควิด-19 ให้คุณอุ่นใจมากขึ้น กับสถานการณ์ตอนนี้ คลิกเลย!


 

บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

Red flag และ Green flag ในความสัมพันธ์คืออะไร นอกจากส่งผลต่อใจ ทำไมถึงส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยในระยะยาว ?

Red Flag หนึ่งใน Relationship Flag ที่แม้หลายครั้งจะพยายามระมัดระวังและหลีกเลี่ยงให้ไกลแล้ว
กองบรรณาธิการ
26/03/2024

แคร์สุขภาพ

แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
กองบรรณาธิการ
22/03/2024