แคร์สุขภาพ

ระวัง! เท้าบวม จุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรง

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: April 29,2022
  
Last edited: June 2, 2024
เท้าบวม

เคยเป็นบ้างไหม วันดีคืนดีตื่นมาเท้าบวม!? หลายคนอาจจะปล่อยผ่าน เพราะคิดว่าไม่นานก็หาย แต่รู้หรือไม่ อาการเหล่านี้คือจุดเริ่มต้นที่บ่งบอกว่าร่างกายของคุณกำลังไม่สบาย! แล้วแบบนี้เท้าบวมเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง? แบบไหนถึงเรียกว่าเท้าบวม เบาหวาน หรือเป็นโรคร้ายแรงมากกว่านั่น? เท้าบวม วิธีแก้ได้อย่างไรบ้าง? วันนี้เรามีคำตอบ!

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

     แบบไหนถึงเรียกเท้าบวม?

    หลายคนอาจจะสงสัยว่า อาการแบบไหนที่เรียกว่า เท้าบวม กันนะ บอกได้เลยว่าสังเกตได้ไม่ยาก โดยหลัก ๆ จะมีอาการ ดังนี้

    • มีอาการตึงที่เท้า ร่องรอยย่นของผิวหนังหายไป 
    • ในบางรายอาจใส่รองเท้าแล้วคับ หรือใส่กางเกงแล้วติดขาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
    • ข้อเท้า หรือเท้าทั้งสองข้างขยายขนาดขึ้นจนเห็นได้ชัด 
    • เมื่อสัมผัสบริเวณเท้าอาจจะรู้สึกว่านิ่มผิดปกติ หากลองใช้นิ้วกดลงไปที่เท้าจะเกิดรอยบุ๋มที่เห็นได้ชัด และหากยกนิ้วออกบริเวณที่บุ๋มลงไปจะคืนสู่สภาพเดิมอย่างช้า ๆ ผิดปกติ
    • เกิดรอยพับที่เห็นได้ชัดบนผิวหนังที่บวมเมื่อถอดรองเท้าหรือถุงเท้าออก
    • สีผิวหนังของเท้าที่บวมอาจปกติ หรือซีดกว่าปกติ

    ประกันเบาหวาน

    เท้าบวมเกิดจากปัจจัยอะไรได้บ้าง?

    ก่อนไปเช็กไปรู้จักเท้าบวมที่เป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้าย หรือ เท้าบวม เบาหวาน  มาทำความเข้าใจกันก่อนว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้เราเท้าบวมได้ สำหรับปัจจัยที่ทำให้เท้าบวม มีดังนี้

    • เกิดจากนั่งหรือยืนทำงานนาน ๆ

    ลองสังเกตดูว่าหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันของคุณต้องยืนบ่อยมากน้อยแค่ไหน เพราะการยืนทำงานต่อเนื่องนาน ๆ รวมไปถึงการนั่งอยู่กับที่ โดยไม่ได้ขยับไปไหน อาจจะทำให้กล้ามเนื้อที่บริเวณน่องและข้อเท้าไม่ถูกใช้งาน เป็นสาเหตุให้เลือดและสารน้ำต่าง ๆ คั่งอยู่ที่ข้อเท้าและเท้า จนเกิดการบวมได้

    • เกิดจากอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้า

    บางคนอาจจะไม่ทันสังเกตว่าเท้าของเราเกิดอาการบาดเจ็บ เช่น ข้อเท้าพลิก จนเกิดอาการอักเสบในเอ็นข้อเท้า ผิวหนัง  และกล้ามเนื้อได้ โดยเท้าบวม วิธีแก้เบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยการใช้ผ้าขนหนูประคบเย็น ชั่วโมงละ 10 นาที โดยประมาณ หรือพันผ้าเพื่อลดการบวม พันจากปลายเท้ามาที่บริเวณน่อง ระวังอย่าพันแน่นเกินไป แต่หากสงสัยว่ากระดูกเท้าหักจนเกิดอาการบวม หรืออาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้รีบเข้าแพทย์โดยด่วน

    • เกิดจากถุงน้ำตาตุ่มอักเสบ

    การนั่งทับบริเวณตาตุ่มนอก เช่น นั่งพับเพียบนาน ๆ , นั่งขัดสมาธิ รวมไปถึงการใส่รองเท้าที่ขอบรองเท้าเคือง หรือเสียดสีบริเวณตาตุ่ม เช่น รองเท้าคัทชูที่ทรงไม่เหมาะกับเท้าเรา ก็อาจทำให้เกิดอาการข้อเท้าบวมบริเวณตาตุ่มจนดูเท้าบวมได้

    • เกิดจากผลข้างเคียงจากยา

    ยาบางตัวก็มีผลข้างเคียงทำให้บวมได้นะ แต่หากมีอาการบวมบ่อย ๆ แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์

    • เกิดจากการตั้งครรภ์

    เท้าบวมคือหนึ่งในอาการที่ผู้หญิงตั้งครรภ์พบได้บ่อย และจะเห็นได้ชัดในช่วงเย็นของวัน หรือช่วงที่ออกไปอยู่ข้างนอกท่ามกลางอากาศร้อน ๆ โดยเท้าบวม วิธีแก้ มีคำแนะนำว่าเป็นอาการที่ไม่ได้เป็นอันตรายอะไรกับร่างกาย เพราะจะมีทั้งช่วงบวม และช่วงที่หายบวมไปเองโดยไม่ต้องทำอะไร แต่หากพบว่ามีอาการบวมทั้งมือและเท้ามากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา และตรวจสุขภาพอย่างละเอียดอีกครั้ง

    ประกันสุขภาพ

    • เกิดจากน้ำหนักมากเกินไป

    หากคุณเป็นคนที่มีน้ำหนักมาก นี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เท้าบวมได้ เนื่องจากเท้าเป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดเอาไว้ตลอดทั้งวัน โดยทางการแพทย์ให้คำแนะนำไว้ว่าพยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เท้าจะหายบวมได้เอง

    • เกิดจากฮอร์โมนกำลังเปลี่ยนแปลง

    รู้หรือไม่ ช่วงทีช่วงที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงปั่นป่วน คือช่วงกำลังมีประจำเดือน นอกจากตัวบวมขึ้น หน้าอกใหญ่ขึ้น สิวขึ้น รวมไปถึงเท้าที่อาจบวมขึ้นได้เช่นกัน หากอยากลดเท้าบวม วิธีแก้ ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น ลดการทานอาหารที่มีโซเดียมสูง และออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดอาการดั่งกล่าวได้

    • เกิดจากการทานโซเดียมมากเกินไป

    การทานอาหารที่มีโซเดียมมากจนเกินไป จะทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้หน้าบวมร่วมด้วย ซึ่งการทานอาหารมีโซเดียมสูง ไม่ได้มาจากอาหารแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังแฝงมาในรูปของขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มบางชนิด รวมไปถึงอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ 

    ดังนั้น เท้าบวม วิธีแก้จากการทานโซเดียมมากเกินไป ทำได้ง่าย แค่หลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ได้ก็จะช่วยลดอาการบวมของเท้าจากโซเดียมได้เช่นกัน

    แต่หากตรวจสอบอาการต่าง ๆ ดั่งกล่าวแล้วไม่พบว่ามีข้อใดเข้าข่าย คุณอาจจะกำลังเป็นโรคร้ายแรงอยู่ก็ได้!

    โรคร้ายแรง

    ทำไมเท้าบวมถึงถูกเรียกว่าสัญญาอันตรายจากโรคร้าย ?

    อย่างที่เราได้กล่าวไป อาการเท้าบวมนั่นเกิดได้หลากหลายปัจจัย แต่บางครั้ง อาการเท้าบวมเองก็เป็นอาการที่ร่างกายกำลังประท้วงว่าคุณกำลังเปฺ็นโรคร้ายแรงที่คาดไม่ถึงอยู่ก็ได้!  โดยโรคร้ายแรงที่ทำให้เกิดอาการเท้าบวม จะมีดังนี้

    • โรคหัวใจ 

    พบอาการเท้าบวมได้ในภาวะหัวใจวายน้ำท่วมปอด ทำให้มีอาการขาบวมทั้งสองข้าง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการ เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องใช้หมอนหลายใบร่วมด้วย

    • โรคไต

    หากไตไม่สามารถขับของเหลวที่ไม่ต้องการออกจากร่างกายได้ จึงทำให้ร่างกายบวมน้ำ และเป็นสาเหตุของอาการเท้าบวมได้ พบได้บ่อยในภาวะของไตวายเรื้อรังจะมีอาการน้ำเกิน นอกจากขาบวมทั้งสองข้างแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ปัสสาวะออกน้อย 

    ส่วนในภาวะไตอักเสบ หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ จะพบว่าขาบวมทั้งสองข้างอาจพบความดันโลหิตสูง ปัสสาวะเป็นฟองร่วมด้วยได้ ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการบวมของหนังตาบนทั้งสองข้างได้

    • โรคตับ

    เบื้องต้นแล้วสาเหตุของอาการเท้าบวมจากโรคตับนั้น ใกล้เคียงกับโรคที่เกีย่วข้องกับไต เกิดจากการที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงเข้าสู่ภาวะตับแข็ง ส่งผลให้ขาและเท้าบวมได้

    • ภาวะบวมน้ำเหลือง

    เมื่อระบบน้ำเหลืองมีอาการผิดปกติ ร่างกายอาจมีอาการเตือนด้วยอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่บวมขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือพบในผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในช่วงติดเชื้อได้

    • โรคเส้นเลือดดำอุดตันที่ขา

    เมื่อลิ่มเลือดอุดตันทำให้เลือดไหลเวียนได้ลำบาก จนอาจเกิดอาการบวมที่ขา และเท้าได้ อาจเกิดอาการขาบวมข้างใดข้างหนึ่ง มีทั้งแบบที่กดแล้วเจ็บ และกดแล้วไม่เจ็บ รวมไปถึงสีของขา และเท้าอาจเปลี่ยนแปลงเป็นสีที่เข้มขึ้น มักพบในคนไข้ที่ไม่ได้ขยับขา คนไข้หลังผ่าตัด คนไข้นอนติดเตียง หรือคนที่รับประทานยาคุมกำเนิด 

    หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา เนื่องจากลิ่มเลือดอาจหลุดไปอุดตันเส้นเลือดดำที่ปอด ส่งผลให้อันตรายถึงชีวิตได้

    • โรคเท้าช้าง

    เกิดจากยุงที่มีเชื้อพยาธิ Brugia Malayi และ Wuchereria Bancrofti ทำให้เชื้อพยาธิเข้าไปอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของมนุษย์ส่งผลให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะ เช่น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ได้

    • โรคเบาหวาน 

    เท้าบวมและอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดการติดเชื้อของโรคเบาหวาน เนื่องจากการลุกลามของเชื้อไปยังบริเวณเส้นประสาทส่วนปลายช่วงเท้าทำให้เกิดแผล เท้าบวม เบาหวาน ไม่ควรปล่อยไว้นานโดยไม่รับการรักษา เพราะอาจเกิดอาการอักเสบรุนแรงขึ้นได้

    เบาหวาน

    จะเห็นได้ว่า อาการของโรคเท้าบวมนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า ร่างกายของเรากำลังป่วยได้หลากหลายโรค

    ทั้งโรคที่ไม่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต และโรคร้ายแรงที่ถึงชีวิตได้ ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยการสังเกตอาการป่วยต่าง ๆ ของตน และควรรีบพบแพทย์ทันที

    แต่ไม่ว่าจะเจ็บป่วยแบบไหน แรบบิท แคร์ ก็พร้อมอยู่เคียงข้าง ด้วยประกันสุขภาพที่เราคัดสรรมาเป็นอย่างดี ให้คุณได้อุ่นใจเจ็บไข้ได้ป่วย เบิกเคลมได้สบายใจ นอกจากประกันสุขภาพทั่วไปแล้ว เรายังมี ประกันโรคร้ายแรง ที่พร้อมรับทุกความเสี่ยง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคยอดฮิตอย่างเบาหวาน ด้วยเบื้ยประกันที่คุณเอื้อมถึง คลิกเลย!

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024