แคร์ไลฟ์สไตล์

ว่าด้วยเรื่อง กฎหมายปฎิรูป การขายประกันทางโทรศัพท์

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: December 25,2017
  
 
ขายประกันทางโทรศัพท์

หากพูดถึง การขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์เป็นสิ่งที่เชื่อว่าใครหลายคนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างไม่มากก็น้อย และโดยเฉพาะคนที่เคยโดนหลอกขายประกันทางโทรศัพท์กับตัว คงจะถึงขั้นขยาดกันไปอีกนานแสนนานเลยทีเดียวเพราะไม่ใช่แค่เสียเงินเสียทอง แต่ยังเสียเวลา และที่สำคัญคือเสียความรู้สึกถึงขั้นสุด ๆ ไปเลยอีกด้วย

แต่คณะรัฐมนตรี ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้เริ่มมีการเดินหน้าร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันชีวิต และประกันวินาศภัย เพื่อแก้ไขหรืออย่างน้อยก็ลดจำนวนของผู้เสียหายให้ต่ำลง แต่บางท่านอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือยังไม่เข้าใจปัญหาของประกันทางโทรศัพท์ ว่ามันรุนแรงถึงขนาดที่ต้องแก้กฏหมายเลยหรอ เรามีคำตอบ

ขายประกันทางโทรศัพท์

ขายประกันทางโทรศัพท์ กระทบกับเรายังไง ?

ต้องบอกเลยว่า ถ้าหากนับเฉพาะในด้านของทักษะในการโน้มน้าวใจหรือการพูดอย่างเดียว ผู้ขายประกันเหล่านี้ เรียกได้ว่า แทบจะได้ไปเต็มสิบคะแนน เพราะพวกเขาจะทำทุกวิถีทางที่จะสามารถทำให้คุณรู้สึกสนใจ อยากที่จะทำ หรือหลวมตัวไปตอบ “ตกลง” ให้ได้ เช่น

  • พูดวกไปวนมาให้สับสน
    อีกหนึ่งสุดยอดกลยุทธ์ที่ถูกใช้โดยเหล่าผู้ขายประกันทางโทรศัพท์ คือการพูดวนไปวนมา ไม่จบไม่สิน เพื่อทำให้เราสับสน เช่น ตอนแรกพูดเรื่องบัตรเครดิต สิทธิพิเศษ แต่อยู่ดี ๆ ก็กระโดดไปประกันชีวิตหน้าตาเฉย

    หรือในอีกกรณีที่เจอกันค่อนข้างบ่อย คือ ถามซ้ำ ย้ำแล้วย้ำอีก ว่าเราสนใจไหม อยากทำไหม ต้องการจะทำไหม

    หากเรารำคาญหรือสับสน เผลอไปตอบแค่คำว่าสนใจหรือตกลงทำประกัน ก็เสร็จเลย
  • โกหกซึ่ง ๆ หน้า

หนึ่งในเหตุผลที่หลายต่อหลายคน โดนหลอกซื้อประกันทางโทรศัพท์ ก็เพราะการโกหกของเหล่าผู้ขายประกันทางโทรศัพท์นั่นเอง ที่เห็นกันเป็นประจำเลยก็คือ ถึงแม้เราจะถามให้มั่นใจหลายรอบว่าไม่โดนตัดเงินเลยแน่นะ หรือขอดูเอกสารอะไรก่อนยังไม่เซ็นอะไรทั้งนั้น

แต่แทบทุกรายก็โดนตัดเงินในบัตรเครดิตหรือ บัตรเดบิต กันก่อนที่จะได้เห็นสัญญาเสียอีกบางรายเจอขนาดที่อ้างตัวว่ามาจากบริษัทประกันที่เคยทำเจ้าเก่า แต่พอสัญญามาจริงกลับเป็นอีกบริษัทหน้าตาเฉยก็มี

พ.ร.บ. ฉบับใหม่จะช่วยแก้ปัญหาอย่างไร ?

พ.ร.บ. ร่างกฏหมายประกันภัยฉบับใหม่แกะกล่อง มีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาจากการขายประกันทางโทรศัพท์รวมถึงการทำประกันผ่านธนาคารพาณิชย์หลัก ๆ สี่ประการดังนี้

1. ป้องกันการฉ้อฉล

เช่น ตัวแทนประกัน หลอกเบี้ยประกันภัยจากประชาชนไป แต่กลับไม่นำเบี้ยประกันไปส่งให้กับบริษัทประกันภัย ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความคุ้มครองตามที่สมควรจะได้รับ หรือการสร้างหลักฐานเท็จ

2. เพิ่มการกำกับดูแลตัวแทนในการทำธุรกิจประกัน

จากเดิมที่การกำกับดูแลจะทำผ่านบริษัทประกัน จะถูกเปลี่ยนมากำกับดูแลเองโดยตรง มีการตรวจสอบคุณสมบัติของตัวแทน ใช้หลักเกณฑ์จรรยาบรรณเป็นหลัก

3. ประเมินความเสียหายจากเหตุวินาศภัยเพื่อเรียกรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์

จากเดิมที่เป็นบุคคลธรรมดาเปลี่ยนมาเป็นนิติบุคคลที่ทำหน้าที่ประเมินวินาศภัย

4.  การทำธุรกิจผ่านอิเล็กทรอนิกส์

ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด

นอกจากนี้ กฎหมายใหม่จะยังมี บทลงโทษทางอาญา จำคุก 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วย  ส่วนกฎหมายฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ เราอาจจะต้องติดตามกันต่อไป 

ถูกขายประกันทางโทรศัพท์ รับมืออย่างไรดี

กว่ากฏหมายใหม่จะบังคับใช้ก็เมื่อไรไม่รู้ แถมต่อให้มีกฏหมายแล้วก็ใช่ว่าเราจะไม่ถูกหลอกอีกต่อไป ดังนั้น เราควรจะมีวิธีป้องกันตัวอย่างไร จากการไม่ถูกหลอกทำประกันทางโทรศัพท์บ้าง ?

  • สอบถามตัวตนให้แน่ชัด
    เริ่มแรกก่อนอื่น ยังไม่ต้องคุยอะไรมากมาย ถามก่อนเลยว่ามาจากไหน ตัวแทนของอะไร บัตรเครดิต ธนาคาร หรือตัวแทนประกัน และควรโทรไปเช็คกับต้นสังกัดที่ตัวแทนขายประกันอ้างอิงก่อนที่จะตกลงทำอะไรทุกครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นตัวแทนตัวจริงอย่างที่อ้างอิง
  • สอบถาม รหัสตัวแทนประกัน (รหัสใบอนุญาต) รหัสตัวแทน หรือใบอนุญาตขายประกัน
    เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราควรทราบเลขรหัสตัวแทนประกัน หรือรหัสใบอนุญาตของตัวแทนดังกล่าว เพื่อเราสามารถตรวจสอบได้ว่าตัวแทนดังกล่าวมีตัวตนจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน และยังสามารถรายงานและร้องเรียนได้ หากมีปัญหาในภายหลัง โดยคุณสามารถตรวจสอบสถานะตัวแทน หรือสถานะนายหน้าประกันภัยได้จากเว็บไซต์ของ คปภ www.oic.or.th หรือ สายด่วนประกันภัย 1186
  • ห้ามพูดคำดังต่อไปนี้
    คำที่ห้ามพูดอย่างเด็ดขาดระหว่างคุยกับตัวแทนประกันก็ได้แก่ ตกลง, สนใจ, ทำ, อยากดูรายละเอียดหรือเอกสารก่อน โดยเฉพาะคำว่าตกลงสมัครประกันภัย”ห้ามพูดอย่างเด็ดขาด ถ้าหากคุณยังไม่มั่นใจว่าจะทำประกันกับตัวแทนรายนี้แน่ ๆเพราะหากคุณพูดคำดังกล่าวมันจะกลายเป็นหลักฐานให้ตัวแทนนำไปทำเป็นกรมธรรม์ให้คุณทันที หรือต่อให้ไม่ได้ไปทำกรมธรรม์ พวกเขาก็จะกลับมาตื้อเราต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากเราแสดงความสนใจในการทำประกัน
  • วางสาย
    เชื่อว่าคงเป็นตัวเลือกที่แทบทุกคนมักจะใช้เวลาเจอกับการขายประกันทางโทรศัพท์กันมากที่สุด คือไม่คุย ไม่อะไรทั้งนั้น รู้แค่ว่าเป็นบริษัทประกันก็วางสายทันที หรือถ้าอยากให้มั่นใจหน่อยก็เสริมไปอีกว่า ไม่สนใจ ไม่ต้องโทรมาอีก แล้ววางสาย
  • ห้ามให้ข้อมูลส่วนตัว
    หากท่านไม่คิดจะทำ ยังไม่แน่ใจ หรือไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าจะทำประกันกับตัวแทนแน่ ๆ ก็ อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวไปเด็ดขาด ไม่ว่าจะชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน และโดยเฉพาะเลขบัตรเครดิตไม่ว่าจะเลขหน้าบัตรหรือเลขหลังบัตรก็ห้ามให้เด็ดขาด มิฉะนั้นอาจจะโดนตัดเงินแบบไม่รู้ตัว

ยกเลิกประกันทางโทรศัพท์

ยกเลิกประกันชีวิต ที่ทำไปได้หรือไม่

หากคุณหลวมตัวตกลง หรือ ตอบรับตัวแทนประกันทางโทรศัพท์ไปแล้ว มีความประสงค์จะยกเลิกประกันชีวิตที่ทำไป ก็สามารถขอยกเลิกประกันชีวิตฉบับนั้นๆได้ โดยมีขั้นตอนยกเลิกดังนี้

1. ติดต่อกับตัวแทน

หากติดต่อได้ให้แจ้งเลยว่าไม่ทำแล้ว การคืนเงินอาจจะใช้เวลานานแต่ส่วนมากจะประมาณ 1 เดือน (ทว่ากรณีส่วนใหญ่มักจะติดต่อไม่ได้ตั้งแต่แรก หรือไม่ก็บอกว่าเดี๋ยวจะติดต่อกลับแล้วก็หายไปเลย)

2. ในกรณีที่ได้รับเอกสาร

แล้วไม่มีความประสงค์อยากจะทำ ก็ให้ส่งเอกสารทั้งหมดกลับคืนไป พร้อมระบุในเอกสารแบบชัดเจนที่สุดว่าต้องการยกเลิกประกันที่ทำไว้ แต่ต้องส่งเอกสารภายใน 15 วัน ดังนั้นท่านควรส่งแบบจดหมายลงทะเบียนหรือด่วนพิเศษ (EMS) เพื่อป้องกันการหาย

3. ร้องเรียน

หากไม่สามารถติดต่อกับตัวแทนได้ หรือได้รับเอกสาร ส่งคืนแล้ว แต่เงินก็ยังโดนตัด หรือมีปัญหาในการยกเลิกใด ๆ ก็ตาม ท่านสามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หรือ สายด่วย 1186

แม้จะมี กฏหมายปฏิรูปขายประกันทางโทรศัพท์ เข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย แต่เชื่อว่าต่อให้มีกฏหมายปรับใช้กลโกงต่าง ๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงและหาช่องโหว่จนได้อยู่ดี

ซึ่งในกรณีนี้คงโทษใครไม่ได้ ดังนั้น ตัวเราก็ควรจะป้องกันตัวเอง ด้วยการมีสติ คิดก่อนพูด คิดก่อนทำตลอดเวลา แค่นี้ก็น่าจะช่วยให้ไม่โดนหลอกง่าย ๆ แล้วละครับ

กฏหมายดังเกาะกระแส


ที่มา


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 98154

แคร์ไลฟ์สไตล์

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
คะน้าใบเขียว
19/12/2024
Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024