แคร์การเงิน

ธปท. ออกกฎใหม่ หลอกขายประกัน จะปรับเงิน 1 ล้านบาท

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
 
 
Published: January 23,2018

ความทรมานอย่างหนึ่งของคนยุคนี้ก็คือ เวลาเดินเข้าธนาคาร มักจะถูกเสนอขาย สินค้าการเงิน ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ ครั้งก็ไม่ถามตัวเราเลยด้วยซ้ำว่าต้องการหรือไม่?

บางทีเดินเข้าไปก็โดน หลอกขายประกัน ว่าเป็นเงินฝากระยะสั้นบ้างล่ะ แถมยังมีเทคนิคการพูด หลอกขายประกัน มาหว่านล้อมเราอีกมากมาย แล้วด้วยความที่คนไทยเป็นคนขี้เกรงใจ ทำให้หลายๆ ครั้งก็ไม่กล้าที่ปฏิเสธ แล้วก็ตกลงซื้อประกันไปตามระเบียบ

หลอกขายประกัน – สินค้าการเงิน ถูกปรับ 1 ล้านบาท 

จริงๆ ต้องบอกว่า หลอกขายประกัน เป็นปัญหาที่หนีกันไม่พ้น และเป็นปัญหาที่พบเจอกันมาอย่างยาวนาน ทำให้ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการใหม่ว่า

ถ้าพบเจอหรือว่ามี การหลอกขายประกัน หรือขายผลิตภัณฑ์โดยที่ลูกค้าไม่ได้มีความต้องการจะซื้อ จะมีโทษปรับสูงสุด 1 ล้านบาท รวมไปถึงมีโทษปรับรายวัน และอาจจะมีการบังคับให้ระงับการให้บริการ

สินค้าที่ผู้บริโภคแบบเราจะโดนเสนอขายมากที่สุด หลังจากเข้าไปใช้บริการธนาคารที่สาขาก็คือ “ประกัน” นี่แหละครับ เหตุผลหนึ่งที่เราโดน หลอกขายประกัน มากที่สุดเป็นเพราะว่า ค่าธรรมเนียม  (หรือค่าคอม) ที่ธนาคารได้รับ มันดีกว่าสินค้าการเงินแบบอื่นๆ

แล้วทำไมต้อง หลอกขายประกัน – สินค้าการเงิน ด้วย 

เราต้องเข้าใจก่อนว่า โดยพื้นฐานแล้ว รายได้ของธนาคารจะมาจาก 2 ส่วนหลักๆ อย่างแรกก็คือ “ค่าธรรมเนียม” ที่เวลาเราทำธุรกรรมทางการเงินอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น โอนเงิน หรือจ่ายบิลต่างๆ อย่างที่สองก็คือ “ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้”

  • ค่าธรรมเนียม

เอาง่ายๆ ก่อนเลยว่า “ค่าธรรมเนียม” ณ ปัจจุบัน ที่ธนาคารเก็บได้นั้นน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เหตุผลหนึ่งก็เป็นเพราะว่า การแข่งขันระหว่างธนาคารด้วยกันเอง ที่พยายามดึงดูดลูกค้าด้วยการลดค่าธรรมเนียมการให้บริการเพื่อแย่งฐานลูกค้ากัน

แล้วประกอบกับคู่แข่งอย่าง Fintech และระบบ Blockchain ที่กำลังเป็นที่น่าจับตามอง ถูกสร้างมาเพื่อลดความสำคัญของธนาคารอยู่แล้วด้วย

  • ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ 

แล้วอีกประเด็นหนึ่งก็คือ กลุ่มธนาคารด้วยกันเองก็พยายามเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงมาเพื่อแย่งลูกค้ากัน เราจะเห็นได้ว่าตอนนี้เวลาถึงงวดที่เราสามารถรีไฟแนนซ์หนี้ได้ แถบจะทุกคนก็ทำรีไฟแนนซ์กันทั้งนั้น

ด้วยเหตุผลที่รายได้ของธนาคารมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ธนาคารต้องหาแหล่งรายได้อื่นมาทดแทน แล้วรายได้ทางหนึ่งที่ทำได้ดีมากๆ ก็คือ

การเป็นนายหน้าขายสินค้าการเงินต่างๆ เพราะธนาคารเองก็มีฐานลูกค้าเยอะเป็นทุนอยู่แล้ว ทำให้เสนอขายสินค้าการเงินได้เรื่อยๆ แทบจะตลอดเวลาที่ธนาคารเปิดทำการเลยก็ว่าได้

เมื่อมีการเสนอขาย ประกอบกับมียอดขายที่ถูกกำกับเป็น KPI เพื่อประเมินการทำงานของพนักงานในสาขา ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีการนำเสนอสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า แต่ตรงกับความต้องการของผู้บริหารนั่นเอง


 

บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024