แคร์สุขภาพ

ไซยาไนด์ (Cyanide) คืออะไร? ผิดกฎหมายหรือไม่? อันตรายต่อชีวิตอย่างไรบ้าง? 

ผู้เขียน : Mayya Style
Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
Published: May 11,2023
  
Last edited: May 9, 2023

ปัจจุบันมีสารเคมีและสารพิษมากมาย ที่สามารถใช้ทำความสะอาดพื้นบ้าน ใช้กำจัดสัตว์มีพิษ ซึ่งเหล่านั้นล้วนแต่อันตรายและเป็นพิษต่อร่างกายของคน หากได้รับสารเข้าไป จะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ บางชนิดอาจทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม มีสารพิษที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้นั่นคือ “ไซยาไนด์” วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนมารู้จัดว่าสารเคมีชนิดนี้ว่ามัน คืออะไร อันตรายต่อร่างกายมนุษย์อย่างไรบ้าง แต่หากโดนสารเคมีชนิดดังกล่าว จะสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!! 

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ไซยาไนด์ (Cyanide) คืออะไร? 

    ไซยาไนด์ คือ สารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงมาก นิยมนำมาใช้อุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงงานถลุงโลหะ หรือใช้ผลิตเป็นยาฆ่าแมลง น้ำยาขัดเคลือบเงาโลหะ หรือแม้กระทั่งน้ำยาทำความสะอาดเพชร มากไปกว่านั้นยังสามารถพบได้หลายรูปแบบ เช่น จากการเผาไหม้สารพลาสติกและหนังเทียม นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในธรรมชาติอีกด้วย นั่นคือ ในมันสำปะหลังดิบ หากคุณรับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายจะทำการย่อยสารบางชนิดที่อยู่ในมันสำปะหลังดิบให้เป็นไซยาไนด์ หลังจากที่พิษเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแสดงอาการในหลายชั่วโมงต่อมา 

    ไซยาไนด์ (Cyanide) ผิดกฎหมายหรือไม่? 

    ไซยาไนด์จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งกองควบคุมวัตถุเสพติดกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ผลิต นำเข้าและส่งออกไซยาไนด์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

    ไซยาไนด์ (Cyanide) สามารถพบได้ที่ไหนบ้าง?

    ไซยาไนด์ (Cyanide) ผิดกฎหมาย

    น้องแคร์ขอแบ่งแหล่งที่พบออกเป็น 4 แหล่งหลัก ๆ ได้แก่ พบในธรรมชาติ พบจากการย่อยสลายของสัตว์ พบในกิจกรรมของมนุษย์ และพบในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1. พบในธรรมชาติ 

    แท้จริงแล้วสารพิษชนิดนี้สามารถพบได้ในพืชจากธรรมชาติเพียงบางชนิดเท่านั้น เช่น หน่อไม้ มันสำปะหลัง อัลมอนด์ ข้าวโพด ต้นไผ่ เป็นต้น 

    2. พบในการย่อยสลายของสัตว์ 

    เช่น กิ้งกือ ตะขาบ ผีเสื้อ เป็นต้น  

    3. พบในกิจกรรมของมนุษย์

    สามารถพบได้จากการเผาไหม้จากการทำการเกษตร การสูบบุหรี่ สีทาบ้าน เกลือ หรือแม้กระทั่งกาแฟที่บริโภคกันอยู่เป็นประจำ

    4. พบในโรงงานอุตสาหกรรม 

    โรงงานส่วนใหญ่ใช้ไซยาไนด์และไฮโดรเจนเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีพิษสูงแต่ไม่ใช่สารก่อมะเร็งแต่อย่างใด ซึ่งพบมากในโรงงานผลิตเหล็ก ทองคำ พลาสติก เครื่องสำอางค์ หรือยารักษาโรค 

    ไซยาไนด์ อันตรายอย่างไร? 

    หากสารพิษชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดอันตรายเพราะสารพิษจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณสมองและหัวใจ ซึ่งสามารถทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมาได้ อย่างไรก็ตามความรุนแรงนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับไซยาไนด์ และระยะเวลาที่ได้รับ  

    อาการหลังได้รับพิษไซยาไนด์ (Cyanide)

    อาการหลัก ๆ หากคุณสัมผัสกับสารพิษชนิดนี้ คือ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น เป็นแผลที่ผิดหนังหากสัมผัสโดน หมดสติ ชัก ประสาทตาถูกทำลายซึ่งอาจทำให้เกิดตาบอดได้ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจหยุดเต้นในกรณีได้รับสารพิษในปริมาณมาก 

    วิธีปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสกับไซยาไนด์ (Cyanide)

    เมื่อสัมผัสกับสารพิษไซยาไนด์​ ให้คุณรีบลดปริมาณสารพิษให้เร็วที่สุดและรีบมาโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้คุณมากที่สุด โดยการรับสารพิษอาจรับได้หลายวิธี เช่น การสูดดม การสัมผัส การรับประทาน หรือสารพิษเข้าตาโดยไม่ตั้งใจ โดยมีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้ 

    1. การสูดดม 

    หากคุณต้องเข้าไปในแหล่งอุตสาหกรรมหรือมีการผลิต คุณอาจสูดดมสารพิษโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นให้คุณรีบก้มต่ำ และออกจากสถานที่นั้นให้เร็วที่สุด หากคุณหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ อาจจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน แต่สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือการผายปอดโดยใช้วิธีปากต่อปาก 

    2. การสัมผัสทางมือ

    หากคุณสัมผัสกับไซยาไนด์ (Cyanide)​ ให้คุณรีบถอดเสื้อผ้าออกให้เร็วที่สุด และพยายามอย่าให้เสื้อที่เปื้อนโดนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หลังจากนั้นให้รีบอาบน้ำหรือล้างออกด้วยน้ำสบู่ 

    3. การสัมผัสทางดวงตา 

    หากไซยาไนด์เข้าตา ให้รีบนำน้ำสะอาดล้างตานาน 10-15 นาที แต่ถ้าหากใครใส่คอนแทคเลนส์ให้รีบถอดออกทันที ไม่เช่นนั้นแล้วอาจทำให้ประสาทตาถูกทำลาย และทำให้ตาบอดในเวลาถัดมาได้ 

    4. การรับประทาน 

    หากคุณเผลอรับประทานไซยาไนด์โดยไม่ได้ตั้งใจ ให้คุณรีบล้างปากทันทีด้วยน้ำสะอาด และรีบมาโรงพยาบาลทันทีเพื่อทำการล้างท้อง แต่ไม่ควรกระตุ้นให้เกิดการอาเจียนเช่นการกินไข่ขาว 

    ดังนั้น หากคุณสัมผัสกับไซยาไนด์ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ขอให้คุณมีสติและรีบปฐมพยาบาลตามวิธีที่กล่าวมาข้างต้นนี้ และรีบไปโรงพยาบาลทันที 

    วิธีหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารไซยาไนด์ (Cyanide)

    ไซยาไนด์ อันตรายไหม

    บางครั้งเราอาจรับประทาน สูดดม หรือสัมผัสกับสารพิษโดยไม่รู้ตัว แต่ก็ยังมีวิธีหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารพิษชนิดนี้ได้เช่นกัน

    1. งดสูบบุหรี่ 
    2. สวมใส่ชุดป้องกันหรือใช้ภาชนะรองรับสารเคมี หากต้องอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้รับอันตรายน้อยที่สุด 
    3. หากเป็นผู้ทำงานอยู่ในโรงงาน และสารพิษ Cyanide เปื้อนเสื้อ ไม่ควรนำชุดกลับบ้านหรือนำออกจากที่ทำงาน 
    4. ติดตั้งเครื่องจำดักควัน เพราะบางครั้งไซยาไนด์อาจมาในรูปแบบของควัน 
    5. หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น เกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับยาฆ่าแมลง ช่างทอง ช่างเหล็ก และอื่น ๆ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำ

    เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสารพิษไซยาไนด์ หากคุณเผลอสูดดม หรือรับประทานเข้าไป หรืออาจรวมไปถึงสารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดที่อาจทำให้เกิดผลร้ายแก่ร่างกาย น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณทำประกันสุขภาพติดตัวเอาไว้สักฉบับผ่าน แรบบิท แคร์ เพราะหากคุณทานสารพิษเข้าไปอาจต้องล้างท้อง ซึ่งคุณสามารถเบิกประกันได้หากมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น มากไปกว่านั้น เรายังมีสิทธิพิเศษมากมาย เช่น บริการปรึกษาแพทย์ผ่าฃนวิดีโอคอล หรือบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน หากสนใจทำประกันกับเราโทรเลย 1438 

    กฏหมายดังเกาะกระแส


    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024