ไขข้อข้องใจ ถ่ายรูปแบบไหน ไม่ผิดกฎหมาย PDPA
ผ่านมาหลายเดือนแล้ว สำหรับการบังคับใช้กฎหมาย PDPA อย่างเป็นทางการ แต่หลายคนก็อาจจะยังมีข้อสงสัย หรือความเข้าใจเกี่ยวกับตัวกฎหมายฉบับนี้คลาดเคลื่อนไปบ้าง วันนี้ แรบบิท แคร์ จะมาพาคุณไปรู้จักกันให้มากยิ่งขึ้นว่า PDPA คืออะไร? ผู้บริโภคแบบเราได้ประโยชน์จริงหรือ? ถ้าถ่ายรูปติดภาพคนอื่น ถ่ายแบบไหนถึงไม่ผิดกฎหมาย ถูกฟ้องกัน? ไปดูกันเลยดีกว่า
ทวนความรู้กันอีกสักหน กฎหมาย PDPA คืออะไร ?
กฎหมาย PDPA ( Personal Data Protection ActB.E. 2019) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและรักษาสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลละเอียดอ่อนต่าง ๆ โดยข้อมูลที่ถูกจัดว่าเป็นข้อมูลละเอียดอ่อน หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลนั่น เช่น
- ชื่อ-นามสกุล
- วัน/เดือน/ปีเกิด
- การศึกษา
- เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขพาสปอร์ต
- ฐานะทางการเงิน เช่น เงินเดือน, บัญชีธนาคาร
- ข้อมูลด้านสุขภาพต่าง ๆ
- เบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว
- ประวัติการเข้าเว็บไซต์ และการใช้คุ้กกี้ของเว็บไซต์ต่าง ๆ
- ข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถระบุตัวตนของคุณได้ เช่น ภาพถ่าย, ภาพวีดิโอ, ภาพแคปหน้าจอแอคเค้าท์ต่าง ๆ ที่สามารถระบุได้ว่าเป็นตัวคุณ
- ข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมทางเพศ, รสนิยมทางเพศ, ศาสนา, ประวัติอาชญากรรม, เลขทะเบียนรถ
และในกรณีที่ข้อมูลดั่งกล่าวมีการนำไปเผยแพร่โดยที่ไม่ได้ให้ความยินยอม เจ้าของข้อมูลสามารถฟ้องร้องผู้เผยแพร่ข้อมูลได้!
ซึ่ง พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล ได้ประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการสร้างตระหนักถึงสิทธิ์ และมาตรฐานใหม่ในการเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ
หากมีการเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้ยินยอม ผู้เผยแพร่อาจมีโทษทั้งทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครอง เป็นการเพิ่มความตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลที่ชัดเจนมากขึ้น
แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่โดยพื้นฐานแล้ว กฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้การใช้งานบนโลกอินเตอร์เน็ตของคุณปลอดภัย เพิ่มสิทธิ์ทางเลือกในการยินยอมได้ เพราะทุกเว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะต้องชี้แจงเสมอว่าข้อมูลต่าง ๆ ของคุณจะถูกนำไปใช้อะไร? มีการนำข้อมูลอะไรไปเผยแพร่?
เช่น เว็บไซต์ A ต้องการนำข้อมูลของคุณไปทำการตลาด หรือนำไปวิเคราะห์ฐานข้อมูลอื่น ๆ หากเป็นก่อนหน้าที่กฎหมาย PDPA ยังไม่ถูกนำมาใช้งาน เว็บไซต์ A อาจจะไม่ได้ชี้แจ้งไว้
แต่เมื่อมีกฎหมาย PDPA เข้ามา ทำให้ เว็บไซต์ A ต้องชี้แจ้งเรื่องการนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้งาน และคุณมีสิทธิ์ยินยอมหรือไม่ก็ได้ ซึ่งถ้าเว็บไซต์ A นำไปใช้งานโดยที่ไม่แจ้ง หรือนำไม่ใช้งานโดยที่คุณยังไม่ได้ยินยอมจะถือว่าผิดกฎหมาย
แต่ก็มีกรณียกเว้นของกฎหมาย PDPA ที่ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมเช่นกัน
โดยจะมีข้อยกเว้นหลัก ๆ 6 กรณี ที่สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หรือเผยแพร่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลทุกครั้ง ดังนี้
- เป็นการทำตามสัญญากับเจ้าของข้อมูล เช่น สัญญาซื้อขายบน E-commerce ที่ส่งข้อมูลที่อยู่ของผู้ซื้อให้กับร้านค้าเพื่อจัดส่งสินค้า เป็นต้น
- กฎหมายให้อำนาจในการใช้ข้อมูล เช่น ธนาคารขอสำเนาบัตรประชาชนเพื่อพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้บริการ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น
- ใช้ข้อมูลเพื่อรักษาชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ เช่น แพทย์ขอใช้ประวัติการรักษาของเจ้าของข้อมูลจากโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาเจ้าของข้อมูลซึ่งเป็นผู้ป่วย เป็นต้น
- การค้นคว้าวิจัยทางสถิติ เช่น วิจัย, เอกสารประวัติศาสตร์, จดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะชน หรือใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีตามกฎหมายอาญา เป็นต้น
- เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น การบันทึกภาพกล้องวงจรปิดในสถานที่สาธารณะ, หรือ ติดกล้องวงจรปิดในลิฟต์ส่วนรวมของคอนโด ทำให้ถ่ายเเห็นภาพลูกบ้าน เป็นต้น
ทั้งนี้ หลักการข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ พิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลคนตาย ข้อมูลนิติบุคคล จะถือเป็นข้อยกเว้น และไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล และเข้าข่ายตามกฎหมาย PDPA
ถ่ายภาพติดคนอื่นเกี่ยวอะไรกับกฎหมาย PDPA กัน?
อย่างที่ได้ทำความเข้าใจกันไปข้างต้นแล้วว่ากฎหมาย PDPA คืออะไร? สรุปคือกฎหมายที่สร้างมาเพื่อให้ผู้คนได้ระหนักถึงสิทธิ์ และข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งนอกเหนือจากการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวแล้ว เรื่องภาพถ่าย ภาพวีดิโอ ที่มีใบหน้าผู้อื่นเอง ก็ถูกนับว่าเป็นข้อมูลละเอียดอ่อน ข้อมูลที่ระบุบ่งชี้ตัวตนได้ นี่เองที่ทำให้ PDPA ได้มีกฎที่ครอบคลุมคุ้มครองเรื่องห้ามถ่ายภาพผู้อื่นออกมาด้วย
เบื้องต้นแล้ว การถ่ายภาพบุคคลอื่น ๆ ทางกฎหมาย PDPA สามารถแบ่งเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้
- การถ่ายภาพเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
การถ่ายภาพเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เช่น อัปโหลดรูปภาพลงบนโซเชียลมีเดียที่ผู้ถ่ายภาพไม่ได้มีจุดประสงค์แสดงหาผลกำไร ไม่มีการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ แบบนี้จะได้รับการยกเว้น แต่หากเป็นภาพที่สร้างความเดือดร้อนหรือมีเจตนาสร้างความเดือนร้อนอาจฟ้องละเมิดได้
เช่น คุณแคร์ตื่นเช้าไปถ่ายภาพวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่สวนสาธารณะ ระหว่างที่ถ่ายรูป อาจมีภาพพระที่ออกมาบิณฑบาตร หรือ ผู้คนที่มาออกกำลังกาย หลังจากถ่ายเสร็จ คุณแคร์ได้นำภาพที่ถ่ายได้มาอัปโหลดลงเฟซบุ๊ก แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์
แต่เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หรือตามมารยาทตามหลักสากล คุณแคร์อาจจะแต่งภาพ โดยการเบลอหน้า หรือนำสติ๊กเกอร์ อีโมจิคอน อื่น ๆ มาแปะภาพก่อนโพสต์รูปลงก็ได้
หรือ คุณแคร์ได้ทำการติดกล้องหน้ารถ เพื่อเป็นส่วนลดในการทำประกันรถยนต์ โดยบางครั้งอาจถ่ายติดอุบัติเหตุของผู้อื่น หรือถ่ายภาพติดคู่กรณี ก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิแต่อย่างใด โดยระวังไม่โพสต์ลงช่องทางออนไลน์โดยไม่ขออนุญาต เนื่องจากผู้ที่อยู่ในภาพอาจจะเสียหาย อับอายได้
- การถ่ายภาพเพื่อการสร้างรายได้
คือ การถ่ายภาพเพื่อสร้างรายได้ สร้างผลกำไร ให้กับตนเอง หรือองค์กร เช่น การจ้างถ่ายรูปงานรับปริญญา งานแต่ง, การทำคอนเทนส์เป็นยูทูปเบอร์ หรือทำคอนเท้นท์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถ่ายในนามของบุคคล หรือในนามองค์กร จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนนำไปใช้ ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายกฎหมาย PDPA
เช่น คุณซีเป็นยูทูปเบอร์ที่กำลังอัดคลิปท่องเที่ยวลงช่องของตัวเอง และภายในช่องจะมีการโฆษณา มีสปอนเซอร์ หากในคลิปฯ มีภาพผู้อื่นติดมาอย่างชัดเจน มีการพูดคุยกับบุคคลดั่งกล่าว และนำมาลงคลิปโดยไม่ได้ทำการขออนุญาต ไม่มีการเบลอหน้าเพื่อป้องกันการระบุตัวตน คุณซีอาจถูกฟ้องได้
แต่ถ้ามีภาพบุคคลอื่น ๆ ปรากฏตัวไม่กี่วินาที ภาพบุคคลไม่ได้เด่นชัดเจนเป็นสาระสำคัญหลัก และไม่ได้มีผลกระทบต่อบุคคลในภาพ แม้จะนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ก็จะไม่เข้าข่ายการละเมิด PDPA
เช่น คุณซีกำลังถ่ายคลิปเชิงพาณิชย์ และมีคนเดินผ่านกล้องเพียง 1-2 วินาที ก็ไม่ถือว่าผิด แต่ตามหลักมารยาท คุณซีอาจเลือกเบลอหน้าเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และเพิ่มความสบายใจให้กับผู้อื่นได้
- การถ่ายภาพเพื่องานสื่อมวลชนหรืองานนิทรรศการ
คือ การถ่ายภาพเพื่องานสื่อมวลชนหรืองานนิทรรษการ เช่น ภาพสำหรับข่าว ภาพงานศิลปะ กิจการสื่อสารมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรม จะถูกนับเป็นข้อยกเว้น แต่จะมีเงื่อนไขว่า ผู้ถ่ายจะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำการถ่ายภาพซึ่งต้องทำตามจริยธรรรมการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
เช่น คุณต่ายเป็นนักข่าวที่ไปถ่ายรูปภาพแถลงการเปิดตัวคอนโดฯแห่งใหม่ โดยในภาพมีการถ่ายติดทั้งพรีเซนเตอร์ บุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในโครงการ รวมไปถึงแขกผู้มาร่วมงานเปิดตัว
หรือ สำนักงานข่าว A นำภาพมาเผยแพร่ทำข่าว โดยภาพ หรือคลิปดั่งกล่าวมีผู้อื่นอยู่ด้วย และการนำภาพเเหล่านั้นมาต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมของการเป็นสื่อทุกครั้ง
- การถ่ายภาพโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
หากเป็นการถ่ายภาพเพื่อพยายามหาหลักฐานในการสืบสวน ก็นับเป็นข้อยกเว้นกฎหมาย PDPA เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่า ให้ทำตามข้อกำหนดและขอบเขตของกฎหมายที่กำหนดเท่านั้น
เช่น นายตำรวจใส่ใจทำการถ่ายภาพคนร้ายปล้นร้านทองที่กำลังขับรถหลบหนี โดยอาจถ่ายเห็นทั้งภาพคนร้าย ป้ายทะเบียนรถ แบบนี้สามารถ่ายได้
แต่ถ้านายตำรวจใส่ใจ อ้างสิทธิ์การเป็นเจ้าหน้าที่รัฐในการถ่ายรูปคุณห่วงใยระหว่างที่ออกมาเดินเล่นแถวบ้าน โดยไม่มีเหตุในการสืบสวนใด ๆ แบบนี้จะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และกฎหมาย PDPA ได้
เห็นได้ว่า ภาพบุคคลอื่น ทั้งภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว ก็ถูกนับเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมาย PDPA ให้ความคุ้มครอง นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความตระหนักรู้ถึงสิทธิของผู้อื่นที่เราควรเคารพ และเพิ่มความเป็นมืออาชีพมากขึ้นในแง่การใช้งานเพื่อการค้า
นอกจากนี้ การเบลอหน้า ไม่ใช่กฎหมาย ข้อบังคับ ที่มีระบุไว้ในกฎหมาย PDPA แต่เป็นมารยาท และเพิ่มความสบายใจให้กับผู้ถูกถ่ายมากกว่า และช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ ได้ในอนาคตอีกด้วย เช่น ระวังการนำไปใช้เพื่อการค้าภายหลัง และระวังไม่ให้ภาพถูกนำไปใช้สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
แล้วแบบไหนบ้าง ที่ถ่ายภาพแล้วจะไม่ผิดกฎหมาย PDPA
หลัก ๆ แล้ว การถ่ายภาพติดผู้อื่นนั่น หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นจริง จะมีการพิจารณาจากเจตนาของผู้เผยแพร่เป็นหลักก่อนว่าเจตนามากน้อยแค่ไหน มีเรื่องผลกำไรเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาลหรือเหล่าทนาย นักกฎหมายต่าง ๆ จะต้องพิจารณาไปตามรายบุคคล
แต่พื้นฐานแล้ว ถ้าต้องถ่ายภาพ ถ่ายวีดิโอ ถ่ายยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย PDPA สามารถได้ได้ ดั่งนี้
- การถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปติดภาพคนอื่นโดยไม่ได้เจตนา แม้เจ้าตัวยังไม่ได้ให้ความยินยอม หากการถ่ายรูปถ่ายรูปหรือคลิป มีการเผยแพร่ แต่ไม่ได้เอาไปใช้แสวงหากำไรทางการค้า และไม่ได้สร้างความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้
- ติดกล้องวงจร ติดกล้องหน้ารถ แล้วถ่ายติดบุคคลอื่น สามารถทำได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน เพราะเป็นการทำไปเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน รวมถึงเจ้าของรถด้วย
- มีการจัดงานหรือกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก และทางผู้จัดงานต้องมีเอกสาร หรือข้อความเกี่ยวกับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (privacy policy หรือ privacy notice) แจ้งผู้ร่วมงานว่าในงานมีการถ่ายรูป หรือบันทึกภาพ
- ถ่ายภาพเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง เช่น ถ่ายเพื่อร้องทุกข์, ถ่ายเพื่อเป็นหลักฐานต่าง ๆ
หลัก ๆ สำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว จะเห็นได้ว่าหากถ่ายภาพติดผู้อื่น ถ้าไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี ไม่ได้มีเจตนาสร้างรายได้ ก็ถือว่าไม่เข้าข่ายการละเมิด เพราะกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ว่า ห้ามถ่ายรูปติดคน,ห้ามถ่ายวีดีโอติดคน แต่ต้องระมัดระวังในการส่งต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้อยู่ในภาพจะถูกระบุตัวตนจนได้รับความเสียหาย
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด การไม่โพสต์ลงบนสื่อออนไลน์ จึงเป็นทางเลือกปลอดภัยที่สุด และควรขออนุญาตจนได้รับคำยินยอมก่อนเสมอ เพราะจะช่วยลดการถูกดำเนินคดีลงได้ และสำหรับในกรณีที่ต้องการร้องทุกข์ ร้องเรียนจริง ๆ แนะนำให้นำภาพบันทึกเหล่านั้นส่งต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐ หรือส่งต่อหาสื่อมวลชนแทนก็ได้เช่นกัน
รู้แบบนี้แล้ว ก็ไม่ต้องกลัวการถ่ายภาพว่าจะผิดกฎหมาย PDPA อีกต่อไป!
นอกจากกฎหมาย PDPA จะช่วยให้เราเข้าใจถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นมากขึ้นแล้ว เรายังรู้เท่าทันได้ว่า ภาพของเราแบบไหนที่ผิดกฎหมาย และสามารถฟ้องร้องได้ หากอีกฝ่ายทำให้เราเกิดความเสียหาย และเพื่อช่วยให้คุณอุ่นใจมากขึ้น ต้องนี่เลย! ประกันภัยไซเบอร์ กับ แรบบิท แคร์!
ประกันภัยไซเบอร์นั้น นอกจากจะช่วยคุ้มครองคุณในเรื่องของการถูกโกงออนไลน์ บัตรเครดิตคู่ใจถูกแฮครูดจ่าย ยังช่วยในเรื่องการฟ้องร้อง ถูกกลั่นแกล้ง เมื่อมีคนนำภาพของคุณไปล้อเลียนให้เกิดความอับอาย ด้วยราคาเบา ๆ เหมาะกับทุกคน คลิกเลย!
กฏหมายดัง เกาะกระแส
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct