แคร์ไลฟ์สไตล์

Lucid dream ฝันที่ควบคุมได้ คืออะไร ? อธิบายตามหลักศาสนา และวิทยาศาสตร์ และข้อดี ข้อเสียต่าง ๆ 

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
 
 
Published: June 20,2023

จะดีขนาดไหน!? หากเราสามารถอยู่ในความฝัน โลกแฟนตาซียามนิทรา โบยบินไปบนอวกาศ หรือวิ่งเล่นในทุ่งหญ้าสวยสดสุดลูกหูลูกตา การสามารถควบคุมความฝัน อาจฟังดูเพ้อฝันสุด ๆ แต่แท้จริงมันคือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Lucid Dream หรือการนอนหลับทั้งที่ยังมีการตระหนักรู้ ศาสตร์เก่าแก่ที่อยู่คู่ศาสนาหลัก ทั่วโลกมายาวนานกว่า 2,000 ปี

Lucid Dream คืออะไร ? 

Lucid dream คือ ประเภทหนึ่งของความฝันหลับ ที่ตัวผู้ฝันยังคงมีความตระหนักรู้อยู่ หรืออธิบายง่าย ๆ ว่าผู้ฝันจะยังรู้สึกตัว หรือรู้ตัวว่าตนเองกำลังนอน กำลังฝันอยู่ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมของความฝัน เอกลักษณ์ต่างๆ และการกระทำของตัวเองในความฝัน

โดยทางทฤษฎี ที่มีการใช้หลักการวิทยาศาสตร์ เข้ามาศึกษาเรื่องของการ Lucid Dream เกิดขึ้นไม่นาน ประมาณ 100 กว่าปีที่แล้ว หากแต่ในทางหลักศาสนา หรือจิตวิญญาณ แนวคิดเกี่ยวกับการอยู่เหนือจิตตนเองแม้ยามหลับใหล มีมาอยู่แล้วอย่างยาวนานกว่า 2,000 ปี และมีอยู่ในหลากหลายอารยธรรม และศาสนา

Lucid Dream กับศาสนาฮินดู

ศาสนาฮินดูที่มีความเป็นมากว่า 3,500 ปี แบ่งจิตออกเป็น 3 กระแส ขณะตื่น ขณะหลับ และขณะหลับลึก โดยผิดกับความเชื่อตะวันตก ฮินดูให้ความสำคัญกับจิตขณะหลับใหลมาก ๆ เชื่อว่ายามหลับลึก เป็นเพียงช่วงเวลาเดียวเท่านั้นที่จิตจะมีอิสระ จึงเกิดศาสตร์ที่เรียกว่า ‘Yoga Nidra’ หรือ ‘โยคะนิทรา’ ที่ฝึกสมาธิระหว่างนอนหลับ ลึกล้ำขนาดมีการฝึกการเคลื่อนไหวของตาภายใต้เปลือกตา วิธีการหายใจ เพ่งสมาธิไปตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เริ่มจาก อาชญะ (Ajna) บริเวณระหว่างคิ้ว ไปตามจุดอื่น ๆ 61 จุดทั่วร่าง จนเกิดเป็นสภาวะรู้ตื่นระหว่างหลับ ซึ่งนำพาไปสู่สภาวะสมาธิ อันเป็นแหล่งกำเนิดของการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-realization)

Lucid Dream กับศาสนาพุทธ

Lucid Dream สอดคล้องกับความเชื่อของศาสนาพุทธ นิกายวัชรยาน หรือเป็นวิถีพุทธที่แตกแขนงจากอินเดีย แผ่ขยายสู่ทิเบต มุ่งเน้นการทำสมาธิระหว่างจิตหลับใหล หรือที่เรียกกันในปัจจุบัน ‘Dream Yoga’ หรือ ‘Tibetan sleep yoga’ ซึ่งต่างจากหลักฮินดู ชาวทิเบตให้ความสำคัญกับจิตตื่นมากกว่า เน้นการรู้จัก แยกแยะระหว่างจิตตื่น และจิตหลับ Dream Yoga โดยมี 4 ขั้น ได้แก่ การแยกแยะความฝันจากความจริง / ควบคุมฝัน / ตระหนักรู้ถึงความไม่มีตัวตนภายในฝัน / สุดท้ายคือระลึกถึงพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นการสวดมนต์ และทำจิตให้สูงส่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป ฉะนั้น Dream Yoga จึงเหมาะมาก ๆ กับผู้ที่ชอบฝันร้าย สามารถเปลี่ยนผันจากฝันร้ายให้กลายเป็นดี หรือปลุกตนเองจากฝันไม่พึงประสงค์

Lucid Dream กับศาสนายูดาห์ , คริสต์ และ อิสลาม

แม้แต่ศาสนาตะวันตก ก็ยังมีการพูดถึงการติดต่อพลังเบื้องบนผ่านจิตหลับใหล ซึ่งจะแตกต่างกับความเชื่อตะวันออก ที่เชื่อว่าความฝัน เป็นดั่งส่วนต่อขยายของจิตใต้สำนึกของคน แต่ความเชื่อตะวันตก จะเชื่อว่าความจิตระหว่างการนอนหลับจะสามารถเข้าถึงทวยเทพ หรือพระเจ้าได้ง่ายที่สุด ฉะนั้นการ Lucid Dream จึงสามารถเกิดขึ้นได้เพื่อใช้สื่อสารกับพระเจ้า

เช่นเดียวกับศาสนาอิสลาม ที่มุฮัมมัด (Muhammed) เริ่มเผยแพร่คำสอนของพระเจ้าอัลลอฮ์ (Allah) โดยหลากหลายคำสอน เชื่อว่าเป็นญาณที่ได้รับส่งสารมาจากพระเจ้า หรือพลังจากเบื้องบนโดยตรง ซึ่งประตูเชื่อมดังกล่าว คือการนอน หรือสภาวะหลับอย่างมีสตินั่นเอง

Lucid Dream กับปรัชญา และวิทยาศาสตร์

ในแง่วิทยาศาสตร์ ยังมีการถกเถียงสภาวะของสภาวะหลับอย่างมีสติ ว่ามันคืออะไรกันแน่ ? โดยการมอง Lucid Dream ในแง่ของวิทยาศาสตร์ครั้งแรก มีบันทึกย้อนกลับไปถึงสมัย 400BC แอริสตอเติล (Aristotle) ได้บันทึกไว้เกี่ยวกับความฝันว่า 

‘บ่อยครั้งเมื่อคนหนึ่งหลับ จะมีสิ่งที่อยู่ในความตระหนักที่บอกว่าสิ่งที่ปรากฏตนในขณะนั้นเป็นแค่ความฝัน’

แต่งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ Lucid Dream ครั้งแรกเกิดขึ้นจริง ๆ ราวปี 1970 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยนี้คือข้อสรุปต่าง ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์สามารถทำความเข้าใจสภาวะดังกล่าวนี้

  • Lucid Dream เกิดขึ้นในช่วงการนอนหลับ REM (Rapid Eye Movement) ซึ่งเป็นระยะที่ 4 ของการนอน เลยผ่านช่วงที่มนุษย์หลับลึกที่สุด หรือ N-REM (Non-rapid Eye Movement) โดยช่วง REM ดวงตาเราจะเริ่มขยับเคลื่อนไปมาใต้เปลือกตา ช่วงที่ฝัน เป็นช่วงต่อระหว่างหลับลึก กับกึ่งหลับกึ่งตื่น
  • วิเคราะห์สมองของผู้ที่สามารถ Lucid Dream มีสมองส่วนหน้าสุด (Prefrontal Cortex) ที่ใหญ่กว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นสมองที่ควบคุม การคิดในเชิงนามธรรม คิดเชื่อมโยง การวางแผน ความยับยั้งชั่งใจ การอยู่ร่วมกันในสังคม
  • นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบคลื่นสมองของ Swami Rama กูรูโยคะนิทราชื่อดังของอินเดีย ในขณะที่คลื่นสมอง EGG ทำงานอยู่ 40% ซึ่งเป็นสภาวะของการหลับลึก แต่เขาสามารถทวนประโยคที่นักวิทยาศาสตร์พูดกับเขาภายใต้สภาวะ Lucid Dream กลับมาได้อย่างถูกต้องถึง 9 จาก 10 ประโยค

ประโยชน์ของ Lucid Dream

  • ลดความวิตกกังวล : การฝึกการ Lucid Dream มีความเกี่ยวโยงกับเรื่องสติ และสมาธิ ทำให้เท่าทันความรู้สึกนึกคิด มีพลัง และสามารถควบคุมแง่มุมต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างไร้ข้อกังขามากขึ้น ใครที่เกิดความเครียดจนเก็บไปฝัน ก็จะสามารถควบคุมไม่ให้ยิ่งเกิดความเครียดจากการนอน
  • พัฒนาการควบคุมอารมณ์ : ช่วงเวลาขณะที่หลับ ถือว่าเป็นอะไรที่ควบคุมยากที่สุด ฉะนั้นการที่เราสามารถมีสติ Lucid Dream ได้แม้ในยามฝัน เราก็จะสามารถควบคุมจิตใจได้แม้ยามโกรธ หรือเสียใจจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้
  • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า : งานวิจัยกล่าวว่าผู้ที่หลับแล้วรู้ตื่น จะมีสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ที่ใหญ่กว่า ซึ่งเป็นสมองที่ช่วยในการตัดสินใจ คิดเร็ว จึงอาจมีความเกี่ยวโยงระหว่างการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  • เสริมสร้างจินตนาการ : บ่อยครั้งที่ไอเดียดี ๆ ในงานสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด วรรณกรรม ดนตรี ก็อาจมีต้นตอมาจากห้วงแห่งความฝัน ยิ่งเราฝึกการ Lucid Dream จะยิ่งทำให้เราได้อิสระในการฝันที่มากขึ้น

ความเสี่ยงเกี่ยวกับ Lucid Dream

อย่างไรก็ตาม การ Lucid Dream อาจไม่เหมาะกับหลาย ๆ คน เช่นกลุ่มผู้มีจิตเปราะบาง มีความผิดปกติของคลื่นสมอง มีอาการเห็นภาพหลอน (Schizophrenia) หรือหลงผิด (Delusions) อาจยิ่งทำให้ยากที่จะแยกแยะโลกแห่งความจริง และโลกแห่งความฝัน หรือสำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องการนอน ที่ควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับลึก นอนให้เต็มอิ่ม ยิ่งฝันให้น้อยยิ่งดี มุ่งเน้นการนอนระดับ N-REM (Non-rapid Eye Movement) ไม่ใช่ REM (Rapid Eye Movement) 

วิธีการ Lucid Dream

อาจไม่ได้มีวิธีอะไรที่ยืนยันได้ 100% ว่าสามารถทำให้เกิดการ Lucid Dream ได้ เพราะการนอนและการฝันของแต่ละคนล้วนแตกต่างกัน บางคนสามารถ Lucid Dream ได้โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย ตั้งแต่เด็ก แต่สำหรับหลาย ๆ คน จะต้องฝึกสมาธิ ฝึกการตามจิตตนเองอย่างเข้มงวด แต่กระนั้นก็มีวิธีที่อาจจะช่วยเสริมให้การ Lucid Dream สามารถเกิดขึ้นได้สำหรับใครที่อยากสัมผัสการรู้ตื่นขณะฝันซักครั้ง

  • นั่งสมาธิก่อนนอนซักประมาณ 20-30 นาที ก่อนนอน เพ่งจิตไปที่การหายใจ มีสติทุกลมหายใจ
  • ลองจดบันทึกความฝัน เพื่อจดจำรายละเอียดความฝันในแต่ละครั้งของเรา
  • ใช้เสียงเพลงมาขับกล่อมขณะหลับ โดยคลื่นความถี่ของเสียงเพลง มีส่วนในการทำให้คลื่นสมองเปลี่ยนไปได้ โดยเป็นเพลง เป็นจังหวะดนตรีที่เรียกว่า ‘binaural beats’ ความถี่ 4 – 8 Hz โดยควบคุมการหายใจให้สอคคล้องกับความถี่   

ศาสตร์แห่งการ Lucid Dream นับเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่น่าสนใจ ผสมผสานเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ และความเชื่อ ที่ไม่ว่าจะผ่านมาหลายร้อยหลายพันปีก็ยังหาคำตอบไม่ได้แน่ชัด เพราะเส้นทางการพัฒนาจิตวิญญาณเป็นเส้นทางที่มักต้องเดินไปผู้เดียว แต่กล่าวถึงจิตใจภายใน อย่าลืมใส่ใจสุขภาพกาย สุขภาพโดยรวมของเรา ! แรบบิท แคร์ แนะนำ ประกันสุขภาพ จากบริษัทประกันชั้นนำ คุ้มครองครบ ซื้อง่าย คลิกเลย !

คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

  

 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

แคร์ไลฟ์สไตล์

ดอกลีลาวดี คืออะไร เป็นดอกไม้ชนิดเดียวกับดอกลั่นทมหรือไม่ ? ความเชื่อเกี่ยวกับดอกลีลาวดี

เมื่อพูดถึงดอกลีลาวดีแน่นอนว่าทุกคนก็จะนึกถึงดอกไม้ที่มีสีขาวแต้มสีเหลืองบริเวณกลางดอกและส่งกลิ่นหอมหวานเบาสบาย
Nok Srihong
08/05/2024

แคร์ไลฟ์สไตล์

อาหารเกาหลี Soft Power ที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ แนะนำเมนูที่หลายคนถูกใจและได้รับความนิยม

เมื่อพูดถึงอาหารสัญชาติต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยแล้ว แน่นอนว่าอาหารเกาหลีจะต้องเป็นหนึ่งในลิสต์ที่หลายคนนึกขึ้นมาได้
คะน้าใบเขียว
02/05/2024

แคร์ไลฟ์สไตล์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘ช็อกโกแลต’ ทำมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร และมีข้อควรระวังในการรับประทานอย่างไรบ้าง ?

ช็อกโกแลต ขนมชนิดโปรดในดวงใจของหลาย ๆ คนที่ช่วยสร้างความสุขให้ทุกครั้งเมื่อรับประทานนั้น ความจริงแล้วทำมาจากอะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
Nok Srihong
24/04/2024