แคร์ไลฟ์สไตล์

จัดโต๊ะหมู่บูชาให้ปัง! พร้อมวิธีจัดลำดับพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนหิ้งพระ

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: January 26,2023
  
Last edited: January 29, 2023
จัดหิ้งพระอย่างไรให้ถูกต้อง

การจัดหิ้งพระหรือจัดโต๊ะหมู่บูชาในบ้าน หรือหิ้งพระในคอนโดสามารถทำได้ด้วยตัวเอง แต่การจัดหิ้งพระให้ถูกต้องตามคติความเชื่อของแต่ละศาสนา หรือตามประเภทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องศึกษาและให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยส่งเสริมเรื่องการขอพร และความเป็นสิริมงคลให้กับผู้อยู่อาศัยตามความเชื่อแล้ว ยังช่วยเรื่องความสวยงามสบายตา และความสะดวกในการดูแลรักษาความสะอาดได้อีกด้วย

แรบบิท แคร์ รวบรวมวิธีจัดโต๊ะหมู่บูชาสำหรับหิ้งพระในบ้าน หรือหิ้งพระในคอนโด  เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเรียงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามลำดับให้เหมาะสม ทิศทางที่เหมาะสมในการจัดหิ้งพระ รวมถึงข้อควรระวังในการจัดโต๊ะหมู่บูชาด้วยตัวเองมาฝากกัน

ลำดับการเรียงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนหิ้งพระ

การเรียงลำดับพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนหิ้งพระหรือโต๊ะหมู่บูชาให้ถูกต้องตามความเชื่อของคนไทย ต้องเริ่มเรียงจากองค์พระประธาน (พระพุทธรูป) ในตำแหน่งสูงสุดเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ บนหิ้งพระ จากนั้นไล่ลำดับรูปปั้น รูปเคารพบูชาของพระเกจิอาจารย์ พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ไทย องค์เทพไทย องค์เทพจีน องค์เทพฮินดู และอื่น ๆ ในลำดับที่ลดหลั่นกันไปตามความเหมาะสม และตามความเชื่อส่วนบุคคล

นอกจากการจัดลำดับสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนโต๊ะหมู่บูชาแยกตามคติความเชื่อ จะช่วยส่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่เจ้าบ้านและผู้อยู่อาศัยแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้หิ้งพระประจำบ้านมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา และง่ายต่อการดูแลรักษาด้วยเช่นกัน มีลำดับในการจัดเรียงหิ้งพระให้ถูกต้องดังต่อไปนี้

พระพุทธรูป

องค์พระพุทธรูป คือ องค์พระประธานของหิ้งพระประจำบ้านที่อัญเชิญจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุดเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ  บนหิ้งพระทั้งปวง เนื่องจากพระพุทธรูปนับเป็นรูปเคารพของพระพุทธเจ้า ตัวอย่างพระพุทธรูปที่นิยมอัญเชิญขึ้นหิ้งพระเป็นองค์พระประธาน ได้แก่ พระแก้วมรกต, พระพุทธชินราช, พระพุทธโสธร, หรือพระพุทธชินสีห์ 

พระอรหันต์

องค์พระอรหันต์ หรือองค์พระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าในยุคพุทธกาล ควรอัญเชิญจัดวางบนหิ้งพระในตำแหน่งรองลงมาจากองค์พระประธาน 1 ขั้น ตัวอย่างองค์พระอรหันต์ที่นิยมบูชา ได้แก่ พระโมคคัลลานะ, พระสารีบุตร, พระสังกัจจายน์, พระอุปคุต หรือพระสีวลี

พระอริยสงฆ์

รูปเหมือนสมมติสงฆ์ขององค์พระอริยสงฆ์หรือพระเกจิอาจารย์ ควรจัดวางในตำแหน่งรองลงมาจากองค์พระอรหันต์ และเรียงลำดับตามสมณะศักดิ์ หรือลำดับตามความอาวุโส โดยเริ่มวางบริเวณฝั่งซ้ายขององค์พระประธานก่อน สามารถจัดวางได้ทั้งองค์รูปเหมือน รูปภาพ หรือเหรียญ ตัวอย่างเช่น หลวงปู่ทวด, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงตามหาบัว, หลวงพ่อคูณ หรือหลวงปู่ต่าง ๆ ตามความศรัทธาส่วนบบุคคล

พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ไทย

พระบรมรูปปั้นจำลอง พระบรมฉายาลักษณ์ (รูปถ่ายพระมหากษัตริย์) หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ (รูปวาดพระมหากษัตริย์) ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยในทุกยุคทุกสมัย ควรจัดวางในตำแหน่งรองลงมาจากพระอริยสงฆ์ ตัวอย่างเช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จเจ้าตากสินมหาราช,  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) หรือพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)

วีรบุรุษหรือวีรสตรี

รูปหล่อบูชา หรือรูปปั้นวีรบุรุษ วีรสตรี หรือผู้มีคุณูปการต่อประเทศชาติ ตัวอย่างเช่น พันท้ายนรสิงห์, พระยาพิชัยดาบหัก, ท้าวสุรนารี (ย่าโม), สมเด็จพระศรีสุริโยทัย, ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี (สมเด็จย่า) หรือกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ควรจัดวางในตำแหน่งรองลงมาจากพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ไทย

องค์เทพ

องค์เทพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น องค์เทพไทย (ท้าวเวสสุวรรณ หรือฤาษี) องค์เทพฮินดู (พระศิวะ เจ้าแม่อุมา เจ้าแม่กาลี หรือพระพิฆเนศ) หรือองค์เทพจีน (พระโพธิสัตว์กวนอิม, ฮก ลก ซิ่ว หรือโป๊ยเซียน) ควรจัดวางบูชาแยกโต๊ะจากหิ้งพระพุทธรูป หากไม่สามารถแยกโต๊ะบูชาได้ สามารถจัดวางในตำแหน่งที่สูงกว่าหรือเท่ากับพระเกจิอาจารย์

เครื่องรางของขลัง 

สิ่งปลุกเสกอื่น ๆ  ตามความเชื่อส่วนบุคคล เช่น กุมารทอง นางกวัก หรือควายธนู ไม่ควรจัดวางรวมไว้บนโต๊ะหมู่บูชาเดียวกับโต๊ะหมู่บูชาหลักประจำบ้าน หากไม่สามารถแยกหิ้งบูชาได้ ควรวางไว้บริเวณด้านล่าสุดของโต๊ะหมู่บูชาโดยจัดวางในพานบูชาให้เรียบร้อย

พระกับเทพไว้ที่เดียวกันได้ไหม

ฤกษ์ตั้งหิ้งพระ

สามารถใช้ฤกษ์ตั้งหิ้งพระหรือโต๊ะหมู่บูชาเดียวกันกับฤกษ์มงคลประจำเดือนนั้น ๆ หรือฤกษ์มงคลที่สมพงศ์กับดวงของเจ้าของบ้านได้ โดยอาจขอให้พระหรือผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์เป็นผู้ออกฤกษ์ให้ อย่างไรก็ตาม หลายคนมักเลือกอัญเชิญพระขึ้นหิ้ง หรือย้ายหิ้งพระตามฤกษ์สะดวก หรือวันเวลาที่ตนเองสะดวกในการจัดโต๊ะหมู่บูชาได้เช่นกัน ตัวอย่างฤกษ์มงคลประจำเดือนที่สามารถเลือกใช้ในการตั้งหิ้งพระ หรือเคลื่อนย้ายโต๊ะหมู่บูชา เช่น

อำมฤตโชค

วันอำมฤตโชค หมายถึง วันมหามงคลแห่งความสำเร็จยิ่งใหญ่ ใช้ได้สำหรับงานมงคลทุกประเภท ทั้งที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่ สามารถใช้ได้ทั้งวันข้างขึ้นและข้างแรม แต่นิยมใช้วันข้างแรมมากกว่าวันข้างขึ้นมากกว่า

สิทธิโชค

วันสิทธิโชค หรือวันแห่งความโชคดี เน้นให้พุทธคุณด้านโชคลาภ ใช้ได้กับงานมงคลทั่วไป สามารถเลือกใช้ได้ทั้งวันข้างขึ้นและข้างแรม แต่มักเลือกใช้วันข้างแรมมากกว่า

มหาสิทธิโชค

วันมหาสิทธิโชค เป็นอีกหนึ่งวันที่ให้พุทธคุณด้านความสำเร็จเช่นกัน เหมาะสำหรับพิธีการงานมงคลทุกรูปแบบ โดยเฉพาะงานมงคลสำคัญ โดยมักใช้วันข้างขึ้นมากกว่า แต่สามารถใช้ได้ทั้งวันข้างขึ้นและวันข้างแรม

ชัยโชค

วันชัยโชค เชื่อว่าให้พุทธคุณมีชัยชนะเหนืออุปสรรคทั้งปวง เหมาะสำหรับจัดงานแข่งขันกีฬา สอบแข่งขัน หรืองานมงคลทั่วไป สามารถเลือกใช้ได้ทั้งวันข้างขึ้นและวันข้างแรม

ราชาโชค

วันราชาโชค เหมาะสำหรับพิธีการที่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ เลือกใช้ได้ทั้งวันข้างขึ้นและวันข้างแรมเช่นกัน

หิ้งพระ ควรหันหน้าไปทางทิศใด

ทิศตั้งหิ้งพระ

ทิศมงคลที่ควรจัดวางหิ้งพระตามความเชื่อเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และโชคลาภแก่เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่หลายคนเชื่อว่าไม่ควรหันหน้าหิ้งพระไปยังทิศตะวันตก เนื่องจากจะทำให้ชีวิตตกต่ำตามชื่อของทิศนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ทิศในการตั้งโต๊ะหมู่บูชาอาจไม่สำคัญเท่ากับบริเวณหรือองค์ประกอบใกล้เคียงในการหันหน้าหิ้งให้เหมาะสม

บริเวณที่ตั้งหิ้งพระ

ควรตั้งหิ้งพระในระดับที่สูงกว่าศีรษะทั้งในขณะนั่งหรือยืน หันหน้าโต๊ะหมู่บูชาออกจากตัวบ้าน หรือหันหน้าไปทางประตู รวมถึงตั้งหิ้งในบริเวณที่สงบ ไม่พลุกพล่านจนเกินไป และมีแสงไฟส่องสว่างเพียงพอ ในขณะที่ไม่ควรหันหน้าหิ้งพระปะทะกับห้องน้ำ หรือติดหิ้งพระผนังเดียวกับห้องน้ำ รวมถึงไม่ควรตั้งหิ้งพระในมุมอับ ห้องนอน บริเวณปลายเตียงนอน เนื่องจากเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่อาจทำกริยาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัว หรือไม่ตั้งหิ้งพระเหนือประตูทางเข้าออก เนื่องจากเป็นบริเวณที่พลังงานพลุกพล่าน

การจัดหิ้งพระให้ถูกต้องตามหลักความเชื่อของแต่ละศาสตร์นั้น อาจต้องพิจารณาให้ครบทั้งขนาดพื้นที่ติดตั้ง  (เช่น ผนังห้อง หรือห้องพระ) รูปแบบหิ้งพระ (เช่น หิ้งพระติดผนัง โต๊ะหมู่บูชาสำหรับตั้งพื้น หรือโต๊ะหมู่บูชาแบบ Build-in) และงบประมาณ โดยเฉพาะกรณีต้องบูชาทั้งเทพไทย เทพจีน และเทพฮินดู ซึ่งอาจต้องตั้งโต๊ะหมู่บูชาแยก ทำให้อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อต้องตั้งหิ้งพระใหม่ หรือย้ายหิ้งพระเดิม

แรบบิท แคร์ รวมรวมบัตรเครดิต มาให้เลือกเปรียบเทียบออนไลน์ได้ครบทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะใช้ชีวิตสายไหน ทั้งเด็กจบใหม่ สายผ่อน 0% หรือสายท่องเที่ยว พร้อมรับสิทธิประโยชน์ และโปรโมชั่นแรกเข้าที่คุ้มกว่าสมัครโดยตรงกับสถาบันทางการเงิน รับโปรฯ แรกเข้าพิเศษเฉพาะคุณ เปรียบเทียบบัตรเครดิตออนไลน์ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันนี้ โทรเลย 1438 หรือ rabbitcare.com/credit-card 

เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน

บทความสายมูน่าอ่าน


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024
Rabbit Care Blog Image 89764

แคร์ไลฟ์สไตล์

แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
คะน้าใบเขียว
31/05/2024