แคร์การลงทุน

วิธีการเตรียมตัวในการสร้างธุรกิจส่วนตัว สานฝันการเป็นเจ้าของกิจการ

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published: December 26,2023

สำหรับผู้ที่กำลังสนใจอยากมีธุรกิจส่วนตัวเป็นของตนเองแต่ไม่รู้ว่าจะสามารถทำได้ไหม ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร จะต้องเริ่มศึกษาหรือเตรียมการจากขั้นตอนไหน วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลในการเริ่มต้นสร้างธุรกิจส่วนตัวมาให้ อีกทั้งยังรวมข้อดี-ข้อเสีย ของการทำธุรกิจส่วนตัวของตัวเองมาให้ทุกคนได้ตัดสินใจ ว่าพร้อมที่จะรับความเสี่ยงหรือไม่ ใครที่กำลังลังเล สับสน ไม่กล้าตัดสินใจลองตั้งใจอ่านและพิจารณากันดู

บัตรไหนคุ้ม เปรียบเทียบเลย แค่ 30 วิ เช็คเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักสุขภาพ รักการกิน รักการกิน

ธุรกิจส่วนตัว คืออะไร ?

ธุรกิจส่วนตัว (Self-employed) คือ รูปแบบการทำงานที่บุคคลทำงานด้วยตนเองและไม่ได้มีการจ้างงานจากผู้อื่น โดยที่บุคคลนี้จะเป็นเจ้าของและดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบสูงสุดต่อธุรกิจของตนเอง ธุรกิจส่วนตัวมีความเป็นอิสระทางการตัดสินใจและการวางแผนดำเนินกิจการ เจ้าของธุรกิจส่วนตัวมักต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการผลิตสินค้าหรือบริการ การจัดการทรัพยากรทั้งทางการเงินและบุคลากร และการตลาดเพื่อสร้างรายได้แก่ตนเอง ธุรกิจส่วนตัวสามารถเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับบุคคลที่ต้องการความอิสระในการทำงานและการควบคุมต่อการดำเนินชีวิตอาชีพของตนเอง

วิธีและขั้นตอนการสร้างธุรกิจส่วนตัว

การจะสร้างธุรกิจส่วนตัวของตัวเองขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ มีรายละเอียดและขั้นตอนในการเตรียมตัวมากมาย มาดูกันว่าหากต้องการทำธุรกิจส่วนตัวต้องทำอย่างไร โดยจะมีขั้นตอนดังนี้

สำรวจความชอบและความถนัดของตัวเอง

แน่นอนว่าก่อนจะเริ่มทำธุรกิจสักอย่างนั้นเราจำเป็นที่จะต้องสำรวจความชอบและความถนัดของตนเองเสียก่อน เพราะหากไม่รู้ว่าตนเองมีความถนัดหรือมีความชื่นชอบด้านไหน แล้วเลือกทำธุรกิจที่ไม่ถนัดแบบส่ง ๆ ไป รับประกันได้ว่าไปไม่รอดตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มชัวร์ ๆ 

มองหาธุรกิจที่คิดว่าเหมาะกับตนเอง

หลังจากที่รู้แน่ชัดแล้วว่าตนเองมีความถนัดเฉพาะด้านหรือมีความชอบความสนใจเกี่ยวกับอะไร ก็มาสู่ขั้นตอนของการมองหาธุรกิจที่คิดว่าเหมาะกับตนเองแบบเฉพาะเจาะจง โดยอิงจากความถนัดและความชอบของตนเองมาปรับใช้ ก็จะทำให้สามารถสโคปประเภทธุรกิจได้ง่ายและได้ธุรกิจที่พึ่งพอใจในที่สุดนั่นเอง

หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจที่ต้องการทำ

ถึงแม้ว่าธุรกิจที่เลือกจะทำนั้นจะมีพื้นฐานมาจากความชอบและความถนัดของตนเองอยู่แล้วแต่การหาความรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่จะละเลยไปไม่ได้ เพราะแน่นอนว่าแม้จะชอบหรือมีความถนัดแค่ไหน แต่หากไม่เคยลองทำหรือแม้จะลองทำไปบ้างแล้วในโลกนี้ก็ยังคงมีองค์ความรู้ใหม่ ๆ ข้อมูลใหม่ ๆ ที่อัปเดตและรอให้ผู้ที่รู้จักขวนขวายเข้าไปเก็บเกี่ยวกันได้อยู่ตลอดเวลา

สำรวจเงินทุนว่าธุรกิจที่ต้องการทำมีทุนเพียงพอหรือไม่

หลังจากมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจที่ต้องการจะทำจนมั่นใจประมาณหนึ่งและพอที่จะประเมินสถานการณ์ด้านการลงทุนในธุรกิจนั้นด้วยตนเองได้แล้วสิ่งต่อไปที่ต้องทำก็คือการสำรวจเงินทุนว่ามีเงินทุนเพียงพอที่จะทำธุรกิจที่ต้องการหรือไม่ อีกทั้งมีเงินสำรองในการดูแลธุรกิจหากเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝันไหม จุดนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะต้องคิดคำนวณให้ดี

พิจารณารูปแบบการดำเนินธุรกิจ

ทำการพิจารณารูปแบบการทำธุรกิจว่าจะเป็นแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท โดยประเมินความเหมาะสมและข้อดีข้อเสียในรูปแบบธุรกิจแต่ละประเภท เช่น

  • การจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  • การจดทะเบียนนิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ที่ส่งผลดีต่อความน่าเชื่อถือ มีการทำงานเป็นระบบเป็นขั้นตอน และเอื้ออำนวยต่อการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายและลูกค้า

การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของตนเองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการทำธุรกิจ เพราะยิ่งเรารู้จักกลุ่มลูกค้าของเรามากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้หากลยุทธ์มาปรับใช้เพื่อครองใจกลุ่มเป้าหมายของเราได้นั่นเอง

วางแผนในด้านทรัพยากรบุคคล

สิ่งต่อไปที่ต้องคิดและพิจารณาคือการวางแผนในด้านทรัพยากรบุคคล ว่าในการทำธุรกิจในครั้งนี้นั้นจะมีการจ้างงานลูกจ้างงานมาช่วยเหลือในตำแหน่งไหนบ้าง ในช่วงของการเริ่มต้นนั้นมีงบประมาณในการจ้างเท่าไหร่ ควรวางแผนเช่นไรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

เริ่มต้นจัดทำแผนธุรกิจ

จุดสำคัญในการทำธุรกิจที่อาจกลายเป็นตัวชี้วัดว่าธุรกิจครั้งนี้จะไปรอดหรือร่วง คือการจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจ วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง โอกาส ของทั้งตนเองและคู่แข่งเพื่อนำมาทำกลยุทธ์และวางแผนในการดำเนินธุรกิจต่อไป

ทบทวนให้รอบคอบ

เมื่อทำทุกอย่างแล้วขั้นตอนสำคัญที่จะข้ามไปไม่ได้คือการทบทวนทุกกระบวนการใหม่อีกครั้งอย่างรอบคอบเพื่อที่จะได้ป้องกันการเกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด 

ลงมือทำ

ว่ากันว่าคิดแผนมาเป็นปีก็ไม่สู้ลงมือทำ หลังจากที่วางแผนและทบทวนมาเป็นอย่างดีแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องลงมือทำกันสักที ในขั้นตอนนี้แน่นอนว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ขอให้ทุกคนไม่ย่อท้อและพยายามก้าวข้ามอุปสรรคทุกอย่างไปแล้วความสำเร็จจะเป็นของเรา

ข้อดีของการทำธุรกิจส่วนตัว

การทำธุรกิจส่วนตัวมีข้อดีหรือข้อได้เปรียบหลายประการที่สามารถดึงดูดให้ใครหลาย ๆ คนต่างก็อยากทำธุรกิจส่วนตัวและก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของกิจการ ดังนี้

1. มีอิสระในการตัดสินใจ (Decision-making Independence) : การทำธุรกิจส่วนตัวมีอิสระในการตัดสินใจทุกด้านในกิจการของตนเอง ไม่ต้องรอการอนุมัติจากผู้อื่น ทำให้สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ได้อย่างยืดหยุ่น

2. มีอำนาจในการควบคุมการทำงาน (Control Over Work) : การทำธุรกิจส่วนตัวนั้นสามารถความควบคุมทั้งในด้านการผลิต, การบริหารทรัพยากร, และการตลาด ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนการตลาดหรือวางแผนการผลิตตามที่เห็นสมควรอย่างเป็นอิสระด้วยตนเอง

3. มีโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากกว่า (Income Potential) : การทำธุรกิจส่วนตัวมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มเติมตามความสามารถและความพร้อมทางธุรกิจของตนเอง โดยสามารถเพิ่มรายได้ได้ทั้งจากการขยายธุรกิจหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ

4. เวลาและที่ทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Work Schedule and Location) : การทำธุรกิจส่วนตัวมีความยืดหยุ่นในการกำหนดเวลาทำงานและสถานที่ทำงาน ทำให้สามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมและความต้องการส่วนตัวได้

5. ช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาตนเอง (Personal and Professional Development) : การทำธุรกิจส่วนตัวสามารถเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาทักษะและความชำนาญทางธุรกิจ ซึ่งช่วยให้สามารถเติบโตทั้งทางด้านความสร้างสรรค์และทักษะอาชีพได้เป็นอย่างดี

ข้อเสียของการทำธุรกิจส่วนตัว

แน่นอนว่านอกจากข้อดีแล้วการทำธุรกิจส่วนตัวนั้นก็มีข้อเสียหลายประการที่คนที่กำลังอยากเป็นนักธุรกิจส่วนตัวควรทราบเอาไว้ด้วยเช่นกัน

1. ความไม่แน่นอนในรายได้ (Income Uncertainty) : การทำธุรกิจส่วนตัวอาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนในรายได้ เนื่องจากมีความผันผวนในการขายหรือบริการและมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่

2. การรับผิดชอบทางการเงินสูง (Financial Responsibility) : นักธุรกิจส่วนตัวต้องรับผิดชอบด้านการเงินทั้งหมด รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกิจการ, ภาษี, และการบริหารการเงินส่วนตัว

3. ความเสี่ยงในธุรกิจ (Business Risks) : การทำธุรกิจส่วนตัวมีความเสี่ยงทางธุรกิจ อาทิเช่น การแข่งขัน, การเปลี่ยนแปลงในตลาด, หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

4. ขาดความมั่นคงในการทำงาน (Lack of Job Security) : การทำธุรกิจส่วนตัวนั้นไม่มีความมั่นคงในการทำงานเหมือนกับการทำงานในบริษัทหรือองค์กร ทำให้ต้องรับผิดชอบในการค้นหาลูกค้าและรักษาลูกค้าเพื่อรักษารายได้อยู่เสมอ

5. ความท้าทายในการจัดการเวลาสูง (Time Management Challenges) : การทำธุรกิจส่วนตัวอาจทำให้มีความท้าทายในการจัดการเวลา เนื่องจากต้องรับผิดชอบทุกด้านของกิจการและทำหน้าที่หลากหลาย

6. ขาดสวัสดิการและประโยชน์ (Lack of Benefits) : นักธุรกิจส่วนตัวไม่ได้รับสวัสดิการและประโยชน์ทางการจ้างงาน เช่น ประกันสุขภาพ, บำนาญ, หรือวันหยุด

สรุป

และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลข้อดี-ข้อเสีย รวมถึงวิธีและขั้นตอนการเตรียมตัวในการทำธุรกิจส่วนตัวและเป็นเจ้าของกิจการ สำหรับใครที่ลองอ่านดูและคิดว่าตนเองพร้อมที่จะเริ่มลงมือทำธุรกิจส่วนตัวของตนเองแล้วแต่ยังไม่มีเงินทุนก็สามารถขอสินเชื่อส่วนบุคคล กับ แรบบิท แคร์ ได้ ไม่ว่าอยากเอาไปทำธุรกิจอะไรก็ยื่นง่ายผ่านสบาย มีเจ้าหน้าที่ผู้มากประสบการณ์คอยให้คำแนะนำ


 

บทความแคร์การลงทุน

แคร์การลงทุน

Forex คืออะไร ? สามารถสร้างกำไรมหาศาลได้จริงหรือไม่ ? ทำไมเซเลปหลายคนถึงโดนคดี ?

Forex หนึ่งในการเทรดหรือการลงทุนท่ามกลางกระแสการลงทุนมากมายในยุคปัจจุบันที่มีประเด็นร้อนแรงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
กองบรรณาธิการ
11/01/2024

แคร์การลงทุน

ขายปลีก-ขายส่ง ต่างกันอย่างไร ? ธุรกิจไหนเหมาะกับใคร สิ่งที่ต้องตัดสินใจก่อนลงทุน!

นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาธุรกิจการขายส่งและปลีกในประเทศไทยนั้น
กองบรรณาธิการ
08/01/2024

แคร์การลงทุน

นำเข้าสินค้าจากจีน กำไรดีหรือไม่ ควรเริ่มอย่างไร แบบไหนไม่เสี่ยงขาดทุน ?

ปัจจุบันการนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อเข้ามาขายก็เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
กองบรรณาธิการ
04/01/2024