4 วิธีตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิต! เช็คว่าเรามีประกันชีวิตอะไรบ้างได้ที่ไหน?
หลายคนจำเป็นต้องตรวจสอบว่าเรามีประกันอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเช็คข้อมูลการทำประกันชีวิตของญาติในครอบครัวที่เสียชีวิตกะทันหัน หรือเช็คประกันชีวิตของตัวเองที่ทำไว้นานเเล้วจนลืม แต่ติดปัญหาที่ว่าจำรายละเอียดกรมธรรม์ที่ทำไว้ไม่ได้ หรือหาเอกสารประกันชีวิตไม่เจอ แรบบิท แคร์ รวบรวมวิธีตรวจสอบกรมธรรม์ทุกบริษัทที่ทำไว้ หรือตรวจสอบผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิตได้ด้วยตัวเองแม้จะทำเอกสารกรมธรรม์หาย หรือจำรายละเอียดไม่ได้มาให้แล้ว
1. สาเหตุที่ต้องเช็คประกันชีวิตของตัวเอง?
1.1 บริษัทประกันติดต่อไม่ได้
หนึ่งในปัญหาคลาสสิคที่ทำให้เกิดปัญหาที่บริษัทประกันภัยขาดการติดต่อกับผู้ทำประกันภัย คือ การที่ผู้ทำประกันย้ายที่อยู่โดยไม่แจ้งบริษัทฯ ทำให้เมื่อบริษัทฯ ส่งจดหมายแจ้งเตือนต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของผู้ทำประกัน หรือแม้กระทั่งเช็คเงินผลประโยชน์จากประกันชีวิตเมื่อครบสัญญาที่จัดส่งผ่านทางไปรษณีย์ไปยังที่อยู่เดิมที่ไม่ถูกต้อง เอกสารดังกล่าวจะถูกตีกลับไปยังบริษัทฯ และรอเวลาให้มีผู้ทำเรื่องเเจ้งเคลมเงินผลประโยชน์เข้ามานั่นเอง
แม้ว่าปัญหาที่บริษัทฯ ติดต่อผู้ทำประกันไม่ได้จะน้อยลงด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน แต่การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวกับบริษัทฯ ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล เปลี่ยนที่อยู่ หรือแม้กระทั่งเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ จะช่วยไม่ให้พลาดการติดต่อจากบริษัทประกันภัย
1.2 ทายาท/ผู้รับผลประโยชน์ไม่ทราบ
หลายคนตั้งใจทำประกันชีวิตเพื่อเป็นประกันมรดกไว้ให้กับคนข้างหลังเมื่อตนจากไป แต่กลับเสียชีวิตไปก่อนโดยที่ไม่เคยได้แจ้งรายละเอียดการทำประกันไว้ให้คนในครอบครัวรับทราบ รวมถึงไม่เคยส่งมอบเอกสารกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้ให้กับทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์ไว้เป็นหลักฐาน ทำให้เมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต ญาติพี่น้องหรือสมาชิกในครอบครัวจึงไม่ได้ไปเรียกร้องขอรับเงินผลประโยชน์ความคุ้มครองตามกรมธรรม์
1.3 ผู้เอาประกันลืมขอรับผลประโยชน์
ผู้เอาประกันชีวิตบางรายอาจยังไม่ทราบว่าเเม้ว่าจะหยุดส่งเบี้ยประกันไป เนื่องจากการลืมส่งเบี้ยประกันต่อ หรือตัดสินใจไม่ส่งเบี้ยต่อด้วยเหตุผลทางการเงิน หรือเหตุผลส่วนตัว ทำให้กรมธรรม์หมดความคุ้มครองไปเเล้วนั้น กรมธรรม์เหล่านั้นอาจยังมีผลประโยชน์ในรูปของการเวนคืนกรมธรรม์เป็นเงินสดเหลืออยู่
กรมธรรม์ประกันชีวิตส่วนใหญ่ที่มีการส่งเบี้ยประกันภัยต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปีขึ้นไป อาจมีมูลค่าของการเวนคืนกรมธรรม์เป็นเงินสด หรือเรียกว่า “มูลค่าเงินสด” หลงเหลืออยู่ ซึ่งจะมีแสดงรายละเอียดตามตารางแนบท้ายทุกกรมธรรม์อยู่แล้ว ทำให้ยังมีผลประโยชน์เงินสดที่หลงเหลืออยู่ และรอให้มีการแจ้งเวนคืนกรมธรรม์เพื่อรับเงินผลประโยชน์ในส่วนนี้นั่นเอง รวมถึงกรณีที่ผู้ทำประกันได้รับเช็คผลประโยชน์มาเเล้ว แต่ลืมนำเช็คไปขึ้นเงินก็จัดอยู่ในสาเหตุที่ผู้เอาประกันลืมขอรับผลประโยชน์เช่นกัน
2. เช็คประกันชีวิตตัวเองที่ไหนได้บ้าง?
2.1 บริษัทประกันภัย
แม้ว่าจะจำรายละเอียดกรมธรรม์ประกันชีวิตมรดกที่ตนเองหรือคนในครอบครัวที่อาจทำเอาไว้ไม่ได้ทั้งหมด แต่พอจะจำชื่อหรือสีของบริษัทประกันภัยที่อาจทำไว้ได้ลาง ๆ ทำให้การเริ่มต้นโทรสอบถามกับบริษัทประกันก่อน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเช็คข้อมูลการทำประกันชีวิต
อย่างไรก็ตาม วิธีการโทรสอบถามข้อมูลกรมธรรม์จากบริษัทฯ โดยตรง จะเหมาะกับผู้ที่มั่นใจเเล้วว่าตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลได้ทำประกันกับบริษัทฯ นั้นจริง ๆ เพราะนอกจากอาจต้องเผื่อใจโทรสอบถามกับบริษัทฯ มากกว่า 1 บริษัทเเล้ว ยังต้องจัดเตรียมเอกสารในการตรวจสอบข้อมูลหลายชุดอีกด้วย ทำให้วิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยาก และอาจไม่เหมาะกับการตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันชีวิตในกรณีที่ไม่มั่นใจในข้อมูล
2.2 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
หากจำรายละเอียดกรมธรรม์ประกันชีวิตที่อาจทำไว้ไม่ได้เลย แต่มั่นใจว่าทำประกันชีวิตไว้อย่างแน่นอน และอาจมีกรมธรรม์ที่ทำเอาไว้มากกว่า 1 ฉบับ อาจใช้วิธีการขอคัดสำเนากรมธรรม์ประกันชีวิตที่ทำไว้ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตได้จากสำนักงาน คปภ.
แบ่งเป็นการขอคัดสำเนาตารางกรมธรรม์ประกันชีวิตในกรณีที่ทราบชื่อบริษัทฯ ที่ทำอยู่แล้ว หรือการขอตรวจสอบข้อมูลการทำประกันชีวิตในกรณีที่ไม่ทราบชื่อบริษัทฯ ที่ทำประกันมาก่อน โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ คปภ. และจัดเตรียมเอกสารยื่นประกอบคำร้องการยื่นขอคัดหรือขอตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อจัดได้ที่ สายด่วน [email protected] ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาใบมรณบัตร
- สำเนารายงานเกี่ยวกับคดี
- หลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ทะเบียนสมรส
2.3 กองทุนประกันชีวิต หรือ กปช. (Life Insurance Fund)
หากจำได้ว่าเคยทำประกันชีวิตไว้เมื่อนานมากเเล้ว หรือมากกว่า 10-20 ปี เคยส่งเบี้ยประกันอยู่สักพักหนึ่ง และได้หยุดส่งไปกะทันหันจากการลืมส่งต่อ หรือจ่ายเบี้ยประกันชีวิตต่อไม่ไหวโดยไม่ได้เเจ้งยกเลิก หรือไม่ได้ขอเวนคืนกรมธรรม์แต่อย่างใด รวมถึงลืมแจ้งขอรับเงินผลประโยชน์คืนเมื่อครบกำหนดสัญญาประกันชีวิต
เงินผลประโยชน์เมื่อครบสัญญา หรือเงินจากมูลค่าเวนคืนเงินสดที่มีสิทธิ์ได้รับหลังจากหยุดจ่ายเบี้ยประกัน ไปแล้วจากประกันชีวิตมรดกที่เตรียมไว้ แต่ผู้เอาประกัน ทายาท หรือผู้รับผลประโยชน์ไม่ได้เรียกร้องหรือขอรับคืนจากบริษัทฯ มากกว่า 10 ปี เงินข้างต้นนี้จะถูกส่งเข้ากองทุนประกันชีวิต เพื่อรอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเเจ้งติดต่อขอรับเงินคืนจากกองทุนประกันชีวิตได้ภายในระยะเวลาอีก 10 ปีนับแต่วันที่กองทุนฯ ได้รับเงินนำส่งจากบริษัทฯ เรียกว่า “เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ”
สามารถตรวจสอบเงินผลประโยชน์ที่ยังไม่ได้รับคืนจากการทำประกันชีวิตไว้ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์กองทุนประกันชีวิต (www.lifeif.or.th) โดยหากพบว่ามีสิทธิ์ในเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความอยู่ สามารถยื่นขอรับเงินคืนพร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและอนุมัติจ่ายเงินคืนให้ต่อไปนั่นเอง
ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการขอเงินคืนภายใน 10 ปีนับแต่วันที่กองทุนฯ ได้รับเงินนำส่งจากบริษัทฯ เท่านั้น มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ในเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความของตนเองนั่นเอง มีเอกสารประกอบคำขอรับจำนวนเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ล่วงพ้นอายุความ ดังนี้
กรณีเป็นผู้เอาประกัน
กรณีเป็นผู้รับประโยชน์
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับประโยชน์
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้เอาประกัน
กรณีเป็นทายาทของผู้เอาประกัน
- หนังสือยินยอมจากทายาททุกคนให้มารับเงิน (ตามแบบของ กปช.)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาท (ทุกราย)
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้เอาประกัน
- คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก (กรณีจำนวนเงินที่ขอรับเกินกว่า 50,000 บาท)
กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจ
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพยานในหนังสือมอบอำนาจ (กรณีจำนวนเงินที่ขอรับเกิน 50,000 บาท)
กรณีอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเพิ่มเติม (ถ้ามี)
- สำเนาหน้ากรมธรรม์
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ
- เอกสารแจ้งจากบริษัทประกันภัย
2.4 โบรกเกอร์ประกันภัย
การเลือกซื้อประกันภัยต่าง ๆ กับบริษัทโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยจัดการกรมธรรม์โดยเฉพาะในกรณีที่มีแบบประกันภัยหลายกรมธรรม์ หรือจากหลาย ๆ บริษัท โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกลอยแพกลางคัน คนข้างหลังไม่รับรู้ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ไม่ได้ รวมถึงสามารถแจ้งขอตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ได้ครบจบในที่เดียว เหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวที่พร้อมช่วยจัดการเรื่องประกันภัยให้
การตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือประกันชีวิตมรดกสำหรับคนข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นการเช็คว่าเรามีประกันชีวิตอะไรบ้างหรือเช็คว่าญาติหรือคนในครอบครัวที่เสียชีวิตกะทันหันไปนั้นมีประกันชีวิตหรือไม่ สามารถทำได้ในหลายวิธี แต่อาจต้องเตรียมเอกสารหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์หลายอย่าง รวมถึงอาจต้องใช้เวลารอหรือต้องติดต่อมากกว่า 1 บริษัทฯ เพื่อตรวจสอบข้อมูล
การเลือกซื้อประกันกับบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยชั้นนำ เช่น แรบบิท แคร์ ที่จะช่วยดูแลทุกเรื่องประกันภัยได้เหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัว ตั้งเเต่การขอรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย การเปรียบเทียบประกันชีวิตออนไลน์จากทุกบริษัทฯ ชั้นนำ ที่ทำได้ด้วยตัวเองทันที รวมถึงบริการแจ้งเหตุฉุกเฉินทางทั้งโทรศัพท์หรือทาง LINE (@rabbitcare) ที่พร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และพร้อมช่วยส่งมอบความแคร์ต่อให้กับคนที่คุณรักได้ทันทีแม้ในยามที่คุณจากไป เปรียบเทียบประกันวันนี้ รับสิทธิพิเศษก่อนใคร โทรเลย 1438 หรือ https://rabbitcare.com/
สรุป
การตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้ผู้เอาประกันทราบถึงสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับจากกรมธรรม์ รวมถึงเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ ของกรมธรรม์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการเรียกร้องสินไหมทดแทนในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น นอกจากนี้ ผู้เอาประกันควรตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสอบความคุ้มครองและเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์ให้เป็นไปตามความต้องการและความจำเป็นของตนเองอยู่หรือไม่
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต