แคร์สุขภาพ

7 ทางเลือกต้องรู้! ทำอย่างไรเมื่อจ่ายเบี้ยประกันชีวิตต่อไม่ไหว

ผู้เขียน : Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
 
Published: March 10,2022
จ่ายเบี้ยประกันไม่ไหว ทำอย่างไรดี

ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ใครหลายคนต้องเลือกตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป “เบี้ยประกันชีวิต” อาจเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายแรก ๆ ที่ถูกตัดออกไปด้วยการขอเวนคืนยกเลิกประกัน หรือปล่อยประกันชีวิตขาดด้วยการหยุดส่งเบี้ยประกันชีวิตไปเลยแบบดื้อ ๆ ทำให้เสียทั้งเงิน เวลา และความคุ้มครองในชีวิตที่ควรจะได้รับตามวางแผนที่วางไว้

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    เเรบบิท แคร์ รวบรวม 7 ทางเลือกช่วยลดภาระเบี้ยประกันชีวิตที่ต้องจ่ายโดยที่ไม่ขาดทุน และยังได้รับความคุ้มครองต่อเนื่องโดยไม่เสียสิทธิ์แม้ว่าจะไม่ได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตต่อแล้วก็ตามมาฝากกัน

    1. ขอจ่ายล่าช้าในระยะเวลาผ่อนผัน 31 วัน

    หากไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันชีวิตได้ตามงวดชำระเบี้ยที่กำหนดไว้ตามปกติ แต่ยังต้องการความคุ้มครองชีวิตจากประกันที่ทำไว้อยู่ และจะสามารถหาเงินก้อนมาจ่ายได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถแจ้งขอจ่ายเบี้ยล่าช้าได้ภายในระยะเวลาผ่อนผัน 31 วัน นับจากวันที่ครบกำหนดชำระเบี้ยประกัน

    ซึ่งในระยะเวลาผ่อนผันนี้ กรมธรรม์จะยังมีผลบังคับใช้และให้ความคุ้มครองอยู่ตามปกติ แต่หากเกิดเสียชีวิตในระหว่างผ่อนผัน บริษัทฯ จะหักเบี้ยประกันที่ยังไม่ได้จ่ายจากทุนประกันชีวิตที่จะได้รับก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับผลประโยชน์ต่อไป

    2. ขอเปลี่ยนงวดจ่ายจากรายปีเป็นรายเดือน

    หากประเมินสภาพคล่องทางการเงินแล้ว พบว่าอาจจะหาเงินก้อนมาจ่ายค่าเบี้ยประกันรายปีไม่ทันทั้งรอบจ่ายตามปกติ หรือภายในระยะเวลาผ่อนผันจ่ายล่าช้า 31 วัน แต่ยังคงมีรายรับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยังมีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันได้ในระยะยาวโดยไม่สะดุด

    การขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ยประกันจากการจ่ายเบี้ยประกันก้อนใหญ่แบบรายปีในครั้งเดียว เป็นการแบ่งชำระรายเดือนต่อเนื่อง ทุก 1, 3 หรือ 6 เดือน เป็นตัวเลือกในการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินที่ทำได้เช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการแบ่งจ่ายเบี้ยประกันแบบรายเดือนจะช่วยจัดการปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินไปได้ แต่ค่าเบี้ยประกันรวมแบบรายเดือนจะสูงกว่าการเลือกจ่ายเบี้ยประกันแบบรายปี ยิ่งแบ่งงวดเยอะ เบี้ยรวมที่ต้องจ่ายยิ่งสูงขึ้น เหมือนการผ่อนจ่ายรายเดือน

    ในขณะที่เบี้ยประกันจากการเลือกจ่ายเบี้ยแบบรายปีจะถูกกว่า เนื่องจากคล้ายการจ่ายเงินล่วงหน้า ยกเว้นประกันแบบรายเดือนโดยเฉพาะที่ไม่ว่าจะเลือกชำระเบี้ยแบบรายเดือนหรือรายปี เบี้ยรวมต่อปีจะเท่ากัน และเมื่อสถานการณ์ทางการเงินดีขึ้นแล้ว สามารถแจ้งขอกลับมาชำระเบี้ยรายปีได้เหมือนเดิม

    3. ขอลดเงินทุนเอาประกัน 

    หากประเมินสถานการณ์ทางการเงินเเล้ว พบว่าจ่ายเบี้ยประกันในระยะสั้นไม่ไหว ไม่ว่าจะผ่อนผันจ่ายล่าช้า 31 วันก็แล้ว หรือเปลี่ยนงวดจ่ายจากรายปีเป็นรายเดือนก็แล้ว รวมถึงไม่สามารถจ่ายเบี้ยเท่าเดิมต่อไปได้ในระยะยาว แต่ยังต้องการความคุ้มครองจากประกันชีวิตอยู่เหมือนเดิม

    การลดจำนวนวงเงินเอาประกันภัยให้น้อยลงเป็นทางเลือกที่ทำได้ ซึ่งจะทำให้ค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายลดลง และยังคงได้รับความคุ้มครองในชีวิตอยู่เหมือนเดิม โดยจำนวนวงเงินเอาประกันที่ขอลดต้องไม่ต่ำกว่าทุนประกันขั้นต่ำที่แบบประกันนั้นๆ กำหนดไว้ และต้องไม่มีหนี้สิ้นติดค้างกับบริษัทประกันชีวิตนั้น ๆ ขณะขอลดทุนประกัน ไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการกู้เงินจากกรมธรรม์ตัวเอง หรือการค้างค่าเบี้ยประกัน

    จ่ายเบี้ยประกันชีวิตไม่ไหว ต้องทำอย่างไร?

    4. ขอยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมแนบท้าย

    การขอยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ และเลือกเก็บความคุ้มครองของสัญญาหลักเอาไว้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยลดเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย และจะยังได้รับความคุ้มครองจากประกันชีวิตอยู่เหมือนเดิม

    สัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ประกันชีวิต (Riders) คือ สัญญาความคุ้มครองเพิ่มเติมเฉพาะความเสี่ยงที่เลือกซื้อเพิ่มได้ เมื่อมีสัญญาหลัก (กรมธรรม์ประกันชีวิต) และยังมีผลบังคับใช้อยู่ ให้ความคุ้มครองแบบปีต่อปี ตัวอย่างเช่น สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองอุบัติเหตุ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายได้ หรือสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงหรือโรคมะเร็ง

    การขอยกเลิกสัญญาเพิ่มเติม จะช่วยให้เบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายในแต่ละงวดน้อยลง เนื่องจากจะเหลือจ่ายแค่เบี้ยประกันหลักเท่านั้น ไม่ต้องจ่ายเบี้ยในส่วนสัญญาเพิ่มเติมอีกต่อไป ตัวอย่างสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายประกันชีวิตที่มีให้เลือกซื้อเเละยกเลิกได้ เช่น

    • สัญญาแนบท้ายประกันสุขภาพ – เพิ่มค่ารักษา ค่าชดเชยกรณีรักษาตัวที่โรงพยาบาล
    • สัญญาแนบท้ายคุ้มครองอุบัติเหตุ – เพิ่มค่ารักษา ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต หรือรักษาตัวจากอุบัติเหตุ
    • สัญญาแนบท้ายให้สิทธิ์ยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัย – ยกเว้นการจ่ายเบี้ย กรณีทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร
    • สัญญาแนบท้ายผลประโยชน์ผู้ชำระเบี้ยประกัน – ยกเว้นการจ่ายเบี้ยในกรมธรรม์ผู้เยาว์ กรณีผู้จ่ายเบี้ยเสียชีวิต หรือทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร
    • สัญญาแนบท้ายการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา – เพิ่มวงเงินความคุ้มครองชีวิตจากกรมธรรม์หลัก

    5. ขอเปลี่ยนแบบประกันเป็นแบบที่ถูกลง 

    แม้ว่าจะเลือกจัดการสภาพคล่องสำหรับการจ่ายเบี้ยประกันในระยาวด้วยการขอลดวงเงินเอาประกันให้น้อยลงแล้ว แต่เบี้ยประกันที่ลดลงก็ยังคงสูงกว่าความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันต่อเนื่องในระยะยาว และไม่สามารถขอลดวงเงินเอาประกันลงได้อีกแล้ว การขอเปลี่ยนแบบประกันชีวิตให้เป็นแบบประกันที่มีเบี้ยที่ถูกลงจะช่วยลดภาระค่าเบี้ยประกันลงได้อีกทางหนึ่ง

    แบบประกันชีวิตที่มีเงื่อนไขจ่ายเงินผลประโยชน์สูงเป็นพิเศษ เช่น ประกันสะสมทรัพย์ที่มีเงินคืนให้ทุกปี หรือปีละหลายเปอร์เซนต์ จะมีเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายต่องวดสูงกว่าประกันทั่วไป ทำให้การขอเปลี่ยนแบบประกันภัยเป็นแบบที่ให้ผลประโยชน์น้อยลง จะทำให้เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละงวดลดลงด้วยเช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงแบบประกันได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของแต่ละแบบประกันตามที่บริษัทฯ กำหนด และต้องได้รับความเห็นชอบของบริษัทฯ อีกด้วย โดยบริษัทฯ จะคำนวณเบี้ยประกันและเงื่อนไขความคุ้มครองตามแบบประกันที่ถูกลงให้ใหม่ รวมถึงหากมีเงินส่วนต่างของเบี้ยประกัน บริษัทฯ จะคืนเงินให้หลังหักหนี้สินที่ติดค้างอยู่ หรืออาจเรียกเก็บเงินเพิ่มแล้วแต่กรณี

    ทำอย่างไรเมื่อจ่ายเบี้ยประกันไม่ไหว

    6. ขอเปลี่ยนเป็น “กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ” หรือ “กรมธรรม์ขยายเวลา”

    หากตัดสินใจแล้วว่าต้องการหยุดจ่ายเบี้ยประกันชีวิตหลังจากจ่ายต่อเนื่องมากกว่า 2 ปีขึ้นไป แต่ยังต้องการได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยเช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยเท่าเดิมหรือระยะเวลาความคุ้มครองยาวนานเท่าเดิมอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำได้โดยแจ้งขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขความคุ้มครองบางอย่างในกรมธรรม์ เรียกว่า “กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ” หรือ “กรมธรรม์ขยายเวลา”

    กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ คือ กรมธรรม์ที่ขอหยุดจ่ายเบี้ยประกันโดยถาวร ด้วยการขอเปลี่ยนหรือลดวงเงินเอาประกัน แต่จะยังได้รับความคุ้มครองในระยะเวลาเท่าเดิม เหมาะกับคนที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของเบี้ยประกัน แต่ยังต้องการความคุ้มครองชีวิตภายในระยะเวลาที่วางแผนเอาไว้ แม้ว่าจะไม่ได้รับเงินทุนเอาประกันเท่าเดิมก็ตาม

    ในขณะที่กรมธรรม์ขยายเวลา คือ กรมธรรม์ที่แจ้งขอไม่ชำระเบี้ยประกันอีกต่อไปเช่นกัน โดยจะยังได้รับเงินเอาประกันเท่าเดิมตามที่ทำประกันไว้ แต่ระยะเวลาความคุ้มครองจะลดลง ซึ่งอาจจะมีเงินคืนทันทีหรือมีเงินคืนเมื่อครบกำหนด เหมาะกับคนที่มีภาระทางการเงินที่ต้องการหยุดจ่ายเบี้ยประกันถาวร อาจมีเงินก้อนคืนให้ พร้อมกับต้องการที่จะได้รับจำนวนเงินเอาประกันภัยเท่าเดิม และยอมรับกับระยะเวลาความคุ้มครองที่ลดลงจากเดิมได้

    การขอเปลี่ยนกรมธรรม์ทั้งแบบใช้เงินสำเร็จหรือขยายเวลา จะทำได้ต่อเมื่อกรมธรรม์เกิด “มูลค่าเวนคืนเงินสด” แล้ว หรือมูลค่าของการเวนคืนกรมธรรม์เป็นเงินสดต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยทุกๆ 1,000 บาท ตามตารางแนบท้ายทุกกรมธรรม์ ซึ่งกรมธรรม์ส่วนใหญ่จะเริ่มมีมูลค่าเงินสดเมื่อชำระเบี้ยประกันภัยต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปีขึ้นไป

    7. ขอกู้เงินจากกรมธรรม์

    เมื่อประเมินความเป็นไปได้จากทุกทางเลือกข้างต้นจากกรณีจ่ายเบี้ยประกันต่อไม่ไหว และพบว่าไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้อีกต่อไปเเล้ว แต่ยังต้องการความคุ้มครองจากประกันที่ทำไว้ หรือมีเหตุฉุกเฉินต้องรีบใช้เงินเร่งด่วน ไม่รู้จะไปหาแหล่งเงินกู้จากที่ไหน

    การกู้เงินตามมูลค่าเวนคืนในกรมธรรม์ของตัวเองออกมาเป็นเงินสด หรือบริษัทประกันกู้เงินอัตโนมัติเพื่อมาชำระค่าเบี้ยประกันแทนผู้ทำประกันไม่สามารถจ่ายเบี้ยได้ตามเวลาที่กำหนด จะทำได้ต่อเมื่อกรมธรรม์มี “มูลค่าเวนคืน” เกิดขึ้นเเล้ว หรือเมื่อชำระเบี้ยประกันมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 2 ปี

    สามารถกู้ยืมเงินจากบริษัทประกันภัยที่เป็นผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ได้ไม่เกินมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ และเริ่มชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนได้เมื่อพร้อมโดยไม่มีกำหนดชำระขั้นต่ำ โดยบริษัทฯ จะคิดอัตราดอกเบี้ยทบต้นตามอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในกรมธรรม์ และบวกดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อปี และบริษัทฯ จะกู้ยืมเพื่อจ่ายค่าเบี้ยประกันแทนให้ไปเรื่อยๆ ทุกปี จนกว่ามูลค่าเวนคืนจะเหลือไม่พอสำหรับการกู้เงินจากกรมธรรม์

    แรบบิท แคร์ มีประกันชีวิตให้เลือกครบทุกความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นประกันสะสมทรัพย์ หรือประกันบำนาญเพื่อการเกษียณที่มีความคุ้มครองคุ้มค่า ผลตอบแทนสูงจากทุกบริษัทชั้นนำให้เลือกครบ พร้อมรับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ รับสิทธิพิเศษความแคร์ที่เตรียมไว้ให้เฉพาะลูกค้า แรบบิท แคร์ เท่านั้น โทรเลย 1438

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    สรุป

    สรุปบทความ

    การยกเลิกประกันหรือปล่อยประกันชีวิตขาดไม่ควรเป็นทางเลือกแรก แม้ว่าจะจ่ายเบี้ยประกันไม่ไหวเพราะยังมีทางเลือกที่สามารถทำได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการขอจ่ายล่าช้า การผ่อนประกันรายเดือน หรือแม้กระทั่งการกู้เงินจากกรมธรรม์

    นอกจากจะเสียสิทธิ์ความคุ้มครองในชีวิตตามที่ตั้งใจทำประกันไว้แล้ว เงินเวนคืนที่อาจจะได้รับจะน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายไปรวมถึงการซื้อประกันชีวิตฉบับใหม่อาจต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้นและมีความเสี่ยงที่จะถูกปฏิเสธหรือยกเว้นความคุ้มครองบางโรค เพราะมีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุ หรือสุขภาพที่เปลี่ยนไปแล้วอีกด้วย

    จบสรุปบทความ
     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024