เขาบอกมา! บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ จริงหรือเปล่านะ?
อยากเริ่มต้นเลิกบุหรี่ ใคร ๆ ก็แนะนำว่าให้ลองเริ่มต้นเปลี่ยนมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน แล้วบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิกบุหรี่ได้จริงไหม? มีโทษรึเปล่านะ? เขาที่ว่าพูดถูกหรือเปล่า? วันนี้ แรบบิท แคร์ หาคำตอบมาให้คุณแล้ว!
บุหรี่ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่จริงหรือ?
เมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน ๆ ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อร่างกายทั้งในระยะสั้น และระยะยาวอย่างการเป็นโรคร้ายต่าง ๆ เช่น
- โรคถุงลมโป่งพอง, โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- โรคมะเร็งปอด และมะเร็งในส่วนอื่น ๆ เช่น มะเร็งกล่องสียง หลอดอาหาร ลำคอ และกระเพาะปัสสาวะ
- โรคหลอดเลือดสมอง หรือหลอดอื่นส่วนอื่น ๆ ตีบตัน และหลอดเลือดใหญ่ทรวงอก และช่องท้องโป่งพอง
- เส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจขาดเลือด
- สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
- เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแขนและขาตีบตัน
ด้วยผลเสียที่มากมายขนาดนี้ ถึงแม้จะมีประกันโรคร้ายแรงคอยช่วยเหลือในการดูแลค่ารักษาพยาบาล แต่คงไม่ดีแน่ หากปล่อยให้ป่วยเรื้อรังไปเรื่อย ๆ แบบนี้ หนทางการเลิกบุหรี่จึงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนอยากจะเริ่มต้นทำให้ได้ ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าได้ถูกหยิบยกมาเป็นหนึ่งในทางเลือกของการช่วยเลิกบุหรี่!
โดยเบื้องต้นแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่, ตัวทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer), น้ำยา ซึ่งหลัก ๆ มีสารประกอบมาจากนิโคติน
ข้อดีของบุหรี่ไฟฟ้าคือไม่มีกลิ่นเหม็นของการเผาไหม้สารนิโคตินจากบุหรี่ แต่จากส่วนประกอบข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าตัวน้ำยายังคงประกอบไปด้วยสารนิโคติน ซึ่งถือเป็นสารอันตรายหลักที่มีอันตรายต่อภาวะหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะเสพติด โดยน้ำยาจะถูกทำให้เป็นไอและเข้าสู่ร่างกายของผู้สูบไม่แตกต่างไปจากบุหรี่ทั่วไป เพียงแต่มีการปรุงแต่งกลิ่น และในบุหรี่ไฟฟ้ายังพบว่ามีสารเคมีอื่น ๆ ที่ผสมเพื่อการปรุงแต่งรสชาติให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น และอาจทำให้ผู้สูบรู้สึกอันตรายน้อยลง
และยังมีบางงานวิจัยที่ระบุว่าไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้
ที่สำคัญพบว่ากลุ่มที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่กลุ่มผู้ต้องการเลิกบุหรี่ แต่กลับได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากไม่มีกลิ่นเหมือนบุหรี่ธรรมดา จนเกิดการเสพติดนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า จากข้อมูลในสหรัฐฯ พบการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นกว่า 900% ระหว่างปี พ.ศ.2554 – พ.ศ.2561 พบอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็ก ม.ปลาย พุ่งถึง 27.5% เทียบกับอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในผู้ใหญ่ที่มีเพียง 3.2% ซึ่งปรากฏการณ์ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นสหรัฐฯนี้ ทำให้หลายประเทศประกาศแบนบุหรี่ไฟฟ้า
นอกจากนี้ ตัวบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าต้องห้ามในไทย โดยมีบทลงโทษต่าง ๆ ดังนี้
- บุคคลที่มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในความครอบครองถือว่ามีความความผิดทั้งผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้ เมื่อเจ้าหน้าที่พบเห็นความผิดซึ่งหน้าสามารถเข้าจับกุมไทย
- กรณีเป็นผู้นำเข้ามีโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่า ของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจำหน่ายจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ส่วนกรณีผู้สูบหรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความผิดในฐานครอบครองสิ่งที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุปแล้ว บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายไหม? ช่วยเลิกบุหรี่ได้จริงหรือเปล่า?
มีหลายงานวิจัยที่ได้เริ่มต้นเรื่องการเลิกบุหรี่ ด้วยบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งหลายแห่งอ้างว่าออกแบบมาเพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น มีอันตรายน้อยกว่า และจริงอยู่ที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีกลไกการทำงานที่ไม่มีกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ธรรมดา ทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายจากการเผาไหม้บางตัว เช่น น้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
ถึงแม้อันตรายจะลดลง แต่อาการเสพติดสารนิโคตินยังคงมีอยู่ รวมถึงร่างกายยังได้รับอันตรายอยู่ดี และจากผลวิจัยพบว่า มีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนจากการสูบบุหรี่ ธรรมดามาสูบบุหรี่ไฟฟ้า 100% นอกจากนี้ ยังมีผลวิจัยชี้ชัดว่า ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพราะการใช้บุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถช่วยให้เอาชนะการเสพติดนิโคตินได้อย่างแท้จริง ส่วนใหญ่กว่าครึ่งยังจะคงสูบบุหรี่ธรรมดาต่อไป
ซึ่งทางแพทย์แนะนำว่า ให้ใช้หมากฝรั่งนิโคตินที่เป็นยาช่วยเลิกบุหรี่จะดีกว่า เพราะถึงแม้จะมีสารนิโคตินเช่นเดียวกัน แต่ถูกทำให้มีนิโคตินในระดับที่ต่ำและไม่มีการเติมสารปรุงรสต่าง ๆ ซึ่งเตือนร่างกายให้รับรู้ถึงอันตรายจากสารนิโคตินได้ดีกว่า หรือจะปรึกษากับแพทย์ตามโรงยาบาลต่าง ๆ เพื่อหาทานเลิกบุหรี่อย่างจริงจังจะดีกว่าการพยายามใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกสูบบุหรี่
สรุปแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ และอาจทำให้ผู้สูบหันมาติดบุหนรี่ไฟฟ้าแทน ซึ่งทางการแพทย์จะไม่แนะนำให้ทำ ซ้ำยังผิดกฎหมายอีกด้วย เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งของต้องห้าม
แล้วแบบนี้เลิกบุหรี่อย่างไรดี?
การเลิกบุหรี่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเราตั้งใจจะทำก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินความสามารถ อย่าคิดว่าติดบุหรี่แล้วจะเลิกไม่ได้หากยังไม่ได้เริ่มต้น! แรงใจ เป้าหมาย ความตั้งใจในการเลิกบุหรี่แล้ว คุณสามารถเลิกบุหรี่ให้หายขาดได้ ดังนี้
- ทิ้งอุปกรณ์ในการสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็น ไฟแช็ก ที่เขี่ยบุหรี่ ฯลฯ ควรทิ้งไปให้หมด พยายามทำให้การสูบบุหรี่เป็นเรื่องยากเข้าไว้ จะได้ไม่เผลอหยิบขึ้นมาสูบนั่นเอง
- หมั่นทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ดื่มนมสด ช่วยลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงได้ เพราะการดื่มนมสดจะช่วยให้รสชาติของบุหรี่แย่ลงได้, อาหารที่มีผักใบเขียว เนื่องจากผักมีฤทธิ์ที่ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่ และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกายด้วย, ไข่ อกไก่ ถั่ว อาหารเหล่านี้จะสร้างสารซีโรโทนิน (Serotonin) ที่จะช่วยให้การเลิกบุหรี่ง่ายขึ้น
- ใช้มะนาวเป็นตัวช่วยโดยการนำมะนาวทั้งเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พกติดตัวไว้ เมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ให้หยิบมะนาวขึ้นมาอมโดยอมช้า ๆ และเคี้ยวเปลือกมะนาวและกลืน เพราะจากผลการวิจัยพบว่าในมะนาวมีวิตามินซีที่มีสารช่วยลดความอยากนิโคตินได้ และในผู้ที่เลิกบุหรี่ด้วยมะนาวส่วนใหญ่พบว่าเลิกบุหรี่ได้ภายใน 2 สัปดาห์ และจะทำให้ไม่มีความอยากสูบบุหรี่อีก
- ดื่มน้ำให้มาก อย่างน้อย 10 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) โดยเฉพาะช่วง 2-3 อาทิตย์แรกที่กำลังเลิกบุหรี่ นอกจากจะช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ยังช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย บรรเทาความหงุดหงิดลงได้
- เคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อไม่ให้ปากว่าง หรือบางคนอาจขอคำแนะนำกับแพทย์ในการใช้หมากฝรั่งนิโคติน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการช่วยลดเลิกบุหรี่
- หากิจกรรมทำเพื่อดึงความสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ออกกำลังกาย, เล่นเกม, ดูหนัง หรือหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไม่ให้ไปหยิบบุหรี่มาสูบ
- ไม่ควรอยู่ใกล้คนที่สูบบุหรี่ บริเวณที่มีการสูบบุหรี่ เพราะอาจทำให้เกิดความอยากสูบบุหรี่ขึ้นมาอีกได้
- ปัจจุบันมียาช่วยให้เลิกบุหรี่อยู่หลายชนิด ซึ่งสามารถช่วยลดอาการติดบุหรี่ได้ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
จะเห็นได้ว่า การจะเลิกบุหรี่ให้ได้ผล ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากไม่มั่นใจว่าจะสามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียบว การปรึกษาแพทย์ตามโรงพยาบาลล้วนช่วยคุณได้! แถมบางแห่งยังสามารถใช้ประกันสุขภาพเบิกเคลมในการพบแพทย์ได้อีกด้วยนะ!
แน่นอนว่าเรื่องสุขภาพของคุณ เราแคร์เสมอ ใครที่มองหาประกันสุขภาพ ที่เบี้ยประกันที่เหมาะสม เอื้อมถึงได้ง่าย ต้องทื่ แรบบิท แคร์ เลย เพราะที่นี้นอกจากบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพต่าง ๆ ที่ทำให้คุณได้ประกันสุขภาพที่โดนใจแล้ว ยังมีบริการต่าง ๆ สุดพิเศษให้กับคุณIอีกด้วย คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct