รู้จักที่ตรวจครรภ์แบบต่าง ๆ พร้อมเปอร์เซ็นความแม่นยำ
แรบบิท แคร์ แชร์ความรู้ ‘ที่ตรวจครรภ์’ Item ประจำบ้านสำหรับคนมีคู่ หรือผู้ที่มีงานอดิเรกที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัวมีทั้งหมดกี่ชนิด สามารถให้ผลตรวจที่แม่นยำหรือไม่ เชื่อถือได้มากแค่ไหน พร้อมบอกวิธีใช้ รวมถึงวิธีสังเกตตัวเองง่าย ๆ อาการแบบไหนที่บ่งชี้ว่าอาจมีข่าวดี
ที่ตรวจครรภ์ คืออะไร
ชุดทดสอบการตั้งครรภ์หรือที่ตรวจครรภ์ (Pregnancy Tests) คือ อุปกรณ์ทดสอบการตั้งครรภ์จากปัสสาวะของคุณผู้หญิง โดยตรวจหาฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ที่ร่างกายจะทำการสร้างขึ้นหลังมีการปฏิสนธิ 6 วัน ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวจะมีปริมาณสูงมากในช่วง 8-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จึงสามารถให้ผลที่มีความแม่นยำได้สูงถึง 98%
แล้วความแม่นยำอีก 2% ที่หายไปนั้นหายไปไหน รพ.เปาโลให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสคลาดเคลื่อนของผลตรวจการตั้งครรภ์ว่า มี 3 ปัจจัยหลัก ๆ ที่อาจส่งผลให้การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยที่ตรวจครรภ์ คือ
- ช่วงเวลาในการตรวจเร็วเกินไป : อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการตรวจครรภ์ด้วยที่ตรวจครรภ์นั้นจะตรวจหาฮอร์โมน HCG จากปัสสาวะของคุณผู้หญิง ซึ่งร่างกายจะทำการสร้างขึ้นหลังมีการปฏิสนธิ 6 วัน ดังนั้นหากตรวจไปแล้วผลลัพธ์ออกมาว่าไม่ตั้งท้อง ควรเว้นระยะเวลานับจากวันที่ประจำเดือนขาดไปซัก 10-14 วันจึงตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ
- ความเข้มข้นของปัสสาวะ : เมื่อปัสสาวะมีความเจือจางค่าความเข้มข้นของฮอร์โมนในปัสสาวะก็จะเจือจางและลดลงตามไปด้วยส่งผลให้ไม่สามารถตรวจหาค่าของฮอร์โมน HCG ได้ และทำให้ผลตรวจการตั้งครรภ์คลาดเคลื่อน
- ที่ตรวจครรภ์เสื่อมประสิทธิภาพ : การเสื่อมคุณภาพของชุดที่ตรวจครรภ์เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ก่อนใช้ที่ตรวจจึงต้องตรวจสอบวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง อีกทั้งที่ตรวจครรภ์แต่ละยี่ห้อก็มีความไวในการตรวจหาค่าฮอร์โมน HCG แตกต่างกัน ดังนั้นหากบังเอิญเลือกใช้ยี่ห้อที่สามารถตรวจหาค่าฮอร์โมนได้น้อยก็อาจทำให้ตรวจไม่พบฮอร์โมนดังกล่าว ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นได้เหล่านี้จึงไม่ควรทำการตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วยที่ตรวจครรภ์เพียงชุดเดียว ควรมีการเว้นช่วงเวลาที่เหมาะสมและตรวจซ้ำ รวมถึงสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวเองอย่างใกล้ชิด และหากยังไม่วางใจก็ควรเข้ารับการตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลจึงจะได้รับผลตรวจที่แม่นยำที่สุด
ที่ตรวจครรภ์ มีกี่ชนิด
นอกจากตามร้านขายยาแล้วปัจจุบันยังสามารถเลือกซื้อที่ตรวจครรภ์ผ่านแอพลิเคชันเดลิเวอร์รี่ได้เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ทำให้หลายคนอาจเกิดความสับสนเนื่องจากมีตัวเลือกที่ค่อนข้างหลากหลาย ไม่เข้าใจว่าที่ตรวจครรภ์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร ลองอ่านดูให้หายสงสัยจะได้เลือกซื้อแบบสบายใจ ไร้กังวล
ที่ตรวจครรภ์แบบปากกา (Pregnancy Midstream Tests)
ที่ตรวจครรภ์แบบปากกาเป็นที่ตรวจครรภ์โดยวิธีการปัสสาวะผ่าน โดยจะมีแท่งตรวจสอบการตั้งครรภ์ที่มีลักษณะคล้ายปากกามีฝาครอบซึ่งสามารถถอดฝาออกแล้วปัสสาวะผ่านบริเวณแท่งทดสอบเป็นระยะเวลาประมาณ 30 วินาที และทำการตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 3-5 นาทีจึงเริ่มอ่านผลการตั้งครรภ์
ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม (Pregnancy Test Strip)
เป็นที่ตรวจครรภ์ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบกระดาษแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๆ ใช้สำหรับจุ่มลงในปัสสาวะ(ต้องใช้ภาชนะตวงปัสสาวะเก็บไว้ก่อนตรวจ)เพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ โดยบางยี่ห้อจะมีถ้วยตวงปัสสาวะแถมมาให้ เมื่อตวงปัสสาวะใส่ถ้วยแล้วจึงนำแถบกระดาษสำหรับตรวจครรภ์จุ่มลงไปจนถึงขีดที่กำหนดไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 3 วินาที เมื่อครบแล้วนำขึ้นมาทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีจึงอ่านผล
ที่ตรวจการตั้งครรภ์แบบหยด (Pregnancy Test Cassette)
ที่ตรวจครรภ์แบบหยดหรือที่บางคนเรียกว่าที่ตรวจครรภ์แบบตลับ ภายในกล่องจะมีอุปกรณ์มาให้ 3 ชิ้นด้วยกัน คือ 1.ถ้วยตวงปัสสาวะ 2.หลอดหยด 3.ที่ตรวจครรภ์ โดยสามารถตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการปัสสาวะใส่ถ้วยตวงจากนั้นใช้หลอดหยดปัสสาวะดูดปัสสาวะหยุดลงบนที่ตรวจครรภ์ประมาณ 3-4 หยด ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีจากนั้นจึงอ่านผล
ที่ตรวจการตั้งครรภ์แบบดิจิทัล (Digital Pregnancy Test)
มีลักษณะและวิธีการใช้เหมือนที่ตรวจครรภ์แบบปากกา เพียงแต่จะแสดงผลบนหน้าปัดดิจิทัล หลังจากตรวจแล้วใช้เวลารอผลประมาณ 3 วินาที ที่ตรวจแบบนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างแม่นยำสูงกว่าที่ตรวจแบบอื่น ๆ รวมถึงจะมีราคาที่สูงกว่า
วิธีตรวจครรภ์
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการตรวจครรภ์ที่แม่นยำที่สุดและป้องกันการคลาดเคลื่อนของผลตรวจให้ได้มากที่สุดวิธีการตรวจครรภ์ที่ถูกต้องนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องศึกษาก่อนเริ่มลงมือตรวจ
- ควรตรวจครรภ์ในช่วงเช้าโดยใช้ปัสสาวะแรกของวันก่อนรับประทานน้ำและอาหาร : เพราะมีค่าความเข้มข้นของฮอร์โมน HCG สูงมากที่สุดรวมถึงยังไม่มีสารเจือปนในปัสสาวะ
- ตรวจสอบวันหมดอายุของที่ตรวจครรภ์ก่อนนำมาใช้งาน : หากที่ตรวจครรภ์หมดอายุผลลัพธ์ที่ได้ก็จะไม่สามารถเชื่อถือได้
- อ่านวิธีใช้และคำแนะนำที่มากับที่ตรวจครรภ์อย่างละเอียด : ที่ตรวจครรภ์ต่างชนิดต่างยี่ห้ออาจมีวิธีการใช้ที่ต่างกัน
- ใช้งานทันทีเมื่อแกะที่ตรวจครรภ์ออกจากบรรจุภัณฑ์ : เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของที่ตรวจครรภ์จากการโดนความชื้น
* กรณีซื้อที่ตรวจครรภ์เก็บไว้ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงความชื้นและอุณหภูมิที่ร้อนจัดเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพ
วิธีการอ่านผลที่ตรวจครรภ์
วิธีการอ่านผลการตั้งครรภ์จากชุดทดสอบการตั้งครรภ์นั้นสามารถดูได้จากช่องแสดงผลบนที่ตรวจว่าผลที่ได้เป็นบวก (Positive) หรือผลเป็นลบ (Negative)
ผลการตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด บริเวณขีด C และ T = ผลลัพธ์เป็นบวก (Positive) = น่าจะมีการตั้งครรภ์
ที่ใช้คำว่า ‘น่าจะ’ ตั้งครรภ์นั้นเพราะแม้ว่าผลลัพธ์ของการตรวจจะขึ้น 2 ขีดก็ตามแต่อาจจะเป็นผลบวกลวง (False Positive) อันเป็นผลมาจากน้ำปัสสาวะมีเลือด โปรตีนหรือที่เรียกว่าไข่ขาวในน้ำปัสสาวะ มีการอักเสบ หรืออาจเกิดจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ที่ทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อน
ผลการตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด บริเวณขีด C และ T (แบบจาง ๆ) = ควรเว้นระยะเวลาและตรวจซ้ำอีกครั้งเนื่องจากมีโอกาสในการตั้งครรภ์
ผลการตรวจครรภ์ขึ้น 1 ขีด บริเวณขีด C = ผลเป็นลบ (Negative) = ไม่ตั้งครรภ์ หรือ ตั้งครรภ์แล้วแต่ยังตรวจไม่พบ อันเกิดมากจากปัจจัยด้านช่วงเวลาในการตรวจ ความเข้มข้นของปัสสาวะ หรือการเสื่อมสภาพของชุดทดสอบ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น
ผลการตรวจครรภ์ขึ้น 1 ขีด บริเวณขีด T หรือไม่ขึ้นเลย = ไม่สามารถอ่านผลได้ จำเป็นต้องตรวจซ้ำอีกครั้ง อาจเกิดจากที่ตรวจครรภ์หมดอายุ เสื่อมสภาพ หรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนการเก็บปัสสาวะและทำการตรวจ
วิธีการอ่านผลการตรวจครรภ์จากชุดทดสอบ | ||
ขึ้น 2 ขีด บริเวณขีด C และ T | ผลเป็นบวก | น่าจะมีการตั้งครรภ์ |
ขึ้น 1 ขีด บริเวณขีด C | ผลเป็นลบ | ไม่ตั้งครรภ์/ตั้งครรภ์แล้วแต่ยังตรวจไม่พบ |
ขึ้น 2 ขีด บริเวณขีด C และ T (แบบจาง ๆ) | อ่านผลไม่ได้ | ตรวจซ้ำ |
ขึ้น 1 ขีด บริเวรขีด T | อ่านผลไม่ได้ | ตรวจซ้ำ |
ไม่ขึ้นเลย | อ่านผลไม่ได้ | ตรวจซ้ำ |
อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์
นอกจากการตรวจจากที่ตรวจครรภ์แล้ว การสังเกตอาการและความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของคุณผู้หญิงก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยยืนยันความน่าจะเป็นในการตั้งครรภ์ได้อีกหนึ่งทาง
- ประจำเดือนขาด : ประจำเดือนไม่มาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 รอบเดือน
- คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว : เนื่องจากมีความรู้สึกไวต่อกลิ่นต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะกลิ่นของอาหาร
- รู้สึก เจ็บ คัด ตึง บริเวณหน้าอก : เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส่งผลให้หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น
- มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ : เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ทำให้รู้สึกมีอาการท้องอืด อึดอัดในท้องทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง
- ปัสสาวะบ่อยกว่าเดิม : เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เลือดไหลผ่านไปยังไตมากและขึ้นทำให้กระเพาะปัสสาวะรับน้ำมากขึ้น
- มีอาการเพลีย เหนื่อยง่าย : ระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนซึ่งมีส่วนช่วยให้หลับสบายเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รู้สึกอยากนอนและอ่อนเพลียตลอดเวลา
- อารมณ์แปรปรวน อ่อนไหวขึ้น : เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่รู้สึกอารมณ์แปรปรวน อ่อนไหวมากกว่าปกติ
หากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับผลตรวจการณ์ตั้งครรภ์ที่เป็นบวกก็สันนิษฐานได้เลยว่ามีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงมาก ควรเข้าพบแพทย์เป็นลำดับถัดไป หรือหากผลตรวจเป็นลบแต่มีอาการเหล่านี้ก็ควรพบแพทย์เช่นกัน เนื่องจากอาจมีโอกาสในการตั้งครรภ์ หรือมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นในร่างกายซึ่งต้องการให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแล
หากผลตรวจครรภ์ขึ้นขึ้นว่าท้อง ควรทำอะไรในลำดับถัดไป
สิ่งที่ต้องทำในลำดับถัดไปเมื่อตรวจการตั้งครรภ์แล้วผลเป็นบวก ‘คาดว่าตั้งครรภ์’ จะต้องทำอะไรบ้าง
- ทำใจให้สงบ ไม่ตื่นตระหนกเกินไป
- บอกข่าวดีแก่แฟน หรือคนสำคัญใกล้ชิด
- ไปตรวจร่างกายซ้ำโดยละเอียดอีกครั้งที่โรงพยาบาล
- เมื่อได้ผลที่แน่นอนจากโรงพยาบาลแล้วดำเนินการฝากครรภ์เป็นลำดับถัดไป
- ศึกษาวิธีการดูแลตัวเองในระหว่างตั้งครรภ์ร่วมกับแฟน
- วางแผนดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ตลอดระยะเวลา 9 เดือน
- ศึกษาวิธีการดูแลเด็กอ่อน เตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่
- อาจเข้าคอร์สวิธีการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เตรียมต้อนรับเจ้าตัวน้อย
- วางแผนตั้งชื่อลูก จัดสรรพื้นที่ในการเลี้ยงดู และวางแผนการศึกษาเบื้องต้น
- มองหาประกันเด็ก เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
เพียงเท่านี้ก็เตรียมพร้อมรับมือกับสมาชิกใหม่ตัวน้อยของบ้านได้อย่างครบถ้วนแล้ว แรบบิท แคร์ ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ร่วมแสดงความยินดีกับข่าวดีของครอบครัว ขอให้น้องใหม่ของบ้านแข็งแรงและเติบโตขึ้นมาอย่างมีความสุข ไร้โรคภัยไข้เจ็บมากวนใจ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ไอเดียขนมหลังคลอดที่มีสารอาหารสูง แต่ใช้เวลาเตรียมน้อย
- คลอดธรรมชาติอันตรายหรือไม่ มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง ?
- ผ่าคลอด มีข้อดีอย่างไร ? ปลอดภัยกว่าคลอดธรรมชาติหรือไม่ ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?
- รวมฤกษ์คลอด ปฏิทินฤกษ์ผ่าคลอดปี 2567
- รวมฤกษ์ดี ฤกษ์คลอดเดือนมกราคม วันธงชัยสำหรับคลอดลูกเดือนมกราคม 2566
- 10 เทคนิคขับรถสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- ควรเริ่มกิน “วิตามินเตรียมตั้งครรภ์” เมื่อไหร่ดี ?
- คุณแม่มือใหม่ต้องรู้! ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องตรวจอะไรบ้าง?
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น