แคร์ไลฟ์สไตล์

คลอดธรรมชาติอันตรายหรือไม่ มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง ?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: February 13,2024
  
Last edited: February 13, 2024
คลอดธรรมชาติ

แม้ในปัจจุบันจะมีวิทยาการด้านการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างมากแต่การคลอดธรรมชาติก็ยังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกในการคลอดบุตรที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านเลือกใช้ แต่แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงการคลอดธรรมชาติแล้วว่าที่คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านก็คงกังวลใจ วันนี้ แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติมาไว้ให้ เพื่อคุณแม่ท่านไหนกำลังลังเลใจ หรือมีความสงสัย จะได้อ่านให้หายกังวลใจ และเลือกวิธีการคลอดบุตรที่เหมาะสมกับตนเองได้นั่นเอง

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    คลอดธรรมชาติ คืออะไร ?

    โรงพยาบาลพญาไทให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติไว้ว่า การคลอดธรรมชาติ คือ การที่คุณแม่ได้ทำการคลอดบุตรเองโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัดช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและคุณแม่ส่วนใหญ่ซึ่งมีการตั้งครรภ์ปกติรวมถึงไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าคลอดเลือกเป็นวิธีการยอดนิยมในการคลอดบุตร ซึ่งโดยปกติแล้วก่อนที่จะทำการคลอดธรรมชาตินั้น จะใช้เวลาในการตั้งครรภ์ทั้งหมด 40 สัปดาห์โดยนับอ้างอิงจากประจำเดือนครั้งล่าสุด โดยกระบวนการตั้งแต่การตั้งครรภ์ไปจนถึงการคลอดธรรมชาตินั้นทางการแพทย์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาสด้วยกัน ไตรมาสแรก คือช่วงเวลา 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 คือ 12-28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ และช่วงเวลาหลังจากนั้นจะนับว่าเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งจะถือว่าเป็นการครบกำหนดอายุครรภ์และมีความพร้อมในการคลอดธรรมชาติตั้งแต่ประมาณช่วง 37 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่ส่วนใหญ่ประมาณ 70-80% ล้วนมีอาการเจ็บท้องคลอดในระยะนี้

    การคลอดธรรมชาตินั้นเนื่องจากไม่ใช้การผ่าตัดทำคลอดในการช่วยเหลือ คุณแม่จึงจำเป็นที่จะต้องทำการเบ่งคลอดเองทางช่องคลอดโดยเมื่อถึงกำหนดในการคลอดธรรมชาติแล้ว บริเวณปากมดลูกของคุณแม่จะมีการเปิดกว้างโดยเริ่มจากประมาณ 1 เซนติเมตรและค่อย ๆ ขยายกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อปากมดลูกเปิดจนหมด ศีรษะของทารกในครรภ์ก็จะมีการเคลื่อนตัวลงต่ำ เมื่อศีรษะทารกเคลื่อนลงต่ำจนถึงระดับที่เห็นศีรษะโผล่ที่บริเวณช่องคลอดก็จะสามารถทำการเบ่งคลอดได้นั่นเอง

    คลอดธรรมชาติอันตรายหรือไม่ ?

    สำหรับคุณแม่หรือแม้กระทั่งคุณพ่อที่กำลังกังวลว่าการคลอดธรรมชาตินั้นเสี่ยงอันตรายหรือไม่ ต้องขอบอกเลยว่าวิธีการคลอดธรรมชาตินั้นถือเป็นวิธีการคลอดที่มีความปลอดภัยต่อทั้งตัวคุณแม่เองและบุตรในครรภ์ค่อนข้างมาก รวมถึงยังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดบุตรที่น้อยกว่าการผ่าคลอด หลังจากทำคลอดคุณแม่จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เจ็บแผลน้อย เนื่องจากเสียเลือดน้อย อีกทั้งพร้อมที่จะดูแลบุตรได้อย่างรวดเร็วหลังจากคลอด

    ผลดีจากการคลอดธรรมชาติที่ส่งผลต่อบุตรในครรภ์ก็คือ ระหว่างการคลอดธรรมชาตินั้นทารกจะได้ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามธรรมชาติในระหว่างการคลอด ทั้งทางด้านการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทางด้านกายภาพ และได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่จะช่วยในการเสริมภูมิต้านทานตั้งต้นให้ผ่านทางช่องคลอดของคุณแม่ ทำให้มีภูมิต้านทานที่ดี แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย และเริ่มดูดนมคุณแม่ได้อย่างรวดเร็ว

    จะเห็นได้ว่าการคลอดธรรมชาตินั้นมีข้อดีจ่อทั้งตัวคุณแม่และบุตรอยู่มากมาย และเมื่อมีคุณหมอและเครื่องมือทันสมัยคอยรอดูแลอยู่ไม่ห่างกาย ก็ยิ่งทำให้การคลอดธรรมชาตินั้นปลอดภัยขึ้นมากนั่นเอง

    คลอดธรรมชาติเจ็บไหม ?

    แม้ว่าจะมีผลดีต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ค่อนข้างมาก แถมยังมีความปลอดภัยสูง แต่แน่นอนว่าคุณแม่หลายคนก็คงยังกังวลเรื่องความเจ็บปวดที่จะได้รับอยู่ ซึ่งต้องยอมรับว่าการคลอดธรรมชาตินั้น เป็นวิธีที่ต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจของคุณแม่เป็นอย่างมากในการเบ่งคลอด ซึ่งหากเลือกที่จะเบ่งคลอดโดยไม่ใช้ยาระงับอาการปวดแล้วนั้น แน่นอนว่าจะคุณแม่จะต้องฮึดสู้กับความเจ็บปวดแสนสาหัสเลยนั่นเอง

    คลอดธรรมชาติเจ็บไหม

    ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ

    หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการคลอดธรรมชาตินั้นส่งผลดีต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ค่อนข้างมาก เรามาดูกันแบบชัด ๆ ว่าการคลอดธรรมชาตินั้นมีข้อดีอย่างไรบ้างเพื่อทำการประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติม

    • มีความปลอดภัยสูงมาก : หากไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าคลอดส่วนใหญ่แพทย์มักแนะนำให้คลอดธรรมชาติ เพราะมีความปลอดภัยสูงทั้งต่อตัวแม่และทารกเนื่องจากไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ ไม่ต้องทำการฉีดยาเข้าไขสันหลัง เสียเลือดน้อย และมีโอกาสติดเชื้อในมดลูกได้น้อยกว่า
    • แผลมีขนาดเล็ก : ส่วนใหญ่แผลจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 2-4 เซนติเมตร (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสรีระของคุณแม่และขนาดของลูกน้อยด้วย)
    • ฟื้นตัวได้รวดเร็ว : เนื่องจากไม่มีการดมยาสลบ เสียเลือดน้อย แผลเล็ก ทำให้คุณแม่สามารถลุก นั่ง ยืนได้หลังการทำคลอด พักฟื้นไม่นาน และดูแลลูกได้อย่างรวดเร็ว
    • ลูกน้อยมีความแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกัน : ระหว่างการทำคลอดทารกจะได้รับภูมิต้านทานจากเชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอดของคุณแม่ และได้รับ Probiotic ที่มากกว่า ทำให้ลูกน้อยของคุณแม่แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันมากกว่านั่นเอง

    ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ

    แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย ก่อนจะตัดสินใจคุณแม่อาจจะต้องลองประเมินทั้งข้อดีและข้อเสียแล้วชั่งน้ำหนักดูว่าจะเลือกวิธีการคลอดแบบใด

    • ไม่สามารถเลือกวันหรือเลือกกำหนดการในการคลอดเองได้
    • มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสายสะดือถูกทารกกดทับ
    • หากการคลอดมีการใช้เวลานาน มีความเสี่ยงที่ทารกจะขาดออกซิเจน
    • หากคุณแม่หมดสติหรือหมดแรงในการเบ่งคลอดอาจจำเป็นต้องใช้คีมคีบทารก
    • กรณีที่ทารกมีขนาดตัวใหญ่ทำให้คลอดยาก อาจทำให้คลอดลำบาก
    • ทารกมีความเสี่ยงที่จะสำลักชี้เทา
    • หลังจากคลอดคุณแม่อาจรู้สึกว่าช่องคลอดไม่เหมือนเดิม หลวมขึ้น มีขนาดกว้างขึ้น

    หลังจากที่ได้ทราบถึงข้อดี-ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติกันไปแล้ว ไม่ว่าคุณแม่และครอบครัวจะตัดสินใจแบบไหน ก็ต้องไม่ลืมฟังคำแนะนำของแพทย์ในการตัดสินใจ เป็นการดูแลด้านการปลอดภัยของทั้งคุณแม่และเด็กทารกในครรภ์

    คลอดธรรมชาติ บล็อคหลัง

    ค่าใช้จ่ายในการคลอดธรรมชาติ

    สำหรับค่าใช้จ่ายในการคลอดธรรมชาตินั้นแน่นอนว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่สบายกระเป๋ามากกว่าค่าใช้จ่ายในการผ่าคลอด ซึ่งโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนก็จะมีอัตราค่าบริการที่แตกต่างกันไป คือ

    • คลอดธรรมชาติโรงพยาบาลรัฐฯ : จะมีค่าใช้จ่าย ประมาณ 5,000 – 15,000 บาท
    • คลอดธรรมชาติโรงพยาบาลเอกชน : จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 30,000 บาท 

    ซึ่งราคาเหล่านี้นั้นส่วนใหญ่จะครอบคลุมค่าแพทย์ เช่น ค่าสูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ ผู้ช่วยแพทย์ ค่าห้องคลอด ห้องพักฟื้น ทั้งนี้อาจมีรายจ่ายเพิ่มเติมอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่คุณแม่เลือกกับทางโรงพยาบาล

    คลอดธรรมชาติ บล็อคหลังหรือไม่ ?

    สำหรับคุณแม่ที่สงสัยว่าการคลอดธรรมชาตินั้นจะต้องทำการบล็อคหลังหรือไม่ คำตอบคือการคลอดธรรมชาติจะทำหรือไม่ก็ได้ แต่โดยส่วนมากแล้วจะไม่ได้ทำการบล็อคหลังเท่าไหร่นัก เพราะการบล็อคหลังจะนิยมใช้ในการผ่าคลอดมากกว่านั่นเอง

    การคลอดธรรมชาติกี่วันแผลหาย ?

    สำหรับการคลอดธรรมชาตินั้น โดยปกติแล้วแผลคลอดจะค่อย ๆ เริ่มสมานตัวและดีขึ้นในช่วงระยะเวลา 5-10 วัน และจะหายสนิทได้ในช่วงระยะเวลาหลังคลอดประมาณ 3-4 สัปดาห์ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับว่าระหว่างการคลอดนั้นมีการคลอดยาก ทารกตัวใหญ่จนทำให้แผลฉีกขาดมากหรือไม่ และร่างกายของคุณแม่มีความสามารถในการฟื้นตัวได้ไวแค่ไหนด้วยนั่นเอง

    คลอดธรรมชาติเจ็บไหม

    วิธีสังเกตตนเองว่าพร้อมคลอดธรรมชาติ สัญญาณแบบนี้ต้องรีบไปโรงพยาบาล

    • รู้สึกเจ็บท้องคลอด มดลูกมีการบีบตัวและคลายอย่างต่อเนื่องซึ่งจังหวะในการบีบจะเกิดขึ้นประมาณ 45-60 วินาที และมีช่วงจังหวะในการคลายตัวประมาณ 2-3 นาที เป็นแบบนี้สลับไปมาประมาณ 10 นาที เรียกว่าครบ 1 ยก และหากมีอาการเช่นนี้ประมาณ 2-3 ยกก็นับว่าเป็นสัญญาณที่ชัดเจนมากว่ากำลังจะใกล้คลอด
    • มีมูกออกมาจากบริเวณช่องคลอด ในบางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาด้วย
    • มีน้ำคร่ำออกมาจากบริเวณช่องคลอด
    • มีความรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง

    หากมีอาการเหล่านี้บอกเลยว่า อย่ารอช้ารีบสะกิดคุณสามีหรือคนที่อยู่ด้วยในขณะนั้นให้รีบบึ่งรถไปโรงพยาบาลในทันที

    สรุป

    ทั้งหมดนี้คือข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติ แรบบิท แคร์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง และขอแอบเตือนไว้ว่าหลังจากที่คลอดลูกน้อยออกมาแล้ว ต้องไม่ลืมทำประกันเด็ก กับ แรบบิท แคร์ ไว้ จะได้ดูแลลูกน้อยได้อย่างอุ่นใจ ไม่ต้องห่วงค่าใช้จ่ายว่าจะบานปลายนั่นเอง


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 85349

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    ปักหมุด 8 อุทยานแห่งชาติที่กำลังมาแรงแห่งปี 2568 ใครชอบธรรมชาติติดใจแน่นอน

    ใช้ชีวิตในป่าคอนกรีต ทำงานเช้าเย็น เหนื่อยทั้งกายทั้งใจมานาน ลองมารีชาร์จ เติมพลังให้ตนเองซะหน่อยด้วยการกลับสู่ธรรมชาติ เข้าป่า ล่องลำธาร ส่องสัตว์ ลงทะเล
    Nok Srihong
    13/01/2025
    Rabbit Care Blog Image 98485

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    ข้อมูลสำหรับสายบินลัดฟ้า! พิกัดที่จอดรถสนามบินดอนเมือง ค่าจอดรถสนามบินดอนเมือง 2568

    ใครเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินบ่อยต้องอ่าน กับข้อมูลที่จอดรถสนามบินดอนเมืองที่ควรรู้ต่าง ๆ ทั้งรายละเอียดอาคารจอดรถสนามบินดอนเมืองว่ามีกี่อาคาร
    Nok Srihong
    24/12/2024
    Rabbit Care Blog Image 98154

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

    ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
    คะน้าใบเขียว
    19/12/2024