Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 28, 2024

อาหารไม่ย่อยเกิดจากอะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไร?

อาหารไม่ย่อยเกิดจากอะไร?

จากบทความสุขภาพเรื่อง “อาหารไม่ย่อย ท้องอืด” ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้กล่าวถึงความหมายของภาวะอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังจากที่รับประทานอาหารไปแล้ว โดยจะรู้สึกไม่สบายบริเวณหน้าอกหรือบริเวณใต้ลิ้นปี่ และนอกจากนี้ยังพบอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด หรือมีลมในท้องด้วย ซึ่งจะเกิดได้มากในวัยผู้ใหญ่ โดยจะสามารถเช็กได้ว่าเป็นภาวะอาหารไม่ย่อยได้จากการตรวจเลือด ตรวจลมหายใจ หรือตรวจอุจจาระ และนอกจากนี้แพทย์อาจใช้วิธีส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน และทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจหาความเสียหายจากการเกิดโรคกรดไหลย้อน การติดเชื้อ หรือการแพ้อาหาร เป็นต้น และภาวะอาหารไม่ย่อยนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยนั่นเอง อาทิเช่น

  • การรับประทานอาหารรสจัด หรืออาหารมัน ๆ ไขมันสูง
  • การเคี้ยวที่ไม่ละเอียด รับประทานเร็ว รับประทานเยอะ
  • เป็นโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์
  • มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก
  • เป็นกรดไหลย้อน
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • โรคเซลิแอค หรือโรคแพ้กลูเตน (Celiac diseae)
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • การตั้งครรภ์
  • ท้องผูก
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. Pylori)
  • การอุดตันของลำไส้
  • ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า
  • แบคทีเรียในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากจนเกินไป
  • การไหลเวียนของเลือดไปยังลำไส้ลดลง (ลำไส้ขาดเลือด)
  • มีความเครียดและความวิตกกังวลมาก
  • ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงจนเกินไป
  • รับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาบรรเทาอาการปวด ยาสเตียรอยด์ อาหารเสริมธาตุเหล็ก เป็นต้น

อาหารไม่ย่อยทำไงดี ต้องกินยาไหม?

โดยปกติแล้วอาการอาหารไม่ย่อยนั้นจะดีขึ้นและหายไปได้เองเมื่อเวลาผ่านไป แต่ถ้าหากว่าเป็นนานมากถึง 2 สัปดาห์แล้วยังไม่หายสักที แบบนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะว่าอาจจะมีอาการอื่น ๆ รุนแรงมากขึ้นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักตัวลดลง เบื่ออาหาร อาเจียนบ่อย อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อุจจาระมีสีดำ กลืนอาหารลำบาก เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจไม่อิ่ม หายใจถี่ มีเหงื่อออกมากิน เจ็บหน้าอกขณะที่กำลังใช้แรงหรือกำลังออกกำลังกาย รวมไปถึงอาการเจ็บหน้าอกแล้วลามไปยังบริเวณกราม ลำคอ และแขน เป็นต้น

อาหารไม่ย่อย อาการมีอะไรบ้าง?

  • อาการอิ่มแน่นระหว่างมื้ออาหาร ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้หมด หรืออิ่มทันทีที่รับประทานอาหารเข้าไป
  • อาหารอิ่มแน่นหลังมื้ออาหาร เป็นความรู้สึกเหมือนมีอาหารค้างอยู่ในกระเพาะนานเกินไป หลังจากที่รับประทานอาหารมื้อนั้นเสร็จแล้ว
  • อาการปวดบริเวณลิ้นปี่ (ลิ้นปี่ คือ บริเวณที่อยู่ระหว่างปลายกระดูกหน้าอกชั้นล่างสุดกับสะดือ)
  • แสบร้อนกลางทรวงอก
  • อาการคลื่นไส้อาเจียน และเรอบ่อย
  • อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ปวดท้องช่วงบน จุกเสียดแน่นท้อง
  • รู้สึกไม่สบายตัว อึดอัด

ข้อสังเกตของคนที่มีอาการอาหารไม่ย่อย

สำหรับอาการอาหารไม่ย่อยนั้นมักจะพบได้บ่อยถึง 25% ของประชากร และส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรื้อรัง จึงทำให้คุณภาพชีวิตและการดำเนินชีวิตนั้นลำบากขึ้น และคนที่มีอาการอาหารไม่ย่อยกว่า 50% แพทย์มักจะตรวจพบสาเหตุและทำการรักษาให้ดีขึ้นได้จากการรับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ที่เหลืออีก 50% นั้นกลับไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยเลย ซึ่งเราจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Functional Dyspepsia โดยที่ทางแพทย์ก็จะรักษาโดยการให้ยากลับไปรับประทานก่อน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้าย หรือไม่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา แพทย์จะทำการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นให้ เช่น อุจจาระมีสีดำ อุจจาระมีเลือด กลืนลำบาก น้ำหนักลดลง มีเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือมีอาการลำไส้อุดตัน

ภาวะแทรกซ้อนของอาการอาหารไม่ย่อย

  • ภาวะหลอดอาหารตีบ จะมีอาการกลืนลำบาก เจ็บหน้าอก หรือมีอาหารติดอยู่ที่ลำคอ
  • ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดจากการที่กรดในกระเพาะอาหารนั้นมีมากเกินไป จนไปสร้างแผลและความเสียหายในระบบทางเดินอาหาร
  • ภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบ มักจะทำให้เกิดการอาเจียน
  • ภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังบาร์เร็ต (Barrett’s Oesophagus)
  • กระเพาะอาหารทะลุ

อาหารไม่ย่อย วิธีแก้มีอะไรบ้าง?

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ไขมันเยอะ และย่อยได้ยาก
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา โดยอาจจะแบ่งรับประทานเป็นมื้อย่อย 5-6 มื้อต่อวันแทน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนเข้านอน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • การรักษาสภาวะทางจิตภายใต้การรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวดบางชนิด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซนโซเดียม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อย
  • พยายามไม่เครียด หรือพยายามไม่วิตกกังวลจนเกินไป
  • การรับประทานยาลดกรด เพื่อบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย
  • การรับประทานยายับยั้งตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 (Histamine-2 receptor antagonists : H2RAs) เพื่อลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ได้นานกว่า แต่ไม่รวดเร็วเท่ากับยากลุ่มแรก
  • การรับประทานยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม (Proton pump inhibitors : PPIs) ซึ่งตัวยาในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยได้ดีที่สุดในผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนร่วมด้วย เนื่องจากยากลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร (prokinetics) และยังช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วก็ยังมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อย เช่น อาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ซึมเศร้า วิตกกังวล และกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งกระตุก จึงทำให้ใช้ยาในกลุ่มนี้ได้อย่างจำกัด

เพราะฉะนั้นเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเรามาก ถ้าหากว่ามีการวางแผนดูแลสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวก็จะส่งผลดีต่อตัวเราเป็นอย่างมากเลยทีเดียว โดยที่ในระยะสั้นอาจจะวางแผนเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะสม ออกกำลังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดจนเกินไป ใช้ชีวิตอย่างมีสติและไม่ประมาท ส่วนในระยะยาวก็จะเป็นการเลือกทำประกันสุขภาพ ที่สามารถให้ความคุ้มครองและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น เช่น การลดหย่อนภาษี เนื่องจากว่าเบี้ยประกันนั้นสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และสำหรับในกรณีที่ทำประกันสุขภาพร่วมกับประกันชีวิตแบบทั่วไปหรือเงินฝากแบบที่มีประกันชีวิต ก็จะสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท/ปี หรือการทำประกันสุขภาพร่วมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็จะสามารถนำเบี้ยประกันไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 215,000 บาท/ปี และอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรดังนี้

  1. เบี้ยประกันของกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
  2. เบี้ยประกันของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 วิธี ได้แก่
  • แบบเดียวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วไป
  • แบบที่นำเบี้ยประกันบำนาญที่เหลือไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจริง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนอื่น ๆ ทุกรายการลดหย่อนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน เป็นต้น

โดยประกันสุขภาพที่ทำกับทาง แรบบิท แคร์ นั้นจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ในกรณีที่เป็นประกันสุขภาพระยะยาว (Long term care) ประกันโรคร้ายแรง (Critical illnesses) ประกันอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ หรือการสูญเสียอวัยวะ รวมไปถึงประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ โดยที่เรานั้นจะสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่หรือของตนเองมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งกฎเกณฑ์การลดหย่อนภาษีในแต่ละปีนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขอื่น ๆ ได้เสมอ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Delight Care ประกันสุขภาพเหมาจ่ายDelight Care

เหมาจ่าย

  • เบี้ยไม่แพง คุ้มครองครบ เริ่มต้น 53 บาท/วัน
  • ค่ารักษาเหมาจ่ายตามจริง สูงสุด 1.25 ล้าน
  • คุ้มครองค่าห้อง สูงสุด 3,000 บาท/วัน
  • อายุ 1 เดือน - 60 ปี สมัครได้ง่าย ๆ
  • ตรวจพบมะเร็งลุกลาม รับเพิ่ม 1 เท่าต่อปี
  • คุ้มครองเสียชีวิต รับสูงสุด 150,000 บาท
  • รักษา รพ. ในเครือทั่วไทย ไม่ต้องสำรองจ่าย
PRUHealthcare Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายPRUHealthcare Plus

เหมาจ่าย

  • จ่ายเบา ๆ เริ่มต้น 20 บาท/วัน คุ้มครองครบ
  • คุ้มครองค่ารักษา สูงสุด 500,000 บาท
  • ค่าห้องผู้ป่วยใน คุ้มครองสูงสุด 5,000 บาท/วัน
  • อายุ 20-60 ปี สมัครได้ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ตรวจพบมะเร็ง คุ้มครองสูงสุด 1 ล้าน
  • เสียชีวิตทุกกรณี คุ้มครอง 100,000 บาท
  • คุ้มครอง 2 เท่า เมื่ออยู่ ICU สูงสุด 10,000 บาท
วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • ค่ายาผู้ป่วยกลับบ้าน แคร์จ่ายตามจริง
  • คุ้มครองค่ารักษา สูงสุด 4.5 ล้าน ไม่จำกัดครั้ง
  • คุ้มครองค่าห้อง สูงสุด 12,000 บาท/วัน นาน 365 วัน
  • รักษาบาดเจ็บผู้ป่วยนอก จ่ายจริงใน 24 ชม.
  • แคร์มะเร็ง คุ้มครองเคมีบำบัด 100,000 บาท/ปี
  • แคร์เรื่องไม่คาดฝัน คุ้มครองเสียชีวิต 100,000 บาท
  • นำไปลดหย่อนภาษี แคร์สูงสุด 25,000 บาท
ยูนิเวอร์แซลพลัสยูนิเวอร์แซลพลัส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เบี้ยเริ่มแค่ 19 บาทต่อวัน คุ้มครองครบ
  • สมัครได้ทุกวัย 16-60 ปี เบี้ยไม่แพง
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ ไม่คาดฝัน 300,000 บาท
  • ครอบคลุมค่าผ่าตัด สูงสุด 200,000 บาท
  • ค่าห้อง-ค่าอาหาร สูงสุด 8,000 บาท/คืน
  • นอน รพ. คุ้มครองค่ารักษา สูงสุด 2 ล้าน/ครั้ง
  • รับบริการฉุกเฉิน 24 ชม. พร้อมรถพยาบาล

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา