
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
หลายคนอาจเคยลองเช็คประกันสังคมเพื่อตรวจเช็คสิทธิรักษาประกันสังคมของตัวเองกันมาบ้างแล้ว แต่เมื่อมีเหตุต้องย้ายที่ทำงาน หรือย้ายที่พักอาศัย ทำให้จำเป็นต้องย้ายโรงพยาบาลประกันสังคมตามไปด้วย กลับไม่รู้ว่าจะเช็คโรงพยาบาลประกันสังคมอย่างไร รวมถึงการแจ้งเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมมีขั้นตอนอะไรบ้าง
แรบบิท แคร์ รวบรวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการเลือก เปลี่ยนหรือย้ายโรงพยาบาลประกันสังคมมาฝาก พร้อมเปรียบเทียบทำไมการมีประกันสุขภาพและประกันสังคมคู่กันจะช่วยเพิ่มสิทธิในการรักษาได้มากขึ้น
สามารถย้ายประกันสังคมหรือเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมระหว่างปี เนื่องจากต้องการเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี ย้ายสถานที่ทำงาน หรือย้ายที่อยู่ โดยสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมออนไลน์ ได้ 3 ช่องทางได้แก่ ทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ทางแอปพลิเคชั่น SSO Connect และทางสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
โดยโรงพยาบาลที่ขอเปลี่ยนจะต้องเป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ ทำงานหรือพักอาศัยในปัจจุบัน และมีจำนวนผู้ประกันตนไม่เกินตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ซึ่งเมื่อแจ้งเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมแล้ว ต้องรออย่างน้อย 3 วันทำการจึงจะทราบผลการพิจารณาขอย้ายโรงพยาบาลประกันสังคม และต้องรอครบตามรอบการยื่นเรื่องของเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลประกันสังคมถึงจะใช้สิทธิ์ที่โรงพยาบาลได้
หากแจ้งของเปลี่ยนสถานพยาบาลประกันสังคมใหม่ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 (ก่อน 16.30 น.ของวันที่ 15) จะสามารถจะใช้สิทธิ์ที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 16 ของเดือนนั้น แต่หากทำเรื่องระหว่างวันที่ 16 ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน (ก่อน 16.30 น. ของวันสุดท้ายของเดือน) จะสามารถเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
ทั้งนี้ หากเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมไม่ทันรอบที่กำหนดในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม ถึงเดือนมีนาคมของทุกปี จะแจ้งเปลี่ยนได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่น หรือหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม เมื่อมีความจำเป็นต้องย้ายสถานที่ทำงาน หรือที่พักอาศัย โดยจะแจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาลประกันสังคมภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ย้ายที่พักอาศัย หรือย้ายสถานที่ทำงานประจำ โดยมีวิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมดังนี้
ดาวน์โหลด “แบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์” (สปส. 9-02) พร้อมกรอกข้อมูลให้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นนำแบบฟอร์ม สปส. 9-02 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประกันสังคมใบเดิม (ถ้ามี) และหลักฐานการย้ายที่พักอาศัย หรือย้ายสถานที่ทำงาน ยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ
การยกเลิกการเปลี่ยนหรือย้ายโรงพยาบาลประกันสังคม คือ การแจ้งขอยกเลิกการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมที่ได้ทำเรื่องผ่านช่องทางเว็บไซค์หรือแอปพลิเคชั่นของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งแตกต่างจากการยกเลิกประกันสังคมออนไลน์ที่จะเป็นการแจ้งขอยกเลิกสิทธิรักษาพยาบาลในโครงการประกันสังคมเพื่อไปใช้สิทธิการรักษาในโครงการอื่นๆ แทน
โดยหากกดแจ้งขอย้ายสิทธิการรักษาจากโรงพยาบาลประกันสังคมเดิม ไปยังโรงพยาบาลประกันสังคมใหม่ผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect หรือเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมไปแล้ว และระบบแสดงวันที่ที่จะสามารถเริ่มใช้สิทธิรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลประกันสังคมใหม่ที่เลือกได้ จะไม่สามารถยกเลิกการขอเปลี่ยนโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมด้วยตนเองได้ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมหรือแอปพลิเคชั่น SSO Connect
หากต้องการย้ายโรงพยาบาลประกันสังคมกลับมายังโรงพยาบาลเดิมก่อนแจ้งขอย้ายทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมหรือแอปพลิเคชั่น SSO Connect จะต้องติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 1-12 สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขาทั่วประเทศ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ที่เบอร์โทร. 0-2956-2345 ในวันและเวลาราชการ (08.30-16.30 น.) หรือติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
แบบเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ (สปส. 9-02) หรือแบบขอบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล/ขอเปลี่ยนสถานพยาบาล คือ แบบฟอร์มที่ใช้ในการเปลี่ยน/ย้ายหรือเลือกโรงพยาบาลสังคมซึ่งใช้เป็นแบบฟอร์มเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม หรือแบบฟอร์มเลือกสถานพยาบาลประกันสังคมแบบเดียวกัน โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมหรือขอรับได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
เอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งย้ายโรงพยาบาลประกันสังคม ได้แก่ แบบฟอร์ม สปส. 9-02 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลเดิมหรือบัตรประกันสังคมเก่า หลักฐานการย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงาน โดยเมื่อยื่นเรื่องย้ายโรงพยาบาลประกันสังคมเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแจ้งผลการขอเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมให้ผู้ประกันตนทราบภายใน 3 วันทำการผ่านทางหน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th) หรือผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect
อย่างไรก็ตาม การยื่นแบบเปลี่ยนสถานพยาบาลในผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมหรือแอปพลิเคชั่น SSO Connect จะไม่ต้องใช้เอกสารแบบฟอร์ม สปส. 9-02 ในรูปแบบกระดาษเนื่องจากสามารถยื่นคำขอผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลยโดยไม่ต้องใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษ
1) สิทธิการรักษาจำกัด
แม้ว่าประกันสังคมจะให้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วยทั่วไป เจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือประสบอุบัติเหตุ โดยผู้ประกันตนจะได้รับการรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ได้เลือกไว้ตั้งแต่ตอนสมัครประกันสังคม หรือเมื่อเข้ารับการรักษาในกรณีเหตุฉุกเฉิน ณ โรงพยาบาลที่อยู่นอกเหนือสิทธิประกันสังคมที่เลือกไว้ และได้แจ้งให้โรงพยาบาลในสิทธิรักษาทราบทันที
แต่สิทธิประกันสังคมยังมีข้อจำกัดในการรักษาอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่อเช็คสิทธิรักษาประกันสังคมแล้ว จะพบว่าสิทธิการรักษาพยาบาลจากโครงการประกันสังคมจะมีให้เฉพาะผู้ประกันตนมาตรา 33 (พนักงานเอกชนทั่วไป) และมาตรา 39 (ลาออกจากงานประจำ) เท่านั้น โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 (อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย) จะได้รับเป็นค่าชดเชยการขาดรายได้ในกรณีเจ็บป่วยจากโครงการประกันสังคมแทน
ตลอดจนข้อจำกัดในการรักษาพยาบาลที่ต้องเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ตามรายการบัญชีหลักแห่งชาติ ทำให้เมื่อต้องใช้ยานอกบัญชีประกันสังคม หรือยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ อาจต้องร่วมจ่ายเพิ่มเติม รวมถึงสิทธิในการเลือกเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ต้องเป็นโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมเท่านั้น และต้องเปิดรับผู้ประกันตนรายใหม่ หรือรายเดิมที่มีความประสงค์ในการย้ายสถานพยาบาลเท่านั้น ทำให้อาจไม่สามารถเลือกโรงพยาบาลประกันสังคมใกล้บ้านได้
2) เสียโอกาสทำประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพจะไม่ให้ความคุ้มครองโรคหรืออาการที่เป็นมาก่อนการทำประกัน ซึ่งจะมีรายละเอียดโรคหรืออาการที่ไม่รับพิจารณารับทำประกันสุขภาพ 2567 แตกต่างกันออกไปอยู่บ้างเล็กน้อย รวมถึงแม้ว่าจะเป็นโรคหรือมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยๆ และไม่ได้อยู่ในรายการข้อกำหนดไม่รับพิจารณาทำประกัน เช่น โรคกะเพาะ หรืออาการความดันโลหิตสูง บริษัทประกันภัยอาจพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การปฏิเสธคำขอทำประกันสุขภาพได้เช่นกัน
1) ค่าเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นตามอายุ
แม้ว่าสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพจะยืดหยุ่นกว่าสิทธิรักษาจากประกันสังคม แต่เบี้ยประกันสุขภาพที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี อาจกลายเป็นภาระทางการเงินที่ทำให้ไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเบี้ยประกันสุขภาพจะคำนวณจากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ทำประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยความเสี่ยงในเรื่องเพศ อาชีพ ประวัติสุขภาพ หรือแม้กระทั่งอายุ ทำให้แบบประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะมีการปรับเพิ่มค่าเบี้ยประกันสุขภาพตามอายุหรือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
2) เสียสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองด้านอื่นๆ
เมื่อเช็คประกันสังคมแล้วจะพบว่าผู้ประกันตนกับโครงการประกันสังคมจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมครอบคลุมไปถึงกรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน และสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอื่นๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในแต่ละปีอีกด้วย ทำให้การเลือกทำประกันสุขภาพแต่เพียงอย่างเดียว อาจทำให้เสียสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ที่ประกันสังคมมีให้ นอกเหนือจากความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพนั่นเอง
การมีทั้งประกันสังคม และประกันสุขภาพจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเข้ารับการรักษาพยาบาลได้อย่างอิสระมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เลือกใช้ประกันสังคมในกรณีที่เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ และเลือกใช้ประกันสุขภาพในกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาที่อาจต้องใช้เทคนิคการรักษาขั้นสูง ค่าใช้จ่ายแพง หรืออาจต้องรักษายาวนาน รวมถึงในปัจจุบันแบบประกันสุขภาพหลายแบบ มีเบี้ยประกันที่ไม่ปรับเพิ่มตามอายุ เริ่มทำเมื่อไร จ่ายเท่านั้นไปตลอดระยะเวลาความคุ้มครองตามสัญญา ทำให้สามารถเลือกปรับเพิ่มความคุ้มครองของทั้งประกันสังคม และประกันสุขภาพได้ตามสถานการณ์และความจำเป็น
การตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลประกันสังคมเพื่อเช็คโรงพยาบาลประกันสังคมว่าง หรือโรงพยาบาลประกันสังคมเต็มก่อนเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมนั้น สามารถสอบถามได้จากนายจ้าง เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th/wpr/main) แอปพลิเคชั่น SSO Connect หรือสายด่วนประกันสังคม 1506
หากต้องการเช็คโรงพยาบาลประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect หรือผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.thสามารถทำได้โดย คลิก “เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน” จากนั้นคลิกเลือก “ตรวจสอบสถานพยาบาล” โดยระบบจะแสดงรายชื่อสถานพยาบาล/โรงพยาบาลที่เข้าร่วมกับโครงการประกันสังคมที่ยังเปิดรับผู้ประกันตนหรือเปิดว่างให้เลือกได้อยู่
รวมถึงสามารถเช็ครายชื่อโรงพยาบาลในโครงการประกันสังคมได้ด้วยตนเองจากเอกสารรายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคมประจำปี แยกตามจังหวัด ซึ่งจะแสดงข้อมูลรายชื่อโรงพยาบาลในโครงการประกันสังคมทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
และสามารถเช็คจำนวนเปิดรับผู้ประกันตนเก่า/ใหม่ของแต่ละโรงพยาบาลประกันสังคมในแต่ละเดือนได้จากเอกสารสถานพยาบาลประกันสังคมที่ผู้ประกันตนต้องการเปลี่ยน/เลือก และสามารถรับจำนวนผู้ประกันตน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้จากที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม มีรายละเอียดรายชื่อโรงพยาบาลในเครือข่ายโครงการประกันสังคมดังต่อไปนี้
กรุงเทพมหานคร
จังหวัดกระบี่
จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดชลบุรี
จังหวัดชัยนาท
จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดชุมพร
จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดตรัง
จังหวัดตราด
จังหวัดตาก
จังหวัดนครนายก
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดน่าน
จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปัตตานี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพะเยา
จังหวัดพังงา
จังหวัดพัทลุง
จังหวัดพิจิตร
จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดแพร่
จังหวัดภูเก็ต
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมุดดาหาร
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดยโสธร
จังหวัดยะลา
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดระนอง
จังหวัดระยอง
จังหวัดราชบุรี
จังหวัดลพบุรี
จังหวัดลำปาง
จังหวัดลำพูน
จังหวัดเลย
จังหวัดศรีสะเกษ
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสงขลา
จังหวัดสตูล
จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสระแก้ว
จังหวัดสระบุรี
จังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดสุพรรณบุรี
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดอ่างทอง
จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอุดรธานี
จังหวัดอุตรดิตถ์
จังหวัดอุทัยธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
และสามารถรับจำนวนผู้ประกันตน ปี 2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มกราคม 2566)
ที่ | รหัส | ชื่อสถานพยาบาลเอกชน | สามารถรับผู้ประกันตนได้ (คน) |
---|---|---|---|
1 | 2225014 | เกษมราษฎร์ปราจีนบุรี | 125,260 |
2 | 2210042 | นวมินทร์ | 108,920 |
3 | 2210021 | บางมด | 107,044 |
4 | 2251002 | หริภุญชัย เมโมเรียล | 103,302 |
5 | 2290006 | ศิครินทร์หาดใหญ่ | 100,495 |
6 | 2213003 | การุญเวช ปทุมธาน | 83,559 |
7 | 2224016 | เกษมราษฎร์ฉะเชิงเทรา | 82,810 |
8 | 2211010 | ศิครินทร์สมุทรปราการ | 69,132 |
9 | 2274005 | วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย | 63,556 |
10 | 2210036 | เปาโล โชคชัย 4 | 62,137 |
11 | 2214020 | การุญเวช อยุธยา | 57,623 |
12 | 2219004 | เกษมราษฎร์ สระบุรี | 57,325 |
13 | 2257029 | เชียงราย ราม | 57,031 |
14 | 2210015 | กล้วยน้ำไท | 56,841 |
15 | 2211003 | เมืองสมุทรปากน้ำ | 56,317 |
16 | 2210076 | พญาไท นวมินทร์ | 53,844 |
17 | 2210029 | เพชรเวช | 53,533 |
18 | 2220040 | วิภาราม อมตะนคร | 50,103 |
19 | 2284039 | กรุงเทพสุราษฎร์ | 49,881 |
20 | 2250007 | เทพปัญญา | 49,294 |
21 | 2214031 | เอเชียอินเตอร์เนชั่นแนล | 48,716 |
22 | 2210079 | เกษมราษฎร์รามคำแหง | 47,851 |
23 | 2250069 | ลานนา 3 | 45,371 |
24 | 2210632 | ไอเอ็มเอช ธนบุรี | 44,948 |
25 | 2210041 | พีเอ็มจี | 44,937 |
26 | 2210260 | เปาโล เกษตร | 44,188 |
27 | 2292003 | ทีอาร์พีเอช | 43,558 |
28 | 2220035 | วิภารามแหลมฉบัง | 41,855 |
29 | 2212062 | กรุงไทย เวสเทิร์น | 41,016 |
30 | 2224002 | จุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ | 40,706 |
31 | 2210078 | บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ | 40,148 |
32 | 2211012 | บางปะกอก 3 | 37,870 |
33 | 2251019 | พริ้นซ์ ลำพูน | 37,714 |
34 | 2210039 | ลาดพร้าว | 36,087 |
35 | 2213027 | ซีจีเอช ลำลูกกา | 36,047 |
36 | 2210184 | มิตรประชา | 34,078 |
37 | 2210211 | บางปะกอก 8 | 33,131 |
38 | 2210022 | แพทย์ปัญญา | 33,049 |
39 | 2273006 | เทพากร | 32,585 |
40 | 2210028 | บางนา 1 | 32,364 |
41 | 2257003 | เกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์ | 32,018 |
42 | 2212029 | วิภาราม ปากเกร็ด | 31,632 |
45 | 2283002 | มิชชั่นภูเก็ต | 30,276 |
44 | 2211006 | บางนา 2 | 29,593 |
45 | 2225013 | จุฬารัตน์ 304 อินเตอร์ | 29,081 |
46 | 2274011 | มหาชัย 3 | 27,095 |
47 | 2210032 | มเหสักข์ | 26,871 |
48 | 2211009 | เปาโล สมุทรปราการ | 26,796 |
49 | 2210052 | หัวเฉียว | 26,476 |
50 | 2210051 | วิภาราม | 26,466 |
51 | 2210044 | ศิครินทร์ | 25,850 |
52 | 2220027 | เอกชล 2 | 25,414 |
53 | 2211004 | ส้าโรงการแพทย์ | 25,391 |
54 | 2210043 | ราษฎร์บูรณะ | 24,249 |
55 | 2230001 | ป.แพทย์ 1 | 23,340 |
56 | 2210152 | นวมินทร์ 9 | 23,320 |
57 | 2274013 | วิภาราม สมุทรสาคร | 23,255 |
58 | 2211007 | เซ็นทรัล ปาร์ค | 23,052 |
59 | 2211041 | บางนา 5 | 21,427 |
60 | 2210049 | มิชชั่น | 21,204 |
61 | 2214003 | ราชธานี | 20,130 |
62 | 2250016 | เชียงใหม่ใกล้หมอ | 19,927 |
63 | 2211067 | เปาโล พระประแดง | 19,320 |
64 | 2211015 | รวมชัยประชารักษ์ | 19,287 |
65 | 2250006 | ราชเวชเชียงใหม่ | 19,219 |
66 | 2274006 | วิชัยเวชฯ สมุทรสาคร | 19,012 |
67 | 2210020 | บางไผ่ | 18,845 |
69 | 2210038 | สุขสวัสดิ์อินเตอร์ | 18,358 |
69 | 2251018 | ล้าพูนใกล้หมอ | 18,154 |
70 | 2210030 | เกษมราษฎร์ บางแค | 17,964 |
71 | 2265004 | พิษณุโลกฮอสพิทอล | 17,313 |
72 | 2211014 | เมืองสมุทรปู่เจ้าฯ | 17,215 |
73 | 2210129 | ซีจีเอช สายไหม | 16,311 |
74 | 2212021 | กรุงไทย | 16,153 |
75 | 2274004 | มหาชัย 2 | 14,310 |
76 | 2283016 | ดีบุก | 12,404 |
77 | 2214023 | ราชธานีโรจนะ | 12,156 |
78 | 2213007 | แพทย์รังสิต | 11,959 |
79 | 2250008 | ลานนา | 11,457 |
80 | 2221003 | มงกุฎระยอง | 9,370 |
81 | 2212040 | เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ | 8,637 |
82 | 2210092 | มงกุฎวัฒนะ | 8,420 |
83 | 2270005 | ซานคามิลโล | 7,071 |
84 | 2213009 | ภัทร-ธนบุรี | 5,778 |
85 | 2260004 | ร่มฉัตร | 4,593 |
86 | 2213006 | ปทุมเวช | 2,258 |
87 | 2211008 | จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต | 1,073 |
88 | 2220010 | พญาไทศรีราชา | 379 |
89 | 2211002 | จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ | 320 |
90 | 2221007 | จุฬารัตน์ระยอง | 180 |
91 | 2210047 | เกษมราษฎร์ประชาชื่น | เต็ม |
เช็คสิทธิรักษาประกันสังคมแล้วอาจพบว่าไม่ครอบคุลมการรักษาบางอย่าง และไม่สะดวกรวดเร็วทันใจเท่ากับการรักษาด้วยประกันสุขภาพ เลือกประกันสุขภาพจาก แรบบิท แคร์ ที่มีให้เลือกครบทุกความต้องการ ทั้งประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกัน IPD OPD หรือประกันโรคร้ายแรง พร้อมรับสิทธิประโยชน์บริการขอรับคำแนะนำจากทีมแพทย์ผ่านวีดีโอคอลฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ขอรับคำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกประกันสุขภาพที่ตรงใจที่สุดได้ฟรีตั้งแต่วันนี้ โทรเลย 1438 หรือ rabbitcare.com
• ผู้ประกันตนสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ ทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ทางแอปพลิเคชัน SSO Connect และทางสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
• โรงพยาบาลที่ขอเปลี่ยนจะต้องเป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ ทำงานหรือพักอาศัยในปัจจุบัน และมีจำนวนผู้ประกันตนไม่เกินตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
• เมื่อแจ้งเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมแล้ว ต้องรออย่างน้อย 3 วันทำการจึงจะทราบผลการพิจารณาขอย้ายโรงพยาบาลประกันสังคม
• หากแจ้งของเปลี่ยนสถานพยาบาลประกันสังคมใหม่ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 จะสามารถจะใช้สิทธิ์ที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 16 ของเดือนนั้น
• หากทำเรื่องระหว่างวันที่ 16 ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน จะสามารถเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?