ประกันสังคม เสียชีวิตจะจ่ายให้เท่าไหร่? ต้องทำอย่างไรบ้าง?
เมื่อพูดถึงสิทธิ์ประกันสังคมที่เราต้องจ่ายเบี้ยประกันสังคมกันทุกเดือน หลายคนน่าจะนึกถึงเรื่องสิทธิ์รักษาพยาบาล หรือสิทธิ์ในการชดเชยการว่างงานกันเป็นส่วนมาก แต่รู้หรือไม่? นอกจากเรื่องค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังมีสิทธิ์อื่น ๆ จากประกันสังคมอีกมากมายที่เราอาจจะเผลอมองข้ามไปก็ได้ อย่าง การจ่ายเงินกรณีเสียชีวิต ทางประกันสังคมฯเองก็จ่ายเช่นกัน! ว่าแล้วไปทำความรู้สึกกับสิทธิ์เหล่านี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า!
ไขข้อข้องใจ ผู้ประกันตนมาตราต่าง ๆ เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร?
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ผู้ประกันตนตามมาตราต่าง ๆ นั้นจะแตกต่างกันออกไป โดย
- ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
- ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนที่ลาออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมให้ต่อเนื่องโดยสมัครใจ และมีเงื่อนไขคือต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ ผู้ที่ประกิบอาชีพอิสระต่าง ๆ เช่น ฟรีแลนซ์, พ่อค้าแม่ค้า, วินมอเตอร์ไซค์, อินฟูลเอนเซอร์ เป็นต้น ที่ต้องการสิทธิประโยชน์จากทางประกันสังคม โดยจะทำจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมด้วยตัวเอง ดังนี้ จ่ายเงิน 70 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี , จ่ายเงิน 100 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี, และจ่ายเงิน 300 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 5 กรณี
โดยสิทธิ์ประโยชน์หลัก ๆ ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ คือ เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย, เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต (ค่าทำศพ) นั่นเอง
รู้จักกันอีกสิทธิ์ของประกันสังคม กับ เงินกรณีเสียชีวิต
อย่างที่ทาง แรบบิท แคร์ ได้กล่าวไว้ข้างต้น สิทธิที่หลายคนเลือกใช้จากประสังคมมักจะเป็นเงินชดเชยเรื่องอาการเจ็บป่วย แต่อีกหนึ่งสิทธิ์ที่ผู้ประกันตนอาจจะมองข้ามไปจากประกันสังคม คงหนีไม่พ้น “เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต” และ “เงินค่าทำศพ” โดยทางประกันสังคมจะมอบสิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคม “กรณีเสียชีวิต” ดั่งต่อไปนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
เบื้องต้นแล้ว ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 จะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท ทันที นอกจากนี้จะมีเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตจากนายจ้างเพิ่มเติม โดยสิทธิ์นี้จะเป็นสิทธิ์สำหรับผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย และมีเงื่อนไข ดังนี้
- เมื่อจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 – 119 เดือน จะได้เงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้าง เฉลี่ย 4 เดือน
- หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้เงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน
เช่น คุณแคร์ มีเงินเดือน 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบให้ประกันสังคมมานานถึง 30 ปี ภายหลังคุณแคร์ได้เสียชีวิต โดยคู่รักของคุณแคร์เป็นทั้งผู้จัดการศพ และเป็นบุคคลที่คุณทำหนังสือระบุการรับสิทธิเอาไว้
ทำให้คู่รักของคุณแคร์จะได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท ส่วนเงินสงเคราะห์ 50% จากค่าจ้าง เป็นเงิน 10,000 บาท สะสมนาน 12 เดือน รวมเป็นเงิน 120,000 บาท สรุปแล้ว คู่รักของคุณแคร์จะได้เงินจากประกันสังคมไปทั้งหมด เมื่อคุณแคร์เสียชีวิต 170,000 บาท
ผู้ประกันมาตรา 40
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างจากผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 อยู่ โดยจะมีเงื่อนไข และเงินค่าทำศพที่ได้ก็จะแตกต่างกันตามจ่ายตามทางเลือก ดังนี้
- ทางเลือกที่ 1 และ 2 จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน และจะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท ก่อนเดือนที่ตาย จะได้รับเงินสงเคราะห์ 8,000 บาท
- ทางเลือกที่ 3 ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
โดยเงินค่าทำศพจะถูกมอบให้กับผู้จัดการศพ เช่น สามี-ภรรยา, บิดา-มารดา,บุตร หรือญาติ-พี่น้อง ของผู้ประกันตน ส่วนเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต จะจ่ายให้แก่บุคคลที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้เท่านั้น หากไม่ได้ทำหนังสือระบุไว้ จะเฉลี่ยจ่ายให้ผู้มีสิทธิในจำนวนที่เท่ากัน
นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขว่า บิดา-มารดา หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาจะเป็นผู้รับได้เท่านั้น หรือในกรณีของบุตร ก็จะต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย
หากผู้ทำประกันสังคม เสียชีวิตก่อนกำหนด ทายาทจะได้รับประโยชน์ทดแทนเป็นเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิตตามกฎหมายประกันสังคมกำหนด ซึ่งหากคุณเลือกทำประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ ต่าง ๆ เพิ่มเติมเอาไว้ ส่วนนี้ก็จะช่วยสมทบไว้ให้คนที่รักได้เพิ่มอีกด้วย
แล้วแบบนี้ต้องเริ่มต้นเตรียมเอกสารยังไง เพื่อขอรับเงินประกันสังคม เสียชีวิต
เบื้องต้น ผู้จัดการศพ หรือทายาทของผู้ประกันตน เริ่มต้นเตรียมเอกสาร และเตรียมขั้นตอนได้ ดังนี้
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ฺ จากประกันสังคม มีดังนี้
หลักฐานกรณีขอรับค่าทำศพ
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง
- หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
- สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารอิสลาม และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
หลักฐานกรณีขอรับเงินสงเคราะห์
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมตัวจริงและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์
- สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
- สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร
กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน ให้เตรียมเอกเสารเพิ่มเติม ดังนี้
- หนังสือมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
- หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม
- การยื่นคำร้องขอรับค่าทำศพ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคม ทุกเขตพื้นที่และทุกทุกจังหวัดที่สะดวกในการยื่นคำร้อง
ขั้นตอนการขอรับเงินค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ จากประกันสังคม เสียชีวิต
ขั้นตอนต่าง ๆ สามารถเริ่มต้นทำได้ ดังนี้
- ผู้จัดการศพ และผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ และพร้อมนำเอกสารกต่าง ๆ ครบถ้วน มายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด, สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์
- รอเจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ โดยทางสำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
- เมื่อผลอนุมัติ จะมีการพิจารณาสั่งจ่ายทั้ง 3 แบบ โดยผู้รับผลประโยชน์สามารถเลือกได้ 3 ทาง ดังนี้ แบบที่ 1 ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน โดยทางประกันสังคมจะจ่ายเป็นเงินสด หรือเช็ค, แบบที่ 2 ส่งธนาณัติให้ผู้รับผลประโยชน์, แบบที่ 3 โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 9 ธนาคาร ตามที่ได้ร้องขอสำเนาไป
ถึงแม้ว่าประกันสังคมจะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้รับผลประโยชน์ในกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต แต่จำนวนเงินที่ได้รับ อาจจะไม่เพียงพอต่อการจัดการงานศพที่มักจะมีค่าใช้จ่ายมากมายไม่คาดฝัน จนต้องขอสินเชื่อมาใช้จ่าย หรือภาระหนี้สินที่เหลืออยู่
ดังนั้น การมีประกันชีวิตย่อมช่วยวางแผนจัดการค่าใช้จ่ายให้คนข้างหลังได้ง่าย ๆ ด้วยแบบประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ ที่มีให้เลือกครบทุกความต้องการ
พร้อมบริการให้คำแนะนำในการเลือกแบบประกันที่ตรงกับความต้องการและงบในกระเป๋าจากผู้เชี่ยวชาญ แคร์เอเจ้นท์ ที่พร้อมให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย ให้การทำประกนัชัวิตของคุณนั้นง่ายๆ คแ่ปลายนิ้ว คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct