แคร์ไลฟ์สไตล์

ชอบกินสุก ๆ ดิบ ๆ ระวังเสี่ยงเป็นโรคไข้หูดับ

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง
ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: April 19,2021
  
Last edited: April 26, 2021
โรคไข้หูดับ

ยังคงมีอีกหลาย ๆ คนที่ชื่นชอบกับการกินปิ้ง ย่าง หรืออาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ลาบ ก้อย เนื้อย่าง หลู้หมูดิบ ซึ่งคุณรู้หรือไม่ว่า อาหารจำพวกนี้เมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ จะเกิดการสะสมทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสดเลือดได้ และเสี่ยงสูงต่อร่างกายจนนำไปสู่โรคไข้หูดับได้ ซึ่งโรคดังกล่าวมีอาการอย่างไร วันนี้ Rabbit Care มีข้อมูลดี ๆ มาฝากกัน 

โรคไข้หูดับ

สาเหตุและอาการของโรคไข้หูดับ 

ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 12 ธันวาคม 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ จำนวน 337 ราย เสียชีวิต 12 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี รองลงมา 55 – 64 ปี และ 45 – 54 ปี ตามลำดับ ส่วนภาคที่มีผู้ป่วยมากที่สุดคือ ภาคเหนือ (ผู้ป่วย 215 ราย คิดเป็นร้อยละ 64 ของผู้ป่วยทั้งหมด) จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อุตรดิตถ์ พิจิตร พะเยา กำแพงเพชร และลำปาง ตามลำดับ  นอกจานี้ยังพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่าน อีกด้วย

โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยกลุ่มเสี่ยงมีอาการป่วยรุนแรงถ้าติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ หรือผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย ที่สามารถติดต่อได้ ดังนี้

1.เกิดจากการบริโภคเนื้อและเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ

2.การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค 

3.ติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกาย 

4.การติดเชื้อไข้หูดับติดต่อได้ทางเยื่อบุตา

5.ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู ทำงานในโรงงานชำแหละหมู 

ทั้งนี้เมื่อได้รับการติดเชื้อจากโรคไข้หูดับแล้ว ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 – 14 วัน แต่มักมีอาการหลังรับเชื้อไม่เกิน 3 วัน ที่พบได้บ่อย ได้แก่ มีไข้หนาวสั่น คลื่นเหียน ปวดศีรษหอบเหนื่อย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งนําไปสู่การเสียชีวิตได้นั่นเอง แต่ถ้าไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอาจจะพบความพิการตามมา เช่น สูญเสียการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง และสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวก หรือที่เรียกว่าหูดับ นั่นเอง 

โรคไข้หูดับ

การป้องกันและการรักษาโรคไข้หูดับ

วิธีการป้องกันโรคไข้หูดับ ได้แก่ 

1.เลือกรับประทานหมูสุกเท่านั้น ไม่รับประทานสุก ๆ ดิบ ๆ 

2.ควรเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์ 

3.ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู หรือทำงานในโรงฆ่าสัตว์ สัตวแพทย์ ควรสวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทยางด้วย 

4.หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง

ดังนั้น หากมีอาการข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว ขอให้รีบพบแพทย์ทันที เพราะเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งระยะเวลาในการรักษาอาจ ยาวนานกว่า 14 วัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ผู้ป่วยพิการ กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ฉะนั้นแล้วเมื่อรู้สึกได้ถึงความผิดปกติต่อร่างกายไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และทันท่วงที ก่อนที่จะสายเกินแก้ต่ออาการที่ลุกลามมากยิ่งขึ้นนั่นเอง 

โรคไข้หูดับ

ประกันสุขภาพ OPD/IPD ครอบคลุมทุกการเจ็บป่วย

เป็นที่ทราบกันดีว่า ชีวิตนั้นไม่แน่ไม่นอน อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องของความเจ็บไข้ได้ป่วย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว และถ้าหากวันใดที่ต้องเจ็บป่วยหนักจนต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลที่ทำให้เรารู้สึกกังวลใจได้ ฉะนั้นแล้วเพื่อเป็นการลดความกังวลใจและลดความเสี่ยงในหลาย ๆ ด้าน 

การซื้อประกันสุขภาพ OPD/IPD จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้คุณอุ่นใจได้ เพราะไม่ต้องรับภาระค่ารักษาพยาบาลที่มีราคาสูงอีกด้วย ซึ่ง OPD (ผู้ป่วยนอก) ส่วนใหญ่จะเป็นการเข้ารับการรักษาปัญหาสุขภาพที่อาการไม่รุนแรง หรืออาการเล็กๆ น้อยๆ เช่นเป็นหวัด ปวดหัว หกล้ม ปวดท้อง ส่วน IPD (ผู้ป่วยใน) เป็นการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ 

นอกจากนี้ การเลือกทำประกันสุขภาพ OPD(ผู้ป่วยใน) นั้นส่วนใหญ่ยังให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่าปรึกษาแพทย์ ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าบริการใช้ห้องผ่าตัด ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจทางชีวเคมี ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด ค่ารถพยาบาล ค่าเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ รวมถึงค่าชดเชยจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย ซึ่งผู้ที่ซื้อประกันประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็กไปจนถึงวัยสูงอายุ ให้กับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ 

ประกันสุขภาพ OPD/IPD ที่ดูแลคุณทั้งบาดเจ็บและเจ็บป่วยได้อย่างครอบคลุม สนใจทำประกันสุขภาพได้ที่  Rabbit Care


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 85349

แคร์ไลฟ์สไตล์

ปักหมุด 8 อุทยานแห่งชาติที่กำลังมาแรงแห่งปี 2568 ใครชอบธรรมชาติติดใจแน่นอน

ใช้ชีวิตในป่าคอนกรีต ทำงานเช้าเย็น เหนื่อยทั้งกายทั้งใจมานาน ลองมารีชาร์จ เติมพลังให้ตนเองซะหน่อยด้วยการกลับสู่ธรรมชาติ เข้าป่า ล่องลำธาร ส่องสัตว์ ลงทะเล
Nok Srihong
13/01/2025
Rabbit Care Blog Image 98485

แคร์ไลฟ์สไตล์

ข้อมูลสำหรับสายบินลัดฟ้า! พิกัดที่จอดรถสนามบินดอนเมือง ค่าจอดรถสนามบินดอนเมือง 2568

ใครเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินบ่อยต้องอ่าน กับข้อมูลที่จอดรถสนามบินดอนเมืองที่ควรรู้ต่าง ๆ ทั้งรายละเอียดอาคารจอดรถสนามบินดอนเมืองว่ามีกี่อาคาร
Nok Srihong
24/12/2024
Rabbit Care Blog Image 98154

แคร์ไลฟ์สไตล์

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
คะน้าใบเขียว
19/12/2024