CEO vs COO vs CFO vs CTO รู้จักตำแหน่งงานระดับสูง ใครอยากเป็น ต้องอ่านเลย!
คนเราทำงานเช้าเย็น แลกเงิน แลกตำแหน่ง แลกความก้าวหน้าทางการงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเชื่อว่าก็คงมีผู้ทำงานไม่น้อย ที่คิดการใหญ่ ไม่อยากหยุดชะงักอยู่ ณ ตำแหน่งงานเดิมไปจนตาย หลายคนฝันอยากมีออฟฟิศแยกประจำตัว อยากขึ้นสู่ระดับผู้บริหาร C-Level ทั้งหลาย ตั้งแต่ CEO, CFO, COO ไปจนถึง CTO ซึ่งก่อนจะไต่ไปถึงตำแหน่งในฝัน เรามาแยกแยะกันเถอะว่าแต่ละตำแหน่ง แต่ละตัวย่อนั้น มีความหมายว่าอะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
C Level คืออะไร ?
C level หรือที่เรียกกันสวย ๆ หรู ๆ ว่า C-suite คือคำใช้เรียกกลุ่มผู้บริหารระดับสูงภายในองค์กร เป็นกลุ่มคนที่มีหน้าที่มีวางแผน และตัดสินใจทิศทาง และกลยุทธ์สำคัญทั้งหลายของบริษัท โดยยิ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ บ่อยครั้งที่ C Level จะไม่ได้มีส่วนลงมาดูแล และควบคุมงานทั่วไป หากแต่จะควบคุมแผนการระยะยาวเชิงธุรกิจ เชิงงบประมาณ ที่นำไปสู่กำไรสูงสุดของบริษัทภายในแต่ละไตรมาส
C Level มีตำแหน่งอะไรบ้าง ?
ความจริงแล้วตำแหน่ง C Level มีหลากหลายตำแหน่งมาก ๆ ตั้งแต่ตำแหน่งที่เรา ๆ ทั้งหลาย เคยได้ยินมาบ่อยครั้ง เช่น CEO (Chief Executive Officer), CFO (Chief financial officer), COO (Chief operating officer) และ CTO (Chief Technology Officer) นอกเหนือจากนั้นยังมีตำแหน่งผู้บริหารที่คุมการปฎิบัติงานเฉพาะด้าน เช่น CHRO (Chief human resources officer) CCO (Chief compliance officer) CMO (Chief marketing officer) และอื่น ๆ อีกมากมาย
ฉะนั้นในแต่ละบริษัท ไม่จำเป็นที่จะต้องมีตำแหน่ง C Level ครบทุกตำแหน่งก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับแผนผังของแต่ละบริษัท และอุตสาหกรรมของแต่ละบริษัท จึงขออธิบายความหมายของ C Level เฉพาะที่เราเห็นกันบ่อย ๆ
CEO คือ ?
CEO หรือ Chief Executive Officer เป็นตำแหน่งสูงสุดขององค์กร รับผิดชอบภาพรวมของบริษัททั้งหมด ทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวของแต่ละบริษัท ทำหน้าที่รับรู้ และบริหารงานของผู้บริหารคนอื่น ๆ พิจารณาทิศทาง และกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัท ให้คิดกับ CEO เหมือนกับบอสของผู้บริหารฝ่ายอื่น ๆ และหากบริษัทมีคณะกรรมการ (Board of Director) CEO อาจเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ หรือทำหน้าที่เชื่อมต่อ สานเจตนารมณ์ของเหล่าผู้ถือหุ้น
CEO vs. Chairman
ในกรณีที่บริษัทมีขนาดที่ใหญ่ และมีประวัติความเป็นมายาวนาน จนบ่อยครั้งมีการตั้งคณะกรรมการ (Board of Director) ซึ่งไม่ใช่ทีมเดียวกับคณะผู้บริหาร โดยคณะกรรมการจะมีหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้น และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานเชิงปฎิบัติ หรือเชิงกลยุทธ์ซักเท่าไหร่ อาจทำหน้าที่ระดมทุน หรือเข้าประชุม ให้คำแนะนำเล็กน้อย จะทำหน้าที่คล้ายนายทุน โดย Chairman คือหัวหน้าของคณะกรรมการ (Board of Director) หรือผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท ส่วน CEO ทำหน้าที่บริหารงานทุกอย่างในส่วนของ Operation และแผนการ กลยุทธิ์ระยะยาว และระยะสั้นขององค์กร
ทั้งนี้ทั้งนั้น CEO สามารถเป็นได้ทั้งคณะกรรมการ ร่วมถือหุ้นด้วย หรือ CEO อาจไม่ได้ถือหุ้นเลยก็ได้ แต่มีหน้าที่บริหารงาน สร้างความพึงพอใจให้ทั้งฝ่ายผู้ทำงาน และฝ่ายผู้ถือหุ้น นายทุน นักลงทุนทั้งหลาย
COO คือ ?
COO หรือ Chief Operating Officer คือตำแหน่งที่รองมาจาก CEO มักจะมีในบริษัทที่มีโครงสร้างค่อนข้างใหญ่ โดยส่วนมาก COO จะเป็นคนร่วมตัดสินใจ หรือรับสารต่อมาจาก CEO หรือ Chairman จากนั้น COO จึงนำแผนการต่าง ๆ ไปปฎิบัติงานจริงในออฟฟิศ บริหาร Director ในแผนกต่าง ๆ ซึ่งบ่อยครั้ง COO จะมีหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายบุคคล และการทำงานภายในออฟฟิศด้วยเช่นกัน พูดง่าย ๆ คือควบคุมการทำงานในทุก ๆ วัน จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญมาก ๆ
COO vs. President
COO และ President เป็น 2 หน้าที่ที่มีความคาบเกี่ยวกันอย่างมาก แต่ความแตกต่างสำคัญคือกรอบของงาน โดยหากเป็น COO จะเพ่งเล็งควบคุม และบริหารงานระหว่างวัน (Daily-Task) ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ในอนาคต ส่วน President ควบคุมงานเชิงกลยุทธ์ระยะยาว COO และ President จึงมักทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทั้ง 2 อย่างสอดคล้องกัน และนำพาบริษัทไปในทิศทางเดียวกันนั่นเองภายใต้การนำของ CEO
CFO คือ
CFO หรือ Chief Financial Officer คือผู้ที่คุมความเป็นไปด้านการเงินทั้งหมดของบริษัท โดยจะมีส่วนในการดูแลตรวจสอบงบประมาณ รายได้ กำไร รวมถึงให้คำแนะนำด้านนโยบายการเงินที่จะทำให้บริษัทพัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง เช่น ลดต้นทุนในการผลิต หรือหาผู้ร่วมทุนใหม่ ก็อาจเป็นแผนการที่ CFO สามารถเสนอ CEO หรือคณะกรรมการได้
นอกจากนั้น CFO ยังมีหน้าที่วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของตลาดซึ่งจะสามารถมีผลเกี่ยวข้องกับผลกำไรของบริษัท เช่นวิเคราะห์วิกฤตโควิด และผลกระทบที่อาจสามารถส่งผลกับการลดลงของลูกค้า ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มมากขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย จึงนับเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ทำบัญชี หรือปิดงบบริษัทเท่านั้น
CTO คือ
CTO หรือ Chief Technology Officer ซึ่งสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า CIO หรือ Chief Information Officer เป็นตำแหน่งที่บริษัทในยุคดิจิทัลต้องการมากยิ่งขึ้นทุกขณะ เพราะทำหน้าที่ดูแลจัดการข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี เพราะบทบาทของวิทยาการ และเทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน และมีผลต่อธุรกิจโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Cloud / เทคโนโลยี AI / CRM Software และอื่น ๆ อีกมากมาย และรายงาน CEO
โดยเทคโนโลยี และข่าวสารในยุคปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วระดับอาทิตย์ต่ออาทิตย์ และมีผลโดยตรงต่อการทำงานในแต่ละวัน ไปจนถึงระบบป้องกันความปลอดภัยในบริษัท และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ CTO ต้องอัปเดตเทคโนโลยี และนำเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์มาปรับใช้กับองค์กรให้ได้ผลประกอบการที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ที่สุด CTO จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในองค์กรยุคใหม่
อยากเป็น CEO ต้องทำอย่างไร ?
สร้างประสบการณ์ : CEO มักมีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญในธุรกิจหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น การเงิน การตลาด หรือดำเนินการ คุณสามารถพัฒนาประสบการณ์เหล่านี้ผ่านตำแหน่งการจัดการหรือผู้นำต่างๆ
พัฒนาทักษะในการนำทีม : CEO ต้องสามารถนำและจัดการทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณสามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ผ่านประสบการณ์ในตำแหน่งผู้นำ เช่น ตำแหน่งการจัดการหรือสมาชิกกรรมการบริษัท
สร้างเครือข่าย : CEO ต้องสร้างสัมพันธ์กับผู้นำธุรกิจและผู้บริหารอื่น ๆ สามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจและความน่าเชื่อถือในวงกว้างของอุตสาหกรรมของคุณ
ประวัติการสำเร็จ : CEO ต้องมีการแสดงให้เห็นถึงประวัติการสำเร็จและการเป็นตัวแทนของผลสำเร็จในตำแหน่งก่อนหน้านี้จะเพิ่มโอกาสให้คุณได้รับการพิจารณาสำหรับตำแหน่งผู้บริหารอาวุโส
การเป็นสมาชิกกรรมการ : บาง CEO มีประสบการณ์ในการเป็นสมาชิกกรรมการในองค์กรอื่น ๆ ซึ่งสามารถเป็นประสบการณ์ที่มีค่าสำหรับบทบาทนี้
คุณสมบัติที่ดีของของ CEO / COO / CFO และ CTO
ความเข้าใจทางธุรกิจ : CEO ควรมีความเข้าใจลึกในอุตสาหกรรม และแบบจำลองธุรกิจขององค์กร พวกเขาต้องมีความเข้าใจทางธุรกิจอย่างแข็งแกร่งและสามารถตัดสินใจทางการเงินและดำเนินการได้อย่างมีเสถียรภาพ
ทักษะในการสื่อสาร : การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารระดับ CEO พวกเขาควรสามารถแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของตน สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระตุ้นแรงจูงใจให้กับพนักงาน และสร้างความร่วมมือในแผนกต่าง ๆ
ความยืดหยุ่น : สถานการณ์ธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และผู้บริหารระดับ CEO ต้องมีความยืดหยุ่นและเปิดรับความคิดใหม่ พวกเขาควรสามารถนำทางผ่านความไม่แน่นอน ปรับปรุงเวลาอย่างทันเวลา และนำองค์กรผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลง
การตัดสินใจ : C Level ต้องเป็นผู้ตัดสินใจที่เก่ง สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่ซับซ้อน ประเมินความเสี่ยง และตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่เป็นพื้นฐานที่ดี ให้ประโยชน์แก่องค์กรในระยะยาว พวกเขาควรสามารถสมดุลความต้องการในระยะสั้นกับวัตถุประสงค์ในระยะยาว
ความอดทน : ความสามารถในการรับมือกับความกดดัน ฟื้นคืนตัวจากความล้มเหลว และรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงเวลาที่ท้าทาย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ C Level พวกเขาควรแสดงความอดทนและเป็นตัวอย่างในช่วงวิกฤตหรือช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
การเรียนรู้ตลอดเวลา : C Level ควรมีความกระหายในการเรียนรู้และมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำความเข้าใจแนวโน้มในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้น และสมรรถนะที่ดีที่สุดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างนวัตกรรมและรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน
ถึงแม้ว่าทุกคนอาจขึ้นไปไม่ถึงระดับ CEO แต่เราทุกคนก็จะต้องบริหารหลากหลายแง่มุมในชีวิตในทุก ๆ วัน ให้ออกมาได้ดีที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้เงิน จับจ่ายใช้สอย มาทำให้ทุกการใช้จ่ายคุ้มค่า ยิ่งช้อปยิ่งได้พอยต์ ยิ่งได้แคชแบ็ค แรบบิท แคร์ แนะนำ บัตรเครดิต จากธนาคารชั้นนำ คลิกดูเลย!
บทความแนะนำอื่น ๆ
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct