แคร์ขับขี่ปลอดภัย

อัปเดตกฎหมายที่จอดรถ ในแต่ละสถานที่มีข้อกำหนดแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน

ผู้เขียน : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 21,2024
กฎหมายที่จอดรถ

โดยปกติแล้วเวลาเราจอดรถยนต์ตามที่ต่าง ๆ ต้องอาศัยการดูป้ายอนุญาตของแต่ละสถานที่ แต่ในความเป็นจริงแล้วก่อนจะมีป้ายเหล่านั้น จะต้องมีเรื่องกฎหมายที่จอดรถเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งถึงแม้อาจจะดูเหมือนสัมผัสได้ค่อนข้างยาก แต่กฎหมายที่จอดรถก็มีผลทำให้สถานที่จอดหลายแห่ง ถูกสร้างขึ้นมา พร้อมกำหนดจำนวนช่องจอดรถเอาไว้ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายที่จอดรถกำหนด

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว แรบบิท แคร์ ได้ลองสรุปสิ่งที่น่าสนใจที่เริ่มตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ว่าขนาดตามกฎหมายที่จอดรถขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ ต้องมีขนาดเท่าไหร่ ไปจนถึงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวน หรือขนาดที่จอดสำหรับสถานที่แต่ละแห่งทั้งหมด

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

ขนาดกฎหมายที่จอดรถขั้นพื้นฐาน

ขนาดกฎหมายที่จอดรถขั้นพื้นฐานได้กำหนดเอาไว้ ว่าต้องมีขนาดกว้างและยาวที่ 2.4 x 5.0 เมตร ต่อการจอดรถยนต์จำนวน 1 คัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งานรถยนต์ นอกจากนั้นต้องมีการเว้นระยะห่างด้านข้างรถไว้ประมาณ 70 เซนติเมตร เป็นระยะห่างสำหรับการเปิดประตูรถยนต์ พร้อมกับเว้นด้านหน้ารถยนต์อีกประมาณ 40 เซนติเมตร เป็นระยะห่างเพื่อทางเดินหน้ารถยนต์นั่นเอง

กฎหมายที่จอดรถสำหรับแต่ละสถานที่

กฎหมายที่จอดรถสำหรับแต่ละสถานที่ ตามกฎกระทรวงจะแบ่งได้ประมาณ 8 สถานที่ คือ อาคารสาธารณะ, อาคารขนาดใหญ่, คอนโด, โรงแรม, ภัตตาคาร, ห้างสรรพสินค้า, สำนักงาน และห้องโถงของภัตตาคารหรืออาคารขนาดใหญ่ โดยในแต่ละสถานที่กฎกระทรวงได้มีการกำหนดขั้นต่ำของที่จอดรถยนต์ที่ควรมีไว้แล้ว ซึ่งจะมีการแยกย่อยรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปเพิ่มเติม โดยแบ่งออกเป็นกฎหมายที่จอดรถสำหรับสถานที่ที่อยู่ภายในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น ๆ ดังนั้นจึงสรุปข้อมูลอย่างละเอียดได้ตามหัวข้อย่อยทั้งหมดด้านล่าง

กฎหมายที่จอดรถ อาคารสาธารณะ 

กฎหมายที่จอดรถ อาคารสาธารณะ หรือกฎหมายที่จอดรถสำหรับโรงมหรสพที่มีที่นั่งไม่น้อยกว่า 500 ที่ตามกฎกระทรวง จะต้องมีที่จอดรถตามกำหนด 3 กรณีด้วยกัน คือ กรณีที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร, กรณีที่อยู่ในเขตตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์ และกรณีที่อยู่ต่างจังหวัด

กฎหมายที่จอดรถ อาคารสาธารณะ

กฎหมายที่จอดรถ อาคารขนาดใหญ่

กฎหมายที่จอดรถ อาคารขนาดใหญ่ จะค่อนข้างพิเศษมากกว่ากฎหมายที่จอดรถแห่งอื่น เพราะต้องมีการระบุด้วยว่าอาคารขนาดใหญ่แห่งนั้น ประกอบกิจการอะไร หลังจากนั้นจึงกำหนดจำนวนที่จอดรถยนต์ไปตามประเภทของกิจการที่ประกอบ หรือให้ใช้ข้อกำหนดพื้นฐานตามกฎหมายที่จอดรถอาคารประเภทดังกล่าว ในพื้นที่กรุงเทพมหานครว่าต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 120 ตารางเมตร ส่วนต่างจังหวัดกำหนดไว้ที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 240 ตารางเมตร 

หมายเหตุเพิ่มเติม หากอาคารขนาดใหญ่นั้นมีความสูงไม่เกินตึก 4 ชั้น กฎหมายที่จอดรถกำหนดว่าต้องมีที่จอดรถยนต์อยู่ภายนอกอาคาร หรือห้องใต้ดินของอาคารไม่น้อยกว่า 1 คันต่อ 1 ห้อง

กฎหมายที่จอดรถคอนโด

กฎหมายที่จอดรถคอนโด จะสามารถแบ่งได้ 2 กรณีใหญ่ คือ การคำนวณตามพื้นที่ใช้สอย และการคำนวณตามขนาดของคาร ซึ่งกฎหมายที่จอดรถสำหรับคอนโด ยังมีการแบ่งแยกย่อยตามเขตพื้นที่อีกด้วย ทำให้มีรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ตามการแบ่งทั้งในแง่กรณีที่กล่าวมา กับเขตพื้นที่เป็นดังข้อมูลในตารางด้านล่างนี้

ภายในเขตพื้นที่กรุงเทพฯภายในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด
คำนวณตามพื้นที่ใช้สอยห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 60 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน/1 ห้องห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 60 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน/2 ห้อง
คำนวณตามขนาดของอาคารทุกพื้นที่ก่อสร้าง 120 ตารางเมตร จะต้องมีที่จอดรถ 1 คันทุกพื้นที่ก่อสร้าง 240 ตาราง
เมตร จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน

หมายเหตุเพิ่มเติม กรณีที่จะจัดที่จอดรถยนต์ภายในคอนตามกฎหมายที่จอดรถ โดยอาศัยวิธีการคำนวณตามขนาดของอาคาร ต้องมีพื้นที่ก่อสร้างมากกว่า 1,000 ตารางเมตร สูง 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ก่อสร้างมากกว่า 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

กฎหมายที่จอดรถ โรงแรม

กฎหมายที่จอดรถ โรงแรม ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีกำหนดเอาไว้ว่าที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพืนทีห้องโถง 10 ตารางเมตร และไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่ที่ใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรม 20 ตารางเมตร ส่วนในเขตต่างจังหวัดมีกำหนดไว้ว่าที่จอดรถยนต์ต้องมีไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่ห้องโถง 30 ตารางเมตร และยังต้องไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่ที่ใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรม 40 ตารางเมตร

กฎหมายที่จอดรถ อาคารขนาดใหญ่

กฎหมายที่จอดรถ ภัตตาคาร

กฎหมายที่จอดรถ ภัตตาคาร สำหรับภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และนอกเขต (ต่างจังหวัด) จะมีการอ้างอิงจากพื้นที่ตั้งโต๊ะอาหารดังนี้

กฎหมายที่จอดรถห้างสรรพสินค้า

กฎหมายที่จอดรถห้างสรรพสินค้า หากเป็นเขตพื้นที่ภายในกรุงเทพมหานครกำหนดไว้ว่าต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่ 20 ตารางเมตร ส่วนห้างสรรพสินค้าต่างจังหวัด ต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่ 40 ตารางเมตร

กฎหมายที่จอดรถสำนักงาน

กฎหมายที่จอดรถสำนักงาน สำหรับเขตพื้นที่ภายในกรุงเทพมหานคร จะต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยไปกว่า 1 คันต่อพื้นที่ 60 ตารางเมตร และพื้นที่ต่างจังหวัด ต้องมีที่จอดรถยนตืไม่น้อยไปกว่า 1 คันต่อพื้นที่ 120 ตารางเมตร

กฎหมายที่จอดรถคอนโด

กฎหมายที่จอดรถห้องโถงของภัตตาคาร หรืออาคารขนาดใหญ่

กฎหมายที่จอดรถ ห้องโถงของภัตตาคารหรืออาคารขนาดใหญ่ หากอยู่ภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยไปกว่า 1 คันต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร และถ้าอยู่ต่างจังหวัดต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยไปกว่า 1 คันต่อพื้นที่ 30 ตารางเมตร

อ้างอิงข้อมูลกฎหมายที่จอดรถยนต์จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถมภ์

กฎหมายที่จอดรถสำหรับบ้านเดี่ยว

กฎหมายที่จอดรถ บ้านเดี่ยว เป็นข้อมูลเผื่อเอาไว้สำหรับคุณเจ้าของรถยนต์ที่อยากทำบ้านเอง แต่ยังไม่ทราบข้อกำหนดของกฎหมาย เบื้องต้นบ้านที่ต้องการให้มีที่จอดรถยนต์ 1 คัน ควรมีความกว้าง x ยาว ประมาณ 2.8 x 5.5 เมตร ส่วนบ้านไหนที่ต้องการจอดรถยนต์ 2 คัน ควรมีความกว้างยาว 5 x 5.5 เมตร

กฎหมายที่จอดรถ สำหรับทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม

กฎหมายที่จอดรถ ทาวน์เฮาส์หรือทาวน์โฮม มีกำหนดว่าต้องมหน้ากว้างตั้งแต่ 4 – 10 เมตร หรือต้องมีขั้นต่ำอย่างน้อย 2.4 x 5 เมตร ซึ่งถ้าใครกำลังมองหาทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮมที่สามารถจอดรถยนต์ของตัวเองได้ ก็อย่าลืมเช็กความกว้างด้านหน้า เพื่อวางแผนการจอดรถอย่างเหมาะสมอีกทีหนึ่งด้วย 

อุบัติเหตุในที่จอดรถ ประกันรถยนต์แต่ละชั้นคุ้มครองหรือไม่

การเกิดอุบัติเหตุในที่จอดรถเป็นเหตุการณ์ที่พบได้บ่อย เช่น การชนกับรถคันอื่น ชนเสา หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยไม่มีคู่กรณี สำหรับกรณีนี้ ความคุ้มครองของประกันรถยนต์แต่ละชั้นจะมีความแตกต่างกันไป นี่คือรายละเอียดเกี่ยวกับความคุ้มครองของประกันรถยนต์แต่ละประเภทเมื่อเกิดอุบัติเหตุในที่จอดรถ:

1. ประกันรถยนต์ชั้น 1

2. ประกันรถยนต์ 2+

3. ประกันชั้น 3+ ราคาย่อมเยาว์

4. ประกันรถยนต์ชั้น 2 และประกันรถยนต์ชั้น 3

5. กรณีอื่น ๆ ในที่จอดรถ

สรุป

การเลือกประกันที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณมีความมั่นใจเมื่อเกิดเหตุในที่จอดรถ หากคุณกังวลเรื่องความเสียหายต่อรถของคุณเอง ประกันชั้น 1 เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

ด้วยกฎกระทรวงหรือกฎหมายที่จอดรถทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้สถานที่จอดรถยนต์บางแห่ง มีจำนวน และขนาดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด แน่นอนว่าเมื่อปัจจุบันมีการใช้งานรถยนต์ที่มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่จอดรถกับมีจำนวนที่สวนทางกัน ทำให้รองรับได้น้อยลงทุกที ฉะนั้นอาจเจอที่จอดรถขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด จนมีช่องว่างที่ค่อนข้างแคบสำหรับรถยนต์บางรุ่น หากถูกเฉี่ยวชนจากรถยนต์คันอื่น หรือการเกิดอุบัติเหตุกับกำแพง แบริเออร์กั้นที่จอด อาจทำให้รถยนต์เสียหายได้ ฉะนั้นการพิจารณาเรื่องประกันรถยนต์เพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด

แต่จะทำประกันรถยนต์ชั้นไหน ถึงจะสามารถดูแลคุ้มครองได้อย่างครอบคลุม ตามสถานการณ์ที่เรายกตัวอย่างมานั้น คุณสามารถติดต่อเข้ามาสอบถาม ขอคำปรึกษาโดยตรงได้ที่ แรบบิท แคร์ ผ่านเบอร์โทร 1438 (โทรได้ 24 ชั่วโมง) หลังจากที่ตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ได้แล้ว เรายังมีส่วนลดประหยัดสูงสุดถึง 70% มอบให้คุณเป็นพิเศษอีกด้วย!

บทความเกี่ยวกับกฏหมายจราจรอื่นๆ


สรุป

สรุปบทความ

กฎหมายที่จอดรถสำหรับแต่ละสถานที่ ตามกฎกระทรวงจะแบ่งได้ประมาณ 8 สถานที่ ดังนี้

  • อาคารสาธารณะ ในกรุงเทพฯ กำหนดให้มีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อจํานวนที่นั่งสําหรับคนดู 20 ที่
  • อาคารขนาดใหญ่ ในกรุงเทพฯ ว่าต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 120 ตารางเมตร ส่วนต่างจังหวัดกำหนดไว้ที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 240 ตารางเมตร
  • คอนโด ในกรุงเทพฯ ทุกพื้นที่ก่อสร้าง 120 ตารางเมตร จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน หรือห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 60 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องมีที่จอดรถ 1 คัน/1 ห้อง
  • โรงแรม ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีกำหนดเอาไว้ว่าที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพืนทีห้องโถง 10 ตารางเมตร และไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่ที่ใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรม 20 ตารางเมตร
  • ภัตตาคาร ในกรุงเทพฯ ภัตตาคารที่มีพื้นที่ตั้งโต๊ะอาหารไม่เกิน 750 ตารางเมตร ให้มีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คัน/พื้นที่ตังโต๊ะอาหาร 15 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่ตั้งโต๊ะอาหารเกินกว่า 750 ตารางเมตร ในส่วนที่เกินจาก 750 ตารางเมตร ให้ทำการคิดโดยใช้อัตราส่วน 1 คัน ต่อ 30 ตารางเมตร
  • ห้างสรรพสินค้า หากเป็นเขตในกรุงเทพฯ กำหนดไว้ว่าต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คัน/พื้นที่ 20 ตารางเมตร
  • สำนักงาน สำหรับเขตพื้นที่ภายในกรุงเทพมหานคร จะต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยไปกว่า 1 คัน/พื้นที่ 60 ตารางเมตร
  • ห้องโถงของภัตตาคารหรืออาคารขนาดใหญ่ หากอยู่ภายในเขตกรุงเทพฯ จะต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยไปกว่า 1 คัน/พื้นที่ 10 ตารางเมตร
  • บ้านเดี่ยว ต้องมีที่จอดรถยนต์ 1 คัน ควรมีพื้นที่ประมาณ 2.8 x 5.5 เมตร ส่วนบ้านไหนที่ต้องการจอดรถยนต์ 2 คัน ควรมีความกว้างยาว 5 x 5.5 เมตร
  • ทาวน์เฮาส์หรือทาวน์โฮม มีกำหนดว่าต้องมหน้ากว้างตั้งแต่ 4 – 10 เมตร หรือต้องมีขั้นต่ำอย่างน้อย 2.4 x 5 เมตร
จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

Rabbit Care Blog Image 96324

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

เมาไม่ขับกลับบ้านปลอดภัยด้วย 5 บริการที่แสนสะดวกสบาย

ช่วงเทศกาลหรือเวลาที่มีวันหยุดยาวในประเทศไทย มักมีการรณรงค์เรื่องเมาไม่ขับ และความปลอดภัยในการเดินทางอีกหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้มีโอกาสใช้รถ
Natthamon
31/10/2024
Rabbit Care Blog Image 96334

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ทำไงดี ยังสามารถขึ้นได้อยู่ไหม หรือต้องถอยออกสถานเดียว

เป็นกันไหมเวลาจะขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ต้องรู้สึกตกใจ ว่าควรทำอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้มีการใช้งาน M-Flow, M Pass หรือ Easy Pass
Natthamon
22/10/2024
Rabbit Care Blog Image 96023

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ขับรถข้ามประเทศ ทำได้จริงไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไรให้สามารถเดินทางได้ราบรื่น

เมื่อความสนุกในการเดินทาง Road Trip ของหลาย ๆ คนเริ่มมีเป้าหมายที่ไกลขึ้น การขับรถข้ามประเทศจึงกลายเป็นความฝันที่ชาวนักเดินทาง
Natthamon
07/10/2024