สรุปรวมกฎหมายขับรถเร็ว 2568 ที่ควรต้องทราบ

Thirakan T
ผู้เขียน: Thirakan T Published: March 5, 2024
Thirakan T
Thirakan T
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology
คะน้าใบเขียว
แก้ไขโดย: คะน้าใบเขียว Last edited: January 10, 2025
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
Natthamon
ตรวจทาน: Natthamon Last edited: January 10, 2025
Natthamon
Natthamon
ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กฎหมายขับรถเร็ว

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าปัจจุบันกฎหมายขับรถเร็วกำหนดความเร็วของยานพาหนะต่าง ๆ ไว้ที่เท่าใดบ้าง ถนนหรือทางเดินรถแบบไหนบ้างที่กำหนดความเร็วในการขับขี่ และทางเดินรถหรือถนนแต่ละประเภทกำหนดความเร็วไว้ที่เท่าใด หรือขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะยังได้รับความคุ้มครองจากประกันรถยนต์หรือไม่? วันนี้ แรบบิท แคร์ สรุปข้อมูลกฎหมายขับรถเร็วมาให้แล้ว

ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงชนบท

กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ. 2564 โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป กำหนดให้อัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่มีทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องเดินรถขึ้นไป มีเกาะกลางถนนแบบกำแพง (Barrier Median) ที่ใช้แบ่งทางเดินรถในทิศทางตรงข้ามกันและไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน มีรายละเอียดกฎหมายขับรถเร็วดังต่อไปนี้

  • รถยนต์ (ส่วนบุคคล) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์ (ทั่วไป) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ซี.ซี. ขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  • รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถใช้งานเกษตรกรรม ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ หากรถอยู่ในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่ในกรณ๊ที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น

ทางเดินรถในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา และอื่น ๆ 

กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ. 2564 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป กำหนดให้อัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาลนคร เขตเทศบาลเมือง หรือเขตชุมชน มีรายละเอียดกฎหมายขับรถเร็วดังต่อไปนี้

  • รถยนต์ (ส่วนบุคคล) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์ (ทั่วไป) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ซี.ซี. ขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  • รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถใช้งานเกษตรกรรม ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ขับรถเร็ว

ทางเดินรถนอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา และอื่น ๆ

กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ. 2564 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป กำหนดให้อัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาลนคร เขตเทศบาลเมือง หรือเขตชุมชนมีรายละเอียดกฎหมายขับรถเร็วดังต่อไปนี้

  • รถยนต์ (ส่วนบุคคล) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์ (ทั่วไป) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ซี.ซี. ขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  • รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถใช้งานเกษตรกรรม ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทางพิเศษเหนือ หรือใต้พื้นดิน/พื้นน้ำ

กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ. 2564 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป กำหนดให้อัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถที่อยู่บนทางพิเศษ (ทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย) และทางเดินรถนั้นอยู่ในระดับเหนือหรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ มีรายละเอียดกฎหมายขับรถเร็วดังต่อไปนี้

  • รถยนต์ (ส่วนบุคคล) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

ทั้งนี้ หากรถดังกล่าวอยู่ในทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศททางเดียวกันไว้ตั้งแต่สามช่องขึ้นไป ให้การขับรถในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่ในกรณีที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น

ขับรถเร็ว

ทางพิเศษระดับพื้นดิน

กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ. 2564 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป กำหนดให้อัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถที่อยู่บนทางพิเศษ (ทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย) และทางเดินรถนั้นอยู่ในระดับพื้นดิน มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • รถยนต์ (ส่วนบุคคล) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

ทั้งนี้ หากรถดังกล่าวอยู่ในทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศททางเดียวกันไว้ตั้งแต่สามช่องขึ้นไป ให้การขับรถในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่ในกรณีที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น

เกิดอุบัติเหตุเพราะขับรถเร็วกว่ากฎหมายขับรถเร็วกำหนด ประกันรับผิดชอบไหม?

การขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายขับรถเร็วกำหนดจนเกิดอุบัติเหตุ จะยังได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ แม้ว่าจะผิดกฎหมายก็ตาม เนื่องจากการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจนเกิดอุบัติเหตุไม่ผิดเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ทั้งนี้ บริษัทประกันจะยกเว้นความคุ้มครองเฉพาะกรณีการที่ผู้เอาประกันตั้งใจนำรถไปแข่งขันความเร็วจนเกิดอุบัติเหตุ

แม้ว่ากฎกระทรวงที่ประกาศออกมาข้างต้นจะไม่ได้บังคับใช้ในทุกพื้นที่ รวมถึงอาจมีความคาบเกี่ยวกันในแต่ละพื้นที่ ทำให้ผู้ขับขี่อาจเกิดความไม่แน่ใจในความเร็วในการขับขี่ที่ควรต้องใช้สำหรับในแต่ละพื้นที่

ทั้งนี้ ขอให้ผู้ขับขี่ใช้วิธีการสังเกตจากป้ายกำกับหรือเครื่องหมายจราจรในพื้นนั้น ๆ แทน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายขับรถเร็วให้ถูกต้องที่สุดนั่นเอง

เกิดอุบัติเหตุเพราะขับรถเร็วกว่ากำหนด ประกันแต่ละชั้นคุ้มครองอย่างไรบ้าง

การเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วกว่ากฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่อาจส่งผลต่อการเคลมประกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ความประมาทนี้ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ประกันรถยนต์แต่ละชั้นมีเงื่อนไขการคุ้มครองในกรณีดังกล่าวที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประกันรถยนต์ในประเทศไทยยังคงให้ความคุ้มครองอยู่ในหลายกรณี แม้จะเกิดจากการขับรถเร็วเกินกำหนด แต่มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการประเมินจากบริษัทประกัน รวมถึงกรณีที่อาจมีการปฏิเสธการเคลมได้ในบางสถานการณ์

1. ประกันรถยนต์ชั้น 1 : คุ้มครองเต็มรูปแบบแม้เกิดจากการขับรถเร็วเกินกำหนด

  • ความคุ้มครอง: ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ยังคงคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด โดยครอบคลุมทั้งค่าซ่อมแซมรถของผู้เอาประกันและรถคู่กรณี รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บ
  • ข้อควรระวัง: บริษัทประกันอาจทำการตรวจสอบอย่างละเอียดว่าอุบัติเหตุเกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ และอาจใช้เหตุผลนี้ในการปรับลดหรือเพิ่มค่าเบี้ยประกันในปีถัดไป
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติม: คุ้มครองทรัพย์สินภายนอก ความเสียหายที่เกิดกับบุคคลภายนอก และค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+ : คุ้มครองในกรณีที่มีคู่กรณี

  • ความคุ้มครอง: ประกัน 2+ จะยังคงคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินกำหนด โดยคุ้มครองทั้งรถของผู้เอาประกันและรถคู่กรณี เฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะ และไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี (เช่น ชนสิ่งของหรือเสา)
  • ข้อควรระวัง: บริษัทประกันอาจตรวจสอบสถานการณ์ว่าเกิดจากการขับขี่โดยประมาทหรือไม่ และหากพบว่าเกิดจากความประมาท เช่น ขับรถเร็วเกินกำหนด บริษัทอาจพิจารณาปรับเบี้ยประกันในปีถัดไป แต่โดยทั่วไปยังคงคุ้มครองตามเงื่อนไขปกติ

3. ประกันรถยนต์ชั้น 2 : คุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณี

  • ความคุ้มครอง: ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณีและความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก หากเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด คุณยังสามารถเคลมความเสียหายของคู่กรณีได้
  • ข้อควรระวัง: รถของคุณเองจะไม่ครอบคลุมในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเร็ว คุณต้องรับผิดชอบค่าซ่อมแซมรถของตัวเอง

4. ประกันรถยนต์ชั้น 3+ : คุ้มครองเฉพาะกรณีมีคู่กรณี

  • ความคุ้มครอง: ประกัน3+ ราคาประหยัด จะคุ้มครองกรณีที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะ โดยจะคุ้มครองความเสียหายของรถคู่กรณีและรถของคุณ หากเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินกำหนด
  • ข้อควรระวัง: หากไม่มีคู่กรณี เช่น ชนสิ่งกีดขวาง ประกันชั้น 3+ จะไม่คุ้มครอง นอกจากนี้ หากพบว่าคุณเป็นฝ่ายผิดและขับรถโดยประมาท บริษัทประกันอาจพิจารณาปรับเบี้ยประกันในปีถัดไป

5. ประกันรถยนต์ชั้น 3 : คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี

  • ความคุ้มครอง: ประกันภัยชั้น 3 จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของรถคู่กรณี หากคุณเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด รถของคู่กรณีจะได้รับความคุ้มครองตามปกติ
  • ข้อควรระวัง: รถของคุณจะไม่คุ้มครองค่าเสียหาย คุณจะต้องรับผิดชอบค่าซ่อมแซมเองทั้งหมด

ในทุกกรณี บริษัทประกันยังคงมีสิทธิ์ตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ และหากเป็นการขับขี่โดยประมาท เช่น การขับรถเร็วเกินกำหนด อาจมีผลต่อเบี้ยประกันในอนาคต

แรบบิท แคร์ ศูนย์รวมประกันรถยนต์ออนไลน์จ่ากทุกบริษัทชั้นนำที่มีให้เลือกครบที่สุด พร้อมสิทธิพิเศษและส่วนลดที่การันตีว่าถูกกว่าซื้อตรงด้วยตัวเองกับบริษัทประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นผ่อนเบี้ยประกัน 0% ด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิต นานสูงสุด 10 เดือน ส่วนลดสูงสุด 70% หรือบริการเสริมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการรถเช่าในระหว่างซ่อม นานสูงสุด 3 วัน หรือค่าชดเชยการเดินทางสูงสุด 500 บาท โทรเลย 1438

บทความเกี่ยวกับกฏหมายจราจร

สรุป

แม้ว่ากฎกระทรวงที่ประกาศออกมาข้างต้นจะไม่ได้บังคับใช้ในทุกพื้นที่ รวมถึงอาจมีความคาบเกี่ยวกันในแต่ละพื้นที่ ทำให้ผู้ขับขี่อาจเกิดความไม่แน่ใจในความเร็วในการขับขี่ที่ควรต้องใช้สำหรับในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ ขอให้ผู้ขับขี่ใช้วิธีการสังเกตจากป้ายกำกับหรือเครื่องหมายจราจรในพื้นนั้น ๆ แทน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายขับรถเร็วให้ถูกต้องที่สุดนั่นเอง

ที่มา

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

Rabbit Care Blog Image 99566

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

วิธีแก้ง่วงตอนขับรถ ขับรถแล้วง่วงต้องทำอย่างไร เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง

สายขับรถเดินทางไกลต้องอ่าน วิธีแก้ง่วงตอนขับรถ อะไรบ้างที่ช่วยแก้ง่วงขับรถ ขับรถแล้วง่วงจะต้องทำอย่างไร รวมทริคดี ๆ ที่เหล่านักเดินทาง
Natthamon
03/03/2025
Rabbit Care Blog Image 99517

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

หางาน ขับรถยนต์ส่วนตัว งานอิสระ มีรถยนต์ส่วนตัว มีอะไรบ้าง แนะนำงานที่น่าสนใจ

อยากเปลี่ยนอาชีพ หาช่องทางใหม่ ๆ ในการสร้างรายได้ หางาน ขับรถยนต์ส่วนตัว งานอิสระ มีรถยนต์ส่วนตัวที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ ก็นับเป็นอีก 1 ตัวเลือกที่น่าสนใจ
Natthamon
17/02/2025
Rabbit Care Blog Image 99360

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

แผลรถล้มอันตรายหรือไม่ ? มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ?

เหตุการณ์รถล้ม เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนมีโอกาสที่จะเผชิญกันได้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากในการขับขี่รถบนท้องถนนนั้นมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก
Natthamon
06/02/2025