รู้หรือไม่ ? ทางหลวงมีกี่ประเภทกันนะ?
รู้หรือไม่ ? ทางหลวงมีกี่ประเภทกันนะ?
ทางหลวงพิเศษ หรือ มอเตอร์เวย์
ทางหลวงแผ่นดิน
เป็นทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่สำคัญ โดยกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษา สำหรับทางหลวงแผ่นดินจะมีตัวเลขบอกเส้นทาง เป็นการบอกประเภทของทางหลวงแผ่นดิน โดยมีการแบ่งตามตัวเลข ดังนี้
ทางหลวงชนบท
เป็นเส้นทางที่กรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดําเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบํารุงรักษา โดยจะนิยมใช้หมายเลขทางหลวงแผ่นดิน ชื่อหมู่บ้าน หรือชื่อสถานที่สําคัญ เป็นจุดเริ่มต้นโครงการและจุดสิ้นสุดโครงการในสายทางนั้นมาตั้งชื่อถนน เช่น สายแยกทางหลวงหมายเลข 314 – บ้านลาดกระบัง หรือ สายบ้านคลอง 20 – บ้านตลาดคลอง 16 เป็นต้น
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงชนบทมากขึ้น การใช้ชื่อเพียงอย่างเดียวอาจจะก่อให้เกิดการสับสน และไม่สามารถทราบว่าสายทางนั้นอยู่ในจังหวัดใด
ดังนั้นจึงมีการนำรหัสสายทางเข้ามาเป็นตัวบอกถึงที่ตั้ง และลําดับของสายทาง ซึ่งรหัสสายทางของทางหลวงชนบทประกอบด้วยตัวอักษรย่อของจังหวัด 2 ตัว และตัวเลข 4 ตัวมาใช้กํากับทางหลวงชนบท โดยมีความหมายดังนี้
ตัวอักษรย่อ บอกถึงจังหวัดที่ตั้งของสายทางนั้นๆ เช่น นบ. หมายถึง ทางหลวงชนบทที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรีหรือ ชบ. หมายถึงทางหลวงชนบทที่อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีเป็นต้น
หมายเลข โดยหมายเลขตัวแรกจะบอกถึงลักษณะของการเชื่องโยงของสายทางว่า จุดเริ่มต้นสายทางเป็นอย่างไร มีทั้งหมด 6 หมายเลข แต่ละหมายเลขมีความหมายดังนี้
ทางหลวงท้องถิ่น
เป็นทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา สำหรับรหัสสายทางของทางหลวงท้องถิ่น จะปรากฏบนป้ายริมถนน ประกอบด้วย ตัวอักษร 3 ตัว ตามด้วยตัวเลข 5 หลัก เช่น สข.ถ 25-100
สำหรับความหมายของตัวอักษรและตัวเลขที่ปรากฏบนป้ายระบุทางหลวงท้องถิ่นคือ ตัวอักษร 2 ตัวแรกเป็นชื่อย่อของจังหวัด ตัวอักษรตัวที่ 3 จะเป็นตัว ถ ทุกทางหลวงท้องถิ่นเพราะหมายถึงถนนทางหลวงท้องถิ่น อย่าง สข.ถ
ส่วนเลขที่ปรากฏบนป้ายระบุทางหลวงท้องถิ่นแบ่งเป็น 2 ส่วน หมายเลขส่วนแรกที่มี 1, 2 หรือ 3 ตัวเป็นลำดับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัด ส่วนตัวเลขส่วนหลังเป็นสำดับของสายทางหรือถนนที่ลงทะเบียนในเขตองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น
ทางหลวงสัมปทาน
เป็นทางหลวงที่กรมทางหลวงได้ให้เอกชนสัมปทาน ปัจจุบันกรมทางหลวงมีทางหลวงสัมปทาน 1 สาย คือ ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงเฉพาะทางยกระดับตั้งแต่ดินแดง ถึงดอนเมืองบนถนนวิภาวดีรังสิต
โดยทางหลวงสัมปทานจะมีระบบหมายเลขเหมือนกับทางหลวงแผ่นดิน หรือทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ซึ่งดอนเมืองโทลล์เวย์ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ขณะที่ช่วงตั้งแต่อนุสรณ์สถานถึงรังสิตเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- วิธีดูทางเอก-ทางโท จะดูอย่างไรให้ปลอดภัย
- ทำความเข้าใจว่าทางม้าลายคืออะไร มีกฎหมายสำคัญอะไรเกี่ยวข้องบ้าง
- รู้หรือยัง? ความหมายสัญลักษณ์จราจรบนท้องถนน
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct