วิธีดูทางเอก-ทางโท จะดูอย่างไรให้ปลอดภัย
การขับขี่ยานยนต์บนท้องถนนนั้น ผู้ขับขี่จะต้องทำความเข้าใจกับสัญลักษณ์ เครื่องหมายจราจร และป้ายจราจรต่าง ๆ ที่แสดงอยู่บนพื้นถนนและระหว่างทาง โดยจะต้องเข้าใจความหมายพร้อมทั้งรู้วิธีปฎิบัติเมื่อเห็นสัญลักษณ์จราจรนั้น ๆ
เชื่อว่าถ้าคุณคือผู้ขับขี่ยานยนต์ที่สัญจรบนท้องถนนอยู่เป็นประจำแล้ว จะต้องรู้จักกับทางเอก-ทางโท แต่ก็เชื่ออีกว่ามีผู้ขับขี่หลายคนที่ยังไม่เข้าใจความแตกต่างของมัน จนทำให้เกิดอุบัตอเหตุทางรถยนต์อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น บทความนี้ Rabbit Care จะขอแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับทางเอก-ทางโท ให้ทุกคนเข้าใจกันมากขึ้น จะได้ขับขี่อย่างปลอดภัย
นักขับต้องรู้ ดู ทางเอก-ทางโท ดูอย่างไรให้ปลอดภัย
ทางเอก-ทางโท เป็นชื่อเรียกของทางที่มีลักษณะแบบ “ทางร่วมแยก” ที่สามารถสร้างความสับสนให้กับผู้ขับขี่ได้จนเกิดอุบัติเหตุ โดยทางเอก-ทางโทนั้นใช้เรียกแทนทางหลักและทางรอง
ซึ่งถนนแต่ละสายจะมีทั้งถนนสายหลัก และถนนที่แบ่งย่อยเป็นซอยเล็ก ๆ ลงไป ผู้ใช้รถควรจำให้ได้ว่าลักษณะของทางที่ขับเป็นถนนแบบไหน เพื่อช่วยในการไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ทางเอกคืออะไร?
ทางเอก จะเป็นลักษณะของถนนที่มีเส้นใหญ่สุด เป็นเส้นทางหลักที่รถสามารถวิ่งสัญจรไป-กลับได้ด้วยจำนวนช่องเดินรถที่มีพื้นที่กว้างมากกว่า พร้อมทั้งมีสัญลักษณ์จราจรที่ชัดเจน จะไม่มีเส้นหยุดหรือป้ายหยุดอยู่ตรงทางร่วม
ทางโทคืออะไร?
ทางโท จะเป็นลักษณะของถนนเส้นที่ตัดแยกจากทางเอกออกมาอีกที ซึ่งจะมีขนาดช่องจราจรที่เล็กกว่า แคบกว่า หรือมีช่องทางการเดินรถที่ไม่ชัดเจน เช่น ซอยเล็ก ๆ ที่ตัดกับถนนหลัก หรือลานจอดรถที่มีทางเชื่อมกับถนนหลักในบ้าน หรือถนนใหญ่ นอกจากนี้การสังเกตทางโทดูได้จากเส้นหยุดหรือป้ายหยุดก่อนจะเข้าทางแยกที่ตัดกับถนนอีกเส้น ไม่ว่าจะเป็นถนนขนาดใดก็ตาม ๆ จะมีเส้นหยุดหรือป้ายหยุดก่อนจะเข้าทางแยกที่ตัดกับถนนอีกเส้น
ความแตกต่างของการใช้ทางเอก-ทางโท
หากพูดถึงทางแง่ของกฏหมาย ทางเอกจะมีสิทธิ์มากกว่าทางโท ซึ่งจะช่วยการขับขี่บนท้องถนนมีวินัยในการขับขี่ยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมสติ เพื่อเจรจาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือประกันได้อย่างมั่นใจเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ลดเหตุการณ์บานปลายได้มากขึ้น ทั้งนี้ผู้ขับขี่สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตั้งแต่มาตรา 71 ถึงมาตรา 74
ขับขี่บนเส้นทางของ ทางเอก-ทางโท อย่างปลอดภัย
หากคุณเป็นนักขับมือใหม่ที่อาจจะยังไม่สันทัดเรื่องงเส้นทางมากนัก หรืออาจจะยังสังเกตลักษณะของเส้นทางไม่ได้อย่างชัดเจนว่าทางลักษณะไหนเรียกว่าทางเอกหรือทางโท ลองสังเกตตามแนวทางต่อไปนี้ และลองนำคำแนะนำเรื่องการขับขี่ไปปฏิบัติตามได้เลย
-
ทางเอก-ทางโท ตัดกัน
ในกรณีที่เจอกับทางเอกและทางโทตัดกัน แต่ไม่มีป้ายแสดงสัญลักษณ์ที่บอกว่าเส้นทางนี้เป็นทางเอก ให้ลองสังเกตจากพื้นถนน หากพบเส้นขาวทึบหรือเส้นประตัดขวางถนนเส้นใด แสดงว่าถนนเส้นนั้นเป็นทางโทนั่นเอง
-
ถนนที่ไม่มีเส้นตัดขวาง
หากถนนเส้นที่กำลังสัญจรผ่านนั้น เป็นถนนที่ไม่มีเส้นขาวทึบหรือเส้นประตีเส้นอยู่บนพื้นถนน ให้ลองสังเกตที่ช่องทางเดินรถ (เลนจราจร) หากถนนเส้นใดมีจำนวนช่องมากกว่า ถือว่าถนนเส้นนั้นเป็นเส้นหลัก หรือทางเอกนั่นเอง ส่วนถนนที่มีช่องทางเดินรถน้อยกว่าก็คือทางโท
-
เมื่อขับรถยนต์ผ่านเส้นทางร่วม
เมื่อคุณต้องขับขี่ยานยนต์ผ่านเส้นทางที่เป็นทางแยกหรือทางร่วม ให้สังเกตให้ดีเลยว่าตอนนี้คุณกำลังอยู่บนทางเอกหรือทางโท หากอยู่บนเส้นทางเอกก็สามารถขับผ่านไปได้ก่อน หากอยู่บนทางโท ก็ต้องชะลอรถเพื่อให้รถที่ขับอยู่บนเส้นทางเอกผ่านไปก่อน เพื่อความปลอดภัย และในกรณีที่ขับขี่ผ่านเส้นทางที่เป็นวงเวียน ผู้ที่ขับอยู่ทางขวามือจะต้องให้รถที่อยู่ทางซ้ายมือของผู้ขับนั้นขับผ่านไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ
-
เมื่อเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางร่วม
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์บนพื้นที่ทางแยกหรือทางร่วม ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ขับขี่ในทางโทนั้นจะเป็นผู้ผิดเสมอไป แล้วทางเอกจะเป็นฝ่ายถูกเสมอไป เพราะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกันก่อนที่จะตัดสินใจว่าฝ่ายใดผิดหรือถูก
เกิดอุบัติเหตุบนทางเอก-ทางโท เคลมประกันชั้นไหนได้บ้าง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนทางเอก-ทางโท ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่มีการชนกันระหว่างยานพาหนะ การเคลมประกันจะขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่ผู้ขับขี่ถืออยู่ รวมถึงสถานการณ์ในอุบัติเหตุและความรับผิดชอบของคู่กรณี ในกรณีนี้ การคุ้มครองจากประกันแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังนี้:
1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1
– คุ้มครอง : ประกันชั้น 1 จะคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณีโดยไม่คำนึงว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูกในอุบัติเหตุทางเอก-ทางโท
– สามารถเคลมได้ทั้ง : รถของคุณ (ผู้เอาประกัน) และรถของคู่กรณี รวมถึงคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกและค่ารักษาพยาบาล
2. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2
– คุ้มครองบางส่วน : ประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมถึงคู่กรณีเท่านั้น แต่ไม่คุ้มครองรถของคุณเอง แม้ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดในอุบัติเหตุ
– สามารถเคลมได้ : ค่าเสียหายของคู่กรณีและบุคคลภายนอก แต่ไม่สามารถเคลมค่าซ่อมรถของคุณเอง
3. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+
– คุ้มครอง : ประกันชั้น 2+ จะคุ้มครองทั้งคู่กรณีและรถของคุณในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะทางบก (เช่น ชนกับรถคันอื่น) ดังนั้น ในอุบัติเหตุบนทางเอก-ทางโท คุณสามารถเคลมค่าซ่อมรถของคุณได้ถ้าคุณมีคู่กรณี เช่น รถอีกคันหนึ่งในกรณีนี้
– สามารถเคลมได้ทั้ง : รถของคุณเองและความเสียหายของคู่กรณี
4. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3
– คุ้มครองบางส่วน : ประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง เฉพาะความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่คุ้มครองรถของคุณเอง ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก
– สามารถเคลมได้ : ความเสียหายของคู่กรณีและบุคคลภายนอก แต่ไม่สามารถเคลมค่าซ่อมรถของคุณเอง
5. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+
– คุ้มครอง : ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ราคาถูก จะคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถของคุณเองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการชนยานพาหนะทางบก (มีคู่กรณี) เช่น การชนกันในสถานการณ์ทางเอก-ทางโท ดังนั้นคุณสามารถเคลมค่าซ่อมรถของคุณได้ถ้าคุณมีคู่กรณี
– สามารถเคลมได้ทั้ง : รถของคุณเองและคู่กรณี
และนี่ก็คือเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับทางเอก-ทางโท ที่ Rabbit Care นำมาแบ่งปันทุกท่านในวันนี้ หวังว่าจะช่วยเพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนให้กับเหล่านักขับขี่ยานยนต์กันมากขึ้น ที่สำคัญต้องไม่ลืมปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ขับขี่โดยไม่ประมาท และมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมทาง เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยในทุก ๆ เส้นทาง
ใครที่สนใจ ซื้อรถยนต์ใหม่ รถยนต์มือสอง พร้อมโปรโมชั่นดี ๆ คลิก one2car.com และอย่าลืมประกันรถยนต์ พร้อมรับข้อเสนอโดนใจ จาก Rabbit Care กันด้วยนะ
สนับสนุนบทความโดย Autospinn ติดตามเรื่องรถใหม่ รถมือสองก่อนใครได้ที่นี่
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology