ทำความเข้าใจว่าทางม้าลายคืออะไร มีกฎหมายสำคัญอะไรเกี่ยวข้องบ้าง
ต่อให้ทุกวันนี้ท้องถนนของประเทศไทยจะวุ่นวายกันเกือบทุกช่วงเวลา แต่การเดินข้ามบนทางม้าลาย ยังคงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะจุดที่มีสัญญาณไฟข้ามถนนให้ผู้คนได้ใช้บริการ ดังนั้นก่อนข้ามถนนต่อให้มีทางม้าลายหรือไม่มี อย่าลืมสังเกตรอบข้างให้ดี รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกฎหมายทางม้าลายในด้านพื้นฐาน ทั้งผู้ขับขี่และคนเดินเท้า
ทำไมทางม้าลายต้องเป็นสีขาวดำ
ช่วงแรกของการมีทางม้าลายนั้นยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ มีลักษณะเส้นตรงสลับช่องในแนวขวาง ด้วยความกว้างประมาณ 40-60 ซม. เหมือนกับสิ่งที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ทว่าในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ใช้สีขาวดำเพราะมีการทดลองหลายรูปแบบ เช่น สีน้ำเงิน-เหลือง ก่อนจะปรับเปลี่ยนไปเป็น สีขาว-แดง และสุดท้ายในปีค.ศ.1951 ถึงถูกปรับมาใช้สีที่เป็นสากลอย่างสีขาว-ดำเหมือนกันหมดทั่วโลก
ความรู้เพิ่มเติม: การปรับเปลี่ยนทางม้าลายมาเป็นสีขาว-ดำ เพราะว่าเป็นคู่สีที่สามารถตัดกับถนนได้ดีที่สุด ส่วนประเทศที่มีการปรับทางม้าลายมาใช้สีขาว-ดำ ดังกล่าวเป็นประเทศแรก คือ เมือง Slought ในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.1951 ก่อนถูกนำไปใช้ต่อกันทั่วโลกภายใต้ชื่อ “Zebra Crossing” ที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ James Callaghan มองเห็นว่าเป็นม้าลายขณะเดินข้าม
กฎหมายทางม้าลายมีอะไรบ้าง
แม้ลักษณะของทางม้าลายจะเหมือนกันทั่วโลก แต่กฎหมายทางม้าลายที่ใช้ควบคุมกำกับความปลอดภัยนั้นแตกต่างกันออกไป สำหรับประเทศไทยเราจะแบ่งได้อยู่ 2 กรณี คือ กฎหมายทางม้าลายสำหรับคนขับรถ และกฎหมายทางม้าลายสำหรับคนเดินเท้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
กฎหมายทางม้าลายที่คนขับรถควรรู้
- หากขับรถเข้าใกล้ทางม้าลายต้องชะลอเพื่อเตรียมหยุดรถ เพื่อให้คนเดินข้ามถนน โดยที่ห้ามจอดทับทางม้าลาย และต้องจอดให้ห่างอย่างน้อย 3 เมตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ห้ามขับรถแซงคันอื่นในช่วงระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางม้าลาย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 400-1,000 บาท
- หากขับรถชนคนเดินข้ามทางม้าลายจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต นอกจากการปรับแล้วจะมีโทษทางอาญาเพิ่มด้วย
กฎหมายทางม้าลายที่คนเดินเท้าควรรู้
- หากเดินข้ามถนนโดยที่ไม่ใช่ทางม้าลายหรือสะพานลอย ในขณะที่ทั้ง 2 สิ่งอยู่ในระยะไม่เกิน 100 เมตร จะโดนโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
- หากเดินข้ามถนนโดยที่ทำผิดกฎหมายตามข้อด้านบนแล้วถูกรถชน จะถือว่าผู้ข้ามถนนคนนั้นเป็นคนผิดทันที
สรุปกฎหมายทางม้าลายจาก พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
- มาตรา 22: ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายที่ปรากฏให้เห็น เช่น (4) สัญญาณไฟจราจรลูกศรสีเขียวขึ้นทางไหน สามารถเดินรถไปทางนั้นได้เลย ส่วนสีแดงคือห้ามไป และต้องให้คนเดินทางข้ามถนนหรือรถที่มาทางขวาไปก่อน
- มาตรา 46: ห้ามมิให้ผู้ขับขี่แซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในต่างกรณี เช่น (2) ภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางม้าลาย ทางร่วมแยก วงเวียน หรือเกาะกลางข้ามถนน
- มาตรา 57: ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ เช่น (4) ในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
- มาตรา 70: ผู้ขับขี่ที่ขับรถเข้าใกล้ทางร่วม ทางแยก ทางข้ามเส้นให้รถหยุด วงเวียน ต้องชะลอความเร็ว
- มาตรา 104: ภายในระยะ 100 เมตรจากทางม้าลายหรือสะพานลอย ห้ามไม่ให้คนข้ามเดินนอกทางข้าม
- มาตรา 105: หากผู้เดินข้ามถนนต้องการเดินข้ามจุดที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามสัญญาณไฟที่ปรากฏ คือ ไฟสีแดง ให้คนข้ามหยุดรอบนเกาะกลางถนน หรือบนไหล่ทางที่ปลอดภัย, ไฟสีเขียว สามารถเดินข้ามถนนได้ และไฟสีเขียวกะพริบ เป็นการเตือนให้คนที่ยังไม่ได้ข้ามถนนหยุดรอบนเกาะแบ่งเขต ส่วนคนที่กำลังเดินข้ามให้รับเดินข้ามโดยเร็ว
คำอธิบายเพิ่มเติม: ทางม้าลายตามจุดสัญญาณไฟจราจร จะมีสัญญาณไฟสำหรับคนเดินเท้าข้ามถนนคอยบอก ซึ่งมีลักษณะไฟเป็นรูปคนกำลังก้าวเดิน ซึ่งสถานะของสีไฟจะบอกว่าเราข้ามตอนไหนได้บ้างตามมาตรา 105 ที่กล่าวไปนั่นเอง
ปัญหาที่ควรระวังและประโยชน์ของทางม้าลาย
ปัญหาที่ควรระวังบนทางม้าลาย
- ช่วงเวลาก่อนข้ามทางม้าลาย ต้องมองรถที่กำลังผ่านมาให้ดี เพื่อที่จะดูว่ารถคันนั้นกำลังชะลอให้เราข้ามอย่างปลอดภัยหรือไม่ เมื่อรถหยุดสนิทแล้วเราค่อยเดินข้ามอย่างปลอดภัย
- ก่อนข้ามควรมองซ้ายมองขวาให้ดี เพราะอาจมีกรณีรถบางคันที่ไม่ได้หยุด ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นมาได้
- หากข้ามถนนระหว่างทางแยก อย่าลืมระวังลงที่กำลังจะเลี้ยวมา เพราะบางมุมมองผู้ขับขี่อาจถูกบดบังทัศนวิสัย จนมองไม่เห็นผู้ข้ามถนน
ประโยชน์ของทางม้าลาย
- เป็นสัญลักษณ์ช่วยให้คนข้ามถนนบนทางม้าลายปลอดภัยขึ้น เพราะรถบนท้องถนนจะสังเกตเห็นได้ง่ายหากมีคนกำลังจะข้ามถนน
- มีกฎหมายคุ้มครองสำหรับคนที่ข้ามถนนด้วยทางม้าลาย
แนะนำว่าผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีเหตุจำเป็นต้องใช้รถบ่อยครั้งในแต่ละสัปดาห์ ควรพิจารณาเลือกทำประกันภัยรถยนต์เสริมเอาไว้ เพื่อให้ช่วยคุ้มครองได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้นก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หากเกิดอุบัติเหตุชนคนเดินข้ามทางม้าลาย ประกันจะช่วยดูแลค่ารักษาคู่กรณี รวมถึงดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถยนต์ของเราด้วยเช่นกัน
หรือถ้าหากคุณสนใจประกันภัยรถยนต์ชั้นอื่น แต่ยังไม่เข้าใจเงื่อนไขการคุ้มครอง และอยากมีโอกาสเลือกสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดให้กับตัวคุณเอง สามารถเข้ามาเปรียบเทียบผ่าน แรบบิท แคร์ ได้ตลอดเวลา ด้วยตัวเลือกบริษัทประกันชั้นนำจากทั่วประเทศ ภายใต้เงื่อนไขความพิเศษที่ แรบบิท แคร์ มอบให้คุณ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดสูงสุด 70% หรือแม้แต่การผ่อน 0% ได้นานถึง 10 เดือนเราก็มีพร้อมให้บริการ
บทความเกี่ยวกับกฏหมายจราจร
นักเขียนบทความด้านประกันยานยนต์ รถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์ ที่ Rabbit Care และ Asia Direct ตั้งใจเขียนงานให้ได้เกินครึ่งจากช่วงเวลาที่หาข้อมูล ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก