ด่านลอย ผิดกฎหมายหรือไม่ คืออะไร ? หากพบต้องแจ้งที่ไหน ?
‘ด่านลอย’ สิ่งที่เป็นที่ถกเถียงและเป็นที่ตั้งคำถามมาตลอดในสังคมไทย ว่าด่านลอยเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายหรือไม่ ด่านลอยเป็นการเอาเปรียบประชาชนไหม การตั้งด่านเช่นไรถึงจะเป็นการตั้งด่านที่ถูกต้อง การตั้งด่านแบบไหนถือเป็นด่านลอย ประชาชนสามารถตัดสินด่านลอยด้วยตนเองได้หรือไม่ เมื่อสงสัยว่าตนเองเจอด่านลอยจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร แรบบิท แคร์ ได้หยิบยกประเด็นที่น่าสนใจ และข้อมูลในการปฏิบัติตัวที่ควรทราบกันไว้มาแบ่งปันให้กับทุกคน
ด่านลอย คืออะไร ?
สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่าด่านลอยคืออะไรนั้น ด่านลอย คือด่านที่ประชนหลายคนสงสัยว่าเป็นด่านที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่ถูกระเบียบแบบแผน เป็นด่านที่ตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ส่วนตนของตำรวจที่ไม่สุจริตบางกลุ่มหรือบางคน ซึ่งเป็นด่านที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์แอบแฝงไม่ได้ตั้งขึ้นอย่างโปร่งใสตามกฎระเบียบข้อบังคับ
โดยหลายครั้งด่านลอยถูกคาดการณ์ว่าถูกตั้งขึ้นด้วยสาเหตุทางด้านผลประโยชน์ส่วนตัวของตำรวจบางกลุ่มหรือบางคนที่มีรายได้น้อย ไม่พอใช้ ทำให้ต้องมาตั้งด่านลอยเพราะเก็บค่าปรับจากประชาชนเข้ากระเป๋าของตนเองไม่ได้เข้ารัฐฯอย่างที่ควรจะเป็น จึงเป็นที่ไม่พอใจและถกเถียงของประชาชนในด้านความถูกต้องของการตั้งด่านหลาย ๆ ด่านนั่นเอง
ด่านลอย ผิดกฎหมายหรือไม่ ?
หากจะพูดถึงด่านลอยที่ถูกตั้งขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบที่ควรจะมี ไม่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามข้อบังคับ และเก็บค่าปรับจากประชาชนเข้ากระเป๋าเงินส่วนตัวของตัวเองแล้วนั้น แน่นอนว่าการตั้งด่านลอยเช่นนี้นั้นย่อมไม่ถูกกฎหมายอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ก็ต้องทำความเข้าใจว่าในบางครั้งเราอาจเข้าใจผิดว่าด่านดังกล่าวนั้นเป็นด่านลอยทั้งที่เป็นด่านที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ ดังนั้นเราอาจไม่สามารถตัดสินและโวยวายยังหน้าด่านในทันทีว่าด่านดังกล่าวนั้นเป็นด่านลอยหรือไม่ เพราะหากเข้าใจผิดแล้วโวยวาย รับรองว่าจะกลายเป็นเรื่องใหญ่อย่างแน่นอน
เมื่อสงสัยว่าเจอด่านลอย ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ?
อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้าว่าเมื่อเจอด่านที่เราสงสัยว่าเป็นด่านลอยแล้วนั้น เราไม่อาจที่จะโวยวายหรือแสดงการขัดขืนยังบริเวณหน้าด่านได้ เพราะอาจทำให้เรื่องราวนั้นบานปลาย หรืออาจเป็นการโวยวายทั้งที่เข้าใจผิดได้ สิ่งที่สามารถทำได้มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ หลังจากที่ปฏิบัติตัวตามขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งไป ก็สามารถขอรับเป็นใบสั่งเพื่อไปจ่ายเงินค่าปรับที่สถานีตำรวจโดยตรงได้โดยไม่จ่ายที่หน้าด่านในทันที และทำการแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยแจ้งรายละเอียดรวมถึงหลักฐานการตั้งด่านอย่างไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะดำเนินการตรวจสอบให้ รวมถึงกำหนดบทลงโทษต่อเจ้าหน้าที่ผู้กระทำความผิดในขั้นตอนต่อไป
เจอด่านลอย แจ้งที่ไหน ?
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองนั้นเจอด่านลอย มั่นใจว่าด่านที่ตนเองเจอนั้นเป็นด่านลอยแน่ ๆ หรือสงสัยว่าการตั้งด่านที่เจอนั้นไม่โปร่งใส มีองค์ประกอบที่ควรมีไม่ครบถ้วนตามกฎหมายและต้องการร้องเรียนแต่ไม่ทราบว่าจะต้องแจ้งที่ไหน ก็จะสามารถแจ้งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) โทร. 1599
ด่านที่ถูกต้อง จะมีลักษณะอย่างไร ?
ในส่วนของผู้ที่ตั้งข้อสงสัยว่าแล้วด่านที่ไม่ใช่ด่านลอยแต่เป็นตรวจที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีลักษณะอย่างไร จะได้เอาไปสังเกตการณ์ด่านที่เจอกันได้ว่าเป็นด่านลอยหรือด่านตรวจที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด่านตรวจที่ถูกต้องตามกฎหมายจะมีลักษณะดังนี้
- ด่านตรวจที่ถูกต้องไม่ใช่ด่านลอยจะต้องมีเครื่องหมายแสดงล่วงหน้าว่าระยะทางข้างหน้านั้นมีด่านตั้งอยู่ เช่น มีกรวยสีส้มตั้งเป็นระยะตามระยะทางการเดินรถเพื่อเป็นการบีบบังคับทิศทางการจราจรเพื่อให้เหลือช่องเดียวเพื่อนำทางไปสู่ด่านตรวจ และมีเครื่องหมายจราจรตั้งอยู่อย่างชัดเจนให้เห็นได้แต่ไกลเป็นคำว่า หยุด หรือ หยุดตรวจ
- ด่านตรวจที่ถูกต้องไม่ใช่ด่านลอยการตั้งด่านที่ถูกต้องในเวลากลางคืนจะต้องมีแสงไฟสว่างไสวแสดงให้เห็นจุดตั้งด่านได้อย่างชัดเจน โดยด่านที่ถูกต้องจะต้องมีไฟส่องให้เห็นชัดเจนในระยะไม่ต่ำกว่า 150 เมตรก่อนที่จะถึงจุดตรวจ
- ด่านตรวจที่ถูกต้องไม่ใช่ด่านลอยต้องมีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำด่านตรวจและจุดตรวจ
- ด่านตรวจที่ถูกต้องไม่ใช่ด่านลอยต้องมีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ พร้อมเบอร์โทรฯ มองเห็นในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
- ด่านตรวจที่ถูกต้องไม่ใช่ด่านลอยจะต้องมีหนังสือสั่งของทางการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ โดยก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจตำรวจสัญญาบัตรที่เป็นผู้ควบคุมชุดตรวจจะต้องแจ้งผ่านทางวิทยุสื่อสารไปยังศูนย์ควบคุมว่าจะเริ่มปฏิบัติการตั้งจุดตรวจ และแจ้งรายละเอียดว่าต้องการสกัดตรวจสิ่งใด ตำแหน่งไหน วันที่เท่าไหร่ เวลาเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ใครเป็นผู้ควบคุมด่านตรวจ และมีกำลังพลทั้งหมดเท่าไหร่ (จุดนี้ถือเป็นหลักฐานยืนยันว่าเป็นการตั้งด่านตรวจที่โปร่งใส ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย ไม่ใช่ด่านลอยแต่อย่างใดนั่นเอง)
- ด่านตรวจที่ถูกต้องไม่ใช่ด่านลอยที่ด่านตรวจจะต้องมีตำรวจชั้นสัญญาบัตรประจำอยู่ที่ด่านตรวจอย่างน้อย 1 คน โดยนายตำรวจซึ่งเป็นผู้ควบคุมด่านจะต้องมียศตั้งแต่ร้อยตรีขึ้นไป และต้องแต่งเครื่องแบบให้ถูกต้องในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
- ด่านตรวจที่ถูกต้องไม่ใช่ด่านลอยหลังจาการปฏิบัติหน้าที่ในการตั้งด่านตรวจ จะต้องมีการสรุปผลในการจับกุม ตรวจค้น ว่ามีการค้นพบสิ่งใดหรือจับกุมใครไปบ้าง โดยการสรุปนี้จะเป็นการสรุปต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุม และมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเสนอต่อต้นสังกัดเป็นลำดับถัดไป
จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการตั้งด่านตรวจที่ถูกต้องนั้นจะมีระเบียบขั้นตอนปฏิบัติที่แน่ชัด และเข้มงวด ต่างกับด่านลอยที่ตั้งขึ้นมาเฉย ๆ โดยไม่ได้รับคำสั่งในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นหากพบเจอด่านที่สงสัยว่าจะเป็นด่านลอยก็สามารถส่งเรื่องร้องเรียนไปยัง ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) กันได้ เพราะหากเป็นด่านที่ถูกต้องตามกฎหมายจะสามารถตรวจยืนยันได้อย่างแน่นอน
ด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ต่างกันอย่างไร ?
สำหรับผู้ที่สงสัยว่า ด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไรนั้น ตามบันทึกข้อความของส่วนราชการกรมตำรวจ ได้มีการอธิบายความหมายของ ด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด เอาไว้ดังนี้
- ด่านตรวจ : สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร และในการตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน. แล้วแต่กรณี
- จุดตรวจ : สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยจะมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที โดยต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาระดับ ผบก. ขึ้นไป
- จุดสกัด : สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว และจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว อีกทั้งยังต้องได้รับอนุญาตจากนายตำรวจระดับหัวหน้าสถานี
และข้อมูลทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลน่ารู้ที่ แรบบิท แคร์ หวังว่าจะช่วยทำให้ทุก ๆ คนนั้นสามารถหายข้องใจหรือสงสัยเกี่ยวกับด่านลอยกันได้บ้าง รวมถึงทราบว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อรู้สึกสงสัยหรือระแคะระคายกับด่านตรวจที่ต้องเจอ ทั้งนี้สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนแล้ว หน้าที่ของเราคือปฏิบัติตัวตามกฎหมายที่ถูกกำหนดไว้ให้ถูกต้อง และอย่าลืมทำประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ เพื่อเป็นการดูแลรถของเราอย่างครอบคลุมไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ไม่คาดฝันใด ๆ นั่นเอง
สรุป
บทความนี้อธิบายถึง “ด่านลอย” ซึ่งเป็นด่านตรวจที่ไม่ได้ตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมักมีเป้าหมายแอบแฝงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของตำรวจบางกลุ่ม พร้อมทั้งชี้แจงความแตกต่างระหว่างด่านลอยและด่านตรวจที่ถูกต้อง โดยด่านตรวจที่ถูกต้องต้องมีลักษณะชัดเจน เช่น การแสดงเอกสารคำสั่ง มีป้ายบ่งบอกล่วงหน้า และเจ้าหน้าที่แต่งกายถูกต้อง หากประชาชนสงสัยว่าพบเจอด่านลอย ควรปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ก่อน และสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยัง ศปก.ตร. ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้รถควรรักษากฎหมายและมีประกันรถยนต์เพื่อความคุ้มครองในสถานการณ์ไม่คาดคิด
ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย