แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ทำความเข้าใจใครบ้างมีสิทธิ์ขอรถนำขบวน และติดต่อขอได้จากช่องทางไหน

ผู้เขียน : Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
 
Published: March 26,2024
รถนำขบวน

จากที่เคยมีประเด็นร้อนบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับการให้บริการรถนำขบวนชาวต่างชาติ แบบที่มีค่าบริการชัดเจน จนดูเหมือนเกินขอบเขตการทำงานของรถตำรวจทางหลวง หรือรถนำขบวนโดยตำรวจมากเกินไป พอได้มีการตรวจสอบจึงได้รับรู้ข้อมูลว่าเป็นความผิดจริงตามกฎหมาย

ส่วนข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับรถนำขบวนหมายถึงอะไร ต้องมีการร้องขอเพื่อเป็นรายครั้งโดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง รวมถึงข้อมูลที่ทำให้เราเข้าใจอย่างชัดเจนว่าสรุปแล้วใครบ้าง ที่มีสิทธิ์ในการใช้งานรถตำรวจนำขบวน หรือการมีรถตำรวจทางหลวงนำ ซึ่งทาง แรบบิท แคร์ อยากเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องราวนี้ จึงได้เรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดมาให้ทุกคนได้อ่านเรียบร้อยแล้ว

ประกันรถยนต์
ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

    เลือกยี่ห้อรถของคุณ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    รถนำขบวนหมายถึงอะไร

    รถนำขบวน หมายถึง การร้องขอความช่วยเหลือจากตำรวจ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการนำขบวนให้กับกลุ่มรถยนต์ที่มีการเดินทางพร้อมกันเป็นจำนวนมาก หรือต้องการความปลอดภัยในการเดินทางมากกว่าปกติทั่วไป ซึ่งจะสามารถยื่นขอพิจารณาเป็นรายครั้งกับกองบังคับการตำรวจทางหลวงได้ หากผ่านการพิจารณา จะมีรถตำรวจทางหลวง มาคอยนำขบวนเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเดินทาง และมีความปลอดภัยมากที่สุดนั่นเอง

    การร้องขอรถนำขบวนเป็นรายครั้ง

    สำหรับการร้องขอรถนำขบวนเป็นรายครั้ง จะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ทางกองบังคับการตำรวจทางหลวง ได้มีการกำหนดเอาไว้หากผ่านเกณฑ์ถึงจะสามารถยื่นขอรถนำขบวนที่เป็นรถตำรวจทางหลวงได้ และยังต้องมีการเตรียมเอกสารพร้อมเหตุผลประกอบการร้องขอ เพื่อส่งไปยื่นเรื่องผ่านช่องทางการติดต่อโดยตรงกับกองบังคับการตำรวจทางหล่วงด้วยโดยข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมให้ติดตาม ดังหัวข้อย่อยทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้

    หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

    หลักเกณฑ์ในการพิจารณาร้องขอรถนำขบวนที่แบ่งเป็นกรณีตามความจำเป็นแห่งโอกาสสำหรับบุคคล โดยจะต้องร้องขอและได้รับอนุญาตตามระเบียบ ซึ่งจะต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาทั้ง 2 ข้อ ได้แก่ ขบวนที่มีความจำเป็นต้องใช้ตำรวจนำขบวนเพื่อความปลอดภัยของขบวน หรือความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตามความจำเป็นแก่กรณี เช่น รถนักเรียน เป็นต้น และ ขบวนรถซึ่งเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือพิธีการที่มีรถหลายคัน หรือกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนของบุคคลผู้มีหน้าที่ต่าง ๆ ในทางราชการ เพื่อเดินทางไปปฏิบัติภารกิจสำคัญของทางราชการ

    อ้างอิงข้อมูลหลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อร้องขอรถนำขบวน จากกองบังคับการตำรวจทางหลวง

    เอกสารและเหตุผลประกอบการร้องขอรถนำขบวน

    เอกสารและเหตุผลประกอบการร้องขอรถนำขบวน ต้องเตรียมไว้ให้ครบถ้วนทั้งหมด 3 รายการ คือ หนังสือจากหน่วยงานที่ต้องการร้องขอ เรียนผู้บังคับการตำรวจทางหลวง, เอกสารแสดงเหตุผลความจำเป็นในการร้องขอรถนำขบวน จำนวนรถในขบวน วันเวลาการเดินทางและเส้นทางที่จะไป พร้อมระบุต้นทาง ที่หมายอย่างชัดเจน และเอกสารที่แสดงข้อมูลผู้ประสานงานอย่างครบถ้วน ตามด้วยเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้สะดวกที่สุด

    ช่องทางการติดต่อ

    ช่องทางการติดต่อกองบังคับการตำรวจทางหลวง เพื่อส่งเอกสารและเหตุผลประกอบการร้องขอรถนำขบวน สามารถส่งเอกสารผ่านช่องทางไปรษณีย์ หรือยื่นเอกสารด้วยตัวเองได้ที่ กองบังคับการตำรวจทางหลวง 2/486 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 หรือสามารถส่งโทรสารเข้ามาได้ที่หมายเลข 0 2354 6021 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการร้องขอรถนำขบวนโดยตรงได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 2354 6007 (ฝ่ายงานนำขบวน)

    หมายเหตุ: การยื่นเอกสารร้องขอรถนำขบวน จะต้องมีการร้องขอล่วงหน้าก่อนการเดินทางไม่น้อยกว่า 7 วันตามระเบียบของกองบังคับการตำรวจทางหลวง

    หลักเกณฑ์การใช้รถนำขบวนตามที่กฎหมายกำหนด

    รายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่มีสิทธิใช้งานรถนำขบวน นอกเหนือจากขบวนเสด็จพระราชดำเนิน ขบวนเสด็จพระดำเนิน และขบวนเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีรถตำรวจนำขบวนตามปกติประเพณี จะแบ่งได้บุคคลสำคัญที่มีสิทธิ์ใช้งานเพิ่มได้เป็น 2 กลุ่มบุคคล คือ บุคคลสำคัญที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานรถนำขบวนเป็นประจำ และบุคคลที่ได้รับอนุญาจให้ใช้งานรถนำขบวนเป็นครั้งตามความจำเป็นแห่งโอกาส ซึ่งจากที่กฎหมายได้ระบุเอาไว้อย่างละเอียดว่ามีบุคคลใดบ้างนั้น ลองดูได้จากหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้

    บุคคลสำคัญที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานรถนำขบวนเป็นประจำ

    บุคคลสำคัญที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานรถนำขบวนเป็นประจำ ภายในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ, นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฎร), รองประธานรัฐสภา (ประธานวุฒิสภา), ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด, สมเด็จพระสังฆราช, รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี , ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และประธานกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

    บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานรถนำขบวนเป็นครั้งตามความจำเป็นแห่งโอกาส

    บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานรถนำขบวนเป็นครั้งตามความจำเป็นแห่งโอกาส ทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ ประมุขของรัฐต่างประเทศ ผู้นำรัฐบาลต่างประเทศ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ, องคมนตรี, ผู้นำทางศาสนาอื่น สมเด็จพระราชาคณะ และขบวน ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้รถตำรวจนำขบวนเพื่อความปลอดภัย ของขบวน หรือความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนตามความจำเป็นแก่กรณี

    รถตำรวจทางหลวง

    ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการพิจารณาการใช้รถนำขบวน

    ทางฝ่ายผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการพิจารณาการใช้งานรถนำขบวน จะแบ่งเป็น 5 หมวดย่อย คือ ผู้บังคับบัญชาในเขตกรุงเทพมหานคร, ผู้บังคับบัญชานอกเขตกรุงเทพมหานคร, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีข้อมูลการใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้

    • ผู้บังคับบัญชาในเขตกรุงเทพมหานคร: หมายถึง ผู้บังคับการตำรวจจราจร หรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจจราจร มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ใช้รถตำรวจนำขบวนเป็นครั้งตามความจำเป็นแห่งโอกาส
    • ผู้บังคับบัญชานอกเขตกรุงเทพมหานคร: หมายถึง ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง หรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจทางหลวง มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ใช้รถตำรวจนำขบวนเป็นครั้งตามความจำเป็นแห่งโอกาสเช่นเดียวกัน
    • ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ: เป็นผู้พิจารณาการใช้รถตำรวจนำขบวนในราชการ และภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามความจำเป็น
    • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ: ให้มีการพิจารณาใช้รถนำขบวนของฝ่ายทหาร โดยมีหลักเกณฑ์ และวิธีการใช้สัญญาณไฟของฝ่ายตำรวจ โดยอนุโลม
    • กระทรวงกลาโหม หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ: ให้มีการพิจารณาใชรถตำรวจนำขบวนตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด พร้อมกับการจัดทำบัญชีแสดงรายการขอใช้รถตำรวจนำขบวนเพื่อการตรวจสอบโดยละเอียด

    รถนำขบวน ราคา

    รถนำขบวน ราคาเท่าไหร่? ตามข่าวที่ได้ออกไปตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2566 การให้บริการรถนำขบวนโดยรถตำรวจทางหลวง หรือรถตำรวจทั่วไป ไม่สามารถจ้างให้มาบริการได้เป็นรายครั้งอย่างอิสระตามข่าวที่ปรากฎออกมา หากต้องการร้องขอรถนำขบวนจากตำรวจทางหลวง ต้องมีการยื่นเอกสารพร้อมระบุเหตุผลที่จำเป็นไปยังกองบังคับการตำรวจทางหลวง ตามที่เราได้แนะนำไปในหัวข้อด้านบน ฉะนั้นจะไม่มีราคาค่าบริการทั่วไป ต้องได้รับการพิจารณาให้ใช้งานอย่างเหมาะสม ถึงจะทราบรายละเอียดค่าอำนวยความสะดวกอีกทีหนึ่ง

    สรุปแล้วหากขบวนไหนที่มีการเดินทางโดยสำคัญตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมา สามารถยื่นร้องขอรถนำขบวนได้ตามความเหมาะสม ส่วนใครที่เดินทางด้วยตัวเอง ไม่มีเหตุจำเป็นอันเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ทั้งหมด จะต้องเดินทางเป็นระเบียบด้วยตัวเอง

    ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเดินทางไกลเป็นขบวน หรือเป็นกลุ่มคนหมู่มาก ควรมีประกันรถยนต์ที่ดูแลได้อย่างครอบคลุมเผื่อเอาไว้ กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จะได้รับการช่วยเหลืออย่างครบถ้วน และเร่งด่วนที่สุดจากบริษัทประกันภัย ซึ่ง แรบบิท แคร์ สามารถให้คำแนะนำ พร้อมมอบตัวเลือกประกันรถยนต์จากบริษัทประกันภัยชั้นนำมากกว่า 30 รายการ และยังมีส่วนลดพิเศษสูงสุด 70% หรือให้เลือกผ่อน 0% ได้นานถึง 10 เดือน หากสนใจสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ 1438 (โทรได้ตลอดเวลา)


    สรุป

    สรุปบทความ

    รถนำขบวน หมายถึง การร้องขอความช่วยเหลือจากตำรวจ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการนำขบวนให้กับกลุ่มรถยนต์ที่มีการเดินทางพร้อมกันเป็นจำนวนมาก หรือต้องการความปลอดภัยในการเดินทางมากกว่าปกติทั่วไป ซึ่งการร้องขอรถนำขบวนเป็นรายครั้งจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ทางกองบังคับการตำรวจทางหลวงกำหนดเอาไว้ และมีการพิจารณาเป็นครั้ง ๆ ไป โดยไม่มีราคาค่าบริการทั่วไป แต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ เบื้องต้นมักจะเป็นบุคคลสำคัญระดับประเทศ ซึ่งต้องใช้รถตำรวจนำขบวนเพื่อความปลอดภัยของขบวน หรือความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนตามความจำเป็นแก่กรณี นั่นเอง

    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

    Rabbit Care Blog Image 94050

    แคร์ขับขี่ปลอดภัย

    บีบแตรแบบไหนมีโทษทางกฎหมาย ? รวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการบีบแตร

    การบีบแตรรถยนต์นั้นนอกจากจะมีจุดประสงค์ในการใช้ส่งสัญญาณเตือนเพื่อความปลอดภัย ในปัจจุบันหลายคนมักใช้แตรรถผิดจุดประสงค์หลักกันอย่างมากมาย
    Natthamon
    26/08/2024
    Rabbit Care Blog Image 90930

    แคร์ขับขี่ปลอดภัย

    วิธีดูแลรถยนต์ไฟฟ้า ev ช่วงหน้าฝนให้ปลอดภัยในทุกการขับขี่

    ไฟฟ้ากับน้ำไม่ใช่สิ่งที่จะอยู่ร่วมกันได้เลยในความเป็นจริง แต่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ev ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้
    Thirakan T
    18/07/2024