ก่อนซื้อประกันต้องรู้! ผู้รับผลประโยชน์ คือใคร? ผู้รับผลประโยชน์เป็นใครได้บ้าง?
ใครที่เคยซื้อประกันภัยมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ ประกันอุบัติเหตุ และประกันอื่น ๆ ก็จะต้องทราบดีว่าการทำประกันนั้นผู้เอาประกันภัยจะต้องมีการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ด้วย ผู้รับผลประโยชน์ คือใคร? สามารถเป็นใครได้บ้าง? แรบบิท แคร์ ไขข้อสงสัยให้กระจ่างแล้ว
ผู้รับผลประโยชน์ คืออะไร?
ในกรมธรรม์ประกันชีวิตผู้รับผลประโยชน์ คือ บุคคลที่ได้รับสิทธิ์ในการรับเงินประกันภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์อย่างการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย ผู้รับผลประโยชน์ก็จะมีสิทธิ์ได้รับเงินทุนประกันของผู้เอาประกันคนนั้น ๆ ไปจากบริษัทประกัน สำหรับการเลือกผู้ได้รับผลประโยชน์ของผู้เอาประกัน ผู้เอาประกันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย กล่าวคือผู้เอาประกันภัยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคม เช่น การแต่งงาน การหย่า การมีลูก และอื่น ๆ ก็สามารถที่เปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ได้
ผู้รับผลประโยชน์ เป็นใครได้บ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว บุคคลที่มักจะเลือกเป็นผู้รับผลประโยชน์จะเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธุ์ทางสายเลือดหรือครอบครัวใกล้ชิดอย่างเช่นสามีหรือภรรยา ลูก ทั้งนี้ความสำคัญของการระบุชื่อผู้ที่จะรับผลประโยชน์คือผู้ที่ถูก ระบุชื่อจะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์ ในกรณีที่ไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ เงินประกันภัยของผู้เอาประกันจะถูกแจกจ่ายตามกฎหมายไปยังผู้สืบสันดานหรือทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ
เคลียร์ชัด!ผู้รับผลประโยชน์ ทายาทโดยธรรม คือใคร?
ทายาทโดยธรรม เป็นศัพท์กฎหมายที่อ้างอิงถึงบุคคลที่มีสิทธิ์รับมรดกตามกฎหมาย โดยไม่ต้องมีคำระบุจากผู้ที่มีมรดก ในกรณีของประกันชีวิตจะมีการระบุผู้รับผลประโยชน์โดยตรง ทายาทโดยธรรมในที่ประกันชีวิต จึงคือบุคคลที่มีสิทธิ์ได้รับเงินประกันชีวิตจากบริษัทประกัน กรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้ล่วงลับไปแล้วแต่ไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือผู้ที่จะรับผลประโยชน์ได้สิ้นชีวิตก่อนหรือในเวลาเดียวกับผู้เอาประกันภัย การจ่ายเงินประกันชีวิตนั้นจะปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้
- ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน
- ลำดับที่ 2 บิดามารดา
- ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
- ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา
สำหรับคู่สมรส หากเป็นคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 และบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองและบุตรบุญธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในกรณีของประกันชีวิต, ถ้าผู้เอาประกันภัยตายและไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์, เงินประกันภัยจะจ่ายให้กับทายาทโดยธรรมตามลำดับนี้
ผู้เอาประกันภัยสามารถระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น 1 คนหรือมากกว่า และถ้ามีมากกว่า 1 คน สามารถระบุสัดส่วนที่จะรับความคุ้มครองได้ แต่ถ้าไม่ได้ระบุ บริษัทประกันจะจ่ายเงินประกันให้แต่ละคนเท่ากัน
ถ้าหากผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต ไม่ใช่ญาติได้หรือไม่?
ในการทำประกันชีวิตผู้เอาประกันภัยมีสิทธิ์ที่จะเลือกผู้รับผลประโยชน์ได้ตามความต้องการ โดยจะเป็นใครก็ได้ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นญาติหรือครอบครัว คนอื่น ๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมายกับผู้เอาประกันภัยสามารถเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ แต่ต้องบอกว่ากรณีที่ผู้เอาประกันภัยระบุชื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต ไม่ใช่ญาติหรือไม่ระบุผู้รับประโยชน์เลย แน่นอนว่าจะมีโอกาสเกิดปัญหาภายหลังกับผู้ที่อยู่ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นการแย่งผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยจนถึงขั้นมีการฟ้องร้องกัน หรือในกองมรดกอาจมีคนที่ไม่ต้องการจะยกผลประโยชน์ให้รวมอยู่ด้วย
หากพูดถึงกฎหมายประกันชีวิต ผู้รับผลประโยชน์ที่ผู้เเอาประกันสามารถระบุได้ โดยทั่วไปแล้วบริษัทประกันจะให้ผู้เอาประกันระบุชื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่ต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมายที่สามารถสืบความสัมพันธ์ได้เป็นส่วนใหญ่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังที่กล่าวมาและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการฆาตรกรรมผู้เอาประกันเพื่อหวังเงินทุนประกันด้วย โดยผู้รับประโยชน์ที่บริษัทประกันจะให้ผู้เอาประกันระบุแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- ลำดับที่ 1 ได้แก่ คู่สมรส บุตร (รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย)
- ลำดับที่ 2 ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง
- ลำดับที่ 3 ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ญาติ
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ทุกครั้งที่มีการทำประกันภัยใด ๆ ผู้เอาประกันควรระบุผู้รับประโยชน์ที่เป็นคนในครอบครัวหรือบุคคลผู้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใกล้ชิดมากกว่าบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ครอบครัวหรือญาติให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ซื้อประกันชีวิต อย่าลืม!ระบุชื่อบุคคลที่คุณรักเป็นผู้รับผลประโยชน์
อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าเมื่อมีการทำประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยประเภทใดก็ตามผู้เอาประกันจะต้องมีการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ทุกครั้ง การวางแผนทำประกันชีวิตและระบุชื่อผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นบุคคลที่คุณรัก เป็นเสมือนการบอกรักที่ชัดเจนที่สุดผ่านกรมธรรม์ เป็นบอกรักที่มีการวางแผนไม่ให้คนที่รักต้องเผชิญกับความลำบากทางการเงินเมื่อผู้เอาประกันไม่มีชีวิตอยู่แล้ว เนื่องจากหากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นมาประกันชีวิตที่คุณซื้อจะช่วยทำให้เงินทุนประกันที่เลือกทำไว้ถูกนำกลับมาสู่บุคคลอันเป็นที่รักที่คุณระบุไว้กรมธรรม์ในนามของผู้รับผลประโยชน์
การวางแผนการเงินด้วยการซื้อประกันชีวิตเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีในการประกันอนาคตทางการเงินของคุณและคนที่คุณรัก การซื้อประกันชีวิตให้เหมาะสมและเหมาะกับความต้องการของคุณสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในอนาคต นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย นั่นเพราะการซื้อประกันชีวิตนั้นสามารถที่จะนำค่าเบี้ยประกันไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงิน แรบบิท แคร์ เรามีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตหลากหลายรูปแบบที่สามารถช่วยให้คุณส่งมอบความรักความห่วงใยกับบุคคลที่คุณรักได้ วางแผนการเงินวันนี้ที่แรบบิท แคร์
ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ
ประกันชีวิต
- จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครองนาน 15 ปี
- รับเงินคืนทุกปีตลอดสัญญารับเงินคืน 521%
- การันตีเงินคืน 3% ทุก 2 ปี
- ลดหย่อนภาษี สูงสุดปีละ 1 แสนบาท
- สมัครได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 65 ปี
- เลือกชำระเบี้ยได้ รายเดือน, 3 เดือน และรายปี
ประกันชีวิต
- ชำระเบี้ยแค่ 10 ปี คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี
- รับเงินปันผลทุกปี ปีละ 1%
- ครบสัญญารับเงินก้อนคืน 110%
- ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 1 แสนบาท
- สมัครได้ตั้งแต่ อายุ 1 เดือน - 60 ปี
ประกันชีวิต
- คุ้มครองจากอุบัติเหตุ เพิ่มสูงสุด 1 แสนบาท
- กรณีนอน รพ. รับเงินชดเชย 500 บาท/วัน
- รับเงินคืนตลอด สัญญารวม 174%
- เบี้ยเริ่มต้นวันละ 16 บาท
- สมัครได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 55 ปี
- ลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 1 แสนบาท
ประกันชีวิต
- ผลประโยชน์ตลอดสัญญา สูงสุด 8 แสนบาท
- ครบกำหนดสัญญา รับเงินคืนสูงสุด 6 แสนบาท
- อายุ 75 ปี มีเงินคืน สูงสุด 2 แสนบาท
- คุ้มครองนาน ถึงอายุ 90 ปี
- สมัครได้ตั้งแต่ อายุ 50 - 70 ปี